Episodes

  • ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/3zpmDQqv9B0

    Human-ศาสตร์ เอพิโสดนี้ ชวนหาคำตอบว่าความเจ้าชู้และการนอกใจมีเหตุผลในเชิงวิวัฒนาการซ่อนอยู่หรือไม่ และเมื่อเราถูกนอกใจ ทำไมการตอบสนองหรือพฤติกรรม ‘หึงหวง’ ของแต่ละเพศจึงไม่เหมือนกัน?

    ดำเนินรายการโดย หมอเอ้ว-ชัชพล เกียรติขจรธาดา และ ปลายฝน-ภัทรสุดา บุญญศรี

  • ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/4EfXYEEg0_c

    หากมองการสืบพันธุ์เป็นการลงทุน คุณคิดว่าใครลงทุนมากกว่ากัน?

    Human-ศาสตร์ เอพิโสดนี้ ชวนถอดรหัสวิวัฒนาการในแง่ของ ‘การลงทุน’ เพื่อส่งต่อพันธุกรรม ผ่านสองคำถามง่ายๆ (แต่ตอบยาก) ที่เหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกันเลยคือ ทำไมผู้หญิงต้องเป็นฝ่ายอุ้มท้อง และผู้ชายมักเป็นฝ่ายจีบก่อน?

    สองคำถามนี้เกี่ยวข้องกันอย่างไร ฝ่ายไหนได้เปรียบ-เสียเปรียบมากกว่ากัน สิ่งที่ธรรมชาติคัดสรรกับบริบทสังคมปัจจุบันขัดแย้งกันหรือไม่ แล้วเราควรมองเรื่องนี้อย่างไร หาคำตอบได้ในเอพิโสดนี้

    ดำเนินรายการโดย หมอเอ้ว-ชัชพล เกียรติขจรธาดา และ ปลายฝน-ภัทรสุดา บุญญศรี

  • Missing episodes?

    Click here to refresh the feed.

  • ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด

    https://youtu.be/h4M39twQUIc

    Human-ศาสตร์ เอพิโสดนี้ชวนคุยเรื่องการคลอดลูกของมนุษย์ รวมถึงการดูแลทารกที่ต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ

    ทำไมเราถึงคลอดลูกเองไม่ได้ (ต้องมีคนช่วย แม้คลอดเองตามธรรมชาติ) ทำไมขนาดอุ้งเชิงกรานจึงไม่สัมพันธ์กับขนาดสมองของเด็ก และปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อ ‘การเดิน’ และ ‘การพูด’ ของมนุษย์อย่างไร ตามไปถอดรหัสวิวัฒนาการได้ในเอพิโสดนี้

    ดำเนินรายการโดย หมอเอ้ว-ชัชพล เกียรติขจรธาดา และ ปลายฝน-ภัทรสุดา บุญญศรี

  • ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด

    https://youtu.be/UgAapNm75-c

    Human-ศาสตร์ เอพิโสดนี้ ว่าด้วยวิทยาศาสตร์ของ ‘ความน่ารัก’ เริ่มจากคำถามง่ายๆ ว่า ทำไมความน่ารักแบบ ‘หมูเด้ง’ หรือ ‘หมีเนย’ ถึงเป็นสากล?

    องค์ประกอบหรือปัจจัยอะไรที่ทำให้มนุษย์รู้สึกว่าสิ่งนี้น่ารักน่าเอ็นดู ทำไมทารกหรือสัตว์ที่อายุน้อยจึงดูน่ารักกว่าตอนโตเต็มวัย ความเชื่องและความดุร้ายส่งผลต่อความน่ารัก (และการเอาชีวิตรอด) แค่ไหน หาคำตอบได้ในเอพิโสดนี้

    ดำเนินรายการโดย หมอเอ้ว-ชัชพล เกียรติขจรธาดา และ ปลายฝน-ภัทรสุดา บุญญศรี

  • เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมของอร่อยมักไม่ค่อยมีประโยชน์ ส่วนอาหารที่มีประโยชน์กลับไม่ค่อยอร่อย!

    Human-ศาสตร์ เอพิโสดนี้ ว่าด้วยเรื่องอาหารการกินของมนุษย์ ชวนหาคำตอบที่หลายคนน่าจะเคยสงสัย ทำไมเราชอบกินของหวาน ของทอด ของมัน สิ่งเหล่านี้สัมพันธ์กับร่างกายเราอย่างไร เกี่ยวข้องเรื่องวิวัฒนาการหรือไม่ การกินของเราทุกวันนี้แตกต่างจากมนุษย์ยุคหินอย่างไร ไปจนถึงคำถามที่ว่า ในอนาคตถ้าทรัพยากรหมดโลก มนุษย์จะหาแหล่งอาหารจากไหน?

    ดำเนินรายการโดย หมอเอ้ว-ชัชพล เกียรติขจรธาดา และ ปลายฝน-ภัทรสุดา บุญญศรี

  • ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด

    https://youtu.be/QfR6WwHKRTo

    Human-ศาสตร์ เอพิโสดนี้ ชวนคุยเรื่อง ‘การเมือง’ ที่ไม่ได้อยู่ในสภา แต่ฝังอยู่ในดีเอ็นเอของเผ่าพันธุ์มนุษย์มาช้านาน และเราสามารถศึกษาสิ่งเหล่านี้ได้ผ่านพฤติกรรมของ ‘ลิง’ ตั้งแต่การเล่นพรรคเล่นพวก การประจบสอพลอ ไปจนถึงการต่อสู้เพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ในฝูง

    ดำเนินรายการโดย หมอเอ้ว-ชัชพล เกียรติขจรธาดา และ ปลายฝน-ภัทรสุดา บุญญศรี

  • Human-ศาสตร์ เอพิโสดนี้ ชวนคุยเรื่องความโกรธและความรุนแรงในมุมวิวัฒนาการ ทำไมความขัดแย้งเล็กๆ น้อยๆ จึงกลายเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย การทะเลาะวิวาทมีประโยชน์อย่างไรในโลกยุคเก่า และเหตุใดพฤติกรรมเหล่านี้จึงยังคงอยู่ ทั้งที่เราอยู่ในยุคที่มี ‘กฎหมาย’ ในการควบคุมสังคมแล้ว

    ดำเนินรายการโดย หมอเอ้ว-ชัชพล เกียรติขจรธาดา และ ปลายฝน-ภัทรสุดา บุญญศรี

  • ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด

    https://youtu.be/Ofdyv5jP5Ho

    Human-ศาสตร์ เอพิโสดนี้ ชวนคุยเรื่อง ‘การนินทา’ พฤติกรรมที่เหมือนจะธรรมดา แต่ไม่ธรรมดา เพราะในแง่วิวัฒนาการนั้น การนินทามีฟังก์ชันที่หลายคนอาจคิดไม่ถึง!

    ประโยชน์ของการนินทาคืออะไร ทำไมจึงเป็นพฤติกรรมสำคัญต่อเผ่าพันธุ์มนุษย์ แล้วในสัตว์อื่นๆ มีพฤติกรรมลักษณะนี้หรือไม่ หาคำตอบได้ในเอพิโสดนี้

    ดำเนินรายการโดย หมอเอ้ว-ชัชพล เกียรติขจรธาดา และ ปลายฝน-ภัทรสุดา บุญญศรี

  • ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด

    https://youtu.be/AuVRC5z0mq8

    Human-ศาสตร์ เอพิโสดนี้ พาไปหาคำตอบว่า เหตุใดพฤติกรรมทางเพศของมนุษย์และสัตว์ถึงแตกต่างกัน อะไรคือตัวแปรที่ทำให้มนุษย์มีความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง ไปจนถึงการตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดระยะเวลาในการร่วมเพศของมนุษย์จึงใช้เวลานานกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทอื่นๆ

    ดำเนินรายการโดย หมอเอ้ว-ชัชพล เกียรติขจรธาดา และ ปลายฝน-ภัทรสุดา บุญญศรี

  • ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด

    https://youtu.be/8Bu4-Z0cubc

    เคยสังเกตกันไหมว่า เวลาเลือกคู่หรืออยากคบหาดูใจกับใคร หากพ้นไปจากรูปลักษณ์ภายนอกแล้ว เราดูจากปัจจัยอะไรบ้าง?

    อาจเป็นเรื่องนิสัยใจคอ ความสามารถ ฐานะทางเศรษฐกิจ ไปจนถึงเรื่องยิบย่อยอย่างรสนิยมการแต่งกาย

    Human-ศาสตร์ เอพิโสดนี้ ชวนคุยเรื่องพฤติกรรมการเลือกคู่ของมนุษย์ (รวมถึงสัตว์ต่างๆ) อะไรคือตัวแปรที่ทำให้มนุษย์มีความชอบที่แตกต่างกัน และ ‘ความรวย’ ที่เป็นหนึ่งในปัจจัยการเลือกคู่นั้น อธิบายได้ด้วยทฤษฎีวิวัฒนาการจริงหรือ

    ดำเนินรายการโดย หมอเอ้ว-ชัชพล เกียรติขจรธาดา และ ปลายฝน-ภัทรสุดา บุญญศรี

  • ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด

    https://youtu.be/H5xCWNhZj4I

    เคยสังเกตกันไหมว่า เวลาผู้ชายมองผู้หญิง สิ่งที่ดึงดูดสายตาเป็นลำดับแรกๆ คือสรีระที่มีส่วนเว้า-ส่วนโค้ง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของมนุษย์เพศหญิง

    สิ่งที่น่าสนใจคือ การที่ผู้หญิงมีสรีระแบบนี้ รวมถึงการที่ผู้ชายชอบมองโดยสัญชาตญาณ มีเหตุผลทางวิวัฒนาการซ่อนอยู่

    Human-ศาสตร์ เอพิโสดนี้ จะพาไปหาคำตอบว่า ทำไมผู้ชายถึงชอบผู้หญิงที่มีส่วนเว้า-ส่วนโค้ง เหตุใดสรีระของผู้ชายและผู้หญิงจึงแตกต่างกัน ไปจนถึงการตั้งข้อสังเกตว่า การที่ผู้หญิงเดินส่ายสะโพกนั้นแท้จริงแล้วเป็นแค่เรื่อง ‘จริต’ จริงหรือไม่

    ดำเนินรายการโดย หมอเอ้ว-ชัชพล เกียรติขจรธาดา และ ปลายฝน-ภัทรสุดา บุญญศรี

  • ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด

    https://youtu.be/L1TlsYdOvqI

    รู้หรือไม่ว่า เวลาเรามองว่าใครหน้าตาดี แท้จริงแล้วมีเหตุผลมากกว่าแค่เรื่อง ‘รสนิยม’

    ‘Human-ศาสตร์’ เอพิโสดนี้ พาไปหาคำตอบว่าเหตุใดความหล่อ-สวย จึงอธิบายได้ด้วยทฤษฎีวิวัฒนาการ มาตรฐานความงามของมนุษย์ (รวมถึงสัตว์ต่างๆ) มีอยู่จริงหรือไม่ และอะไรคือกลไกทางชีววิทยาที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง

    ดำเนินรายการโดย หมอเอ้ว-ชัชพล เกียรติขจรธาดา และ ปลายฝน-ภัทรสุดา บุญญศรี

  • ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด

    https://youtu.be/_QbRLGm9TZ0

    เมื่อพูดถึงชีววิทยา ทฤษฎีที่สำคัญที่สุดคือ ‘ทฤษฎีวิวัฒนาการ’ เพราะมันคือรากฐานที่ช่วยอธิบายว่าทำไมมนุษย์เราถึงเป็นแบบทุกวันนี้ ทั้งในแง่ร่างกาย สมอง และพฤติกรรม

    ‘Human-ศาสตร์’ EP.1 จะพาไปปูพื้นฐานว่าทฤษฎีนี้สำคัญอย่างไร พร้อมไขข้อสงสัยว่า Charles Darwin เป็นผู้ให้กำเนิดทฤษฎีนี้จริงหรือไม่

  • ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด

    เชื่อหรือไม่ว่า ตอนนี้เรากำลังอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านสำคัญของมวลมนุษยชาติ ไม่ต่างจากยุคปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ปฏิวัติอุตสาหกรรม หรือแม้กระทั่งการปฏิวัติทางเทคโนโลยีในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา

    การเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้มาจากสิ่งที่เรียกว่า ‘Bio Revolution’ หรือการปฏิวัติทางชีววิทยา

    ‘Human-ศาสตร์’ รายการน้องใหม่จาก THE STANDARD PODCAST จะพาไปทำความเข้าใจวิวัฒนาการและที่มาที่ไปของมนุษย์ ในยุคที่ชีววิทยากำลังเข้ามามีบทบาทในกับชีวิตของเราในทุกมิติ

    เริ่มต้นเอพิโสดแรกด้วยการพาไปทำความเข้าใจจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่ผ่านมา พร้อมชวนคิด ชวนตั้งคำถามว่า ชีววิทยาจะเข้ามาปฏิวัติอนาคตได้จริงหรือ?

    ดำเนินรายการโดย หมอเอ้ว-ชัชพล เกียรติขจรธาดา และ ปลายฝน-ภัทรสุดา บุญญศรี