Episoder
-
มันเริ่มต้นที่วันธรรมดาวันหนึ่ง โจน ดิเดียน และ จอห์น ผู้เป็นสามี นั่งรับประทานอาหารเย็นร่วมกัน แล้วจู่ๆ จอห์นก็ล้มลงหน้ากระแทกโต๊ะ บุรุษพยาบาลหลายคนพยายามให้สัญญาณชีพของเขากลับมา แต่ก็ไม่เป็นผล โจน ดิเดียน สูญเสียสามีไปในวันธรรมดาวันหนึ่ง
Readery Podcast อยากพาไปเยือนดินแดนแห่งความสูญเสีย หรือ Grief โลกที่เราหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึง แต่เราก็ต้องเผชิญหน้ามันในสักวันหนึ่ง มันสับสน หมุนวน บ้าคลั่ง และจู่โจมอย่างไม่ทันตั้งตัว แต่เอพิโสดนี้จะค่อยๆ ทำให้เห็นวิธีการรับมือของโจนผ่านหนังสือ The Year of Magical Thinking ที่เธอเขียนไว้ เผื่อว่าวันหนึ่งเมื่อการสูญเสียคนรักมาเยือนโดยไม่ได้เตรียมใจ เราพอจะมีวิธียอมรับและพร้อมใช้ชีวิตไปกับมัน -
จำได้ไหมว่าวันนี้คุณกินกาแฟไปกี่แก้ว ดูพระอาทิตย์ตกครั้งล่าสุดกับใคร หรือลืมว่าจอดรถบนชั้นไหนในห้างสรรพสินค้า
คนเราจำและลืมอยู่ตลอดเวลา เพราะความจำและการลืมเป็นกลไกของสมองที่ทำให้ชีวิตมนุษย์อยู่รอด หากเราจำได้ทุกอย่าง ข้อมูลอาจล้นเกิน และชีวิตก็เต็มไปด้วยความทุกข์ หรือหากเราลืมทุกอย่าง ก็อาจส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต
Readery Podcast เอพิโสดนี้ชวนสำรวจกลไกความจำและการลืมผ่านหนังสือ ภาพยนตร์ และประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เข้าใจตัวเองว่าเราจำเรื่องต่างๆ ได้อย่างไร และมันก็สมเหตุสมผลที่เราจะลืมอะไรบางอย่าง เพราะแม้แต่ ‘ตัวตน’ ของเราเองก็เป็นผลรวมของความจำและการลืมด้วยกันทั้งนั้น -
Manglende episoder?
-
การเดินเป็นกิจกรรมที่หลายคนคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน บางคนใช้ออกกำลังกาย บางคนให้เป็นช่วงเวลาที่ได้อยู่กับตัวเอง ได้ครุ่นคิดสิ่งที่ยังค้างคา เป็นปมปัญหาที่ต้องการการคลี่คลาย การเดินจึงเป็นการเคลื่อนที่ที่นอกจากขาจะก้าวไปข้างหน้าแล้ว เรากำลังเดินกลับเข้าไปข้างในเพื่อสำรวจตัวเองด้วย
Readery Podcast เอพิโสดนี้ โจ้และเน็ตแชร์ประสบการณ์ตรงจากการออกเดินเป็นประจำของทั้งคู่ ว่าในขณะที่โลกนิ่งเงียบ มีเพียงตัวเองและขาที่ก้าว ทั้งคู่ได้สำรวจพบความสอดคล้องกับตัวละครต่างๆ ที่อยู่ในหนังสือ ซึ่งท้ายที่สุดประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกันของตัวละคร หนังสือ และคนอ่าน เยียวยาเราได้อย่างไร -
เคยมีสักคืนไหมที่ออกไปริมระเบียงแล้วแหงนมองฟ้า ฟ้ามืดสนิท แม้ว่าจะคืนนั้นจะเห็นดาวหรือไม่ก็ตาม บางคนอาจรู้สึกอบอุ่น ได้รับการปลอบประโลม และเหมือนกำลังรู้สึกว่าตัวเราเล็กลงนิดเดียว
Readery Podcast กลับมาอีกครั้ง พร้อมเรื่องเล่าจากท้องฟ้ากลางคืนผ่านหนังสือและภาพยนตร์ เพื่อตอบคำถามหลากหลายในชีวิต เริ่มที่เอพิโสดนี้ที่ชวนตั้งคำถามถึงความรู้สึกที่ยืนอยู่ใต้ฟ้ากว้าง แม้ว่าภาพในความทรงจำอาจเป็นได้ทั้งตอนก่อกองไฟ หรือซบไหล่ใครสักคน แต่การมองฟ้าและเห็นดวงดาว ทำไมถึงเกิดความรู้สึกได้มากมายขนาดนี้ หนังสือสักเล่มอาจมีคำตอบ -
การทำงาน นอกจากจะเป็นสิ่งที่นำมาซึ่งรายได้เพื่อเลี้ยงชีวิตแล้ว งานยังช่วยตอบสนองความต้องการลึกๆ ทางใจ ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกมีคุณค่า เป็นที่รัก และเป็นประโยชน์ต่อสังคม Readery Podcast เมดเลย์ชุดนี้เลยอยากชวนทบทวนว่า เราทำงานกันไปทำไม เผื่อว่าอย่างน้อยเราจะค้นพบความหมายที่แท้จริงของงานที่อาจนำมาซึ่งความสุข ความสนุก และคุณค่าในการทำงานอีกครั้ง
Time Index
00:00 10 คีย์เวิร์ดสำคัญที่ทำให้งานสนุกและมีความหมาย | Readery EP.55
49:25 Burnout จากการทำงาน อ่านเล่มไหนดี | Readery EP.40
01:43:43 หนังสือที่ช่วยปั้น Mindset ใหม่ว่า ทำงานอย่างไรไม่ให้บ้าไปเสียก่อน! | Readery EP.75
02:48:15 คืนเวลาให้ชีวิต ด้วยแนวคิดทำงานสัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง | Readery EP.110 -
หลายคนอาจรู้จัก DUNE จากการเป็นภาพยนตร์แฟนตาซีที่เพิ่งฉาย แต่ในขณะเดียวกันในแง่วรรณกรรม DUNE คือวรรณกรรมแฟนตาซีไซไฟเล่มคลาสสิกของโลก เพราะนอกจากเนื้อเรื่องที่มีการผจญภัยและเวทมนตร์อันน่าตื่นเต้นแล้ว DUNE ยังสะท้อนการเมือง ความเชื่อ และความขัดแย้งของมนุษย์ ที่แม้ว่าเนื้อเรื่องจะเกิดขึ้นในอนาคตที่ปราศจากหุ่นยนต์เทคโนโลยีก็ตาม
Readery Podcast พาไปรู้จักจักรวาลที่เต็มไปด้วยรายละเอียดจากศาสตร์ต่างๆ ที่น่าหลงใหล พร้อมกับปฐมบทแห่งทะเลทรายแห่ง DUNE -
จริงอยู่ ที่การอยู่ร่วมกันเป็นสังคมของคนเราจะต้องอยู่ภายใต้กรอบกติกาบางอย่าง แต่นอกเหนือจากนั้น มันยังมีกรอบที่มองไม่เห็น ทั้งค่านิยมที่ทำตามกันมา หรือความคาดหวังของคนรอบข้าง สิ่งเหล่านี้ล้วนกำหนดและกดดันให้เรารู้สึกอึดอัดมากขึ้นเรื่อยๆ แต่จะเป็นอย่างไรถ้าวันหนึ่งเราลองตั้งคำถามเกี่ยวกับธรรมเนียมเหล่านั้นว่าเราต้องทำตามมันจริงๆ หรือเปล่า Readery Podcast ขอรวมแนวทางสู่การเป็นอิสระ จากวรรณกรรมและหนังสือจิตวิทยาพัฒนาตนเองเหล่านี้
Time Index
00:00 Intro
02:05 นี่เราใช้ชีวิตยากเกินไปหรือเปล่านะ | Readery EP.107
01:01:43 The Shawshank Redemption กับการมีความหวังในโลก ที่ดูไร้เสรีภาพ | Readery EP.109
01:58:06 คืนเวลาให้ชีวิต ด้วยแนวคิดทำงานสัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง | Readery EP.110
03:21:20 กุญแจออกจากกรงขัง ที่ไม่ทำให้คุณเชื่อง | Readery EP.117
04:50:05 โจนาทาน ลิฟวิงสตัน กฎเดียวของชีวิต คือกฎที่นำไปสู่อิสรภาพ | Readery EP.128 -
หากพูดถึงนักเขียนผู้ทรงอิทธิพลในศตวรรษที่ 21 ชื่อของ ยูวัล โนอาห์ แฮรารี คงเป็นชื่ออันดับต้นๆ ที่หลายคนนึกถึง เพราะหนังสือ เซเปียนส์ ประวัติย่อมนุษยชาติ, 21 บทเรียนแห่งศตวรรษที่ 21 และ โฮโมดีอุส ประวัติย่อของวันพรุ่งนี้ คือหนังสือที่สั่นสะเทือนมวลมนุษยชาติ เพราะนอกจากจะทำให้เรารู้จักเผ่าพันธุ์มนุษย์เป็นอย่างดีแล้ว ยังทำให้เราเข้าใจปัจจุบัน และเห็นอนาคตอันน่าพรั่นพรึงอันใกล้ หนังสือทั้ง 3 เล่ม ยังได้ยอมรับจากผู้นำระดับโลก ถูกแปลไปมากกว่า 50 ภาษา และมียอดขายรวมกันกว่า 25 ล้านเล่มทั่วโลก Readery Podcast สรุปแนวคิดหนังสือทั้ง 3 เล่มดังกล่าว ไว้ในเมดเลย์ชุดนี้แล้ว
Time Index
00:00 ปฐมบทของเผ่าพันธุ์มนุษย์ สิ่งมีชีวิตที่เชื่อในเรื่องเล่า | Readery EP.115
01:09:40 เทคโนโลยี การเมือง ความหวัง ความจริง และความยืดหยุ่น จาก 21 บทเรียนสำหรับศตวรรษที่ 21 | Readery EP.37
02:14:19 10 ประเด็นหลักที่ได้จากการอ่านหนังสือ โฮโมดีอุส: ประวัติย่อของวันพรุ่งนี้ | Readery EP.49 -
เช้าวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1986 หอสมุดขนาดใหญ่กลางนครลอสแอนเจลิสเกิดเพลิงไหม้ เปลวเพลิงปะทุอยู่นาน 7 ชั่วโมง ทำให้หนังสือกว่า 400,000 เล่ม ถูกเผาจนไม่เหลือซาก และอีกกว่า 700,000 เล่ม ชำรุดอย่างหนักจากไฟไหม้และเปียกชื้นจากน้ำในการดับเพลิง ทั้งหมดไม่ใช่วรรณกรรม แต่คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นจนกลายเป็นหนังสือ The Library Book หนังสือ/ห้องสมุด/เปลวไฟ ผลงานการเขียนที่เต็มไปด้วยชั้นเชิงของ ซูซาน ออร์ลีน ที่ชวนให้เราค่อยๆ แกะรอยว่าไฟไหม้ครั้งนี้เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ ไฟฟ้าลัดวงจร หรือเป็นการวางเพลิงของใคร แล้วเขาทำไปเพราะอะไรกันแน่!
-
หากคุณรู้สึกว่าชีวิตนี้ต้องเร็ว ต้องดี ต้องไม่พลาด กดดันตัวเองจนไม่มีเวลาให้กับครอบครัว เพื่อน คนรัก หรือแม้แต่กระทั่งตัวเอง คุณอาจกำลังต้องการคำตอบจากหนังสือเล่มนี้
Slow หรือ เร็วไม่ว่า ช้าให้เป็น หนังสือที่เป็นต้นกำเนิดแนวคิด Slow Life ทั่วโลก ชีวิตมนุษย์ทั่วโลกขณะนี้กำลังเร่งร้อน ใครหลายคนวิ่งไล่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อให้ทันเดดไลน์ แต่สุดท้ายกลับพบว่าเราเหลือเวลาบนโลกนี้เพียงไม่นานสำหรับการทำตามความฝันและสิ่งสำคัญในชีวิต การรู้จักช้าลงบ้างจึงอาจเป็นทางเลือกที่ทำให้ค้นพบสิ่งที่จำเป็น และสิ่งที่มีความหมายต่อการมีชีวิต -
สุชาติ สวัสดิ์ศรี อดีตศิลปินแห่งชาติเคยกล่าวไว้ในงานเปิดตัวหนังสือครั้งหนึ่งว่า นอกจาก เจ้าชายน้อย, สิทธารถะ, คนนอก และ ปรัชญาชีวิต คาลิล ยิบราน แล้ว หนังสือที่มีอิทธิพลทางความคิดต่อนักศึกษาเดือนตุลา ช่วง พ.ศ. 2516-2519 คือ โจนาทาน ลิฟวิงสตัน: นางนวล
โจนาทาน ลิฟวิงสตัน: นางนวล วรรณกรรมเชิงปรัชญาและจิตวิญญาณ ที่เชื่อมั่นในศักยภาพของมนุษย์ ผู้ซึ่งเต็มเปี่ยมไปด้วยการเรียนรู้และการแสวงหา แต่หลายครั้งกลับหวาดกลัวและไม่ได้รับการยอมรับจากฝูงที่ตัวเองสังกัด วรรณกรรมเล่มนี้จึงเป็นเหมือนกุญแจที่ทำให้นกนางนวลโบยบินเพื่อแสวงหาวิถีของตนอย่างอิสระและงดงาม -
On The Road หรือ สู่หนไหน วรรณกรรมบีตเจเนอเรชัน ที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของสังคมยุคอเมริกันที่ต้านวัตถุนิยมและหันมาให้ความสำคัญกับจิตวิญญาณ วรรณกรรมเล่มนี้จึงเป็นเรื่องราวการรอนแรมของแจ็คและนีลทั่วผืนแผ่นดินอันกว้างใหญ่ของสหรัฐอเมริกา พร้อมกับการตั้งคำถามถึงจุดมุ่งหมายของชีวิต เราทำงานไปเพื่ออะไร อิสรภาพ ความสุขอันแท้จริงอยู่ที่ไหน และเส้นทางที่เรากำลังมุ่งหน้าไปนั้นมีความหมายต่อเราอย่างไร จนหลายต่อหลายคนกล่าวว่า นี่คือวรรณกรรมเล่มสำคัญของศตวรรษที่ 20 รวมถึงอาจเป็นคัมภีร์ของ Gen Y ที่ทำให้ชีวิตเบ่งบานอีกครั้ง
-
อิคิไก เป็นภาษาญี่ปุ่น ‘อิคิ’ หมายถึง มีชีวิตอยู่ และ ‘ไก’ หมายถึง คุณค่าหรือความหมาย ศัพท์คำนี้จึงเป็นปรัชญาของชาวญี่ปุ่นที่หมายถึงความหมายของการมีชีวิตอยู่ เป็นเหตุผลที่ทำให้เราตื่นมาทุกเช้าเพื่อทำงานที่เรารักอย่างมีความสุข ซึ่งงานนั้นอาจเป็นสิ่งที่สร้างความสุขให้ตัวเราและเป็นประโยชน์ต่อสังคมในขณะเดียวกัน ร่วมหาความหมายของอิคิไกได้ใน Readery Book Review เอพิโสดนี้
-
ลองจินตนาการโลกในอนาคตที่ถูกปกครองด้วยเผด็จการทหาร ผู้หญิงทุกคนต้องอาศัยอยู่ใน ‘กิเลียด’ มีหน้าที่เพียงอย่างเดียว คือการผลิตมนุษย์เผื่อดำรงไว้ซึ่งเผ่าพันธุ์ของมนุษยชาติ ไม่มีปากเสียง และห้าามีความรัก นี่คือเรื่องราวในนวนิยายเรื่อง The Handmaid’s Tale หรือ เรื่องเล่าสาวรับใช้ ผลงานของนักเขียนระดับโลก มาร์กาเร็ต แอ็ตวูด ที่เขียนไว้ราว 35 ปีที่แล้ว แต่เนื้อเรื่องสามารถเชื่อมโยงกับโลกที่ถูกกดดับในปัจจุบันได้อย่างน่าสนใจ ร่วมเอาใจช่วยเหล่าสาวชุดแดงเพื่อปลดแดกอำนาจได้ในนวนิยายเรื่องนี้
-
นี่คือหนังสือจิตวิทยาที่ขายดีที่สุดในรอบ 10 ปี ผลงานเขียนของ Carol Dweck ผู้นำเสนอหลักการสำคัญเกี่ยวกรอบความคิด หรือ ‘Mindset’ ว่าแท้จริงแล้ว Mindset ของคนเรา แบ่งเป็น 2 อย่าง คือ Fixed Mindset หรือกรอบความคิดตายตัว และ Growth Mindset หรือกรอบความคิดที่พัฒนาได้ ซึ่งอย่างหลังนี้เองคือปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เราเอาชนะอุปสรรคที่เข้ามาท้าทาย แต่การเปลี่ยนไปสู่กรอบความคิดที่พัฒนาได้ อาจต้องเริ่มจากการรู้จักตัวเองอย่างแท้จริง
-
เชื่อหรือไม่ว่าภาวะใจสลายนั้นมีอยู่จริง กาย วินช์ นักจิตวิทยาผู้เขียนหนังสือ How to Fix a Broken Heart หรือ สูญเสียแค่ไหน ก็ไม่เสียศูนย์ ได้จำแนกให้เห็นว่าอาการใจสลายมีทั้งแบบที่สังคมยอมรับและสังคมไม่ยอมรับ โดยเฉพาะอย่างหลังที่ทำให้หลายคนรับมือกับมันลำบากมากขึ้น หนังสือเล่มนี้จึงเป็นเหมือนเครื่องมือให้เราค่อยๆ ผ่านพ้นภาวะดังกล่าว ทั้งลดการตัดสินตัวเอง ค่อยๆ ปล่อยวาง เติมช่องว่าง และนิยามตัวตนขึ้นมาใหม่ พร้อมชวนให้สังคมเปิดใจยอมรับความเจ็บปวด เศร้าโศกที่มองไม่เห็น ว่าสิ่งเหล่านั้นมีอยู่จริง
-
Notes to Myself หรือ บันทึกจากก้นบึ้งถึงกลางใจ บันทึกของครูคนหนึ่งที่พยายามสำรวจสภาพจิตใจของตัวเอง เนื้อหาของหนังสือจึงพูดถึงความรู้สึกธรรมชาติของมนุษย์ ทั้งความกลัว ความหวั่นวิตกที่ติดอยู่ในซอกหลืบของจิตใจ ที่ท้ายสุดมันจะนำไปสู่การตระหนักรู้ อันเป็นก้าวแรกของการปลดปล่อยจิตใจให้เป็นอิสระ
-
โควิด-19 คือการระบาดครั้งใหญ่ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงไปทั้งโลก กระทบกระเทือนทั้งชีวิต อาชีพ เศรษฐกิจ การเมือง ซึ่ง ฟารีด ซาคาเรีย ได้ถอดบทเรียนการรับมือต่อการระบาดครั้งนี้ออกมาเป็นหนังสือ Ten Lessons for a Post-Pandemic World หรือ บทเรียนเพื่อโลกหลังการระบาด เพื่อบอกว่าหนทางในการรับมือครั้งนี้ เช่น การประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงานรัฐ การเปิดใจรับฟังเสียงของผู้เชี่ยวชาญและประชาชนไปพร้อมกัน การแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมระหว่างทุนและแรงงาน โดยทั้งหมดจะสำเร็จได้ด้วยการร่วมมือกันของประชาคมโลก และต้องลงมือทันที เพราะเวลานี้คือการเข้าสู่ยุคหลังโรคระบาดเรียบร้อยแล้ว
-
เคยไหม ที่ใช้ชีวิตตามความคาดหวังของคนอื่น? แล้วก็ทำตามสิ่งที่ใครๆ บอกว่าดี เพราะเชื่อว่าเรากำลังเดินทางไปพบความสำเร็จและความสุข แต่หารู้ไม่ ว่าการทำอย่างอื่นคุณอาจสูญเสียสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต ชีวิตติดปีกด่วยศิลปะแห่งการช่างแ-่ง หนังสือดังระดับโลกของ มาร์ก แมนสัน กำลังบอกเราว่าอะไรที่ไม่ได้สำคัญ วางไว้ก่อนก็ได้ และการค้นพบว่าเป็นคนธรรมดาก็ไม่เห็นเป็นไร อาจนำความสุขมาให้ได้มากกว่าที่เราคิด
-
คินสึงิ คือ ปรัชญาของชาวญี่ปุ่นที่ซ่อมแซมภาชนะที่แตกร้าวด้วยรักทอง เพื่อไม่ต้องทิ้งขว้างแต่ทำให้ภาชนะใบนั้นกลับมาใช้งานใหม่ได้อีกครั้ง เช่นเดียวกับชีวิตของมนุษย์ ทุกคนล้วนมีเรื่องเจ็บปวดทางใจ แต่ก็ไม่มีใครที่จะทิ้งชีวิตนี้ไปได้ ทางเดียวที่จะอยู่ร่วมกับบาดแผลเหล่านั้นคือการซ่อมแซมบาดแผลทางใจที่ยังเจ็บปวดและค้างคา เพื่อให้ในช่วงเวลาที่เหลือ เราใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขขึ้น แข็งแรงขึ้น และเข้าใจผู้แตกสลายคนอื่นๆ มากขึ้น
- Vis mere