Episodes

  • ในอดีตการลาออกจากการเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเคยเกิดขึ้นครับเมื่อช่วงปี 2558  ภายใต้มาตรการที่ชื่อว่า undo   แต่กลุ่มข้าราชการที่สามารถลาออกได้นั้นคือกลุ่มข้าราชการที่ต้องรับราชการก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540 และสมัครใจเข้ามาเป็นสมาชิก กบข.  แต่ต่อมาเกิดเปลี่ยนใจอยากจะลาออก เนื่องจากการเป็น สมาชิก กบข. ทำให้บำนาญที่จะได้รับหลังเกษียณอายุลดลง ซึ่งในช่วงดังกล่าวก็มีข้าราชการหลายท่านที่ขอลาออกไปพอสมควรเหมือนกัน  แต่สำหรับข้าราชการในยุคปัจจุบัน  จะลาออกได้ก็ต่อเมื่อ  หมดสภาพความเป็นข้าราชการ ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ก็สิ้นสภาพการเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเมื่อนั้น

  • การลงทุน กองทุนบำเเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ของข้าราชการแต่ละคน จะมีเงินลงทุน 2 ส่วนใหญ่ๆ  ส่วนแรก เป็นกองเงินของตัวเราเอง ส่วนที่ 2 คือกองเงินที่รัฐลงทุนให้กับตัวเรา  ในส่วนของเงินเราแบ่งออก 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เงินออมบังคับ หักเงินจากข้าราชการ 3 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน   ส่วนที่ 2 เงินที่ออมเพิ่มตามความสมัครใจ สามารถออมเพิ่มได้อีกตั้งแต่ 1 ถึง 12 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน   ในส่วนของเงินรัฐมี 2 ส่วนหลัก และอีก 1 ส่วนเสริม ส่วนหลักที่ 1 คือเงินสมทบ เงินตรงนี้รัฐจะสมทบเงินเข้ามาเก็บออมให้เราเป็นจำนวนเงิน 3 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน  ส่วนหลักที่ 2 คือเงินชดเชย เงินในส่วนนี้รัฐบาลจะออมเพิ่มให้เราอยู่ในอัตรา 2 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน  เงินส่วนเสริม  เรียกว่าเงินประเดิม  ข้าราชการที่มีสิทธิ์จะได้คือข้าราชการที่รับราชการก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540 และสมัครใจเข้าเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งยอดเงินประเดิมแต่ละคนก็จะได้ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับอายุราชการของแต่ละคน

  • Missing episodes?

    Click here to refresh the feed.

  • กบข. จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ความเป็นมาคือ ในช่วงปี พ.ศ. 2534 คณะรัฐมนตรีมีมติให้กระทรวงการคลังพิจารณา ปรับปรุงระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการ  จากแต่เดิมที่ข้าราชการจะได้รับบำเหน็จ หรือ บำนาญ จากกระทรวงการคลังเท่านั้น ตอนเกษียณหรือลาออก หรือมีเหตุใดๆที่ทำให้สิ้นสภาพการรับราชการ  วัตถุประสงค์ของ กบข. 1.เป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ 2.ส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก การมี กบข. เป็นการให้ ข้าราชการทุกคนได้ออมเพื่อตัวเองในตอนแก่แบบแน่นอนครับ เพราะมันตัดเงินไปก่อนที่จะจ่ายเงินเดือนเลย 3.จัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิก เช่น ต่อประกันภัยรถยนต์ในราคาพิเศษ ซื้อหนังสือในราคาลดพิเศษ ลดค่าที่พัก ลดค่าอาหาร ลดค่าสวนน้ำเครื่องเล่น การตรวจเช็คสภาพรถฟรีช่วงปีใหม่ หรือแม้กระทั่งมีการฝึกอบรมวิชาชีพฟรีกันด้วย

  • ถ้าใครตัดสินใจะซื้อกู้ซื้อบ้าน ขอให้ทุกท่านเลือกระยะเวลาการผ่อนที่ยาวที่สุดไว้ก่อน แต่ด้วยเหตุผลอะไร ไปลองฟังดูครับ

  • คนเราทุกคนเกิดขึ้นมาแล้วเนี่ย ย่อมต้องการปัจจัย 4 อันเป็นพื้นฐานในการดำรงชีพและที่อยู่อาศัยก็เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่   การจะซื้อบ้านในชีวิตคนเรา ณ ปัจจุบันก็ต้องพึ่งสถาบันการเงินในการกู้หนี้ยืมสิน  แล้วผ่อนชำระหนี้ซึ่งส่วนใหญ่จะตกอยู่ประมาณ 25 ถึง 35 ปีเลยด้วยซ้ำ  มันจึงทำให้หลายๆคนต้องคิดต้องคำนวณต้องไตร่ตรอง ก่อนที่จะซื้อบ้านสักหลังนึง    ผมอาจจะพูดในบริบทที่เอาใจข้าราชการหรือคนที่ทำงานประจำ  ซึ่งในองค์กรที่ทำงานนั้นมีสหกรณ์ออมทรัพย์สามารถกู้ซื้อบ้านได้ และอีกทางเลือกหนึ่งคือกู้ผ่านสถาบันการเงินหรือธนาคารต่างๆนั่นเอง เราจะเลือกกู้ผ่านช่องทางไหนดี  ผมให้หลักการพิจารณาไว้อย่างนี้ละกันครับ  ประเด็นแรกที่ต้องพิจารณาคือ เรื่องดอกเบี้ย เรื่องนี้เป็นหัวใจหลักของการเป็นหนี้เพราะว่าดอกเบี้ยที่สูงกว่ายอมสร้างภาระหนี้ที่มากกว่าอยู่แล้วอย่างที่ทุกๆคนเข้าใจกัน  ลักษณะดอกเบี้ยของเงินกู้สหกรณ์ออมทรัพย์กับธนาคารทั่วไปมีความแตกต่างกัน  หากเป็นดอกเบี้ยเงินกู้สหกรณ์ออมทรัพย์มักจะเป็นดอกเบี้ยคงที่นั่นคือระบุอย่างชัดเจนเลยว่าตลอดระยะเวลาสัญญาเงินกู้นั้นจะคิดดอกเบี้ยในอัตราเท่าใด เท่าที่สำรวจข้อมูลมาณปัจจุบันคือต้นปี 2564  ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้านของสหกรณ์ออมทรัพย์จะอยู่ประมาณ 5-7%ต่อปี ส่วนดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้านของธนาคารมักจะเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นดอกเบี้ยต่ำในช่วง 1-2 ปีแรก หลังจากนั้นจะเป็นดอกเบี้ยลอยตัวที่อ้างอิงตามภาวะดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อในตอนนั้น โดยจะมีค่าเทียบเคียง ที่หลายคนคงจะรู้จักก็คือ อัตราดอกเบี้ย mlr และอัตราดอกเบี้ย mrr ซึ่งผมขอยังไม่ลงรายละเอียดในส่วนนี้ แต่เพื่อให้เข้าใจได้แบบง่ายๆก็คือดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้านผ่านธนาคารจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยตามสภาวะเศรษฐกิจ และเท่าที่สำรวจมาการกู้ซื้อบ้านผ่านธนาคารในช่วง 2-3 ปีแรก อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ประมาณ 3% ส่วนปีที่3 เป็นต้นไปที่ดอกเบี้ยลอยตัวแล้วจะตกอยู่ประมาณ 6-7% ต่อปี  ประเด็นที่ 2 ที่จะต้องพิจารณาคือเรื่องระยะเวลาในการชำระหนี้  เนื่องจากระยะเวลาการชำระหนี้ที่นานยอมทำให้ค่าผ่อนต่องวดน้อย  โดยระยะเวลาในการชำระหนี้นั้นส่วนใหญ่สหกรณ์ออมทรัพย์จะได้อยู่ประมาณ 30 ปี ส่วนธนาคารทั่วไปจะให้ระยะเวลาในการผ่อนชำระประมาณ 25 ถึง 35 ปี  ประเด็นที่ 3 เรื่องการชำระหนี้  ถ้าเป็นการกู้ยืมผ่านสหกรณ์ออมทรัพย์จะมีการหักเงินหน้าซองไปเลยในการชำระหนี้มันคือหักเงินไปชำระหนี้ก่อนที่จะจ่ายเงินเดือนเรา  ส่วนการชำระหนี้ของธนาคารจะมีรูปแบบหักหน้าซองไปเลยหรือเราจะดำเนินการชำระเองผ่านธนาคารก็ได้  และอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจก็คือการกู้ซื้อบ้านผ่านสหกรณ์ออมทรัพย์บางแห่งดอกเบี้ยที่เราส่งไปชำระค่างวดจะได้รับคืนบางส่วนในรูปของเงินเฉลี่ยคืน ซึ่งก็เป็นสิ่งจูงใจหลายๆคนที่อยากจะกู้ยืมผ่านสหกรณ์ออมทรัพย์

  • ปัญหาโลกแตกที่หลายๆคนต้องเจอ  เมื่อญาติ พี่น้อง เพื่อนฝูงมาขอให้คำประกันสัญญาเงินกู้ หรือแม้กระทั้งให้กู้ในชื่อเราด้วยซ้ำ  ภาวะกลื้นไม่เข้า คลายไม่ออกนี้จะตัดสินใจอย่างไรดี ผมได้ตอบไว้ในมุมมองของผมครับ