Episodes

  • นายกรัฐมนตรีเดินกลางกรุงปารีส พันผ้าพันคอจากผ้าขาวม้า เดินหน้าลุยนำผลิตภัณฑ์จากไทยไปขายต่างประเทศ ถือเป็นการผลักดันสินค้าจาก soft power ไทย สู่สายตาชาวโลก นับเป็นเรื่องที่ดี ที่ไม่แม้เผยแพร่ "สไตล์" ผ้าแบบไทย แต่ยังส่งเสริมการส่งออกจากไทยอีกด้วย เราจึงลองไปสำรวจอุตสาหกรรมแฟชั่นทั่วโลก ว่ามีความเป็นมาอย่างไร และสามารถสร้างกำไรมหาศาลได้อย่างไร และการผลิตของประเทศไทยสามารถอยู่ตรงไหนในเศรษฐกิจโลกได้บ้าง เพราะหากเน้นแต่ "สไตล์" แต่ขาดการมองเรื่อง "ฐานการผลิต" และ "รายได้ของประเทศ" ก็หวั่นอาจซ้ำรอย กางเกงช้าง ที่ถูกนำไปผลิตในจีนเป็นจำนวนมาก ทำให้ไทยไม่เหลือรายได้เข้าประเทศ เป็นเพียงทางผ่านทางวัฒนธรรมเท่านั้น

  • วันนี้เราได้มีแขกรับเชิญที่เพิ่งได้ไปท่องเที่ยวผจญภัยในอินเดียถึง 5 เมือง ซึ่งมีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ทั้งการเดินทาง การกิน การเที่ยว ไปจนถึงการเผาศพ จากการที่เห็น เราจึงเห็นได้ว่ายังมีอีกมุมหนึ่งของโลกที่มีความแตกต่างกับเรา และเรายังสามารถเห็นได้ว่าความแตกต่างนั้น เกิดจากปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจหรืออื่น ๆ อย่างไร

  • Missing episodes?

    Click here to refresh the feed.

  • นายกรัฐมนตรีได้แสดงวิสัยทัศน์พัฒนายกระดับประเทศ IGNITE THAILAND เมื่อสัปดาห์ก่อน และยังจะได้มีการนำเสนอเป็นซีรี่ย์ในแต่ละประเด็นต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ประเทศไทยเป็น tourism hub, wellness hub, aviation hub หรือ financial centre ซึ่งเราจะเห็นว่าวิสัยทัศน์ของรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยนั้นเป็นเสรีนิยมใหม่ในแนวทางการรวมศูนย์ คือเป็นการใช้การแทรกแซงโดยรัฐมากำหนดการพัฒนาระบบต่าง ๆ ของประเทศออกจากศูนย์กลาง แต่ขณะเดียวกัน เมื่อสำรวจจากข้อวิจารณ์ของฝ่ายค้านโดยเฉพาะพรรคก้าวไกล จะเห็นได้ว่าเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยจากฐานราก จากการกระจายอำนาจและเป็นการส่งเสริมทุนย่อยให้สู้กับทุนใหญ่ได้ ความแตกต่างระหว่างสองสิ่งนี้อย่างไรก็ดียังวางอยู่บนฐานคิดแบบเสรีนิยมใหม่ ซึ่งแบบไหนจะเป็นผลดีต่อประเทศโดยรวมต้องลองไปดู

  • ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็น "ผลข้างเคียง" ของรัฐธรรมนูญ 40 เป็นต้นมา กระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมนั้น เกิดผลข้างเคียงในลักษณะ "human error" หรือไม่ หรือเป็นการใช้ช่องทางกฎหมายในการเล่นงานคู่ต่อสู้ทางการเมือง ประเด็นที่ชัดเจนที่สุดคือการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถยื่นคำร้องเองต่อองค์กรอิสระได้ และคำร้องนั้นสามารถนำมาซึ่งการยุบพรรค หรือปลดนายกรัฐมนตรีได้ในเวลาต่อมา ทำให้เกิดอาชีพ "นักร้อง" ขึ้น หรือเป็นเพราะต้นกำเนิดของรัฐธรรมนูญ 40 ต้องการให้เกิดการตรวจสอบจากภายนอก จึงต้องมีหน่วยงานที่ไม่ใช่รัฐ ตามสมัยนิยมของอุดมการณ์แบบเสรีนิยมใหม่ ที่ต้องการให้ลดขนาดของรัฐ แต่องค์กรดังกล่าวนั้น มีความสัมพันธ์กับรัฐมากแค่ไหน และสรุปแล้ว เสียงของประชาชนที่เลือกพรรคการเมือง กับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง กับองค์กรอิสระที่ตรวจสอบ อำนาจเป็นของใคร?

  • จากประสบการณ์ที่ไปอบรมที่สิงคโปร์มา 1 สัปดาห์ จึงถือโอกาสเล่าพัฒนาการของสิงคโปร์จากที่เป็นประเทศที่ถูกแยกตัวออกจากมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่จนและด้อยพัฒนา ว่ากลายมาเป็นประเทศที่เจริญขึ้นในเวลาเพียงไม่ถึงครึ่งศตวรรษได้อย่างไร สิงคโปร์นั้นเริ่มจากเป็นประเทศที่ใช้แรงงานมนุษย์เป็นหลัก จากนั้นเติบโตขึ้นจากการสร้างความเชื่อมั่นและการลงทุนจากต่างชาติ จนพัฒนาอุตสาหกรรม 4 ระดับ การรักษาความสมดุลระหว่างสหรัฐฯและจีน ขณะเดียวกันก็รักษาผลประโยชน์ของประเทศตัวเองไว้ได้ จึงเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่า นอกจากลักษณะเฉพาะทางภูมิศาสตร์และประชากรแล้ว สิงคโปร์ยังมีคติอย่างหนึ่งคือการหาวิธีการ “เอาตัวรอด” จากวิกฤติ มาเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนา จึงนำมาเล่าสู่กันฟังถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม การบริหาร ว่าทำให้สิงคโปร์มาถึงจุดนี้ได้เร็วขนาดนี้ได้อย่างไร

  • สำนักนวัตกรรมกำลังจะทำแพลตฟอร์มรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการร่าง/ตรากฎหมายออนไลน์ ทำให้เราได้หยิบยกกฎหมายนิรโทษกรรมที่กำลังจะถูกเสนอเข้าสภามาพูดคุยกัน ว่าความเป็นมาและหลักการของการนิรโทษกรรมในประเทศไทยนั้นเป็นอย่างไร มีความน่าสนใจและจะนำประเทศไทยไปสู่จุดไหน ประกอบกับกิจกรรมทางการเมืองที่ผ่านมาและอาจเกิดขึ้นในอนาคต

  • จากการย้ายวันหยุดปีใหม่ จาก 2 ม.ค. เป็น 29 ธ.ค. มีกระแสตอบรับอย่างล้นหลาม ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลเป็นอย่างมาก ปัญหารถติดเชื่อมโยงไปยังหลายปัญหาที่เรื้อรังสังคมไทยมายาวนาน ว่าจะเป็นบทพิสูจน์ให้กับรัฐบาลว่าจะสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ ประกอบกับนโยบายคืนภาษีที่ต้องใช้ e-receipt ซึ่งเป็นนโยบายที่ดีแต่ยังไม่ได้สื่อสารชัดเจนมากนัก และศึกอภิปรายงบประมาณที่กำลังจะเกิดขึ้น จะทำให้รัฐบาลสามารถฝ่าวิกฤตมรสุมไปได้หรือไม่

  • เป็นเวลากว่า 50 ปี ณ จากครั้งสุดท้ายที่มนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา แม้จะมีการเสนอให้นำคนกลับขึ้นไปบนนั้น แต่สุดท้ายก็เงียบหายไป กระทั่งในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ดวงจันทร์กลับมาเป็นเป้าหมายที่นานาประเทศต่างอยากจะไปให้ถึง ทำไมดวงจันทร์ที่ดูห่างไกล จึงกลายเป็นเป้าหมายที่นานาชาติต่างอยากจะไปอีกครั้งหลังจากที่เงียบหายมานาน อะไรที่ดึงดูดให้ใคร ๆ ต่างก็อยากไปดวงจันทร์

  • เป็นเรื่องที่เป็น talk of the town ของวงการการเมือง ที่พรรคประชาธิปัตย์มีการเลือกหัวหน้าพรรคครั้งใหญ่ ที่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่สำคัญของพรรค เราจึงมาพูดคุยกันในกรณีพรรคประชาธิปัตย์ ถึงการเป็นสถาบันทางการเมือง และความเป็นสถาบันของพรรคนี้ แตกต่างกับพรรคอื่นอย่างไร รวมถึงความท้าทายใหม่ที่จะเกิดขึ้นหลังจากปรับโครงสร้างแล้ว

  • เมื่อเวียนมาพบหน้าหนาว ประเทศไทยของเราก็กลับมาพบกับปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 อีกเช่นเคย ซึ่งเป็นปัญหาที่มีนักวิชาการและนักวิเคราะห์หลายท่านกล่าวไว้ว่ามีความเชื่อมโยงกับการเพาะปลูกอ้อย เนื่องจากมีการเผาเพื่อเก็บเกี่ยว ทำให้เกิดฝุ่นควัน และเมื่อไปค้นดูประเทศที่ส่งออกอ้อยเพื่อน้ำตาลสดสูงสุด ก็คือบราซิล ซึ่งมีรายงานว่าเกิด PM2.5 สูง และมีผลต่อการมีชีวิตที่สั้นลงของชาวบราซิลจริง
    .
    เราจึงมาพูดคุยว่า ปัญหา PM2.5 ที่เกิดจากทำเกษตรเพื่อส่งออกประเทศโลกที่ 1 จากประเทศโลกที่ 3 นั้น เป็นปัญหาการขูดแรงแรงงานราคาถูกผ่านทุนใหญ่ในประเทศซึ่งเป็นนายหน้ารับงาน และมีความจำเป็นต้องกดราคาต้นทุนทางการผลิตที่ต่ำ ทำให้ไม่มีการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้หรือไม่ และจะต้องแก้ไขอย่างไร

  • เป็นประเด็นที่ร้อนแรงในสังคมกับเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท ว่าฝ่ายที่ไม่อยากให้แจก ต้องการชี้ให้เห็นว่าสามารถนำเงินไปทำอะไรอย่างอื่นได้บ้าง เช่น คุณธนาธร ตัวแทนภาคประชาสังคมที่ชี้ให้เห็นว่าสามารถนำเงินที่มีอยู่ ไปทำเป็นสวัสดิการในด้านต่าง ๆ เช่น น้ำประปา ถนน ขนส่งสาธารณะต่าง ๆ ได้ หากมีการใช้เงินให้เป็นประโยชน์ และโยกในส่วนที่ไม่จำเป็นได้ แต่ปัญหาคือ สิ่งเหล่านี้มันเป็นจริงได้มากแค่ไหน ความสามารถของ "รัฐบาล" จะมีอำนาจต่อรองกับ "รัฐ" ได้มากแค่ไหนในการโยกย้ายเงิน ความเป็นจริงของรัฐ จะสามารถขจัดอุปสรรคเหล่านี้ได้มากแค่ไหน หากมองในแง่ของความเป็น "รัฐ" ที่อยู่เหนือ "รัฐบาล"

  • สถานการณ์การท่องเที่ยวกับประเทศฟรีวีซ่าเริ่มสั่นคลอน เนื่องจากตรวจคนเข้าเมืองของเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวไทยที่สำคัญที่หนึ่ง ได้มีการปฏิเสธไม่ให้นักท่องเที่ยวของไทยเข้าประเทศ หลังจากเดินทางไปถึงที่สนามบินแล้ว เนื่องมาจากปัญหา “ผีน้อย” หรือผู้หลบหนีเข้าทำงานที่เกาหลีใต้ นี่จึงเป็นอีกหนึ่งปัญหาทางเศรษฐกิจและปัญหาระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของรัฐบาล ประกอบกับบทบาทของรัฐบาลในตอนนี้ ที่ดูจะเป็นที่ไม่พอใจของสื่อ และภาคประชาสังคมที่รุมรัฐบาลในทุก ๆ เรื่อง รัฐบาลจะสามารถแก้ปัญหานี้และฝ่าวิกฤตต่าง ๆ ไปได้หรือไม่ เราจะมาคุยกัน

  • จากกรณีที่มีการกล่าวว่าล่วงละเมิดทางเพศอยู่บ่อยครั้ง วันนี้เราจึงมาคุยกันว่า แค่ไหนถึงเรียกว่าล่วงละเมิดทางเพศ และผู้ถูกกระทำเอาตัวเองไปเสี่ยงหรือผู้กระทำฉวยโอกาสเองหรือไม่ รวมถึงประเด็นกรณีที่ว่าการล่วงละเมิดนั้นมีความเกี่ยวโยงกับผลประโยชน์ทางการเมืองหรือไม่ อย่างไร

  • รัฐบาลใหม่ มีอายุได้ราว 2 เดือนแล้ว มีอะไรใหม่ อะไรคืบหน้า อะไรยังเหมือนเดิม วันนี้เราจะมารีวิวกัน คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐบาลเศรษฐา 1 นั้น ไม่มีช่วงเวลาที่เรียกว่าฮันนีมูน หากจะเปรียบเทียบกับผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ชัชชาติ ที่มีช่วงเวลาในการร้องเล่นเต้นไปกับประชาชนตอนได้รับตำแหน่งใหม่ๆ นายกเศรษฐากลับโดนรับน้องด้วยเหตุการณ์ที่ยากลำบากมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ยิงฯ สงครามอิสราเอล-ฮามาส ประกอบกับวิกฤตเศรษฐกิจหลังโควิด แต่นั่นก็ไม่ใช่ข้ออ้าง และรัฐบาลเองก็ยิ้มสู้อย่างเต็มที่ แต่นั่น มันเพียงพอหรือยังกับรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ที่มาแทนที่รัฐบาลของลุง เราจะมาลองมารีวิวกัน

  • เมื่อมีประเด็นถกเถียงกันว่า รัฐบาลไทยควรประนามต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือไม่ เพราะบ้างกังวลว่าจะทำให้กลุ่มผู้ก่อการสังหารชาวไทยที่จับไว้เป็นตัวประกันมากกว่าเดิม จึงเกิดคำถามขึ้นในฐานะที่รัฐบาลไทยในเวทีโลก ควรจะแสดงท่าทีหรือไม่ และแสดงแล้ว จะต้องแสดงอย่างไร ให้เหมาะสมหรือ จะทำให้บรรลุวาระของรัฐบาลได้อย่างไร และเหตุการณ์ดังกล่าว จะมีผลกระทบต่อการโมงในประเทศอย่างไร

  • หลังจากการแถลงนโยบายของรัฐบาลเสร็จสิ้น จึงเกิดคำถามและข้อกังขามากมายว่ารัฐบาลจะสามารถทำตามนโยบายที่ให้ไว้ต่อสภาได้หรือไม่ ยังไม่นับข้อกังขาที่บางพรรคการเมืองนำสิ่งที่พรรครัฐบาลหาเสียงมาเปรียบเทียบกับนโยบายที่รัฐบาลแถลง ว่าไม่ตรงกัน อย่างไรก็ดี วันนี้เราจึงนำเสนอประวัติทางการเมืองอย่างย่อของรัฐมนตรีสามท่านที่น่าสนใจ คือ ปานปรีย์ พหิทธานุกร สมศักดิ์ เทพสุทิน และสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เพื่อให้เห็นภาพของเส้นทางการเมืองและความเชื่อมั่นในการทำตามนโยบายของรัฐบาล

  • หลังจากได้รัฐบาลใหม่ที่สมบูรณ์ เหลือเพียงแต่การแถลงนโยบายต่อสภา ได้มีการจัดลำดับความสำคัญของนโยบายในการทำก่อนหลัง จึงต้องจับตามองว่าในบริบทของรัฐบาลผสม จะสามารถทำตามนโยบายที่สัญญาไว้ได้มากแค่ไหน ประกอบกับฝ่ายค้านที่ยังไม่มีตัวผู้นำ ไม่ได้หมายถึงผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร แต่หมายถึงผู้นำที่สามารถเป็นตัวแทนของสมาชิกฝ่ายค้านเป็นกลุ่มก้อนที่สามารถจะตรวจสอบรัฐบาลได้อย่างเป็นเอกภาพ นี่ยังคงเป็นสิ่งที่ท้าทายของการเมืองไทยในยุคสมัยสภานี้

  • จากการเลือกนายกรัฐมนตรีโดยสมาชิกรัฐสภาเมื่อวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา ได้มีมติเห็นชอบ "เศรษฐา ทวีสิน" เป็นนายกรัฐมนตรี แต่นั่นก็ทำให้มีเสียงจำนวนมาก เรียกเศรษฐาว่าไม่ใช่นายกที่มาจากการเลือกของประชาชน แต่เป็นเพราะเหตุใดกันแน่ เพราะไม่ได้เป็นแคนดิเดตนายกจากพรรคอันดับที่ 1 หรือเป็นเพราะพรรคเพื่อไทยนั้นจัดตั้งรัฐบาลข้ามขั้ว วันนี้เราจะมาพูดคุยกันในประเด็นนี้

  • ในหนึ่งเดือนที่ผ่านมาคงปฏิเสธไม่ได้ว่าภาพยนตร์ที่เป็นกระแสมากที่สุดคงหนีไม่พ้น Barbie และ Oppenheimer ซึ่งทั้งสองเรื่องต่างมีความเป็นการเมือง หากแต่ขณะที่ Barbie เป็นภาพยนตร์ที่มุ่งสนทนากับปัจจุบัน Oppenheimer กลับเป็นภาพยนตร์ที่พูดถึงการเมืองในอดีต
    .
    โดยหน้าฉาก Oppenheimer ดูเหมือนเป็นภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ แต่จริงๆ Oppenheimer เป็นภาพยนตร์การเมือง ภาพยนตร์เล่าการสืบสวนในช่วง Red Scare ของสหรัฐอเมริกา โดยเล่าพร้อมกับการสร้างระเบิดปรมาณูในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งสองสถานการณ์นี้มีความเป็นการเมืองในตัวเอง โดยเฉพาะการสืบสวนที่เกิดหลังจากการสร้างระเบิดปรมาณูไปแล้วหลายปีหลังจากนั้น แล้วนั้นทำให้ Oppenheimer มีความเป็นหนังการเมืองอยู่ในตัว

  • หลังจากพรรคเพื่อไทยได้ฉีก MOU 8 พรรคร่วม ตอนนี้แนวร่วมของเพื่อไทยก็ได้เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งก็แทบจะแน่นอนที่ก้าวไกลจะกลายเป็นพรรคฝ่ายค้านอย่างแน่นอน บางคนอาจกล่าวได้ว่าเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นผิดปกติที่พรรคอันดับ 1 ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ซึ่งเป็นเรื่องของกลไกที่เกิดจากรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ทำให้เราพูดได้แต่ว่าก็ได้แต่ทำใจเพียงเท่านั้น