Episoder

  • ทุกวันที่ 22 กันยายนของทุกปี คือวัน World Car-Free Day หรือวันปลอดรถโลก เป็นวันที่ทั่วโลกพยายามรณรงค์ให้ประชาชนลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว แล้วหันมาใช้พาหนะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การเดิน การปั่นจักรยาน และการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ
    .
    การมีอยู่ของวันปลอดรถโลกช่วยสร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้รถยนต์ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้โลกร้อน การจัด World Car-Free Day ไม่ใช่การต่อต้านไม่ให้ใช้รถยนต์ แต่เป็นการทำให้เมืองต่างๆ เห็นโอกาสของการได้ทดลองปรับสภาพการจราจรและพื้นที่สาธารณะให้เป็นมิตรกับคนเดินถนนและนักปั่นจักรยานมากขึ้น อีกทั้งยังสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนลองเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางและเห็นข้อดีของการใช้ชีวิตที่พึ่งพารถยนต์น้อยลงอีกด้วย
    .
    ในหลายๆ เมืองมีกิจกรรมพิเศษในวันนี้ เช่น ปิดถนนสายหลักให้กับการเดินและปั่นจักรยาน พื้นที่สาธารณะที่เคยเป็นของรถยนต์จะถูกเปลี่ยนเป็นสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การแสดงดนตรีสด การเล่นกีฬา หรือนำมาจัดถนนคนเดิน หรือบางเมืองก็ให้ประชาชนใช้บริการขนส่งสาธารณะฟรีในวันนี้ด้วย
    .
    วันไร้รถยนต์มีที่มายังไง การลดใช้รถยนต์แล้วลองเปลี่ยนมาเดินเท้าหรือปั่นจักรยานแทนดีต่อเศรษฐกิจเมืองยังไง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.21 ตอนนี้ 

  • ไอศครีม ไก่ทอด ทิชชู่ อุปกรณ์ไอที ไปจนถึงซูเปอร์มาร์เก็ต มองไปทางไหนก็เห็นสินค้าจากแดนมังกรอยู่รอบตัวเต็มไปหมด เรียกว่าจีนเริ่มคืบคลานเข้ามาเรื่อยๆ จนผู้ประกอบการบ้านเราอยู่ยากเข้าไปทุกที
    .
    จีนได้รับฉายาว่า ‘โรงงานของโลก’ (Factory of the World) ด้วยแรงงานจำนวนมาก การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการขนส่งสินค้าทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซัพพลายเชนที่ครอบคลุม และความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี ทำให้จีนมีบทบาทสำคัญกับเศรษฐกิจโลกในฐานะผู้ผลิตสินค้าขนาดใหญ่ของโลกและเป็นประเทศที่ผลิตสินค้าส่งออกไปยังตลาดทั่วโลกในราคาที่ได้เปรียบคู่แข่ง
    .
    ทุนจีนเข้ามาในไทยส่งผลกระทบยังไงบ้าง แล้ว SME ไทยจะสู้สินค้าจากจีนยังไงดีในวันที่ตั้งกำแพงภาษีอาจไม่เพียงพอ รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.20 ตอนนี้ 

  • Manglende episoder?

    Klik her for at forny feed.

  • ทำไมถึงควรเดินทางด้วยจักรยาน และการปั่นจักรยานดีต่อเรา ธุรกิจ และเศรษฐกิจเมืองยังไง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.19 ตอนนี้

  • อร่อย อยู่ตามริมถนนหรือทางเท้า เปิดดึก ซื้อง่ายขายเร็ว แต่ในขณะเดียวกันก็นำพาสัตว์พาหะอย่างหนูหรือแมลงสาบ รวมถึงกีดขวางทางเท้า 
    .
    นี่คือข้อดี-ข้อเสียเมื่อนึกถึงร้านหาบเร่แผงลอยที่เป็นเหมือนสิ่งหล่อเลี้ยงปากท้องคนทำงาน แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้เมืองดูไม่สวยงามหรืออาจสร้างปัญหาให้กับเมืองได้
    .
    หาบเร่แผงลอยอยู่คู่กับเมืองมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่เป็นแผงลอยขายกันง่ายๆ หน้าบ้าน จนมาถึงหาบเร่เอามาขายในเมือง แต่เมื่อเข้ามาแล้วต้องมีการจัดระเบียบและออกแบบให้ร้านค้าอยู่ร่วมกับเมืองและคนได้อย่างถูกกฎหมายด้วย
    .
    ที่มาที่ไปของหาบเร่แผงลอยคืออะไร ต่างประเทศจัดระเบียบหรือผ่อนผันร้านหาบเร่แผงลอยยังไง แล้วร้านค้าริมถนนนี้ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมืองได้ยังไง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.18 ตอนนี้

  • ‘น่ารักมั้ยไม่รู้ แต่รอให้รักอยู่นะรู้ไหม ดูแลแบบไม่พัก เพราะหวังได้รักไม่ใช่ผลักไส’ ช่วงนี้หลายๆ คนน่าจะได้ยินเพลงนี้กันมาบ้าง เสียงใสๆ ดูเข้าถึงง่ายนี้เป็นผลงานของ Butterbear หรือน้องหมีเนยประจำร้านขนม Butterbear Cafe

    น้องหมีเนยคือหนึ่งในวิธีการสร้างสัญลักษณ์เพื่อให้คนจดจำสินค้าและบริการได้ อย่างเมืองเองก็มีการสร้างสัญลักษณ์เพื่อให้คนเห็นแล้วรู้ว่าคือที่ไหนเช่นกัน นั่นก็คือการสร้างมาสคอต (mascot) หรือสิ่งมีชีวิตที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด เมือง องค์กร หรือทีมกีฬาขึ้นมา โดยมาสคอตมักจะถูกออกแบบมาให้มีลักษณะน่ารัก จดจำง่าย และสร้างความเชื่อมโยงกับผู้คน ยกตัวอย่างมาสคอตที่ทุกคนน่าจะรู้จักกันดี เช่น คุมะมง หมีดำแห่งจังหวัดคุมาโมโตะ หรืออย่างปาปา-ทูทู้ มาสคอตปลาทูแม่กลองต่างดาว ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม

    การมีมาสคอตที่สื่อสารตัวตนของเมืองนั้นดียังไง และมาสคอตช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ยังไงบ้าง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.17 ตอนนี้

  • ผู้คน ต้นไม้ คาเฟ่ ป้าย ประตูหน้าต่าง และน้องแมวที่เจอระหว่างทาง เราเชื่อว่าเมืองยังมีแง่มุมสนุกๆ อีกเยอะ แค่เราออกเดินสำรวจ แต่บางครั้งก็ต้องยอมรับว่าการออกไปเดินในเมืองแลกมาด้วยอากาศร้อนเพราะไม่มีร่มไม้ข้างทาง และอันตรายต่างๆ จากทางเท้าที่เป็นหลุม เป็นบ่อ จะดีแค่ไหนถ้าพื้นที่สาธารณะอย่างทางเท้าที่เราใช้เดินอยู่ทุกวัน ทำให้เราเดินสนุกได้เหมือนเวลาไปต่างประเทศ

    การเดินเป็นวิธีการเดินทางที่ง่าย ดีต่อสุขภาพ และประหยัดที่สุด นอกจากประโยชน์ต่อตัวเองแล้ว การเดินยังมีประโยชน์กับเมืองด้วย ทั้งทำให้เมืองคึกคักมีชีวิตชีวา และส่งเสริมเศรษฐกิจของเมืองในระยะยาว เพราะทุกครั้งที่เราเดินเท่ากับเพิ่มโอกาสในการอุดหนุนธุรกิจหรือร้านค้าของคนตัวเล็กตัวน้อยไปในตัว

    ความรู้สึกที่ทำให้คนอยากเดิน เริ่มต้นจากการมีทางเท้าที่ดีและปลอดภัย รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) ขออาสาพาทุกคนมาดูกันว่าทางเท้าที่ออกแบบดีหน้าตาเป็นแบบไหน และเมืองที่เดินสะดวกช่วยขับเคลื่อนธุรกิจและเศรษฐกิจได้ยังไง ในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.16 ตอนนี้

  • ช่วงที่ผ่านมานี้ เชื่อว่าทุกคนน่าจะได้ยินข่าวปลาหมอคางดำบุกสร้างความเดือดร้อนให้เหล่าเกษตรกร และส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ด้วยเป็น ‘เอเลี่ยนสปีชีส์’ ที่ปรับตัวได้เร็ว อยู่ได้ทั้งน้ำเค็มและน้ำจืด และแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วจนทำให้สัตว์ในท้องถิ่นสูญพันธุ์ได้ 

    เอเลี่ยนสปีชีส์ หรือชนิดพันธุ์ต่างถิ่น คือสิ่งมีชีวิตที่ไม่เคยอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งมาก่อน แต่เข้ามาจากถิ่นอื่น แล้วเกิดการปรับตัวและขยายพันธุ์จนอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่ได้ เช่น ผักตบชวา เป็นต้น แต่บางคนอาจยังไม่รู้ว่าปลานิลและยางพาราเองก็เป็นเอเลี่ยนสปีชีส์เช่นเดียวกัน หมายความว่าเอเลี่ยนสปีชีส์ไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในบ้านเรา

    คำถามสำคัญจึงคือเอเลี่ยนสปีชีส์นั้นมีแต่ข้อเสียอย่างเดียวหรือเปล่า มีชนิดพันธุ์ที่เข้ามาแล้วทำให้เศรษฐกิจดีบ้างไหม แล้วถ้าเข้ามาแล้วไม่ดี เมืองควรจัดการยังไง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.15 ตอนนี้

  • นอกจากสิงคโปร์จะการออกแบบเมืองทางกายภาพ เช่น การสร้างสวนสาธารณะให้คนออกมาพักผ่อนหย่อนใจ การออกแบบทางเท้าให้คนเดินสะดวก อีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเติบโตและคุณภาพชีวิตของคนในเมืองดีขึ้น คือเรื่องขีดความสามารถในการแข่งขัน เพราะเมืองที่สร้างแรงจูงใจให้คนทำงานอยากพัฒนาตัวเอง และมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานได้นั้นย่อมนำมาซึ่งโอกาสในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ดีตามไปด้วย

    แน่นอนว่าสิงคโปร์ไม่ได้มีแต่ข้อดี และยังมีอีกหลายปัญหาให้ต้องเร่งแก้ไข สิ่งที่น่าสนใจคือสิงคโปร์ออกแบบนโยบายยังไง และลงทุนกับอะไรบ้างถึงมีขีดความสามารถในการแข่งขันดีที่สุดในโลกจนทิ้งห่างเพื่อนบ้านได้ รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบและพาแล้วในรายการ Podcast Capital City EP.14 ตอนนี้

  • สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่หลายคนน่าจะตั้งตารอมานาน ด้วยเป็นสัปดาห์ที่มหกรรมกีฬาสุดยิ่งใหญ่อย่าง Paris 2024 Olympics กำลังจะเปิดฉากอย่างเป็นทางการแล้ว 
    .
    สิ่งที่โดดเด่นมากๆ ของโอลิมปิกครั้งนี้คือ ปารีสพยายามชูว่าเป็นโอลิมปิกที่รักษ์โลกที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยนำพื้นที่สาธารณะที่เป็นแลนด์มาร์กสำคัญทางประวัติศาสตร์มาออกแบบให้เป็นสนามกีฬากลางแจ้ง หรือเรียกให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือการแทรกสนามกีฬาลงไปในพื้นที่สาธารณะ เปลี่ยนจากการดูกีฬาในโดมมาเป็นการดูกีฬาแบบที่มีเมืองปารีสเป็นฉากหลัง เป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่สาธารณะในเมืองที่มีอยู่แล้วได้อย่างคุ้มค่า เพราะไม่ต้องสร้างใหม่ และหลังจากจบงานเมืองก็ได้ใช้ประโยชน์ต่อ 
    .
    Paris 2024 Olympics รอบนี้จะมีอะไรน่าตื่นเต้นบ้าง เป็นมหกรรมกีฬาที่รักษ์โลกที่สุดจริงหรือไม่ ทำไมถึงมีบางเสียงคัดค้านหรือไม่เชื่อว่าจะทำได้จริง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบและพาทัวร์ปารีสไปด้วยกันในรายการ Podcast Capital City EP.13 ตอนนี้

  • รอรถเมล์นานจนร้องไห้ก็เคยมาแล้ว จะนั่งรถไฟฟ้าก็ราคาแพงแถมคนเยอะ แต่ถ้าจะให้นั่งรถแท็กซี่หรือวินมอเตอร์ไซค์ก็จ่ายไม่ไหว และยิ่งแล้วใหญ่ถ้าต้องซื้อรถยนต์ที่พ่วงมากับค่าเติมน้ำมัน 
    .
    เชื่อว่าหลายคนน่าจะเจอปัญหาเดียวกันคือค่าเดินทางในกรุงเทพฯ ราคาแพงจนทำให้รู้สึกเศร้าปนท้อแท้ใจทุกครั้งที่ต้องออกจากบ้าน เพราะบางครั้งต้องเดินทางหลายต่อกว่าจะถึงที่หมาย และต้องเผื่อเวลาเดินทางนานกว่าปกติ ซึ่งแลกมากับการต้องเสียทั้งเงินและเวลา 
    .
    กลับกัน ในประเทศชั้นนำทั่วโลกนั้นมีวิธีออกแบบและบริหารจัดการค่าเดินทางให้ถูกได้ เพราะเห็นว่าทุกค่าเดินทางและค่าโดยสารที่คนเมืองจ่ายไป เพื่อเดินทางไปทำงาน เดินทางไปร้านค้า หรือเดินทางไปพักผ่อนหย่อนใจ ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจและทำให้ธุรกิจเติบโต
    .
    ค่าเดินของคนกรุงเทพฯ สัมพันธ์กับค่าแรงขั้นต่ำแค่ไหน ทำไมกรุงเทพฯ ถึงค่าเดินทางแพง แล้วจะออกแบบเมืองยังไงให้ค่าเดินทางถูกลง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการ Podcast Capital City EP.12 ตอนนี้

  • เผลอแป๊บเดียวก็เข้าสู่หน้าฝนอย่างเป็นทางการแล้ว เชื่อว่าถ้าฝนตกหลังเลิกงานเมื่อไหร่ ทุกคนน่าจะพบเจอกับความยากลำบากทันที ไม่ว่าจะรถติด รถเมล์มาช้ากว่าเดิม ผู้โดยสารในรถไฟฟ้าแน่นขนัด และที่สำคัญคือปัญหาน้ำท่วมและภัยธรรมชาติต่างๆ 
    .
    ตามปกติแล้วเมืองควรออกแบบให้ผู้คนใช้ชีวิต ดำเนินธุรกิจและใช้บริการสาธารณะ รวมถึงทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตลอดทั้งปี เมืองยังต้องถูกออกแบบเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ทางธรรมชาติ เหตุการณ์น้ำท่วมจากฝนตก หรือน้ำทะเลหนุนด้วย ที่ผ่านมา เมืองหลวงหรือราชธานีเก่าตั้งแต่สมัยอยุธยานั้นมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำมาโดยตลอด จึงมีวิธีการอยู่ร่วมกับน้ำซึ่งยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน แต่ด้วยเมืองที่เราอยู่ย่อมขยายใหญ่ขึ้นตามยุคสมัยและความซิวิไลซ์ ทางน้ำผ่านที่เคยออกแบบไว้จึงอาจลดลง  
    .
    การออกแบบเมืองเพื่อรับมือกับน้ำท่วมที่ว่านี้คืออะไร ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีวิธีการป้องกันน้ำท่วมยังไงบ้าง และจะออกแบบเมืองยังไงให้ป้องกันน้ำท่วมได้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการ Podcast Capital City EP.11 ตอนนี้

  • หลังจากเฝ้ารอมา 4 ปี รายการแข่งขันฟุตบอลสุดยิ่งใหญ่อย่างฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป หรือที่นิยมเรียกกันว่า ฟุตบอลยูโร (UEFA EURO) 2024 ก็วนกลับมาให้คอบอลได้ส่งเสียงเชียร์และร้องเพลงชาติดังกระหึ่มไปทั่วทั้งสนามอีกครั้ง
    .
    ถ้าถามคนเยอรมันว่าเชียร์ทีมอะไร พวกเขาก็จะตอบกลับมาว่า “จะเชียร์ทีมอื่นทำไม ก็ต้องเชียร์ทีมเยอรมันสิ” นี่คือประโยคสั้นๆ ที่ทำให้เราเห็นว่ากีฬาฟุตบอลไม่ใช่แค่การแข่งขันเตะลูกกลมๆ แล้ววัดผลแพ้ชนะเท่านั้น ทว่ามันยังผูกพ่วงกับเรื่องการเมือง วัฒนธรรม โดยเฉพาะเศรษฐกิจอย่างแยกไม่ขาด ไม่ว่าจะเป็นการแย่งชิงกันเป็นเจ้าภาพ บรรดาโรงแรมที่เตรียมต้อนรับนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้ามา ร้านค้าร้านอาหารที่ขายดิบขายดี ไปจนถึงธุกิจขายโทรทัศน์ที่มียอดขายเพิ่มขึ้น 
    .
    ชวนทุกคนมาย้อนดูเศรษฐกิจช่วงฟุตบอลยูโร พร้อมกับการตั้งคำถามว่าการเป็นเจ้าภาพนั้นมีข้อดีหรือข้อเสียยังไง กับ รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) ในรายการ Podcast Capital City EP.10 ตอนนี้

  • ก่อนโบกมือลาเดือนแห่งความภาคภูมิใจหรือ Pride Month เราขอเฉลิมฉลองให้กับความรักที่ไม่จำกัดรูปแบบเพียงแค่ชาย-หญิงอีกต่อไป เพราะเมื่อไม่กี่วันมานี้ สมรสเท่าเทียมได้ผ่านร่างกฎหมายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 
    .
    การที่เมืองเปิดกว้างและยอมรับความแตกต่างหลากหลายนั้น นอกจากจะทำให้ชื่อเสียงเรียงนามของเมืองเป็นที่รู้จักบนเวทีโลกในฐานะเมืองก้าวหน้าแล้ว ยังเป็นแต้มต่อทางเศรษฐกิจให้กับเมืองในด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจด้วย เพราะจากการศึกษาพบว่าชาว LGBTQIA+ นั้นชื่นชอบการผจญภัย จึงเดินทางบ่อยกว่า พักนานกว่า และใช้จ่ายต่อทริปมากกว่านักท่องเที่ยวทั่วไป ซึ่งทำให้ธุรกิจท้องถิ่นอย่างร้านค้าและร้านอาหารเติบโต
    .
    คำถามสำคัญคือ จะออกแบบเมืองยังไงให้เป็นมิตรกับทุกเพศ ปัจจุบันนี้ย่านเกย์ยังตอบโจทย์อยู่ไหม แล้วตอนนี้ชาว LGBTQIA+ ใช้ชีวิตในเมืองกันยังไงบ้าง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการ Podcast Capital City EP.9 ตอนนี้

  • เคยไหมที่ต้องห่อข้าวจากบ้านมากินเอง เคยไหมที่ต้องตามล่าหาโค้ดลดราคาในแอพฯ เดลิเวอรีสั่งอาหาร เพราะข้าวกลางวันราคาถูกและดีแถวที่ทำงานนั้นหายากเหลือเกิน
    .
    ถ้าใครทำงานอยู่ย่านสีลม สาทร หรือย่านที่รายล้อมไปด้วยห้างสรรพสินค้าอย่างสยาม เพลินจิต ฯลฯ น่าจะพบเจอปัญหาเดียวกันคืออาหารราคาแพง จนเหล่าพนักงานออฟฟิศ พนักงานทำความสะอาด หรือพนักงานบริการต่างๆ ที่เป็นคนตัวเล็กตัวน้อยในกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจนี้
    ต้องเสียเงินไปกับค่าอาหารมากเกินไป
    .
    ทำไมราคาอาหารในย่านใจกลางเมืองถึงแพง แล้วเมืองในฐานะที่ต้องดูแลคุณภาพชีวิตของทุกคนทำยังไงได้บ้างให้ค่าอาหารไม่โหดร้ายกับคนทำงานจนเกินไป บริษัทจะช่วยดูแลความเป็นอยู่ของคนทำงานให้ดีขึ้นได้ยังไง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการ Podcast Capital City EP.8 ตอนนี้

  • แค่เดินจากบ้านไปไม่ไกลก็ถึงสวนสาธารณะ ร้านค้า คาเฟ่ โรงพยาบาล หรือโรงเรียนได้ นี่คือแนวคิดเมือง 15 นาที ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ได้ในระยะเดินเท้า ขี่จักรยาน และขึ้นขนส่งมวลชน
    .
    แนวคิดการออกแบบเมืองที่ว่านี้กำลังเป็นเทรนด์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจและอยากพัฒนาให้เมืองของตนเองไปถึงจุดนั้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็อย่างบ้านเราเองที่พยายามผลักดันนโยบาย ‘สวน 15 นาที’ ให้กระจายไปทั่วกรุงเทพฯ เพื่อให้ทุกคนมีพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจใกล้บ้าน
    .
    แนวคิดเมือง 15 นาที มีต้นกำเนิดมาจากไหน ทำไมถึงต้องแค่ 15 นาที มีเมืองไหนบ้างที่ใช้แนวคิดนี้ และเมืองแบบนี้มีข้อดี-ข้อเสียยังไง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการ Podcast Capital City EP.7 ตอนนี้

  • จากป้าย ‘Bangkok - City of Life’ สู่ ‘กรุงเทพฯ Bangkok’ การเปลี่ยนสติ๊กเกอร์ข้อความใหม่บนสกายวอล์กแยกปทุมวันนำมาสู่กระแสวิพากษ์วิจารณ์ครั้งใหญ่ถึงความสวยงามและหลายคนตั้งคำถามว่า “จะเปลี่ยนทำไม?”
    .
    คำถามที่ว่า 3 ล้านที่จ่ายไปนั้นคนไทยได้อะไรกลับมาบ้าง การที่กรุงเทพมหานครมี CI (corporate identity) หรืออัตลักษณ์องค์กร เพื่อสื่อสารตัวตนและน้ำเสียงให้คนจดจำได้นั้น ดีต่อเมืองและเศรษฐกิจยังไง ไปจนถึงอนาคตของเมืองว่ากรุงเทพฯ มีแผนจะทำ city branding ต่อหรือไม่ 
    .
    รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) ชวนแขกรับเชิญพิเศษ วริทธิ์ธร สุขสบาย คณะทำงานในโครงการพัฒนาอัตลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร และวีร์ วีรพร นักออกแบบกราฟิกแห่ง Conscious Studio และที่ปรึกษาในโครงการพัฒนาอัตลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร มาแชร์ความคิดเห็นและไขคำตอบด้วยกันในรายการ Podcast Capital City EP.6 ตอนนี้

  • เปลี่ยนบรรยากาศจากปิกนิกในสวนสาธารณะ มานั่งปิกนิกกลางถนนฌ็องเซลิเซ่กัน! 
    .
    ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยที่ปารีสจะปิดถนนใจกลางกรุงที่ว่ากันว่าสวยที่สุด เป็นแลนด์มาร์กของเมือง และเป็นแหล่งรวมร้านแบรนด์เนมมากมาย มาจัดกิจกรรมปิกนิกบนถนนขนาดใหญ่ที่สุดในโลกแบบนี้
    .
    โดยในงานเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคมที่ผ่านมานี้มีผู้โชคดีเพียง 4,000 คนเท่านั้นที่ได้มานั่งสัมผัสบรรยากาศงานปิกนิกแบบดั้งเดิมที่ปูพรมเป็นลายขาว-แดงสุดคลาสสิก พร้อมรับตะกร้าซึ่งภายในประกอบไปด้วยอาหารและขนมจากร้านค้าโลคอลให้กินฟรี แต่ถ้าใครยังไม่เต็มอิ่มในงานก็ยังมีอีก 9 ร้านมาออกบูทให้ได้จับจ่ายซื้ออาหารกันด้วย
    .
    ทำไมปารีสถึงปิดถนนให้ผู้คนมาปิกนิก ถนนฌ็องเซลิเซ่สำคัญยังไง ในงานปิกนิกครั้งนี้มีอะไรบ้าง และแนวคิดของการหยิบพื้นที่สาธารณะมาจัดงานปิกนิกหรือกิจกรรมต่างๆ นั้นดีต่อเมือง ผู้คน และเศรษฐกิจยังไง 
    รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) รอไขคำตอบแล้วในรายการ Podcast Capital City EP.5 ตอนนี้

  • BNK, CGM, AKB, HKT ฯลฯ หลายคนอาจจะเคยได้ยินชื่อเหล่านี้แต่อาจจะยังไม่รู้ว่ามีที่มาที่ไปยังไง ขอเล่าอย่างสั้นกระชับว่าชื่อทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นชื่อวงไอดอลที่มีชื่อมาจากจังหวัดของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะไทยและญี่ปุ่น ที่ BNK มาจากกรุงเทพฯ CGM มาจากเชียงใหม่ และ AKB ที่มาจากย่านอากิฮาบาระ (Akihabara) กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
    .
    การตั้งชื่อวงไอดอลตามชื่อเมืองนั้น นอกจากเพื่อง่ายต่อการจดจำ ด้านหนึ่งการตั้งชื่อตามโมเดลนี้ยังเป็นไปเพื่อสร้างความคึกคักให้กับเมืองอีกด้วย ว่าแต่ BNK, CGM, AKB, HKT จะทำให้เมืองคึกคักได้ยังไง หรือสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจ ขับเคลื่อนธุรกิจของเมืองด้วยวิธีการไหน รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) รอไขคำตอบแล้วในรายการ Podcast Capital City EP.4 ตอนนี้

  • เคยเป็นกันรึเปล่าที่เมื่อไปเดินเล่นที่ห้างสรรพสินค้าแล้วมีอาการอยากซื้อ ของมันต้องมี เมื่อเห็นข้าวของตามห้างร้าน โดยเฉพาะเมื่อไปเดินเล่นตามย่านช้อปปิ้งหรือห้างสรรพสินค้าที่มักออกแบบร้านให้ล้อมรอบไปด้วยหน้าต่าง หรือการดีไซน์เพื่อให้สะดวกต่อการ window shopping 
    .
    แม้ว่าโลกของเทคโนโลยีจะพัฒนาไปไกล โดยเฉพาะระบบออนไลน์ที่ช่วยให้เราช้อปปิ้งสินค้าได้ง่ายๆ ไม่ต้องไปถึงหน้าร้าน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าพื้นที่กายภาพเองยังคงมีอิทธิพลและส่งผลต่อผู้คนอย่างมีนัย ยิ่งเมื่อเป็นห้างร้านที่ถูกออกแบบให้เป็นกระจกล้วนก็ยิ่งกระตุ้นความต้องการครอบครองสินค้านั้น และนอกเหนือไปจากกระตุ้นให้เกิดการซื้อ ด้านหนึ่งยังส่งผลต่อเศรษฐกิจและธุรกิจในเมืองอีกด้วย 
    .
    การดีไซน์เพื่อให้สะดวกต่อการ window shopping นั้นมีรายละเอียดยังไง ห้างร้านจะต้องดีไซน์แบบไหนเพื่อให้เกิดการซื้อ นอกจากการกระตุ้นให้ผู้คนสนใจสินค้าและอาจเกิดการซื้อ การออกแบบร้านเช่นนี้ดีกับธุรกิจเมืองยังไง ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) รอไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.3 ตอนนี้

  • หากคุณเป็นคนที่เติบโตมากับการ์ตูนยุคญี่ปุ่นคงคุ้นหน้าคุ้นตากันดีกับโปเกม่อน หรือเจ้าการ์ตูนตัวสีเหลืองหูยาวจากแดนอาทิตย์อุทัยที่เป็นขวัญใจเด็กๆ ยุคนั้น นอกจากเป็นตัวการ์ตูนในภาพยนตร์ โปเกม่อนยังมักไปปรากฏอยู่ตามสินค้าต่างๆ แม้กระทั่งในเกมที่มี Pokemon GO ถือกำเนิดขึ้นในปี 2016
    .
    สำหรับโปเกม่อนและเกม Pokemon GO ไม่ได้ทำหน้าที่่แค่สร้างความสนุกสนานให้กับเด็กๆ เท่านั้น แต่อีกด้านหนึ่ง โดยเฉพาะเกม Pokemon GO ที่ผูกกับระบบ AR. และ GPS นี้ยังมีส่วนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเมืองด้วยอีกเช่นกัน และผู้เล่นเองยังได้เดินสำรวจเพื่อทำความรู้จักกับเมืองผ่านเกมนี้ได้
    .
    เกมในสมาร์ตโฟนสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับเมืองมากแค่ไหน เกม Pokémon Go มีวิธีออกแบบเกมยังไงให้คนอยากเล่นและอยากออกไปสำรวจเมืองผ่านเกม รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) รอไขคำตอบแล้วในรายการ Podcast Capital City EP.2 ตอนนี้