Episodes

  • 101 In Focus สัปดาห์นี้ พบกับการแนะนำหนังสือในโปรเจกต์ ‘ความน่าจะอ่าน 2024 – Readcovery’ จากลิสต์หนังสือทั้งหมด 100 กว่าเล่ม คัดสรรโดยบรรดาเจ้าของสำนักพิมพ์ บรรณาธิการ ร้านหนังสือ รวมถึงนักวาดภาพประกอบ สู่ Top Highlights ทั้งสี่เรื่องที่ ‘น่าจะอ่าน’ ที่สุดประจำปีนี้ ได้แก่

    1.2475 นักเขียนผีแห่งสยาม ผู้เขียน : สะอาดและพชรกฤษณ์ โตอิ้ม
    2.ติดบ้าน (Daheim) ผู้เขียน : Judith Hermann ผู้แปล : นันทนา อนันต์โกศล
    3.รถไฟขนเด็ก (Il treno dei bambini) ผู้แต่ง : Viola Ardone ผู้แปล : นันธวรรณ์ ชาญประเสริฐ
    4.วรรณาคดี: อัตชีวประวัติของวรรณา ทรรปนานนท์ ผู้เขียน : ศรีดาวเรือง

    เรื่องไหนเป็นอย่างไร สนุก เข้มข้น ตราตรึงใจแค่ไหน ฟังได้เลยตอนนี้

    ดำเนินรายการโดย ภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์ บรรณาธิการ The101.world และปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย บรรณาธิการอาวุโส The101.world

  • เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีคลิปนักเรียนกลุ่มหนึ่งยืนเข้าแถวหน้าเสาธงและร้องเพลงชาติพม่าถูกเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ไทยหลายแพลตฟอร์ม ซึ่งนำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้าง ต่อมา กระทรวงศึกษาธิการมีคำสั่งให้มีการตรวจสอบและนำมาสู่การสั่งปิด โดยให้เหตุผลไว้ว่าศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติดังกล่าวจัดตั้งโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงฯ

    คลิปไวรัลดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงเดียวกับที่รัฐบาลไทยยื่นตราสารถอนข้อสงวนข้อ 22 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งว่าด้วยเด็กผู้ลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่พักพิง อันจะมีผลให้เด็กทุกคนได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้สื่อออนไลน์จำนวนหนึ่งได้ส่งต่อข้อมูลที่บิดเบือนไปว่าการถอนข้อสงวนฯ จะทำให้เด็กซึ่งเป็นลูกหลานแรงงานข้ามชาติที่อาศัยอยู่ในไทยได้รับรองสัญชาติไทยทันที

    ความเคลื่อนไหวบนโลกออนไลน์เหล่านี้นำไปสู่การโหมกระพืออคติต่อคนข้ามชาติและมีกระแสเรียกร้องให้ยุติการให้ความช่วยเหลือลูกหลานของคนกลุ่มนี้ สะท้อนให้เห็นอคติอันฝังรากลึกที่ทำให้การเลือกปฏิบัติยังเกิดขึ้นในสังคมไทย

    101 In Focus สัปดาห์นี้ จึงชวนสำรวจชีวิตอันไร้หลักประกันและเรื่องราวการต่อสู้ของเด็กข้ามชาติและเด็กไร้สัญชาติ ทั้งกรณีเด็กที่เกิดในไทยแต่ไม่ได้รับการรับรองสัญชาติ และลูกหลานแรงงานข้ามชาติที่ติดตามพ่อแม่มาทำงาน ในวันที่อคติยังไม่เลือนหายไป จะผลักดันอย่างไรให้เด็กข้ามชาติและเด็กไร้สัญชาติเข้าถึงโอกาสในชีวิตได้อย่างเท่าเทียม

    ดำเนินรายการโดย เพ็ญพิชชา มุ่งงาม และ ณัชชา สินคีรี กองบรรณาธิการ The101.world

    อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่:

    “เราไม่ได้มีเวลาทั้งชีวิตเพื่อรอบัตรประชาชนใบเดียว” : ชีวิตไร้หลักประกัน ฝันที่ถูกกั้นขวาง บนเส้นทางการต่อสู้ของ ‘เด็กไร้สัญชาติ’
    https://www.the101.world/stateless-children-struggle-for-rights/

    “สัญชาติไม่ควรตัดโอกาสทางการศึกษาของใคร” ศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติ มหาชัย พื้นที่เติบใหญ่ของลูกแรงงานพม่า
    https://www.the101.world/migrant-children-training-center-mahachai/

    ‘ศูนย์การเรียนสามเณรไร้รัฐ’ การศึกษาใต้ร่มกาสาวพัสตร์ที่ไร้เส้นพรมแดน
    https://www.the101.world/stateless-novices-education/

  • Missing episodes?

    Click here to refresh the feed.

  • สนามกอล์ฟ สนามม้า เวทีมวย ที่พักตากอากาศ โรงไฟฟ้า สถานีวิทยุ สถานีโทรทัศน์ ฯลฯ


    เหล่านี้ล้วนเป็นประเภทธุรกิจที่หน่วยงานภายใต้กองทัพไทยดำเนินการอยู่ ขณะเดียวกันกองทัพไทยเองยังครอบครองที่ดินและทรัพย์สินต่างๆ ที่เอื้อต่อการเปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ อีกจำนวนมหาศาลจนไม่อาจนับได้ถ้วน จนเกิดคำถามมากมายว่าการถือครองทรัพย์สินและธุรกิจเหล่านี้จำเป็นกับกองทัพขนาดไหน และรายได้ที่ได้มาถูกนำไปใช้กับอะไรกันแน่ แต่ที่ผ่านมา การจะได้คำตอบจากกองทัพในเรื่องเหล่านี้ก็กลับเป็นที่ยากเย็น


    101 In Focus ตอนนี้ ชวนสำรวจอาณาจักรธุรกิจของกองทัพไทยว่ายิ่งใหญ่ขนาดไหน กระทบกับผลประโยชน์ของชาติและประชาชนอย่างไร และอะไรที่ทำให้ธุรกิจกองทัพถูกตรวจสอบได้ยากยิ่งกว่าหน่วยงานรัฐอื่นๆ โดยอิงจากผลงานซีรีส์จำนวน 5 ตอนของ รศ.ดร. พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ


    ดำเนินรายการโดย วจนา วรรลยางกูร และ วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา บรรณาธิการ The101.world


    อ่านเพิ่มเติมที่
    https://www.the101.world/military-owned-businesses-1/
    https://www.the101.world/military-owned-businesses-2/
    https://www.the101.world/military-owned-businesses-3/
    https://www.the101.world/military-owned-businesses-4/
    https://www.the101.world/military-owned-businesses-5/

  • คนทำหนังไทย เหมือนใช้ชีวิตในตำบลกระสุนตก -คำกล่าวนี้อาจไม่เกินจริง เพราะไม่ว่าจะทำอะไร คนทำหนังไทยก็เหมือนต้องรอรับคำพิพากษาจากคน (ยัง) ไม่ได้ดูหนังอยู่เสมอ (?)
    .
    อ่านเพิ่มเติมที่
    .
    - คนทำหนังไทย ทำอะไรก็ผิดเสมอ แม้แต่แค่ทะเยอทะยานก็ยังผิด
    https://www.the101.world/its-hard-being-thai-filmmakers/

  • ปัญหาน้ำท่วมกลับมาเยือนประเทศไทยอีกครั้งและผลกระทบเริ่มกินวงกว้างรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

    ข้อถกเถียงหนึ่งในแวดวงการเมืองคือเรื่องการจัดสรรงบประมาณสร้างฝาย คำถามใหญ่คือฝายเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการบริหารจัดการน้ำหรือไม่ ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งแก้ได้ด้วยฝายเท่านั้นหรือ หากเป็นเช่นนั้นทำไมประเทศไทยยังมีปัญหาการบริหารทรัพยากรน้ำอยู่ ในเมื่อเรามีฝายและเขื่อนจำนวนนับไม่ถ้วน

    101 In Focus สัปดาห์นี้ชวนหาคำตอบว่าฝายเป็นยาสามัญประจำบ้านแก้ปัญหาน้ำจริงหรือไม่ ทิศทางนโยบายบริหารจัดการน้ำของภาครัฐกำลังหลงทางอย่างไร และอะไรเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้เรารับมือน้ำท่วมได้ไม่ดีเท่าที่ควร

    ดำเนินรายการโดย วจนา วรรลยางกูร บรรณาธิการ The101.world และปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย บรรณาธิการอาวุโส The101.world

    ……

    อ่านเพิ่มเติมที่

    - เมื่อฝายไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน แต่รัฐบาลกำลังปูพรมสร้างฝายทั่วประเทศ
    www.the101.world/check-dam/

    - “ภาคอีสานถูกกระทำจากนโยบาย” สันติภาพ ศิริวัฒนไพบูลย์: ทรัพย์ในดิน สินในน้ำที่คนอีสานไม่เคยเป็นเจ้าของ
    www.the101.world/santiparp-interview/

    - บทเรียนน้ำท่วมอีสานครั้งใหญ่ เกี่ยวอะไรกับการแก้รัฐธรรมนูญ
    www.the101.world/crisis-of-flood-and-constitution/

  • ภายในชั่วระยะเวลาสั้นๆ นับจากเปิดตัวในประเทศไทยเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2567 กิตติศัพท์ของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซหน้าใหม่จากประเทศจีนอย่าง ‘TEMU’ ได้กลายเป็นประเด็นที่หลายคนจับตามอง ทั้งเรื่องราคาที่ถูกแสนถูก คุณภาพสินค้าจากโรงงานจีน ไปจนถึงผลกระทบต่อผู้ประกอบการรายย่อยในไทย

    แต่พ้นไปจากปรากฏการณ์ข้างต้น อีกหนึ่งแง่มุมสำคัญและยังเป็นโจทย์ให้ขบคิดในระยะยาว คือเรื่องการกำกับดูแลแพลตฟอร์มจากต่างประเทศ ทั้งการต่อต้านอำนาจผูกขาด การคุ้มครองผู้บริโภค และการเปิดโอกาสให้แพลตฟอร์มรายเล็กเข้ามาร่วมแข่งขันอย่างเป็นธรรมในระบบเศรษฐกิจแพลตฟอร์มไทยได้

    101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนคุยตั้งแต่การทำความรู้จักเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม ธรรมชาติของการดำเนินธุรกิจและการผูกขาด กรอบการวางนโยบายกำกับดูแล แนวคิดและช่องว่างในการจัดเก็บภาษีแพลตฟอร์มต่างชาติที่ยังประสบปัญหาอยู่ในปัจจุบัน

    ดำเนินรายการโดย สมคิด พุทธศรี บรรณาธิการบริหาร The101.world และภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์ บรรณาธิการ The101.world

  • ปฏิเสธไม่ได้ว่าพัฒนาการของปัญญาประดิษฐ์ (AI) เปลี่ยนแปลงการทำงานของมนุษย์ไม่มากก็น้อย กล่าวคือเอไอสามารถทำได้ตั้งแต่วิเคราะห์ข้อมูล คำนวณข้อมูล เขียนโค้ด (code) แต่งเพลง ไปจนถึงแต่งกลอน
    .
    และที่สำคัญ เอไอเข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำงานของสื่อมวลชน ตามมาด้วยคำถามสำคัญเรื่องคุณค่างานข่าวและจริยธรรมสื่อ ซึ่งสื่อมวลชนไทยในปัจจุบันอยู่ในภาวะ ‘สุญญากาศ’ ที่ไม่มีแนวปฏิบัติด้านเอไออย่างเป็นทางการเหมือนอย่างสำนักข่าวต่างประเทศ
    .
    101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนสนทนาว่าด้วยเรื่องเอไอและสื่อมวลชน ตั้งแต่วิธีการใช้เอไอในห้องข่าวไทยโดยรวม การใช้เอไอในห้องข่าวไทยพีบีเอส รวมถึงปัญหาทีสื่อและสังคมไทยต้องเผชิญเมื่ออยู่ในภาวะสุญญากาศ
    .
    ดำเนินรายการโดย ชลธิชา ทักษิณาเวศน์ กองบรรณาธิการ The101.world และ ณัชชา สินคีรี กองบรรณาธิการ The101.world.
    .
    อ่านเพิ่มเติมที่
    สุญญากาศทางจริยธรรมสื่อ? : สำรวจห้องข่าวไทย ในวันที่เอไอทำได้(แทบ)ทุกอย่าง
    https://www.the101.world/ai-ethics-guideline-in-thai-media/
    .
    แย่งงาน หลายใจ และใดๆ ที่เอไอทำได้: คุยเรื่องเอไอในฐานะจุดเปลี่ยนวัฒนธรรมมนุษย์ กับ อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล
    https://www.the101.world/arthit-suriyawongkul-interview/

  • ภายใต้เศรษฐกิจโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่ โลกแห่งความเหลื่อมล้ำนี้ไม่ได้มีแค่นายทุนและชนชั้นกรรมาชีพอีกต่อไป คำถามคือเราจะเข้าใจความสัมพันธ์ทางชนชั้นในปัจจุบันได้อย่างไร

    กาย สแตนดิง (Guy Standing) อดีตศาสตราจารย์ประจำวิทยาลัยบูรพคดีและแอฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัยลอนดอน และที่ปรึกษาคนสำคัญของพรรคแรงงานอังกฤษ เป็นผู้พัฒนาแนวคิด ‘Precariat’ (ชนชั้นเสี่ยง) เพื่ออธิบาย 'ชนชั้นใหม่' ที่ไร้สวัสดิการ ไร้สัญญาจ้าง มีรายได้ไม่แน่นอน และสูญเสียเวลาส่วนใหญ่ในชีวิตไปกับการทำงาน

    101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนสนทนาว่าด้วยหลักคิดของ กาย สแตนดิง ต่อความเหลื่อมล้ำ ชนชั้นเสี่ยง และข้อเสนอรูปธรรมของเขาต่อการพัฒนาหลังยุคเสรีนิยมใหม่ เพื่อความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจอย่างแท้จริง

    ดำเนินรายการโดย สมคิด พุทธศรี บรรณาธิการบริหาร The101.world และ ณัชชา สินคีรี กองบรรณาธิการ The101.world

    ……………….
    อ่านเพิ่มเติม

    ความเหลื่อมล้ำ ชนชั้นเสี่ยง และทางเลือกการพัฒนาหลังยุคเสรีนิยมใหม่ : บทสนทนาว่าด้วยความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ กับ กาย สแตนดิง https://www.the101.world/guy-standing-interview/

    ‘เกษียร เตชะพีระ’ มองการเมืองไทยยุคหลังฉันทมติภูมิพล https://www.the101.world/kasian-tejapira-interview/

    ‘Precarious Thailand’ มองอนาคตสังคมไทยจากประวัติศาสตร์กดขี่ กับ อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ https://www.the101.world/attachak-sattayanurak-interview/

  • เชื่อได้ว่าช่วงเวลานี้ สายตาทุกคู่ต่างจับจ้องและถนนทุกสายต่างต้องมุ่งตรงไปยังกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เนื่องจากมีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2024 ตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม ถึง 11 สิงหาคม 2567 ภายใต้สโลแกน ‘Games wide open’
    .
    ผู้คนต่างสนใจและเฝ้าดู ‘พิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2024’ ซึ่งมีทั้งขบวนพาเหรดนักกีฬา โชว์ตระการตามากมายที่บอกเล่าเรื่องราว ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของฝรั่งเศส โดยมีแม่น้ำแซนเป็นฉากหลัง หนึ่งในโชว์ที่ถูกพูดถึงอย่างมากบนโลกออนไลน์คงหลีกหนีไม่พ้นโชว์ ‘Liberté’ ซึ่งมีเนื้อหาหลักพูดถึงเหตุการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญของประเทศฝรั่งเศสอย่าง ‘การปฏิวัติฝรั่งเศส’ ซึ่งมีนักร้องประสานเสียงที่แต่งกายเป็นพระนางมารี อองตัวเนต หัวขาดร่วมอยู่ด้วย
    101 In Focus สัปดาห์นี้ชวนผู้ฟังย้อนเวลาเพื่อทำความเข้าใจบริบทของเหตุการณ์ที่เรียกร้องการปฏิรูปในช่วงเวลานั้น ก่อนที่จะจบลงด้วยการปฏิวัติ ตลอดจนจุดกำเนิดของเพลงชาติฝรั่งเศสอย่าง ‘ลา มาร์เซยแยส’ (La Marseillaise) ว่ามีความสำคัญอย่างไร
    .
    ดำเนินรายการโดย ศุภวิชญ์ ศิริสวัสดิ์วัฒนา กองบรรณาธิการ The101.world และภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์ บรรณาธิการ The101.world
    .
    อ่านเพิ่มเติม
    - จดหมายถึงพระมหากษัตริย์: เสียงเรียกร้องให้ปฏิรูป ก่อนการปฏิวัติใหญ่ของฝรั่งเศส ปี 1789
    https://www.the101.world/letter-to-the-king-french-evolution-1789/
    .
    - ‘ลา มาร์เซยแยส’ และ ‘เลือดไม่บริสุทธิ์’ ที่ไหลท่วมรอยไถของเรา
    https://www.the101.world/la-marseillaise/

  • ตลอดสองสัปดาห์ที่ผ่านมา หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญระดับโลกที่ถูกติดตามอย่างใกล้ชิดมากที่สุดคงจะหนีไม่พ้นข่าวการลอบยิงอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ขณะปราศรัยหาเสียงที่รัฐเพนซิลเวเนีย เมื่อ 13 กรกฎาคม ที่ผ่านมา

    เพียงไม่กี่นาทีหลังเกิดเหตุ ภาพทรัมป์ชูกำปั้น มีเลือดเปรอะใบหน้า ยืนอยู่ท่ามกลางเจ้าหน้าที่อารักขารายล้อม โดยมีผืนธงชาติอเมริกันโบกสะบัดกลางท้องฟ้าเป็นฉากหลัง ถูกเผยแพร่ไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ภาพดังกล่าวถูกกล่าวขานว่าทรงพลังจนอาจส่งผลต่อการเมืองสหรัฐฯ ทั้งองคาพยพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลาที่การเลือกตั้งใกล้มาถึง

    101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนพูดคุยถึงพลังของภาพทรัมป์ชูกำปั้นที่หลายคนยกให้เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของการเมืองอเมริกัน และฉากต่อไปการเลือกตั้งสหรัฐฯ จะเป็นอย่างไรหลัง โจ ไบเดน ส่งไม้ต่อให้ กมลา แฮร์ริส ขึ้นเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตเพื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดี

    ดำเนินรายการโดย เพ็ญพิชชา มุ่งงาม และ พิมพ์ชนก พุกสุข กองบรรณาธิการ The101.world

    อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่:

    ภาพหนึ่งใบที่จะเปลี่ยนภูมิทัศน์การเมืองอเมริกันครั้งใหญ่ไปตลอดกาล
    https://www.the101.world/the-iconic-images-of-donald-trump/

    “กมลา แฮร์ริส” กับอนาคตการเมืองสหรัฐฯ : ความหลากหลายของคนอเมริกัน v ความเป็นหนึ่งของคนผิวขาว
    https://www.the101.world/kamala-harris/

  • ในเดือนกรกฎาคมนี้ มีภาพยนตร์เฮอร์เรอร์เขย่าขวัญ ที่พูดถึงศาสนาอิสลามเข้าฉายในโรงในเวลาไล่เลี่ยกันอยู่สองเรื่อง เรื่องแรกคือ Grave Torture (2024) หนังยาวลำดับล่าสุดของ โจโค อันวาร์ (Joko Anwar) คนทำหนังชาวอินโดนีเซีย ที่ตั้งคำถามอันแหลมคมอย่าง ‘ศาสนาทำให้เราเป็นคนดีขึ้นหรือไม่’ ผ่านเรื่องของหญิงสาวที่เลือกลงหลุมไปกับคนตายบาปหนา และ ‘แดนสาป’ The Cursed Land (2024) โดย ภาณุ อารี ผู้กำกับ และ ก้อง ฤทธิ์ดี คนเขียนบท ที่พูดเรื่องคนมุสลิมกับความเป็นอื่น และประวัติศาสตร์เชิงพื้นที่ได้อย่างคมคาย

    จุดร่วมของหนังทั้งสองเรื่อง เห็นจะเป็นการที่เลือกสำรวจประเด็นความศรัทธาผ่านศาสนาอิสลามและฌ็องหนังเฮอร์เรอร์ ซึ่งยิ่งขับเน้นประเด็นใหญ่ที่หนังทั้งสองเรื่องพูดถึงอย่างลงตัว

  • หลังจากที่ เอบรอฮีม รออีซี (Ebrahim Raisi) ประธานาธิบดีอิหร่านเสียชีวิตลงกะทันหันจากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตก อิหร่านจึงต้องจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีแบบฉับพลัน โดยในการเลือกตั้งรอบตัดเชือกเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมานั้น ปรากฏว่า มาซูด ปีเซชเคียน (Masoud Pezeshkian) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ชนะการเลือกตั้งได้เป็นประธานาธิบดีคนใหม่


    ความน่าสนใจของปีเซซเคียนคือเขาเป็นนักการเมืองสายปฏิรูป ซึ่งตรงกันข้ามกับประธานาธิบดีคนก่อนที่มาจากสายอนุรักษนิยมแข็งกร้าว จึงน่าจับตาอย่างยิ่งว่าการเมืองอิหร่านจะมาสู่การเปลี่ยนแปลงจริงไหม และจะส่งผลต่อการเมืองระหว่างประเทศที่กำลังคุกรุ่นหรือไม่? 101 In Focus ชวนมาคุยกันในเรื่องนี้


    ดำเนินรายการโดย วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา บรรณาธิการ The101.world และ พิมพ์ชนก พุกสุข กองบรรณาธิการ The101.world


    อ่านเพิ่มเติมที่ https://www.the101.world/arthit-thongin-interview/

  • หากใครเห็นภาพปรากฏการณ์ห้างแตกที่เกิดขึ้นจากน้องหมีเนยหรือ Butterbear ที่มีเหล่ามัมหมีหรือแฟนคลับมารอเจอมาสคอตร้านขนมเหมือนรอเจอดาราดัง คงตั้งคำถามว่าทำไมคนถึงทุ่มเทหัวใจให้น้องหมีเนยขนาดนี้
    .
    อีกคาแรกเตอร์หนึ่งที่ฮอตฮิตมาก่อนหน้านี้คือลาบูบู้ คาแรกเตอร์ที่ทำยอดขายกล่องสุ่มถล่มทลาย จนความนิยมกลายเป็นตัวคูณให้ราคาขายต่อพุ่งทะยาน
    .
    อะไรเป็นเหตุผลที่ทำให้ตัวการ์ตูนหรือตุ๊กตาตัวหนึ่งโดนใจคน โดยเฉพาะตุ๊กตาที่ไม่ตรงขนบ ไม่ใสซื่อ กวนโอ๊ย ดูร้ายลึก ความนิยมที่เกิดขึ้นนี้กำลังบอกอะไรเรา
    .
    101 In Focus สัปดาห์นี้จึงคุยกันเรื่องประวัติศาสตร์ตุ๊กตา การสร้างความหมายทางสังคมของตุ๊กตาที่ไม่ตรงขนบและภาพแทนของคนแต่ละกลุ่มที่ปรากฏในตุ๊กตา
    .
    ดำเนินรายการโดย วจนา วรรลยางกูร บรรณาธิการ The101.world และ ณัชชา สินคีรี กองบรรณาธิการ The101.world
    ……………….
    อ่านเพิ่มเติม
    - จากลาบูบู้ถึงหมีเนย : เมื่อความหน้าร้ายกลายเป็นความน่ารัก
    https://www.the101.world/labulu-butterbear-expression/
    - “Barbie (2023) เป็นเฟมินิสต์เกินไป (?)” : สำรวจประเด็นจิกกัดปิตาธิปไตยในโลกสีชมพู
    https://www.the101.world/barbie-2023/
    - Aggretsuko โลกห่วยๆ ที่บังคับให้เราอยู่รอดด้วยการเกรี้ยวกราด
    https://www.the101.world/aggretsuko-review/

  • แม้ไม่มีพื้นที่ราบให้มองได้ไกลสุดสายตา แต่ในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งอุดมด้วยเทือกเขาและถ้ำผาอันสลับซับซ้อน เปรียบได้กับ ‘ห้องปฏิบัติการทางธรรมชาติ’ ที่เก็บรวบรวมร่องรอยอารยธรรม การตั้งถิ่นฐาน และวัฒนธรรมของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เนิ่นนานย้อนไปได้ถึง 32,380 ปี

    จากแหล่งโบราณเกินกว่า 60 แหล่งในพื้นที่ และความพยายามขุดค้น 20 กว่าปีภายใต้ ‘โครงการโบราณคดีบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า’ นำโดย ศ.ดร.รัศมี ชูทรงเดช จากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เราพบทั้งโครงกระดูกมนุษย์โบราณ เศษซากกระดูกสัตว์ เครื่องมือหินกระเทาะ รวมกันนับล้านชิ้น อันเป็นกุญแจสำคัญในการเปิดประตูสู่เรื่องราวยุคดึกดำบรรพ์ เกี่ยวพันกับพื้นเพที่มาของคนในประเทศไทย

    อะไรคือความลับที่ถ้ำมืดแห่งปางมะผ้าเก็บงำไว้หลายพันปี? 101 สัปดาห์นี้ ขอชวนคุณท่องเที่ยวไปกับประสบการณ์ค้นหาอดีตกาลที่แม่ฮ่องสอน เรียนรู้กระบวนการทำงานทางโบราณคดี และบทเรียนที่มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้มอบแก่เรา

    ดำเนินรายการโดย ภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์ บรรณาธิการ The101.world และปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย บรรณาธิการอาวุโส The101.world

    อ่านเพิ่มเติมได้ที่:

    ในม่านหมอกกาลเวลาแห่งปางมะผ้า: ไต่ผาหาอดีตกาล สืบรากมนุษย์โบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์
    https://www.the101.world/pang-mapha-documentary/

    จากเศษกระดูกสู่เกลียวดีเอ็นเอ: เปิดโลกมนุษย์โบราณในถ้ำผาแห่งปางมะผ้า กับ รัศมี ชูทรงเดช https://www.the101.world/rasmi-shoocongdej-interview/

  • ภายใต้สารพัดแนวคิดหรือสารพัดนโยบายเพื่อเด็กและเยาวชนไทย ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังมีเด็กและเยาวชนเปราะบางอีกจำนวนมากที่ต้องเผชิญกับปัญหาอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง แต่กลับ ‘ไม่ถูกมองเห็น’ โดยรัฐไทย กล่าวคือถูกมองข้าม ละเลย และไม่ได้รับความเข้าใจเพียงพอ
    .
    101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนฟังสาระสำคัญบางส่วนจากรายงาน เด็กและครอบครัวไทยที่ไม่ถูกมองเห็น: รายงานสถานการณ์เด็กและครอบครัว ประจำปี 2024 ที่จัดทำขึ้นภายใต้แนวคิด ‘เด็กและครอบครัวไทยที่ไม่ถูกมองเห็น’ ซึ่งนำเสนอสถานการณ์ของเด็กและเยาวชนชายขอบกลุ่มตัวอย่างที่น่าสนใจ ได้แก่ เด็กและเยาวชนครัวเรือนเกษตร, เด็กและเยาวชนจนเมือง, สามเณร, และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง
    .
    เผื่อว่าในอนาคต รัฐไทยจะ ‘มองเห็น’ และสามารถสนับสนุนความฝันและแก้ไขปัญหาของเด็กเหล่านี้ได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น
    .
    ดำเนินรายการโดย ชลธิชา ทักษิณาเวศน์ กองบรรณาธิการ The101.world และ วรดร เลิศรัตน์ นักวิจัย 101 PUB
    ………………
    อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.the101.world/kid-for-kids-report-2024/

  • ประเด็นการเมืองซึ่งได้รับความสนใจที่สุดในตอนนี้หนีไม่พ้นคดียุบพรรคก้าวไกลที่ถูกยื่นเรื่องล้มล้างการปกครอง

    ที่มาของการสร้างกลไกยุบพรรคมาจากแนวคิดเรื่องประชาธิปไตยที่ปกป้องตนเองได้ (militant democracy) คือแนวคิดการติดเครื่องมือให้ประชาธิปไตยต่อสู้กับภัยคุกคามที่จะมาล้มล้างระบอบได้

    แต่ที่ผ่านมาการยุบพรรคในไทยถูกมองว่าเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย มีข้อวิจารณ์จำนวนมากว่าเป็นกลไกที่ใช้ทำลายพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามผู้มีอำนาจ

    101 In Focus สัปดาห์นี้จึงคุยกันเรื่องการยุบพรรคการเมืองในฐานะกลไกของระบอบประชาธิปไตยและการกลายพันธุ์ของการปรับใช้ในบริบทประเทศไทย มีปัจจัยใดบ้างที่เปลี่ยนจุดมุ่งหมายของการมีกลไกยุบพรรคในระบอบประชาธิปไตย จากเครื่องมือปกป้องประชาธิปไตย กลายเป็นเครื่องมือทำลายประชาธิปไตยเสียเอง

    ดำเนินรายการโดย ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย บรรณาธิการอาวุโส The101.world และ วจนา วรรลยางกูร บรรณาธิการ The101.world

    อ่านเพิ่มเติม

    - มาตรฐานแบบใดในคดีรัฐธรรมนูญ
    https://www.the101.world/inconsistent-standard-of-judgement/

    - ยุบพรรค ยุบนิติธรรม ยุบประชาธิปไตย
    https://www.the101.world/party-dissolution-and-democracy/

    - Same Same But Different: รัฐธรรมนูญเยอรมันและการกลายพันธุ์ในรัฐธรรมนูญไทย กับ ปูนเทพ ศิรินุพงศ์
    https://www.the101.world/poonthep-sirinupong-interview/

  • 22 พฤษภาคม 2557 ถือเป็นหนึ่งในวันสำคัญของประวัติศาสตร์การเมืองไทยร่วมสมัย เมื่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศรัฐประหารเวลา 16.30 น.

    ในวาระครบรอบ 10 ปีรัฐประหาร ชวนสำรวจภาพใหญ่ของการยึดอำนาจที่ส่งผลต่อโครงสร้างทางการเมืองการปกครองทั้งองคาพยพ ทั้งในแง่สถาบันหลัก, การแต่งตั้ง สว. 250 รายที่มีสิทธิในการเลือกนายกรัฐมนตรี, การถือกำเนิดขึ้นของรัฐธรรมนูญ 2560, การผูกขาดของระบบทุนกับเศรษฐกิจ ตลอดจนบาดแผลของผู้คนมากมายที่ได้รับผลกระทบจากรัฐประหาร

    101 In Focus สัปดาห์นี้ชวนผู้ฟังพินิจพิเคราะห์บาดแผลและมรดกตลอดสิบปีที่ผ่านมาของการรัฐประหารโดย คสช. ไปด้วยกัน

  • เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว พวกเราทุกคนก็ก้าวเข้าสู่เดือนมิถุนายน ซึ่งถือว่าเป็นเดือน Pride Month หรือเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองความภาคภูมิใจของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศอีกครั้ง ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาสังคมไทยเริ่มเห็นภาครัฐและภาคเอกชนต่างออกมาร่วมเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศไปด้วยกัน แต่ในอีกด้านก็มีหลายฝ่ายที่ตั้งคำถามว่ากลุ่มธุรกิจเหล่านี้สนับสนุนความหลากหลายทางเพศอย่างแท้จริง หรือใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาดเท่านั้น
    .
    101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนสำรวจแนวคิด ‘rainbow washing’ หรือกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีการนำสีรุ้งมาใช้ในการโฆษณา พร้อมร่วมหาคำตอบว่ากลุ่มธุรกิจต้องสนับสนุนความหลากหลายทางเพศอย่างไรไม่ให้กลายเป็นเพียงการตลาดสีรุ้ง
    .
    ดำเนินรายการโดย ศุภวิชญ์ ศิริสวัสดิ์วัฒนา กองบรรณาธิการ The101.world และ ภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์ บรรณาธิการ The101.world
    .
    อ่านเพิ่มเติมที่
    .
    Rainbow Washing การตลาดตบตาบนผืนผ้าสีรุ้ง
    https://www.the101.world/rainbow-washing/
    .
    Pride of 2024 : ยิ่งหลากหลาย ยิ่งทำกำไร!
    https://www.the101.world/pride-diversity-profitability/

  • ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หนังสือแนว ‘ฮาวทู’ (how to) หรือ Self-Help Books ได้รับความนิยมในหมู่นักอ่านเป็นอย่างสูง เห็นได้จากยอดขายที่ติดอันดับหนังสือขายดีอย่างต่อเนื่องและกระแสการพูดถึงในโลกออนไลน์ ความเฟื่องฟูของหนังสือฮาวทูเหล่านี้กำลังสะท้อนความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างในสังคม

    ท่ามกลางยุคสมัยแห่งความอ่อนล้าและการแสวงหาที่พึ่ง 101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนมองวิวัฒนาการ ‘หนังสือฮาวทู’ ที่กำลังเป็นที่นิยมในท้องตลาด หาคำตอบว่าหนังสือเหล่านี้มีส่วนช่วยให้เราพัฒนาตัวเองได้จริงหรือไม่ พร้อมสำรวจเทรนด์แห่งยุคสมัยที่ ‘แมว’ ปรากฏตัวอยู่ในหนังสือในฐานะผู้ให้บทเรียนในการใช้ชีวิต

    ดำเนินรายการโดย เพ็ญพิชชา มุ่งงาม และ ณัชชา สินคีรี กองบรรณาธิการ The101.world

    อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่:

    หนังสือ ‘ฮาวทู’ มีประโยชน์จริงหรือ?
    https://www.the101.world/self-help-books/

    เมื่อเหมียวบุกชั้นหนังสือ: สำรวจ ‘แมว’ ในฐานะความรู้สึกแห่งยุคสมัย ที่คนกลายเป็น ‘ทาสแมว’

    https://www.the101.world/cat-books/

  • หลังจากที่ สว. ชุดเก่าหมดวาระลงไปเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา ประเทศไทยก็กำลังเข้าสู่กระบวนการเลือก สว. ชุดใหม่ โดยมีกำหนดเปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 20-24 พฤษภาคม ก่อนจะไปสู่กระบวนการเลือกในระดับอำเภอ จังหวัด และประเทศ ในช่วงเดือนมิถุนายน
    .
    เพื่อต้อนรับเทศกาลการเลือก สว. ชุดใหม่ 101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนมาคุยว่าถึงแนวคิด-ข้อถกเถียงต่างๆ ว่าด้วย สว. โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า เราเลือก(ตั้ง) สว. กันไปทำไม และ สว. ยังจำเป็นต้องมีอยู่ไหมสำหรับประเทศไทย
    .
    ดำเนินรายการโดย วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา และ วจนา วรรลยางกูร บรรณาธิการ The101.world
    .
    อ่านเพิ่มเติมที่
    .
    เลือก(ตั้ง) ส.ว. ไปทำไม?
    https://www.the101.world/senator-nuttakorn/
    .
    หาคำตอบ ‘ส.ว. มีไว้ทำไม?’ กับปุรวิชญ์ วัฒนสุข เมื่อวุฒิสภาเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการประชาธิปไตย
    https://www.the101.world/purawich-watanasukh-interview/