Episoder

  • ใน EP นี้ เป็นครั้งแรกที่เรามีแขกรับเชิญเป็นศิลปินอาชีพ นั่นก็คือ คุณจา-สันติสุข มือเบสแห่งวง De Flamingo ที่มาพูดคุยและเปลี่ยนประสบการณ์ของการนักดนตรีอาชีพที่ผ่านความบอบช้ำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการได้รับผลกระทบจากวิกฤติ COVID-19 หรือรวมถึงปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่ทำให้นักดนตรีหลายๆวงนั้นไม่สามารถประสบความสำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ได้ นอกจากนี้เรายังได้รับเกียรติจากแขกรับเชิญคนดีคนเดิมอย่าง Ker Wu มาร่วมพูดคุยในประเด็นดังกล่าวอีกด้วย

  • ใน EP นี้ผมได้รับเกียรติจาก รุ่นพี่ที่น่ารักของผมทั้งสอง คือ พี่กิ๊ฟและพี่เน ที่มาพูดคุยและเปลี่ยนประสบการณ์ของการเป็นวัยรุ่นในยุค 90s ถึงประเด็นของความหลังครั้งเก่า เมื่อคราวที่ทั้งคู่ อกหัก รักคุด มีพฤติกรรมในใช้ดนตรีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับความรู้สึกดังกล่าวนั้นอย่างไร โดยประเด็นหลักที่น่าสนใจคือการถกเถียงของบรรดานักวิจัยและข้อมูลต่างๆบนโลกอินเทอร์เน็ต ที่บ้างก็บอกว่า การฟังเพลง(บางประเภท) ก็ช่วยเยียวยาความรู้สึกให้ดีขึ้น แต่ในทางตรงกันข้าม การฟังเพลง(บางประเภท) ก็เหมือนเป็นซ้ำให้เหตุการณ์ยิ่งเลวร้ายลงไป ใน EP เราจะได้มาพูดคุยในประเด็นดังกล่าวจากประสบการณ์ของแขกรับเชิญทั้งสองท่านรวมถึงพฤติกรรมการฟังเพลงในช่วงที่ทั้งคู่อกหัก

  • Mangler du episoder?

    Klikk her for å oppdatere manuelt.

  •    ในช่วงระยเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา “การวิ่ง” เป็นกิจกรรมในการออกกำลังกายที่เป็นที่นิยมอย่างมาก ด้วยกระแสในเรื่องของการรักษาสุขภาพ (Healthy Trend) ที่กำลังมาแรงผนวกกับการวิ่งนั้นเป็นกิจกรรมที่ทำได้ง่าย ทำได้ทันทีและใช้อุปกรณ์ไม่มากเพียงแค่รองเท้าผ้าใบดีๆสักคู่เท่านั้น และสิ่งหนึ่งที่กลายเป็นเหมือนเครื่องมือในการประกอบการวิ่งในปัจจุบันคือ “การฟังเพลง” ด้วยเทคโนโลยีในการฟังเพลงไม่ว่าจะเป็น หูฟังที่ถูกออกแบบมาเพื่อการออกกำลังกาย รวมถึงบรรดา Playlist ต่างๆ ของ Application Music Streaming ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทำให้เกิดประเด็นที่น่าสนใจว่า การฟังเพลงนั้นมันส่งผลอย่างไรกับการออกกำลังกาย ? และแนวเพลงแบบไหนกันที่จะเหมาะแก่การออกกำลังกายในแต่ละแบบ ? ใน EP นี้เราได้รับเกียรติจากแขกรับเชิญ คุณโบ้ แห่งเพจ คู่นี้พี่ขอ เพจรีวิวรองเท้าวิ่งสำหรับนักวิ่งหน้าใหม่ ในฐานะนักดนตรี แฟนเพลงและนักวิ่ง มาพูดคุยคุยกันในประเด็นดังกล่าวเกี่ยวกับความเชื่อมโยงของทั้งการวิ่งและดนตรี

  •     หลายครั้งเรามักจะมองผู้ที่เป็นศิลปินหรือผู้ที่ชื่นชอบในงานศิลปะ (Art Lover) ว่าเป็นผู้ที่ความอ่อนไหวทางอารมณ์มากกว่าผู้อื่นทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบการแสดงออกและการแสดงความรับรู้ จนบางครั้งเรามักตัดสินว่าบุคคลเหล่านี้มักจะเป็นผู้ที่ใช้อารมณ์เหนือกว่าเหตุผล โดยยอมปล่อยให้อารมณ์เป็นตัวชี้นำในการตัดสินใจที่ดำเนินการทำอะไรต่างๆ รวมถึงเรื่องพฤติกรรมในการเป็นแฟนเพลงด้วยเช่นกัน 

       ใน EP นี้ประเด็นสำคัญคือการทำความเข้าใจรูปแบบของแฟนเพลงที่ชื่นชอบในเรื่องของศิลปะว่ามีพฤติกรรมหรือปัจจัยในการเลือกรับชมศิลปะต่างๆรวมถึงการเลือกฟังเพลงและการชื่นชอบศิลปินอย่างไร โดยผ่านการพูดคุยกับแขกรับเชิญของเราคือ คุณนลิน สาวน้อยหน้าหมวย แห่ง Marie's Brew

  • ในปัจจุบัน หากเอ่ยชื่อวงดนตรีอย่าง Oasis, Nirvana และ Rage Againt the Machine หรือบรรดาวงดนตรีในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ให้กับนักฟังเพลงรุ่นใหม่ๆ เชื่อได้เลยว่า วงดนตรีทั้งสามวงที่กล่าวมานั้นก็ยังคงเป็นที่รู้จักในหมู่นักฟังเพลงรุ่นใหม่ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันวงดนตรีทั้งสามวงที่กล่าวมานั้นได้ยุติบทบาททางดนตรีทั้งหมดแล้ว ประเด็นที่น่าสนใจนั้นคือ อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้วงดนตรีที่มีชื่อเสียงในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ยังคงส่งอิทธิพลต่อทั้งแฟนเพลงและนักดนตรีจนมาถึงในยุคปัจจุบัน นอกจากนี้ปรากฏการณ์ ดนตรี Alternative ในคริสต์ทศวรรษ 1990 (ขออนุญาติเรียกสั้นๆว่า Alternative 1990s) ยังได้สร้างคุณูปการอย่างมากให้กับวงการดนตรีทั่วโลก โดยในวันนี้เราจะพาทุกคนย้อนกลับไปคุยเรื่องราวในวงการดนตรีในช่วงยุค คริสต์ทศวรรษ 1990 โดยผ่านมุมมองจากแฟนเพลงรุ่นใหม่อย่าง The Livehouse Podcast และ คุณปัน ฐานิศร์

  • วิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ในครั้งนี้นั้น นับว่าส่งผลกระทบต่อวงการดนตรีโดยตรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทุกภาคส่วนใน Ecosystem ของวงการดนตรีต่างได้รับผลกระทบไปตามๆกัน ไม่ใช่เฉพาะแค่นักดนตรี ค่ายเพลง หรือ Organizer แต่รวมถึงทุกภาคส่วนที่เกี่ยวเนื่องกันในห่วงโซ่อุปทาน แต่ถึงอย่างก็ตามเมื่อ COVID-19 ผลักเราสู่ชีวิตปกติวิถีใหม่ (New Normal) ด้วยเหตุนี้วงการดนตรีจึงต้องปรับตัวเพื่อให้เกิดความอยู่รอดในสภาวะดังกล่าวเช่นเดียวกัน ใน EP นี้ประเด็นที่เราจะหยิบยกมาพูดคุยกันก็คือปรากฎการณ์ New Normal ที่เกิดขึ้นในวงการดนตรีในช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมา โดยในผมได้เรียบเรียงจากความเห็นของผมส่วนหนึ่งและประกอบกับข้อมูลในอินเทอร์เน็ต

    Source : https://positioningmag.com/1277166

    https://www.fungjaizine.com/article/live_review/at-home-festival

    https://www.the101.world/virtual-event/

    https://academy.fungjai.com/

    https://www.brickbybrickschool.com/collections/3-4-times-per-course/products/online-storytelling-through-music-%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5

    https://www.fungjaizine.com/article/guru/cassette-comeback

    https://www.wministry.com/bedroom-pop-%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B9%89/

  • หากย้อนไปในช่วงยุคต้นปี 2000 ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า วงดนตรีอย่าง Limp Bizkit, Linkin Park, Korn, Slipknot, Drowning Pool และอีกมากมาย เป็นศิลปินในแนวดนตรีที่มีอิทธิพลต่อนักดนตรีและนักฟังเพลงมากที่สุดในช่วงนั้น คือแนวดนตรีที่ถูกขนานนามว่า "Nu Metal" 

    จากเนื้อของ EP5 ถึงในเรื่องราวของดนตรีและแฟชั่น ส่วนหนึ่งในอิทธิพลที่ส่งผลในเรื่องความเกี่ยวเนื้องของศิลปินกับการแต่งกายก็มาจากศิลปินในแนวดนตรีดังกล่าว แต่สิ่งที่น่าเสียดายก็คือแนวดนตรีอย่าง "Nu Metal" กลับสามารถยืนระยะได้เพียงช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น หากพิจารณาบรรดาวงดนตรีในตลาด ณ ตอนนี้ กลับพบว่าศิลปินที่พอจะเรียกว่าเป็น "Nu Metal" นั้นกลับเหลือน้อยเต็มที ประเด็นที่น่าสนใจในการพูดคุยกันใน EP นี้ คืออะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้แนวดนตรีดังกล่าวเสื่อมความนิยมลงจากจุดที่เคยโด่งดังถึงขีดสุด ?

  • เพื่อนๆเคยมีประสบการณ์ในการแต่งตัวตามศิลปินที่ชื่นชอบหรือเปล่า ? ถ้าคำตอบคือ"เคย" นั้นก็แสดงว่าศิลปินนั้นมีอำนาจในการกำหนดทิศทางในการแต่งตัวของแฟนเพลงด้วยอย่างนั้นหรือ ใน EP นี้เราจะมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว

    โดยใน EP เราได้รับเกียรติจากแขกรับเชิญคนดีคนเดิมอย่าง KER WU - เค่อวู Youtuber ทางด้าน Street Fashion มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตั้งแต่วัยเด็กกับการแต่งกายที่ได้รับอิทธิพลและแรงบัลดาลใจจากศิลปินที่เป็นไอดอลของตนเอง

  • เคยมีคนกล่าวไว้ว่า "การอ่านหนังสือกับการฟังเพลงนั้นก็เหมือนกัน เพราะเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวและประสบการณ์ของศิลปินหรือผู้เขียน แต่แตกต่างกันตรงที่วิธี ที่จะเลือกใช้ตัวหนังสือหรือเสียงทำนองเพลงเป็นสื่อ"

    ใน EP4 นี้ เราได้รับเกียรติจากแขกรับเชิญคนที่สองของ The Live House ก็คือ คุณไนซ์ นิติรัฐ แอดมินเพจ "เล่มที่หกจากองดอง" เพจรีวิวหนังสือชื่อดังบน Facebook จะมาร่วมพูดคุยในประเด็นของความเชื่อมโยงระหว่างการเป็นนักฟังเพลงและการเป็นนักอ่านหนังสือ รวมทั้งประสบการณ์ในการเป็นนักดนตรีและเป็นแฟนคลับผู้คลั่งไคล้ โดยประเด็นหลักของ EP นี้คือ การได้ทราบถึงปัจจัยและมุมมองในการฟังเพลงของแฟนเพลงผู้ที่มีความรักในการอ่าน ดังนั้นใน EP นี้เราจะมาทำความรู้จักแฟนเพลงกลุ่มนี้มากขึ้น ผ่านการสนทนาระหว่าง The Live House และพี่ไนซ์ แห่ง "เล่มที่หกจากกองดอง"

  • เพื่อนๆ เคยสงสัยหรือไม่ว่า ในบรรดาเพลงฮิตหรือเพลงที่มีคนฟังจำนวนมากที่ถูกปล่อยออกมาจากแต่ละศิลปินนั้น เค้าทำได้อย่างไร เป็นเพราะความตั้งใจหรือความบังเอิญกันแน่ ใน EP นี้ เราได้นำบทความของคุณจูนจูน พัชชา ที่เขียนไว้ในเวปไซต์ The Standard ในชื่อ "สูตรลับสู่เพลงฮิต" มาอธิบายถึงสิ่งที่เรียกว่าเป็นสูตรลับดังกล่าวว่ามีอยู่จริงหรือไม่

    Source : https://thestandard.co/what-makes-a-song-hit/

  • ใน EP2 นี้ทุกท่านจะได้พบกับเรื่องราวของพลวัต(การเปลี่ยนแปลง) จากเรื่องราวการเดินทางของคุณ Ker Wu เริ่มต้นจากการเป็นนักเรียนดุริยางคศิลป์ มาสู่การเป็นนักดนตรี แต่เนื่องด้วยจุดหักเหบางอย่าง ทำให้เปลี่ยนความสนใจมาทำ Online Content บน Platform อย่าง Youtube เต็มตัว

    ขอขอบคุณ Kerwu จาก www.youtube.com/user/neversayk

  • มาทำความรู้จักแฟนเพลงในแต่ละประเภทจากทรรศนะของคุณต้าร์ แห่งวง Paradox และผ่านมุมมองการวิเคราะห์ประเภทของแฟนเพลงจากมุมมองจาก "The Live House Podcast"

    Data source : www.noozup.me/1786623/

  • The Live House : Sound from the audience

    รายการ Podcast ที่พูดคุยในทุกๆเรื่องที่เกี่ยวข้องกับดนตรี วงการดนตรี ศิลปินและธุรกิจดนตรี โดยถ่ายทอดผ่านมุมมองของ "แฟนเพลง" ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลักดันอุตสาหกรรมดนตรีในประเทศไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

    ติดตามได้ที่ : www.facebook.com/thelivehousepodcast/