Episoder

  • การมาของ AI (Artificial intelligence) ไม่ใช่แค่กระแส
    แต่มีแนวโน้มที่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
    ที่ไม่ต่างกับ “อินเทอร์เน็ต” ในอดีต

    ในมิติของนโนบาย ประเทศไทยจะทำอย่างไร
    ให้ไม่เสียโอกาสจากการใช้ AI จนถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

    แล้วประเทศไทย ควรเริ่มต้นจากตรงไหน
    ถึงจะสามารถคว้าโอกาสจาก AI ในครั้งไว้ได้

    Talk ลงทุนแมน ชวนคุณธีระชาติ ก่อตระกูล
    ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ StockRadars

    ในฐานะคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษา
    แนวทางในการควบคุม และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
    เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต (กมธ. AI)

    และคุณณภัทร จาตุศรีพิทักษ์
    ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ ViaLink ในฐานะคณะที่ปรึกษา กมธ. AI
    มาร่วมกันวิเคราะห์และหาทางออกเรื่องนี้ไปพร้อม ๆ กัน

  • ทำไมอเมริกา เกาหลี ตั้งโรงงานที่เวียดนาม แต่ไม่เลือกไทย ?
    “เวียดนาม” กลายเป็นหมุดหมายในการตั้งโรงงาน
    ของบริษัทระดับโลก เช่น สหรัฐอเมริกา, เกาหลีใต้

    ทำไมเวียดนามถึงโดดเด่นในเรื่องนี้
    แล้วอะไรทำให้ผู้ประกอบการต่างชาติเลือกตั้งโรงงานในเวียดนาม
    แทนที่จะมาตั้งโรงงานในประเทศไทย ?

    Talk ลงทุนแมน ชวนคุณสมหะทัย พานิชชีวะ
    CEO บริษัท อมตะ วีเอ็น จำกัด (มหาชน)

    มาวิเคราะห์ในมุมมองของคนที่อยู่ในแวดวงนิคมอุตสาหกรรม
    ทั้งไทยและเวียดนาม ถึงอุปสรรคที่ผ่านมา
    พร้อมร่วมหาโอกาสสำหรับประเทศไทยในอนาคต

  • Manglende episoder?

    Klik her for at forny feed.

  • ถ้าย้อนเวลากลับไปเมื่อ 86 ปีที่แล้ว
    ที่เมืองแทกู ประเทศเกาหลีใต้ แล้วมีคนบอกว่า
    Samsung จะเป็นผู้ผลิตชิป เบอร์ 2 ของโลก

    คนในยุคนั้น ก็คงคิดว่าเสียสติไปแล้ว และอาจถามกลับว่า ชิปคืออะไร ทำไม Samsung ต้องไปขายของอะไรแบบนั้น ?

    เพราะตอนนั้นคุณ Lee Byung-chul พร้อมคนงาน 40 คน
    สร้าง Samsung ขึ้นมาเป็นธุรกิจเล็ก ๆ ด้วยการขายปลาแห้ง
    ก่อนจะขายน้ำตาล และอื่น ๆ ตามมา

    ซึ่ง Samsung เปลี่ยนจากขายปลาแห้ง น้ำตาล
    มาเป็นผู้ผลิตชิป เบอร์ 2 ของโลกได้อย่างไร ?
    ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง

  • ธุรกิจแบบไหน ? ที่สามารถจะเอาตัวรอดในยุค Generative AI ?
    ในวันที่ AI อาจไม่ใช่แค่กระแส แต่มีแนวโน้ม
    ที่จะกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของมวลมนุษยชาติ

    สำหรับคนที่ทำงานกับ AI และเห็นวิวัฒนาการของสิ่งเหล่านี้มาตลอดเวลา
    พวกเขาเห็นอนาคต AI เป็นอย่างไร แล้วในฐานะของคนทำงาน
    จะต้องปรับตัวรับมือกับความก้าวล้ำนี้ได้อย่างไร ?

    Talk ลงทุนแมนชวน
    คุณกวีวุฒิ เต็มภูวภัทร Head of R&D and Innovation Lab ของ SCBx
    และเจ้าของเพจ แปดบรรทัดครึ่ง

    และ คุณกิตติศักดิ์ โควินท์ทวีวัฒน์ เจ้าของเพจ Billionaire VI

    มาร่วมแชร์ประสบการณ์ จากมุมมองของผู้บริหารบริษัท
    ด้านเทคโนโลยี และร่วมวิเคราะห์เรื่องนี้ไปด้วยกัน

  • NVIDIA เป็นหนึ่งในหุ้นมหัศจรรย์พันเด้ง
    ปัจจุบัน มีมูลค่ามากกว่า 80 ล้านล้านบาท
    มากสุดเป็นอันดับ 3 ในโลก เป็นรองแค่ Microsoft และ Apple

    ก่อนที่ NVIDIA จะสำเร็จกับการเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม AI
    ในวันนี้ บริษัทก็เคยล้มลุกคลุกคลานมาก่อน

    เรามาดูกันว่า ตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทขึ้นมา
    NVIDIA เจอเหตุการณ์สำคัญ ๆ อะไรมาบ้าง ?
    ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง

  • ในวันที่ทั้งโลกกำลังเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน เข้าสู่พลังงานสะอาด จนรายได้ของการขายน้ำมัน กำลังหดหาย และไลฟ์สไตล์ของผู้คนเริ่มเปลี่ยน

    OR มีกลยุทธ์อะไร ที่จะพาตัวเองออกจากกรอบเดิม
    และรักษาความเป็นเจ้าตลาดไว้ ในมรสุมการเปลี่ยนแปลงนี้ ?

    วันนี้คุณสุภัททกิต เจตทวีกิจ, CFA พาทุกคนไปหาคำตอบกันกับ คุณดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
    บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR)

  • ทำไม “มูเก็ตติง” ธุรกิจที่มากับความเชื่อ
    เงินสะพัดถึง 10,000-15,000 ล้านบาท ?

    “มูเก็ตติง” คำเรียกของธุรกิจที่ผสมผสานกับความเชื่อ กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดในสังคมไทย จนถูกจัดอยู่กลุ่ม “ธุรกิจดาวรุ่ง” ในปี 2567

    อีกทั้งยังมีการคาดการณ์ว่าธุรกิจกลุ่มนี้ สามารถทำเงินสะพัดได้มากกว่า 10,000-15,000 ล้านบาทเลยทีเดียว

    อะไรเป็นจุดที่ทำให้มูเก็ตติงเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ

    แล้วเบื้องหลังธุรกิจเหล่านี้ มีปัจจัยหนุนอะไรซ่อนอยู่ และจะเป็นแค่กระแส หรือเติบโตได้อย่างยั่งยืน ?

    Talk ลงทุนแมน ชวนคุณณัฐพล ม่วงทำ เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน ผู้รวบ มาร่วมพูดถึงเรื่องนี้ไปด้วยกัน

  • Warrix สปอร์ตแบรนด์ สัญชาติไทย
    เจ้าของสิทธิ์ผลิตชุดแข่งขันนักฟุตบอลทีมชาติไทย
    ที่จุดกระแสสวมเสื้อบอลทั้งประเทศ

    ในปี 2566 ที่ผ่านมา Warrix
    ยังสามารถทำรายได้รวม 1,251 ล้านบาท กำไร 127 ล้านบาท
    แต่ทำไมราคาหุ้น Warrix ถึงสวนทางกับความนิยม ?

    รายการ Company Snapshot ชวน คุณวิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วอริกซ์ สปอร์ต จำกัด (มหาชน)

    มาร่วมพูดคุยถึงประเด็นนี้ รวมถึงโอกาสที่ Warrix
    จะเติบโตในอนาคต กับคุณสุภัททกิต เจตทวีกิจ, CFA

  • ปี 2003 เฉลี่ยคนนอร์เวย์ 1 คน มีความมั่งคั่ง 1.3 ล้านบาท
    ปี 2023 เฉลี่ยคนนอร์เวย์ 1 คน มีความมั่งคั่ง 10.4 ล้านบาท

    ผ่านไป 20 ปี ความมั่งคั่งเฉลี่ยต่อคน ของชาวนอร์เวย์เพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า ซึ่งความมั่งคั่งนี้ ไม่ได้นับรวมทรัพย์สินส่วนตัว

    แต่เป็นส่วนแบ่งทรัพย์สินของชาวนอร์เวย์ทุกคน จากกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ โดยผลตอบแทนที่ได้ จะไม่ได้อยู่ในรูปของเงินสด แต่ชาวนอร์เวย์ทุกคน จะได้รับเป็นสวัสดิการชั้นเลิศ ที่ดูแลตั้งแต่เกิดจนตาย ให้กับแต่ละคนแทน

    รัฐบาลนอร์เวย์ ทำอย่างไร ถึงทำให้ประชาชนทุกคน มีความมั่งคั่งถึง 10 ล้านบาท ? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง

  • ในช่วงนี้ บริษัทผู้พัฒนาเทคโนโลยี
    ต่างออกมาประชันศักยภาพในการพัฒนา AI (Artificial intelligence)
    กันอย่างต่อเนื่อง

    ที่ล่าสุด OpenAI เปิดตัว GPT-4o ที่เริ่มมีทักษะคล้ายมนุษย์มากขึ้นเรื่อย ๆ

    การมาของ AI ในครั้งนี้ จะเป็นคลื่นลูกใหม่
    ที่เป็นโอกาสของนักลงทุนที่สนใจด้านเทคโนโลยี AI แล้วหรือยัง
    และใครจะมีโอกาสเป็นผู้ชนะในเกมนี้ได้บ้าง ?

    Talk ลงทุนแมนชวน
    คุณชยนนท์ รักกาญจนันท์ CEO & Co-founder FINNOMENA Funds
    และ คุณยศพนธ์ สุธารัตนชัยพร, CFA เจ้าของเพจ ชีพจรลงทุน
    มาร่วมวิเคราะห์ และมองหาโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ไปด้วยกัน

  • ไม่นานมานี้ คุณ Robert Goldstein ซีอีโอของ Las Vegas Sands บริษัทกาสิโนใหญ่สุดในโลก บอกว่า บริษัทสนใจที่จะทำธุรกิจในไทยแน่นอน

    ซึ่งเรื่องนี้กำลังเกิดขึ้น หลังจากที่ไทยได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมา เพื่อร่าง พ.ร.บ.สถานบันเทิงครบวงจร (Entertainment Complex) ที่ประกอบด้วย กาสิโนถูกกฎหมาย

    แล้วคำถามก็คือ Las Vegas Sands เป็นใคร มาจากไหน
    ทำไมถึงมองประเทศไทย เป็นจุดหมายต่อไป ?
    ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง

  • ภายใน 20 ปีนี้ เศรษฐกิจโลกอาจได้รับผลกระทบจาก AI อย่างที่เราไม่คาดคิดมาก่อน เช่น

    - อนาคต AI จะเป็นตัวช่วยเพิ่ม GDP มากกว่าอุตสาหกรรมดั้งเดิมทั้งหมด
    - พลังงานที่ AI ต้องการใช้ จะมากกว่าพลังงานของครัวเรือนและอุตสาหกรรมดั้งเดิมทั้งหมด
    - นอกจาก AI จะช่วยเรื่องผลผลิตแล้ว ก็จะกลับมาเป็นผู้บริโภคในระบบเศรษฐกิจด้วย

    เรื่องที่ชวนเพ้อฝันนี้ ถ้าเกิดขึ้นจริง จะเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจอย่างไร ? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง

  • รถยนต์จีน กำลังแย่งตลาดส่งออกกระบะไทย หรืออุตสาหกรรมยานยนต์ไทย จะถูกกลืนกิน ?
    อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นหนึ่งในภาคการผลิตที่สร้างรายได้
    ให้ประเทศไทยราว 10-12% ของ GDP

    แต่ปัจจุบัน “รถยนต์จีน” กำลังเข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ที่ไม่ใช่แค่ “รถยนต์ EV” ที่เข้ามาตีตลาดเท่านั้น

    แต่ยังขยายไปยังตลาดรถ “ปิกอัพ” ซึ่งเป็นหัวใจหลักของธุรกิจยานยนต์ไทย และตลาดส่งออกของไทยอีกด้วย

    อะไรทำให้ “จีน” เติบโตในอุตสาหกรรมยานยนต์ได้ในช่วงเวลาไม่นาน แล้วอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย จะมีโอกาสถูกรถยนต์จีนกลืนกินได้หรือไม่ ?

    Talk ลงทุนแมน ชวน ดร.ณชา อนันต์โชติกุล ผู้อำนวยการอาวุโส KKP Research กลุ่มธุรกิจการเงิน เกียรตินาคินภัทร (KKPFG) มาวิเคราะห์รื่องนี้ไปด้วยกัน

  • หุ้น FSMART เบื้องหลังเต่าบิน บุญเติม และกิ้งก่า อีวี จะโตได้อีกไหม ?
    จำนวนของตู้เต่าบิน ในไตรมาส 4 ปี 2566 เหลือ 6,392 ตู้ ลดลง 175 ตู้ จากช่วงไตรมาส 3 ปี 2566

    ทำให้หลายคนมองว่า ธุรกิจของ FSMART
    ผู้ให้บริการตู้อัตโนมัติทั้ง ตู้เต่าบิน และตู้บุญเติม
    อยู่ในช่วงขาลง ความจริงเป็นอย่างไร ?


    แล้ว FSMART จะยังมีโอกาสเติบโตไปกับเทรนด์ใหม่ ๆ ได้อีกหรือไม่ ?


    รายการ Company Snapshot
    ชวน คุณณรงค์ศักดิ์ เลิศทรัพย์ทวี
    กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)

    มาร่วมไขข้อสงสัยของนักลงทุน
    และมองกลยุทธ์ของ FSMART ในอนาคต
    กับคุณสุภัททกิต เจตทวีกิจ, CFA

  • ถ้าเรากำเงิน 100 บาท ไปซื้อเนื้อหมู ที่ตลาดสดในไทย
    เงินเท่านี้อาจจะได้เนื้อหมูไม่ถึง 1 กิโลกรัม

    แต่ถ้าเราไปซื้อเนื้อหมูที่บราซิล ในมูลค่าเท่า ๆ กัน
    เราจะได้เนื้อหมูกลับบ้านอย่างน้อย 2 กิโลกรัม
    และอาจจะได้เงินทอนกลับมาด้วย..

    ที่เป็นแบบนี้ เพราะว่าบราซิล มีต้นทุนในการผลิตหมู
    เพียง 40 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งต่ำที่สุดในโลก

    ในขณะที่ไทย ต้นทุนการผลิตหมู เฉลี่ยสูงถึง 90 บาทต่อกิโลกรัม

    ซึ่งทำไม บราซิลถึงมีต้นทุนการผลิตหมู ต่ำขนาดนี้ ?
    ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง

  • AI พลิกโลก เศรษฐศาสตร์ | MEGA AI EP.1
    AI รอบนี้ นับว่าเป็นเทคโนโลยีที่ทางเศรษฐศาสตร์ ถือว่า “สุด”
    AI (Artificial intelligence) เทคโนโลยีที่กำลังเข้ามามีอิทธิพลต่อแทบทุกอุตสาหกรรม

    ที่น่าสนใจคือการมาของ AI รอบนี้ เรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยี ที่จะเข้ามาเปลี่ยนโลกเศรษฐศาสตร์​ ที่หลายคนอาจคาดไม่ถึง

    แล้ว AI จะมีโอกาสพลิกตำราเศรษฐศาสตร์ ไปในทิศทางใดบ้าง ?

    คนไทย ผู้ประกอบการไทย และนักลงทุนไทย ควรรับมือกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อย่างไร ?​

    Talk ลงทุนแมนชวน คุณณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ นักเศรษฐศาสตร์, ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ ViaLink และคุณธณัฐ เตชะเลิศ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ บริษัท แอลทีเอ็มเอช จำกัด (มหาชน)

    มาร่วมวิเคราะห์โอกาสที่กำลังจะเกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กัน กับคุณสุภัททกิต เจตทวีกิจ, CFA

  • ปัญหาภัยแล้งที่กำลังเป็นข่าวอยู่ในตอนนี้ หลายคนอาจมองว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นแค่ในบางพื้นที่ และสร้างผลกระทบแค่กับคนบางกลุ่ม เช่น เกษตรกร เท่านั้น

    แต่ความเป็นจริง ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นในไทย มาแล้วหลายต่อหลายครั้ง สร้างผลกระทบเป็นวงกว้าง และสร้างความเดือดร้อน
    กับผู้คนแทบทุกกลุ่ม รวมถึงเศรษฐกิจไทย อย่างที่เรานึกไม่ถึง

    แล้วภัยแล้ง ทำลายเศรษฐกิจไทย มากแค่ไหน ใครที่ได้รับผลกระทบบ้าง ? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง

  • จากประกาศของรัฐบาลล่าสุด ผู้มีรายได้เกิน 840,000 บาทต่อปี จะไม่ได้รับการแจกเงินจากรัฐบาล

    ซึ่งเมื่อคำนวณดูแล้วก็จะพบว่า
    - ผู้ที่มีเงินเดือนเกิน 70,000 บาท จะไม่ได้รับเงิน
    - หรือผู้ที่มีเงินเดือน 50,000-60,000 บาท ก็อาจไม่ได้รับเงิน ถ้าในปีนั้นได้รับโบนัสที่นำมารวมกันแล้วได้เกิน 840,000 บาท

    ทั้งที่เงินที่รัฐบาลนำมาแจก ส่วนใหญ่มาจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 และ 2568 ซึ่งก็ได้จากการเก็บภาษี

    จึงกลายมาเป็นคำถามของเงื่อนไข ที่พนักงานในระบบเงินเดือนสูง กำลังแบกภาษีของประเทศอยู่หรือไม่ ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง

  • Index Living Mall ผู้นำธุรกิจค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์ ที่อยู่คู่คนไทยมา 51 ปี
    และเติบโตจนล่าสุด ทุบสถิติ All Time High ทั้งรายได้และกำไร

    แต่รู้หรือไม่ว่า กว่าจะก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าตลาดได้อย่างทุกวันนี้
    Index Living Mall เริ่มต้นจากการขายเก้าอี้เหล็กแดงตัวเล็ก ๆ
    และผ่านวิกฤติมาแล้วหลายครั้ง

    ในวันนี้ที่คู่แข่ง ทั้งในไทยและต่างประเทศ กำลังรุกเข้ามามากมาย
    Index Living Mall จะรักษาบัลลังก์นี้ไว้อย่างไร ?

    วันนี้คุณสุภัททกิต เจตทวีกิจ, CFA พาทุกคนไปหาคำตอบกันกับ
    คุณกฤษชนก ปัทมสัตยาสนธิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ จำกัด (มหาชน)

  • “อาณาจักรเปอร์เซีย” ดินแดนแห่งศูนย์กลางของอาณาจักร ที่เคยยิ่งใหญ่ที่สุด ในโลกยุคโบราณ

    มรดกของอาณาจักรแห่งนี้ ตกทอดมาให้เห็นในยุคปัจจุบัน และใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด

    เงินที่เราต้องจ่ายให้รัฐที่เรียกว่า "ภาษี"
    คำที่ใช้เรียกดอกไม้ที่งดงามแต่มีหนามว่า "กุหลาบ"
    ทั้งหมดล้วนมีที่มาจากภาษาเปอร์เซีย หรือภาษาฟาร์ซี

    ซึ่งกว่าจะเป็นอิหร่าน ที่เราได้เห็นกันทุกวันนี้
    มีที่มาและผ่านเหตุการณ์อย่างไรมาบ้าง
    ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง