Episodes

  • Podcast รายการ Sci เข้าหู โดยนิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ในวันนี้เราจะมาชวนคุยกัน ในเรื่องราวของการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น กับแขกรับเชิญที่เป็นอีกหนึ่งบุคคลที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการนำความรู้มาพัฒนาท้องถิ่นบ้านเกิด เภสัชกร ดร.วีระพงษ์ ประสงค์จีน หรือ ดร.แกง อาจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตร้อยเอ็ด ณ ทุ่งกุลาร้องไห้

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/E8mTrLI_0X0

  • รายการ Sci เข้าหู EP77 ชวนพูดคุยกับนักดาราศาสตร์ไทย ซึ่งมีเส้นทางชีวิตการเรียนและการทำงานที่น่าสนใจ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.จอมพจน์ วงศ์เพชรอักษร นักวิจัยหลังปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเวือทซ์บวร์ค นักเรียนทุนรัฐบาลไทย สังกัดสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ สดร. จะมาถ่ายทอดเรื่องราวเส้นทางความฝันการได้ทำงานเป็นนักดาราศาสตร์ ที่มีโอกาสได้เรียนรู้เรื่องราวดาราศาสตร์จากหลากหลายสถานที่ทั่วโลก

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/d8ULjPpTzmQ

  • Missing episodes?

    Click here to refresh the feed.

  • รายการ Sci เข้าหูวันนี้ ชวนคุยกันในประเด็นร้อนกับหัวข้อ “รับมืออย่างไรดี เมื่อเอเลียนสปีชีส์บุกน่านน้ำไทย” ไม่ว่าจะเป็นปัญหาปลาหมอคางดำ หรือสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ ที่สร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศของไทย โดยแขกรับเชิญพิเศษ ดร.ชวลิต วิทยานนท์ หรืออาจารย์แฟรงก์ นักวิชาการอิสระด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ผู้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพของปลา มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 และยังเป็นนักเขียนประจำนิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ในคอลัมน์ “ปั้นน้ำเป็นปลา”

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/9CvXC3_DnT4

  • รายการ Sci เข้าหู โดยนิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ชวนคุยในหัวข้อเรื่อง Lean Manufacturing ลดความสูญเปล่า พร้อมก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยแขกรับเชิญ ดร.ธนกร ตันธนวัฒน์ หรือ ดร.ต้น นักวิจัยทีมระบบไซเบอร์-กายภาพ เนคเทค-สวทช. หนึ่งในทีมวิจัยผู้นำเอาหลักคิด lean manufacturing ไปใช้ปรับปรุงกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/Vmh_dODmxgc

  • แขกรับเชิญพิเศษ ศาสตราจารย์ด็อกเตอร์ เดวิด รูฟโฟโล อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มาร่วมพูดคุยกันในหัวข้อเรื่อง “เครื่องวัดรังสีคอสมิกในอวกาศ ผลงานวิจัยคนไทยในภารกิจฉางเอ๋อ 7"

    ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีและน่าตื่นเต้นกับงานวิจัยของอาจารย์เดวิด ที่ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ พัฒนาเครื่องวัดรังสีคอสมิกในอวกาศ เพื่อติดตั้งไปกับยาน orbiter ที่โคจรรอบดวงจันทร์ ในภารกิจฉางเอ๋อ 7 ของจีน

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/XJrzHylESF8

  • ยางรีดนมวัวเป็นอุปกรณ์สำคัญในการรวบรวมน้ำนม แต่ที่ผ่านมาประเทศไทยต้องนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด มีรายงานพบว่าใน 1 ปี เกษตรกรต้องใช้งานยางรีดนมวัวถึง 400,000 ชิ้น คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งทำให้ไทยสูญเสียเงินเพื่อนำเข้าสินค้าประเภทนี้จำนวนมาก

    คุณศิริชัย พัฒนวาณิชชัย นักวิจัยจากทีมวิจัยยางและมาตรฐานยางยั่งยืน ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) จะมาเล่าถึงการพัฒนา “ต้นแบบยางรีดนมวัว” ทำจากยางธรรมชาติร่วมกับยางสังเคราะห์ มีราคาถูก ทนทาน และมีความปลอดภัยต่อแม่โคและผู้บริโภค รวมทั้งตอบโจทย์ลดปัญหาการนำเข้ายางรีดนมวัวจากต่างประเทศ

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/FDYpUiP_3oc

  • คุยกับน้องแก้ม นางสาวไอริณ อินทรทัต นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนชลราษฎรอำรุง ผู้ชนะเลิศจากการแข่งขัน “SiT Talks: Science inspired by Teen 2024” เวทีเฟ้นหาเยาวชนนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ถ่ายทอดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ภายใน 3 นาที ผ่านการนำเสนอในรูปแบบที่น่าสนใจ น่าติดตาม และทำให้เรื่องวิทยาศาสตร์เข้าใจง่ายขึ้น

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/hkSp3HIGFho

  • ปัญหาขยะอวกาศ เป็นอีกหนึ่งปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ต้องจับตามอง เพราะในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายประเทศทั่วโลก มีการสร้างดาวเทียม และปล่อยจรวดขึ้นสู่อวกาศเป็นจำนวนมาก และเมื่อดาวเทียมหรือสถานีอวกาศหมดอายุการใช้งาน ก็จะกลายเป็นขยะที่ลอยค้างอยู่ในวงโคจรของโลก ซึ่งขยะอวกาศเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกิจกรรมของมนุษย์บนโลก รวมไปถึงการสร้างความเสียหายให้กับดาวเทียมหรือสถานีอวกาศที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน

    รายการ Sci เข้าหู ได้รับเกียรติจาก คุณอนล ไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอมวัน (ประเทศไทย) จำกัด หนึ่งใน 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอวกาศ จากโครงการ Space Economy: Lifting Off 2021 ด้วยผลงานดาวเทียม เอมวัน เทคโนโลยีควบคุมความเร็วการโคจรวัตถุในอวกาศ เพื่อลดปริมาณขยะจากอวกาศ มาเล่าถึงปัญหาขยะอวกาศและวิธีการจัดการ

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/j2Ad7bhSVzY

  • เมื่อพูดถึงอวกาศ หลายคนคงนึกถึงสถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งอยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 400 กิโลเมตร เราจะเห็นนักบินอวกาศและวัตถุต่าง ๆ ภายในสถานีอวกาศล่องลอยไปมา เนื่องจากอยู่ในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ จึงเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นเมื่อเด็กไทยได้คิดการทดลองทางวิทยาศาสตร์สนุกๆ ผ่านโครงการที่ชื่อว่า Asian Try Zero-G 2023 ซึ่งเป็นโรงการความร่วมมือระหว่าง สวทช. กับ JAXA

    วันนี้รายการ Sci เข้าหู โดยนิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ได้ชวน 7 เยาวชนไทย ผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ และมีโอกาสได้เดินทางไปชมการทดลองที่ศูนย์อวกาศสึคุบะ ประเทศญี่ปุ่น มาถ่ายทอดประสบการณ์และเรื่องราวที่ได้เรียนรู้ให้เราฟัง

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/R4ztec-3YsQ

  • ไทยสุข คือ แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ออกแบบขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดความเสี่ยงการเป็นไรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ผ่านโมเดลการแข่งขันแบบออนไลน์ มาร่วมสร้างสังคมสุขภาพดีด้วยกัน

    นิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ได้รับเกียรติจาก ดร.เดโช สุรางค์ศรีรัฐ หรือ ดร.เข็ม นักวิจัย กลุ่มนวัตกรรมแพลตฟอร์มดิจิทัลสุขภาพการแพทย์ สวทช. ผู้พัฒนาแอปไทยสุข มาร่วมพูดคุยและบอกเล่าความน่าสนใจของ “ไทยสุข” ที่เปิดให้ดาวน์โหลดแล้ววันนี้ ทั้งระบบ iOS และ Android

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/gTKPQ89F548

  • Maker Jam 2024 การรวมกลุ่มของเหล่า Maker กลุ่มนักประดิษฐ์ที่มาพร้อมกับความคิดสร้างสรรค์ พร้อมที่จะมาเผยแพร่ความรู้ของงานผลงานสร้างสรรค์ทั้งหมดที่บรรดา Maker สร้างกันขึ้นมา ช่วยส่งเสริมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ผ่านการลงมือทำ ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย ตั้งแต่ทำของเล่นไปจนถึงของใช้ ด้วยการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อช่วยให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้น

    วันนี้ทางนิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ได้รับเกียรติเป็นจาก ดร.กฤษฎ์ชัย สมสมาน หรือ ดร.หมอน ผู้จัดงาน Maker Jam 2024 และผู้ก่อตั้งเพจ Origimon มาร่วมพูดคุยและบอกเล่าความน่าสนุกของงานนี้ให้เราฟัง

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/g3Z0XNn91Ts

  • นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช. ได้รับเกียรติจาก ดร.ชาคริต ศรีประจวบวงษ์ นักวิจัยจากทีมวิจัยเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ หรือ เอ็นเทค สวทช. มาร่วมพูดคุยถึงงานวิจัยการผลิตแบตเตอรี่สังกะสีชนิดอัดประจุซ้ำได้ หรือ zinc-ion battery ซึ่งเหมาะแก่การใช้เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้งานแบบตั้งอยู่กับที่ ต้องการความทนทานต่อสภาพแวดล้อมสูง หรือใช้ในภารกิจที่ต้องการความปลอดภัยเป็นอย่างมาก เป็นหนึ่งในการทำวิจัยเพื่อขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG ทั้งในด้านการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด และการพัฒนากระบวนการผลิตที่คำนึงถึงการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลดีในด้านการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/OEoZAmrOnoA

  • นิตยสารสาระวิทย์ ได้รับเกียรติจาก ดร.นครินทร์ ทรัพย์เจริญดี หรือ ดร.โอ๊ค นักวิจัยทีมวิจัยนวัตกรรมเส้นใยนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือนาโนเทค สวทช. จะมาร่วมพูดคุยเพื่อบอกเล่าถึงเรื่องราวความน่าสนใจของผลงานวิจัยแบตเตอรี่สังกะสีไอออนแบบเคเบิล เพื่อใช้งานใน wearable devices เช่น สายรัดข้อมือ และสมาร์ตวอตช์ โดยมีจุดเด่น คือบิดงอได้ ทนความร้อนสูง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/GDKwogvxUgY

  • เมื่อช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เราคงได้เห็นข่าวด้านอวกาศ ซึ่งสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้คนทั่วโลกกันมาแล้ว เมื่อยานจันทรายาน 3 ของอินเดีย ลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ได้สำเร็จ ทำให้อินเดียกลายเป็นชาติที่ 4 ของโลก ถัดจากอดีตสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และจีน

    และหากย้อนกลับไปเมื่อช่วงปลาย 2564 ประเทศไทยของเรา ได้เคยประกาศเป้าหมาย ส่งยานอวกาศไปสำรวจดวงจันทร์ภายใน 7 ปี โดยเกิดเป็นโครงการ Thai Space Consortium หรือ TSC ขึ้นมา เพื่อภารกิจสร้างดาวเทียมสำรวจดวงจันทร์

    วันนี้นิตยสารสาระวิทย์ ได้รับเกียรติจาก ดร.พงศธร สายสุจริต หรือ อาจารย์ปอม อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และอาจารย์ปอม และยังดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ สถาบันเทคโนโลยีอวกาศนานาชาติเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ หรือ INSTED อีกด้วยค่ะ ซึ่งอาจารย์ปอมเป็นหนึ่งในผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโครงการสร้างดาวเทียม TSC จะมาร่วมพูดคุยและอัปเดตความคืบหน้าของโครงการให้เราได้ฟัง

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/LUz7UubqSYE

  • วันนี้ทางนิตยสารสาระวิทย์ ได้รับเกียรติจากคุณสักรินทร์ ดูอามัน หรือเชฟริน ผู้ช่วยวิจัย โรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ นาโนเทค สวทช. จะมาบอกเล่าถึงเรื่องราวที่น่าสนใจ กว่าจะมาเป็นเครื่องสำอาง มีขั้นตอนอย่างไร แล้ววิทยาศาสตร์กับศิลปะ มาบรรจบรวมกันได้อย่างลงตัว จนออกมาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสู่ผู้บริโภค

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/CzOdpepCo0I

  • จากผลการศึกษาและวิจัยดีเอ็นเอ เพื่อระบุชนิดพันธุ์ปลาฉลามจากผลิตภัณฑ์หูฉลามที่ขายอยู่ในประเทศไทย ที่เพิ่งเผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้ พบข้อมูลที่น่าสนใจในเรื่องการสร้างความตื่นตัว และตระหนักรู้ถึงปัญหาและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม จากการบริโภคผลิตภัณฑ์จากฉลาม ซึ่งอาจมาจากฉลามที่กําลังเสี่ยงสูญพันธุ์

    นิตยสารสาระวิทย์ ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลย์ลดา กลางนุรักษ์ นักวิจัยและอาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยี การผลิตสัตว์และประมง คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และ ดร.เพชร มโนปวิตร นักวิทยาศาสตร์ด้านการอนุรักษ์ ที่ปรึกษาองค์กรไวล์ดเอด จะมาเล่าถึงงานวิจัยดีเอ็นเอ ซึ่งพบหูฉลามที่ขายในไทยกว่า 60% มาจากฉลามที่เสี่ยงสูญพันธุ์

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/w04zgw6tF08

  • คนไทยเรารู้จักและใช้ไผ่ ได้สารพัดประโยชน์ ทั้งกิน ก่อสร้าง ใช้เป็นภาชนะ และอื่นๆ อีกมากมาย คุณสมบัติที่ดีของไผ่ คือ โตเร็ว กระจายพันธุ์ได้อย่างกว้างขวาง สามารถหมุนเวียนและทดแทนต้นที่ถูกตัดได้เร็ว จึงถือเป็นทรัพยากรที่มีศักยภาพในการทดแทนสูงและยั่งยืน

    วันนี้นิตยสารสาระวิทย์ได้รับเกียรติจาก ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต นักวิจัย ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค สวทช. จะมาร่วมพูดคุยเพื่อบอกเล่าถึงงานวิจัย การพัฒนากล้าพันธุ์ไผ่ที่มีคุณภาพดี และขยายกล้าพันธุ์ไผ่ในระดับอุตสาหกรรมด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อเป็นประโยชน์ในการปลูกป่าเศรษฐกิจแก่เกษตรกรไทย

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/-sdCpKdXEvc

  • ช่วงนี้เราได้ยินข่าวการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกกันบ่อยครั้ง จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ “แอปพลิเคชันรู้ทัน” เกิดจากความร่วมมือของ เนคเทค สวทช. และกรมควบคุมโรค ร่วมกันวิจัยและพัฒนา “ชุดซอฟต์แวร์ทันระบาด” เพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไข้เลือดออก ให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงหรือรับการแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสาร ที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เพื่อเตรียมรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในการใช้ชีวิตประจำวันและได้รับความเสี่ยงน้อยที่สุด

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/MGefVnHwapY

  • สำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องความงามพลาดไม่ได้กับงานวิจัยที่น่าสนใจเรื่อง นวัตกรรมความงามด้วยเทคโนโลยีอนุภาคกักเก็บสารสกัดเห็ดหลินจือ

    วันนี้นิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ได้รับเกียรติจาก ดร.ธงชัย กูบโคกกรวด หรือ ดร.ธง นักวิจัยจากทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตและเวชสำอาง ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ NANOTEC สวทช. จะมาเล่าถึงผลงานการพัฒนาเทคโนโลยีอนุภาคกักเก็บสารสกัดเห็ดหลินจือ ที่ได้ส่งต่อภาคเอกชนสู่นวัตกรรมความงามถึงมือผู้ใช้

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/pVuGTkNv3es

  • ปรากฏการณ์ “เอลนีโญและลานีญา” (El Niño, La Niña ) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ปรากฏการณ์เอนโซ (ENSO) มีผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศของโลกอย่างไรบ้าง ?

    ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบในเรื่องของภาวะภัยแล้ง น้ำท่วม อากาศร้อนจัดหรือไม่ เรามาร่วมค้นหาคำตอบร่วมกันกับ ดร.ปิงปิง พรอำไพ นเรนทร์พิทักษ์ นักวิจัยจากทีมวิจัยการจำลองและระบบขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/k_Oo7H8mBBI