Bölümler

  • จาก 11 เอพิโสดที่ ซู่ชิง-จิตต์สุภา ฉิน ได้พุดคุยกับแขกรับเชิญและผู้เชี่ยวชาญจากหลายวงการเกี่ยวกับเทคโนโลยีล้ำๆ ที่กำลังเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Smart Home, AI กับวรรณกรรม, เทคโนโลยีการเกษตร, AR/VR และอื่นๆ
    เอพิโสดนี้เพื่อเป็นการทิ้งท้ายซีซันแรก ซู่ซิงชวนเหล่าทีมงานมาร่วมพูดคุยอีกครั้ง มาฟังกันว่าใครชอบเอพิโสดไหนที่สุด มีเรื่องไหนอัปเดตไปแล้วบ้าง ทุกคนมีมุมมองต่อเรื่องต่างๆ อย่างไร และได้เรียนรู้อะไรจากรายการนี้บ้าง
    หวังว่าจะได้พบกันอีกในซีซันที่ 2 :)

  • Tomorrow is Now เอพิโสดนี้ ซู่ชิง-จิตต์สุภา ฉิน ชวนเดินทางออกไปสำรวจอวกาศ กับเด็กรุ่นใหม่ไฟแรงเจ้าของเว็บไซต์และแฟนเพจ SPACETH.CO ​เติ้ล-ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน และ กร-กรทอง วิริยะเศวตกุล

  • Eksik bölüm mü var?

    Akışı yenilemek için buraya tıklayın.

  • AI กำลังเก่งกว่ามนุษย์จนหลายคนกลัวว่าจะตกงาน หรือต้องเปลี่ยนไปทำงานอื่นแทน แถมยังอดรู้สึกไม่ได้ว่า เทคโนโลยีสมัยนี้ดูน่าสะพรึงกลัวไปด้วยในทีเดียวกัน เกิดกระแสในการกำหนดกฎหมายและจริยธรรมการใช้ AI
    Tomorrow is Now เอพิโสดนี้ ซู่ชิง-จิตต์สุภา ฉิน คุยกับ อาจารย์อาร์ต-อรรถพล ปะมะโข แขกรับเชิญที่เคยมาพูดคุยในอีพีที่ 3 เมื่อ AI กลายร่างเป็นนักเขียนนิยาย! รอบนี้เราจะมาคุยกันเรื่องที่ยังต้องถกเถียงและยังไม่มีคำตอบแน่ชัด นั่นคือ ‘จริยธรรมกับ AI’
    Time Index01.50 จริยธรรมของปัญญาประดิษฐ์03.35 ที่มาของความกลัว AI จะครองโลก09.01 ทำไมคนเราถึงมักจะกลัวหุ่นยนต์ที่หน้าตาเหมือนกับมนุษย์14.49 AI ตัดสินใจแทนคนได้ไหม22.00 ทำไม AI ถึงมีอคติ
    อ่านเนื้อหาของเอพิโสดนี้ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/tomorrowisnow10/

  • เคยสงสัยไหม… ทำไมเมื่อก่อนผู้หญิงมีตัวเลือกในการประกอบอาชีพน้อย ทำไมคนทำสตาร์ทอัพส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย ทำไมสินค้าบางอย่างก็ไม่เข้าใจหัวอกผู้หญิงเอาซะเลย แล้วทุกวันนี้สังคมเราเปิดกว้างสำหรับผู้หญิงอย่างเท่าเทียมแล้วหรือยัง
    พอดแคสต์ Tomorrow is Now เอพิโสดนี้ ซู่ชิง-จิตต์สุภา ฉิน ชวนผู้หญิงสุดเก่งแห่งวงการสตาร์ทอัพ คุณอ้อ-พรทิพย์ กองชุน 
COO เเละผู้ร่วมก่อตั้ง Jitta 
แพลตฟอร์มการลงทุนแบบเน้นคุณค่า และ หมอจิ๊บจี้-พ.ญ.พิรญาณ์ ธำรงธีระกุล ผู้ร่วมก่อตั้ง Chiiwii แอปพลิเคชั่นที่ปรึกษาด้านสุขภาพสำหรับผู้หญิงมาพูดคุยกันถึง FemTech คลื่นธุรกิจลูกใหม่ที่รันโดยผู้หญิง เพื่อผู้หญิงTime Index01:14 FemTech คืออะไร03:10 วางแผนครอบครัว ใครว่ายาก11:35 โอกาสมหาศาลจาก Sheconomy23:22 เปิดกว้างและเท่าเทียม?อ่านเนื้อหาของเอพิโสดนี้ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/tomorrowisnow09/

  • “Hey Siri, set up a meeting at 9.”
    10 ปีที่ผ่านมาระบบผู้ช่วยส่วนตัวอัจฉริยะ หรือ Voice Assistant ได้พัฒนาแบบก้าวกระโดด และช่วยจัดการสารพัดสิ่งในชีวิตประจำวันของเรา เช่น เช็กสภาพอากาศ นัดประชุม บอกเส้นทางระหว่างขับรถ ไม่แน่ว่าในอนาคตเราอาจไม่ต้องพกสมาร์ทโฟนอีกต่อไป แต่ใช้หูฟังอัจฉริยะที่รองรับคำสั่งผ่านเสียง
    จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราเริ่มแยกไม่ออกว่ากำลังคุยกับ AI หรือมนุษย์ ชีวิตเราจะดีขึ้นจริงไหม เราจะอยู่อย่างไรในยุคแห่ง AI
    เอพิโสดนี้ ซู่ชิง-จิตต์สุภา ฉิน ชวน อาจารย์เต้-ดร.อรรถพล ธำรงรัตนฤทธิ์ จากภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์และการประมวลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing - NLP) มาพูดคุยเรื่อง Voice Techonology ว่าจะเปลี่ยนชีวิตของเราทุกคนไปอย่างไรTime Index02:13 ทำไมผู้ช่วยอัจฉริยะถึงเก่งขึ้น06:08 เบื้องหลังความฉลาดของ Voice Assistant07:34 เมื่อผู้ช่วยอัจฉริยะพูดจาเหมือนคน16:33 Goodbye Smartphone. Welcome, Natural Interface.20:45 AI รับมือกับคำพูดเหยียดเพศได้ไหม25:33 อยู่กับ AI อย่างไรในอนาคต
    อ่านเนื้อหาของเอพิโสดนี้ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/tomorrowisnow08/

  • ในยุคที่เทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติรุกคืบเข้าทดแทนแรงงานคนในหลายสาขาอาชีพ เกษตรกรไทยควรปรับตัวอย่างไร อะไรคือความท้าทายที่รอเราอยู่เบื้องหน้า
    Tomorrow is Now เอพิโสดนี้ ซู่ชิง-จิตต์สุภา ฉิน ชวน ดร. มหิศร ว่องผาติ ผู้ก่อตั้งบริษัท HiveGround ซึ่งกำลังคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร มาพูดคุยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของเทคโนโลยีที่จะมาพลิกโฉมภาคเกษตรกรรมไทย และเปลี่ยนภาพจำของชาวนา ‘หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน’ ไปตลอดกาลTime Index01:22 AgTech คืออะไร02:20 มองเทรนด์โลก05:16 การเกษตรแบบโดรนๆ09:08 เพิ่มความแม่นยำด้วย IoT15:30 เทคโนโลยี + เกษตรกรไทย = ?20:49 ชาวนาจะตกงานไหม24:20 ความท้าทายในอนาคตอ่านเนื้อหาของเอพิโสดนี้ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/tomorrowisnow07/

  • ยังจำกันได้ไหมว่าชีวิตในยุคก่อนมีอินเทอร์เน็ตเป็นยังไง
    คนที่เกิดก่อนปี 2000 น่าจะพอตอบคำถามข้างต้นได้ดี เพราะก่อนจะมีอินเทอร์เน็ต การติดต่อสื่อสารและเสิร์ชหาข้อมูลไม่ได้สะดวกรวดเร็วเหมือนกับทุกวันนี้ แต่เด็กรุ่นใหม่อาจจินตนาการแทบไม่ออกว่าชีวิตที่ปราศจากอินเทอร์เน็ตจะเป็นอย่างไร
    แต่แน่ใจแล้วหรือยังว่าเราใช้อินเทอร์เน็ตกันได้คุ้มค่าที่สุดแล้ว เอพิโสดนี้ ซู่ชิง-จิตต์สุภา ฉิน ชวนทีมงาน THE STANDARD PODCAST มาร่วมแชร์ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่ใครหลายๆ คนอาจยังไม่รู้ หรือรู้แล้ว ยังไม่เคยลอง แต่เราอยากให้ลองทำกันดูสักตั้ง!Time Index2:16 เคยเรียนอะไรจาก Youtube กันบ้าง11:58 หารายได้เสริมยังไง17:12 ชีวิตง่ายขึ้นแค่มี...25:00 ให้อัลกอริทึมช่วยตัดสินใจ27:25 หมดยุคฝากพ่อแม่อัดเทปละครตอนจบ29:14 เจอเพื่อนใหม่31:10 พลังของการสร้างความเปลี่ยนแปลง
    อ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/tomorrowisnow06/

  • เอพิโสดนี้ ซู่ชิง-จิตต์สุภา ฉิน จะมาอัพเดทเทรนด์ VR ที่ใช้ในแวดวงต่างๆ ทั่วโลก และชวน ยศ-จิรยศ เทพพิพิธ ผู้ก่อตั้งบริษัทเทคโนโลยี Infofed ผู้บุกเบิกวงการ VR Content ในไทยมาพูดคุยถึงโอกาสทางธุรกิจ VR ในไทยและความเป็นไปได้ใหม่ๆ จากเทคโนโลยีเสมือนจริงในอนาคต

  • ซู่ชิง-จิตต์สุภา ฉิน ชวนถกประเด็นเกี่ยวกับด้านมืดของเทคโนโลยีที่กำลังรุกล้ำชีวิตของเรา ราวกับหลุดมาจากภาพยนตร์และซีรีส์ไซ-ไฟ ตั้งแต่ระบบเครดิตทางสังคม (Social Credit System) ในประเทศจีน ขาลงของเครือข่ายสังคมออนไลน์ ไปจนถึงความน่ากลัวของ AI ที่ตัดต่อหน้าคนในคลิปวิดีโอ
    กับแขกรับเชิญ พลอย-ปิยพร อรุณเกรียงไกร (โปรดิวเซอร์รายการ) และแบงค์-เอกพล บรรลือ (บรรณาธิการข่าว THE STANDARD)Time Index00:45 Social Credit System คืออะไร06:00 ผลกระทบจาก Social Credit System ที่เราอาจนึกไม่ถึง09:40 เมื่อ Facebook ปล่อยให้ข้อมูลผู้ใช้รั่วไหล10:50 จะยอมเซ็นเซอร์ตัวเอง หรือถูกล่าแม่มด13:45 Alexa แอบดักฟังเราอยู่หรือเปล่า21:54 AI คือ ความหวัง หรืออาวุธสังหารกันแน่อ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/tomorrowisnow04/

  • จะเกิดอะไรขึ้น ถ้านิยายที่แต่งโดย AI กลายเป็นหนังสือระดับ Best Seller ที่ครองใจนักอ่านทั่วโลกไม่แพ้ Harry Potter เป็นไปได้แค่ไหนที่ผลงานของ AI จะขึ้นแท่นนิยายคลาสสิกตลอดกาลเหมือนกับผลงานขึ้นหิ้งของวิลเลียม เชคสเปียร์ เมื่อถึงตอนนั้นแล้วเราจะยังมอง AI เป็นเครื่องจักรกลที่ไม่มีหัวใจ ไร้ความคิดสร้างสรรค์อยู่หรือเปล่าTomorrow is Now เอพิโสดนี้ ซู่ชิง-จิตต์สุภา ฉิน ชวน อาจารย์อาร์ท-อรรถพล ปะมะโข จากภาควิชาภาษาอังกฤษและภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผู้เขียนบทความวิจัยเกี่ยวกับวรรณกรรมดิจิทัล มาพูดคุยถึงบทบาทของ AI ในวงการวรรณกรรมว่าก้าวหน้าไปถึงไหน แล้วนักเขียนจะตกงานกันไหม
    Time Index02:33 ประเภทของ AI07:50 เมื่อคนกับ AI แต่งนิทานก่อนนอน18:00 AI แต่งนิทานได้อย่างไร20:35 วรรณกรรมเรื่องนี้ AI หรือ คน เป็นผู้แต่ง25:22 จุดอ่อนของ AI กับเส้นทางสู่วรรณกรรมระดับโลก27:35 นักเขียนจะตกงานไหมอ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/tomorrowisnow03

  • รักแท้ รักคืออะไร เมื่อความสัมพันธ์ของคนยุคใหม่ไม่ได้เกิดจากพรหมลิขิตหรือบุพเพสันนิวาส แต่มีเทคโนโลยีแสนฉลาดอย่าง AI อยู่เบื้องหลัง ซู่ชิง-จิตต์สุภา ชวนคุยเรื่อง AI ในแง่มุมของความรักความสัมพันธ์ของคนยุค 4.0 ที่จะซับซ้อนมากยิ่งขึ้นในอนาคต AI จะช่วยให้เราสมหวังและเจอคนที่ ‘ใช่’ อย่างไร มนุษย์รักกับหุ่นยนต์ได้หรือไม่ หาคำตอบกันได้ในพอดแคสต์ Tomorrow Is NowTime Index02:20 ใช้แอปฯ หาคู่ เวิร์กจริงหรือเปล่า10:35 เมื่อ AI ช่วยอ่านใจฝ่ายตรงข้าม17:52 เมื่อ Facebook เพิ่มฟีเจอร์หาคู่ แล้วเพื่อนเราจะจับได้ไหม23:35 AI ช่วยให้เราตามหารักแท้ได้จริงหรือเปล่า31:00 เราจะรักกับ AI ได้ไหม
    อ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/tomorrowisnow02

  • ซู่ชิง-จิตต์สุภา ฉิน ชวนคุยเรื่อง Smart Home ในแง่มุมที่หลากหลาย ไล่ตั้งแต่ ของชิ้นไหนในบ้านที่ควรฉลาดขึ้น มีอะไรที่ฉลาดมากแล้วในทุกวันนี้ หรือมีข้าวของเครื่องใช้ชิ้นไหนรึเปล่าที่ไม่ต้องฉลาดก็ได้ และในอนาคต บ้านจะฉลาดไปถึงไหน ด้านลบของความอัจฉริยะมีบ้างไหม Time index01.46 ของใช้ชิ้นไหนไม่ตอบโจทย์คนในบ้าน
07.26 พัฒนาการของเครื่องใช้อัจฉริยะ 
12.37 Smart Home จำเป็นจริงไหม 
20.08 บ้านอัจฉริยะในอุดมคติ33.05 บทสรุปของ Smart Home อ่าน shownotes https://thestandard.co/podcast/tomorrowisnow01

  • พอดแคสต์รายการใหม่จาก THE STANDARD ว่าด้วยเรื่องราวความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่เข้ามาเปลี่ยนชีวิตเราในแบบที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด
    ดำเนินรายการโดย ซู่ชิง-จิตต์สุภา ฉิน พร้อมด้วยแขกรับเชิญหลากหลายที่แวะเวียนมาร่วมพูดคุยแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ เช่น Internet of Things จะมาช่วยเปลี่ยนชีวิตเราอย่างไร Smart Home ตอนนี้มันฉลาดแค่ไหน การใช้เทคโนโลยีในการหาคู่มันเวิร์กไม่เวิร์กอย่างไรบ้าง ฯลฯ