Episodes

  • ภารกิจ unseen ของเรือลำหนึ่งซึ่งมีชื่อเรียกขานอย่างลำลองอันไพเราะว่า แววมยุรา และมีชื่อเป็นทางการว่า เรือโบราณคดีใต้น้ำ อันมีภารกิจสำคัญคือ ประจำการเพื่อสำรวจและ
    ขุดตรวจแหล่งโบราณคดีใต้น้ำ และโดยที่มนุษย์เรานั้นมักเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ตลอดจนวัฒนธรรมอันหลากหลายผ่านโบราณวัตถุ ซึ่งมีมากมายบนผืนแผ่นดินของโลกใบนี้ แต่หากเราจะได้พิจารณาในสัดส่วนของผืนน้ำที่มีอยู่มากกว่าผืนดินเกือบ 2 เท่าตัวแล้วนั้น ก็จะพบว่าวัตถุสิ่งของ สิ่งก่อสร้าง ในอดีต มีจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียวที่จมอยู่ใต้น้ำ งานโบราณคดีใต้น้ำ จึงมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการค้นหาของเก่าที่ทรงคุณค่าบนบกหรือในดิน มาทำความรู้จักงานปิดทองใต้ผืนน้ำ ที่อาจมีความรับรู้เพียงในสังคมวงจำกัด ดุจเดียวกับงานปิดทองหลังพระกันค่ะ

    ขอบคุณข้อมูล

    - เรื่อง โบราณคดีใต้น้ำ : รู้จักภารกิจการสำรวจประวัติศาสตร์ใต้ผืนน้ำผ่าน ‘เรือแววมยุรา’
    โดย กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร เผยแพร่เมื่อ 4 เมษายน 2562
    จาก https://becommon.co/culture/explore-underwater-archaeology/

    - เรื่อง โบราณคดีใต้น้ำ : ‘แหล่งเรือจมโบราณ’ มรดกทางประวัติศาสตร์อันล้ำค่า
    โดย กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร เผยแพร่เมื่อ 23 พฤษภาคม 2562
    จาก https://becommon.co/culture/underwater-archaeology-ancient-ship/

    --- Send in a voice message: https://podcasters.spotify.com/pod/show/snclibrary/message
  • ถ้ำหลวง หรือ อุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง - ขุนน้ำนางนอน ตั้งอยู่ที่ ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย เป็นถ้ำที่มีขนาดใหญ่และลึกมาก เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย มีความยาวถึง 10.3 กิโลเมตร ซึ่งก่อนหน้านั้นถ้ำแห่งนี้อาจไม่เป็นที่รู้จักกว้างขวางนัก กระทั่งเกิดเหตุการณ์ระทึกขวัญที่ย้อนเวลากลับไปราว 5 ปีที่ผ่านมา เมื่อวันเสาร์ที่ 23 มิถนายน 2561 ที่มีเยาวชนทีมฟุตบอลแม่สาย ชื่อว่า "หมูป่าอะคาเดมี" ไปติดอยู่ในถ้ำ เพราะเกิดฝนตกอย่างหนักทำให้น้ำท่วมปิดปากถ้ำขณะที่พวกเขาอยู่ภายใน จนเกิดปฏิบัติการช่วยชีวิตที่ซับซ้อนและอันตรายที่สุดครั้งหนึ่งที่โลกต้องจดจำ ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นหลายภาคส่วนทั้งในประเทศและนานาชาติ ต่างระดมสรรพกำลังในทุก ๆ วิถีทาง โดยมีชีวิตของเยาวชนทั้ง 13 คนเป็นเดิมพัน บนเงื่อนไขของการมีโอกาสเพียงครั้งเดียวในการกู้ภัยนั้น และในที่สุดทั้ง 13 ชีวิต ก็รอดออกมาจากถ้ำราวปาฏิหาริย์ แต่แล้วปี 2566 อันนับย่างเข้าสู่ปีที่ 5 ของเหตุการณ์ ขณะที่น้องดอม หรือ นายดวงเพชร พรหมเทพ หนึ่งในสมาชิกของทีมหมูป่าวันนั้น กำลังก้าวตามความฝันที่เป็นจริง ด้วยการได้รับมอบทุนการศึกษาและได้เข้าเรียนที่โรงเรียนฟุตบอลบรูก เฮาส์ คอลเลจ ฟุตบอล อะคาเดมี (Brooke House College Football Academy) ที่เมืองเลสเตอร์ ประเทศอังกฤษ มัจจุราชก็ได้มาพรากเขาไปจากพ่อแม่อย่างไม่มีวันกลับ เมื่อเพื่อนของเขาพบว่าเขาหมดสติในหอพักและถูกนำส่งโรงพยาบาล โดยต้องใช้เครื่องช่วยหายใจนับแต่แรกเข้ารับการรักษาเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ กระทั่งแพทย์ตัดสินใจถอดเครื่องช่วยหายใจในวันแห่งความรักอันสุดแสนจะใจสลายสำหรับพ่อและแม่ และไม่ว่าสิ่งนี้จะถูกกำหนดมาแล้วหรือไม่ก็ตาม ขอให้ดวงวิญญาณของน้องเดินทางไปสู่ยังภพภูมิที่ดี

    ขอบคุณข้อมูล
    - ซิโก้ เผย รพ. แจ้งอาการดอม "หายใจอ่อนไม่ตอบสนอง" หลังหมดสติที่โรงเรียนในอังกฤษและรักษาตัว 2 วัน ก่อนเสียชีวิต
    โดย ทศพล ชัยสัมฤทธิ์ผล และเอกรินทร์ บำรุงภักดิ์, ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
    เผยแพร่เมื่อ:  15 กุมภาพันธ์ 2023
    ทาง https://www.bbc.com/thai/articles/cxe30gmrldko

    - ถ้ำหลวง : สัมภาษณ์พิเศษ เวอร์นอน อันสเวิร์ธ 1 ปีหลังภารกิจกู้ภัยที่โลกต้องจดจำ
    โดย แมตธิว ไพรซ์ และ เซเรน โจนส์ ในรายการพ็อดคาสท์ BBC Beyond Today
    เผยแพร่เมื่อ:  23 มิถุนายน 2019
    ทาง https://www.bbc.com/thai/thailand-48724552

    --- Send in a voice message: https://podcasters.spotify.com/pod/show/snclibrary/message
  • Missing episodes?

    Click here to refresh the feed.

  • หากจะกล่าวถึงงานหนังสือในส่วนภูมิภาค เชื่อว่างานทับแก้วบุ๊คแฟร์ มหกรรมหนังสือสื่อการเรียนรู้ งานหนังสือที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก จะเป็นหนึ่งในใจของประชาชนในพื้นที่นครปฐมและจังหวัดใกล้เคียง การจัดงาน “ทับแก้วบุ๊คแฟร์” มหกรรมหนังสือสื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 15 ในปีนี้จะจัดขึ้น วันที่ 6-12 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 9.00-20.30 น. การจัดงาน ทับแก้วบุ๊คแฟร์ นั้น ริเริ่มขึ้นนับแต่ปี พ.ศ. 2550 ด้วยความทุ่มเท ลองผิด ลองถูก ภายใต้ “ธงเดียวกัน” คือ ทำยังไงก็ได้ ให้งาน ดี โดยเราจะก้าวเดินและเติบโตไปด้วยกัน

    การจัดงานนับแต่ขวบปีเริ่มต้น จนเข้าสู่วัยรุ่นทีนเอจในปีนี้ ซึ่งหากไม่ว่างเว้นไป 2 ปี เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 เราจะมีอายุถึง 17 ปี ย่างใกล้เข้าวัยบรรลุนิติภาวะเต็มที แต่แม้จะต้องถอยวัยลงไป เราก็ยังคงมุ่งมั่นในการนำเสนอสิ่งดี ๆ เพื่อเป็นบริการวิชาการแก่ชุมชน ให้เกิดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ไร้ขอบเขต ดังวิสัยทัศน์และนโยบายของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร เชิญรับฟังเบื้องลึก เบื้องหลัง ความเป็นมาของการจัดงานทับแก้วบุ๊คแฟร์” มหกรรมหนังสือสื่อการเรียนรู้ และรายละเอียดของกิจกรรมภายในงานตลอด 7 วัน ในปี 2566 นี้

    .
    ขอบคุณเพลงนำรายการ "Romance - Kiratinant Sodprasert”
    บรรเลงและเผยแพร่โดย Kiratinant Sodprasert
    เผยแพร่ทาง https://youtu.be/B2Etr_Ia3aI

    --- Send in a voice message: https://podcasters.spotify.com/pod/show/snclibrary/message
  • “ก๋วยเตี๋ยว” หรือ “ก๊วยเตี๋ยว” เป็นคำภาษาจีนแต้จิ๋วที่คนไทยมักออกเสียงเรียกเช่นนั้น หากชาวแต้จิ๋วจะออกเสียงว่า  “ก้วยเที่ยว”  ซึ่งหมายถึง อาหารประเภทเส้นที่ทำมาจากแป้งนึ่ง ความเป็นมาของก๋วยเตี๋ยว สันนิษฐานว่าอาจจะเข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งในช่วงเวลานั้นไทยเป็นศูนย์กลางหรือทางผ่านทางการค้า มีชาวต่างชาติเข้ามาพำนักตั้งถิ่นฐาน ทำการค้าเป็นจำนวนมาก จึงเกิดการแลกเปลี่ยนผสมผสานวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ อาทิ วัฒนธรรมด้านอาหาร ซึ่งก๋วยเตี๋ยวอาหารของชาวจีนที่ชาวสยามเริ่มรู้จักก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น แต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายนัก
    กระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เมื่อ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ขึ้นเป็นผู้นำประเทศ ด้วยความที่ท่านชื่นชอบในรสชาติของก๋วยเตี๋ยว จึงสถาปนาก๋วยเตี๋ยวให้เป็นอาหารที่คนไทยควรกิน เนื่องจากเป็นอาหารที่ทำง่าย กินง่าย ทั้งยังเป็นกุศโลบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศที่ตกต่ำ ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา หรือสงครามโลกครั้งที่ 2 และภาวะน้ำท่วมใหญ่เมื่อ พ.ศ.2485 ซึ่งเป็นช่วงที่ข้าวยากหมากแพงก๋วยเตี๋ยวจึงได้รับความนิยมแพร่หลาย นอกจากนี้ยังมีการระดมโฆษณาให้คนหันมากิน จนถึงกับมีการแต่งเพลงรณรงค์ให้ประชาชนกินก๋วยเตี๋ยว อาหารเส้นของชาวจีนชนิดนี้จึงแทรกซึมไปทุกหย่อมหญ้าของเมืองไทยนับแต่บัดนั้นมาจนทุกวันนี้

    ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ
    ชวนาท อินทวงศ์. (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2563). ก๋วยเตี๋ยวไทยสมัยก่อน. จดหมายข่าวหอภาพยนตร์, 10 (55), หน้า 6-7.
    ฉบับออนไลน์ เข้าถึงทางhttps://www.fapot.or.th/assets/upload/newsmail/[email protected]

    ขอบคุณเพลงนำรายการ
    "เพลงก๋วยเตี๋ยว ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม”
    เผยแพร่โดย Wartime Asia เมื่อ 21 ม.ค. 2021
    เผยแพร่ทาง https://youtu.be/lwni9L13-I8

    --- Send in a voice message: https://podcasters.spotify.com/pod/show/snclibrary/message
  • จากแรงมาเป็นรวง และกว่าที่ข้าว 1 รวงจะแปลงมาสู่คนกินนั้น มีทั้งเรื่องราวของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและประเพณีที่แฝงอยู่ และในวัฒนธรรมการรับประทานข้าวของพี่น้องไทยเชื้อสายจีนนั้น ก็มีหลากเรื่องราวแฝงอยู่ข้างชามข้าวไม่น้อย ตัวอย่างเช่น ถ้อยคำที่เรามักได้ยินชาวจีนไถ่ถามทักทายกันจนเป็นคำเคยชิน "เจี่ยะ ปึ่ง บ่วย" แปลเป็นไทยได้ว่า "กินข้าวหรือยัง" แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกห่วงใยผ่านสายสัมพันธ์บนเมล็ดข้าวในชาม คำว่า "จ่อสัว" หรือ "เจ้าสัว" ซึ่งยังไม่เป็นที่ยุติว่าคำ ๆ นี้ เพี้ยนจาก "เจ้าขรัว" อันเป็นคำโบราณของไทยหรือไม่ เพราะยังไม่มีหลักฐานพบว่ามีคำนี้ใช้ในประเทศจีน แต่หากจะกล่าวถึงเจ้าสัวชาวจีนแล้ว เจ้าสัวค้าข้าวก็มักเป็นคำเรียกที่เราคุ้นเคย ของพ่อค้าชาวจีนผู้มีฐานะจากการค้าขายข้าว หรือ หากจะกล่าวถึงคำ "ซานเหวยฝานฉวน" ซึ่งแปลว่าสำเภาจีนนั้น ภาพของชาวจีนโพ้นทะเล ที่หอบเสื่อผืนหมอนใบโล้สำเภาฝ่าคลื่นลมมายังสยามประเทศ ก็นับเป็นฉากชีวิตที่เราคุ้นชิน และสำเภาจีนนั้นในอดีตก็นับเป็นพาหนะสำคัญด้านการค้า ที่เจ้าสัวหลายตระกูลในเมืองไทยต่างเติบโตแรกเริ่มจากธุรกิจค้าข้าว และคำแห่งยุคสมัยที่แปรเปลี่ยนบทบาทจากสถานที่พักเก็บสินค้า จุดแปรรูปและส่งต่อสินค้าไปยังแหล่งค้าขาย กลับกลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและบันเทิงในยุคปัจจุบันอย่าง "ล้ง" หรือ โกดังสินค้า ที่ในอดีตริมฝั่งเจ้าพระยาแห่งเมืองบางกอก ทั้งสองฝากแม่น้ำล้วนเรียงรายไปด้วยล้งตลอดแนวลำน้ำ ที่มีผู้คนหลากชีวิตต่างฐานะมาอยู่รวมกัน ตั้งแต่จับกังผู้ใช้แรงงานแบกข้าวสารขึ้นลงเรือสินค้าลำแล้วลำเล่า ไปจนถึงเถ้าแก่โรงสี เจ้าสัวค้าข้าว สิ่งเหล่านี้แม้จะไม่ได้อยู่โดยตรงในชามข้าว ก็ล้วนแล้วแต่แฝงเรื่องราวเกี่ยวพันกับ "ข้าว" ซึ่งแม้จีนกับไทยจะรับประทานข้าวเป็นอาหารหลักเหมือนกัน แต่ในความเหมือนนั้นก็ยังมีความต่าง และสิ่งหนึ่งที่เห็นเด่นชัด คือ อุปกรณ์ในการรับประทานข้าว ที่เมื่อพ้นผ่านยุคสมัยเปิบข้าวด้วยมือ คนไทยก็หันมาใช้ช้อนตามอย่างชาวตะวันตก ขณะที่ชาวจีนมีอาวุธคู่ชามข้าว คือ ตะเกียบ อันทรงพลังในความเป็นคู่แห่งหยินและหยาง อีกทั้งยังแฝงไว้ด้วยเรื่องราวอันน่าสนใจภายใต้ไม้ยาวทั้งสองนี้ ชวนมาติดตามกันค่ะ

    ขอบคุณข้อมูล
    - คำจีนในชามข้าว
    โดย www.salana.co.th เผยแพร่เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2562
    ทาง https://www.salana.co.th/blog3-detail.php?id=18

    - ท้าวทอง เสียมหลอ. (2535, สิงหาคม). ความเป็นมาของตะเกียบ. ศิลปวัฒนธรรม, 13(10), 102-103.

    ขอบคุณเพลงนำรายการ
    เพลง ตรุษจีน
    เผยแพร่โดย คุณพระช่วย เมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2019
    ทาง https://youtu.be/ApSLnexM4L0

    --- Send in a voice message: https://podcasters.spotify.com/pod/show/snclibrary/message
  • สวัสดีวันเด็กแห่งชาติ 2566 ในวัยเยาว์เชื่อว่าไม่มีใครปฏิเสธว่าการ์ตูนเป็นเสมือนโลกของเด็กน้อยทุกคน ครอบครัวไม่น้อยต่างเปิดทีวีรับอรุณในวันหยุดให้ลูกน้อยได้เฝ้าดู ผ่านหน้าจอตู้สี่เหลี่ยมในอดีต จวบจนมาถึงยุคจอแบนผืนผ้ากว้างยาวต่างกันไปตามเศรษฐกิจของครัวเรือน กระทั่งถึงอุปกรณ์พกพาขนาดและรูปแบบต่าง ๆ กันไป การดูการ์ตูนนั้นสามารถช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านสมองให้กับเด็กน้อยได้เป็นอย่างดี เพียงแต่ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ต้องเลือกการ์ตูนให้เหมาะสมกับช่วงวัย มีเนื้อเรื่องที่เป็นประโยชน์เหมาะสม ทั้งในแง่ของการเสนอเนื้อหาตลอดจนถ้อยคำที่เหมาะสมกับเด็ก รวมไปถึงรูปภาพการ์ตูนที่สวยงาม คมชัด ลายเส้นสวยชวนดู เพื่อเสริมพัฒนาการทางสมอง ตลอดจนช่วยให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต เกิดการเรียนรู้ เกิดความอิ่มเอมด้วยสุนทรียะในเชิงศิลปะที่สร้างสรร
    มาติดตามกันค่ะ ว่าการ์ตูนสำหรับเด็ก 10 เรื่อง ที่เผยแพร่ผ่านหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นช้องทางคลาสสิคคือทีวี อย่างเจ้าแมวสีฟ้าตัวกลมหัวกลม ที่มาพร้อมกระเป๋าวิเศษ โดราเอมอน ที่เคยเผยแพร่ทางทีวีช่อง 9 และการ์ตูนยุคออนไลน์ที่เผยแพร่ผ่านหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะทาง YouTube เรื่อง Peppa Pig เรื่อง Thomas and Friends เรื่อง Pocoyo ทาง Boomerang ช่องออนไลน์ขวัญใจเด็กน้อย เรื่อง หนอน Larva เรื่อง My Little Pony ทางช่อง Netflix ช่องออนไลน์ที่กำลังมาแรง เรื่อง Strawberry Shortcake Berry Bitty Adventures ช่อง Family ออนไลน์ของครอบครัว เรื่อง The Adventures of Chuck & Friends หรือช่อง doonee.com เรื่อง Yo Gabba Gabba และ พี่สมาร์ท โลมาเจ้าปัญญา ผ่านทาง www.penta.center/th/channelplay/12951-P-SMART มีทีเด็ดน่าสนใจและชวนติดตามอย่างไร

    ขอบคุณข้อมูลต้นทาง
    10 การ์ตูนสำหรับเด็ก มีประโยชน์ พัฒนาสมอง
    โดย เว็ปไซต์หัวปูด เผยแพร่เมื่อ 4 มีนาคม2021
    ทาง https://www.huapood.com/ความรัก/ครอบครัว/ลูก/10-การ์ตูนสำหรับเด็ก-มีประโยชน์-พัฒนาสมอง/

    ขอบคุณเรื่องนำทาง
    10 การ์ตูนสำหรับเด็ก มีประโยชน์ พัฒนาสมอง
    โดย เว็ปไซต์ kidzooona
    ทาง https://aeonfantasy.co.th/10-การ์ตูนสำหรับเด็ก-มีประโยชน์-พัฒนาสมอง/

    ขอบคุณเพลงนำรายการ
    ความเยาว์ (Youth) - The Darkest Romance (Official MV)
    เผยแพร่โดย Gene Lab เมื่อ 27 ธันวาคม 2019
    ทาง https://youtu.be/Sf5mV6KYSss

    --- Send in a voice message: https://podcasters.spotify.com/pod/show/snclibrary/message
  • คาร์ล เดอห์ริง (Karl Döhring) สถาปนิกชาวเยอรมัน เข้ามารับราชการในราชสำนักสยามถึง 2 แผ่นดิน และแม้เขาจะอยู่ในเมืองไทยเพียงชั่วระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 7 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2449 – 2556 ในช่วงปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จนถึงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เขาก็ได้ฝากผลงานสถาปัตยกรรมที่สำคัญไว้ให้กับแผ่นดินสยามหลายแห่ง อาทิ ร่วมงานก่อสร้างสถานีรถไฟหัวลำโพง สถานีรถไฟบางกอกน้อย (ธนบุรี) พิษณุโลก พิจิตร และอุตรดิตถ์ ซึ่งอาคารเหล่านี้มีความโดดเด่นเป็นพิเศษตรงรูปแบบที่ผิดแปลกไปจากอาคารอื่น ๆ ในประเทศไทยสมัยนั้น เช่น สถานีรถไฟบางกอกน้อย (ธนบุรี) สร้างในรูปแบบของศิลปะเอ็กซ์เพรสซันนิสต์ที่เน้นการใช้อิฐ ขณะที่สถานีรถไฟพิษณุโลก ที่มีลักษณะคล้ายบ้านไม้ทางตอนใต้ของเยอรมนี ที่เรียกว่า Fachwerkhaus ซึ่งเป็นบ้านที่มีลักษณะเด่นคือ ใช้ไม้ขนาดใหญ่เป็นโครงค้ำยันส่วนของผนังบ้าน นอกจากการสร้างอาคารสถานีรถไฟต่าง ๆ แล้ว ยังมีผลงานการสร้างอาคารอื่น ๆ โดยเฉพาะวังที่สำคัญและสวยงาม อาทิ พระรามราชนิเวศน์ (วังบ้านปืน) ซึ่งเป็นที่ประทับแปรพระราชฐานในฤดูฝนของรัชกาลที่ 5 วังวรดิศ ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ วังของพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ปัจจุบัน คือ ที่ทำการการไฟฟ้านครหลวง สามเสน และพระตำหนักสมเด็จฯ ในบริเวณวังบางขุนพรหม ซึ่งเป็นพระตำหนักของพระนางสุขุมาลมารศรี เป็นต้น ผลงานซึ่งคาร์ล เดอห์ริง ฝากไว้ในแผ่นดินสยาม ไม่เฉพาะเพียงผลงานด้านสถาปัตยกรรมเท่านั้น เขายังเป็นนักประวัติศาสตร์ศิลปะและนักโบราณคดี ที่อุทิศตนให้กับงานด้านศิลปะ วัฒนธรรม โบราณคดี และประวัติศาสตร์ศิลป์ของสยามอีกด้วย ประจักษ์พยานสำคัญ ในด้านนี้คือหนังสือ เรื่อง “ศิลปะและหัตถศิลป์ในสยาม” ซึ่งคณาจารย์คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้แปลเป็นภาษาไทยแล้ว เมื่อ พ.ศ. 2565 พร้อมจัดทำเป็นอิเล็กทรอนิคส์ไฟล์ หนังสือเล่มนี้มีบริบททางประวัติศาสตร์ มีความสำคัญ และน่าสนใจ เชิญท่านที่สนใจติดตามการเผยแพร่ต่อไปค่ะ

    --- Send in a voice message: https://podcasters.spotify.com/pod/show/snclibrary/message
  • วันที่ 31 ธันวาคม ของทุก ๆ ปี เป็นวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ช่วงเวลาของคืนข้ามปีนั้นนับเป็นเวลาที่หลาย ๆ คนรอคอย เพื่อจะได้ร่วมเฉลิมฉลองบรรยากาศการนับถอยหลัง 5 4 3 2 1 และก้าวเข้าสู่วันใหม่ ของปีใหม่ และบรรยากาศของการ COUNTDOWN ก็นับเป็นกิจกรรมที่ผู้คนต่างให้ความสนใจเข้าร่วม วันนี้พี่พร้อมนำพิกัดงาน COUNTDOWN ส่งท้ายปีเสือ 2565 ต้อนรับปีกระต่าย 2566 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 แห่ง คือ เซ็นทรัลเวิลด์ ไอคอนสยาม สามย่านมิตรทาวน์ Emporium Emquartier เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ Mega (บางนา) และ Siam Paragon มาฝาก และขออวยพรให้ท่านผู้ฟังทุกท่านมีความสุขกับบรรยากาศส่งท้ายปี ตลอดจนมีความสุข ประสพความสำเร็จที่ปรารถนาในสิ่งดีงามทุกประการค่ะ 
    ...

    ขอบคุณข้อมูล
    - “สรุปไฟคริสมาสต์ 2023 มีที่ไหนบ้างดูพิกัดส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ที่นี่”
    โดย ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล เมื่อ 20 พ.ย. 2565
    จาก https://www.thansettakij.com/business/547762

    - “เคาท์ดาวน์ปีใหม่ 2023 รวมพิกัดสถานที่ในกทม. ต้องไม่พลาดไปเช็คอิน”
    โดย TNN online เมื่อ 31 ธันวาคม 2565
    จาก https://www.tnnthailand.com/news/tnnexclusive/133326/

    ขอบคุณเพลง
    “รวมเพลงชีวิตดี ปีใหม่”  โดย GMM GRAMMY OFFICIAL
    จาก https://www.youtube.com/watch?v=adTdhzKpfqo&ab_channel=GMMGRAMMYOFFICIAL

    --- Send in a voice message: https://podcasters.spotify.com/pod/show/snclibrary/message
  • เชิญท่านผู้ฟังดื่มด่ำกับเสียงเพลงแห่งความสุขพร้อมประวัติความเป็นมาของวันคริสต์มาส วันเวลาของเทศกาลปลายปีที่หลาย ๆ คนตั้งตารอคอยความตื่นตาของการจัดต้นคริสต์มาสสุดอลัง การประดับไฟที่สวยงาม ตลอดจนการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่อบอวลไปด้วยช่วงเวลาของความสุข ทำไมชาวคริสต์มีกิจกรรมตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม คริสต์มาสอีฟ (Christmas Eve) คืออะไร วันที่ 25 ธันวาคม ซึ่งถือเป็นวันคริสต์มาส คืออะไร วันสำคัญทั้ง 2 แตกต่างกันอย่างไร ชาวคริสต์ทำอะไรกันบ้างในเทศกาลนี้ เค้าเฉลิมฉลองเทศกาลในฤดูหนาวนี้กันอย่างไรเชิญติดตามค่ะ

    ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ
    จาก บอร์ดสารสนเทศ โรงเรียนสารสาสน์วิเทศนครปฐม

    ขอบคุณเพลงประกอบ
    โดย Christmas Songs and Carols - Love to Sing
    จาก https://www.youtube.com/@christmassongsandcarols

    --- Send in a voice message: https://podcasters.spotify.com/pod/show/snclibrary/message
  • ฟังบทเพลงไพเราะ พร้อมเรียนรู้ภาษาอังกฤษตอนที่ 2 สำหรับท่านที่ชื่นชอบการฟังเพลง และชื่นชมผลงานของจิตรกรเอกคนหนึ่งของโลก Vincent Van Gogh มาติดตาม
    เบื้องหลังบทเพลง Vincent โดย Don McLean ผ่านชีวิตอันเดียวดายของศิลปินท่านนี้ หรือหากท่านใดกำลังมองความหมายของคำว่า...มิตรแท้...มาค้นหาความหมายดี ๆ ของความเป็นเพื่อนจากบทเพลง Bridge Over Troubled water โดย Paul Simon & ‎Art Garfunkel กันค่ะ

    ขอบคุณข้อมูลจาก
    พนม วรรณศิริ และคนอื่นๆ. (2518). English from songs เรียนอังกฤษจากเพลง เล่ม 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จักรานุกูลการพิมพ์.
    พนม วรรณศิริ และคนอื่นๆ. (2519). English from songs เรียนอังกฤษจากเพลง เล่ม 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จักรานุกูลการพิมพ์.

    ขอบคุณเพลงประกอบ
    Don McLean - Vincent ( Starry, Starry Night) With Lyrics
    เผยแพร่โดย wysty67  ทาง https://youtu.be/oxHnRfhDmrk

    Simon & Garfunkel - Bridge Over Troubled Water (Audio)
    เผยแพร่โดย Simon & Garfunkel  ทาง https://youtu.be/4G-YQA_bsOU

    ขอบคุณภาพประกอบ จากเพลงประกอบ Vincent

    --- Send in a voice message: https://podcasters.spotify.com/pod/show/snclibrary/message
  • ภาษาอังกฤษนับเป็นภาษาสากลซึ่งเป็นที่ยอมรับและใช้กันทั่วโลก การเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับชาวต่างชาติที่มิได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่นั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี การเรียนอังกฤษจากเพลงก็เป็นวิธีหนึ่งที่เชื่อว่าหลาย ๆ คน ที่ชื่นชอบการฟังเพลง จะมีความสุขพร้อมไปกับการพัฒนาทักษะทางภาษา ซึ่งจะได้ทั้งในส่วนของการฟัง การร้อง และความหมาย ทั้งนี้ การฟังอย่างเข้าใจนั้นย่อมเพิ่มอรรถรสในการฟังเป็นอย่างยิ่ง

    ขอบคุณข้อมูลจาก
    พนม วรรณศิริ และคนอื่นๆ. (2518). English from songs เรียนอังกฤษจากเพลง เล่ม 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จักรานุกูลการพิมพ์.

    ขอบคุณภาพประกอบจาก
    พนม วรรณศิริ และคนอื่นๆ. (2519). English from songs เรียนอังกฤษจากเพลง เล่ม 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จักรานุกูลการพิมพ์.

    ขอบคุณเพลงประกอบ
    El Condor Pasa - Paul Simon & Garfunkel
    เผยแพร่โดย arqags79 ทาง https://youtu.be/QqJvqMeaDtU
    Daisy Bell (1892)
    เผยแพร่โดย Sheet Music Singer ทาง https://youtu.be/_kd-xg2VZnk

    --- Send in a voice message: https://podcasters.spotify.com/pod/show/snclibrary/message
  • เคยสังเกตหรือไม่ว่า บริเวณส่วนรอบ ๆ องค์ระฆังของพระปฐมเจดีย์ ที่ จ.นครปฐม มีรูกลม ๆ ที่ถูกเจาะไว้โดยรอบ แล้วสงสัยกันหรือไม่ว่าเจ้ารูกลมเหล่านั้นมีไว้เพื่อการใด

    มาตามหาที่มาของรูกลมปริศนานี้กัน หลายปีมาแล้วคุณตาสุข ทองดี อดีตผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์พระปฐมเจดีย์ (พิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ด้านบนบริเวณลานชั้นลดทางทิศตะวันออก) คุณตาเล่าให้ฟังว่าสมัยยังหนุ่มตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 คุณตาเคยปีนเอาทางมะพร้าวไปคลุมองค์พระเพื่อพรางตาจากเครื่องบินรบไม่ให้องค์พระโดนทิ้งระเบิด การพูดคุยกับคุณตาในวันนั้นทำให้เกิดข้อสงสัยว่า...องค์พระเจดีย์มีขนาดใหญ่และสูงมากจะปีนขึ้นไปได้อย่างไร?

    ต่อมาเมื่อได้ค้นหาเอกสารเกี่ยวกับการบูรณะพระปฐมเจดีย์ พบว่ามีหนังสือราชการจากพระธรรมสิริชัย เจ้าอาวาสขณะนั้นมีไปถึงบุคคลต่าง ๆ เพื่อเชิญมาร่วมประชุมหารือการบูรณะครั้งใหญ่ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 โดยเนื้อหากล่าวถึงรายละเอียดของการชำรุดในส่วนต่าง ๆ และกล่าวถึงเรื่องการเจาะรูองค์พระโดยรอบเพื่อทำนั่งร้านโดยช่างชาวไทย 

    นอกจากนี้พบคำให้สัมภาษณ์ของนายประเวศ  ลิมปรังษี ซึ่งเป็นผู้หนึ่งในคณะสำรวจของกรมศิลปากร เมื่อครั้ง พ.ศ. 2509 กล่าวถึงเรื่องการเจาะรูว่า แรงงานนักโทษเป็นผู้เจาะเพื่อใส่ซุงสำหรับปีนแขวนทางมะพร้าวคลุมพระเจดีย์พรางตาเครื่องบินทิ้งระเบิดสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ตรงกับคำบอกเล่าของคุณตาสุข

    มีเรื่องราวอะไรภายใต้รูกลม ๆ มาติดตามกันค่ะ

    --- Send in a voice message: https://podcasters.spotify.com/pod/show/snclibrary/message
  • พระราชวังสนามจันทร์ มิใช่ที่ประทับเพียงแห่งเดียวที่เมืองนครปฐม แม้จะทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังสนามจันทร์ขึ้น ก็ยังมีพระตำหนักสำคัญที่ทรงโปรดเกล้าฯ ใช้ประทับแรม
    อีกแห่งหนึ่งในช่วงปลายรัชสมัย คือ พระตำหนักสวนนันทอุทยาน เรื่องราวของพระตำหนักแห่งนี้ มีความเป็นมาอย่างไร ใครเป็นผู้สร้าง เหตุใดจึงทรงโปรดที่จะใช้ประทับแรม นานนับเดือนในช่วงปลายรัชกาล ณ ที่แห่งนี้ เชิญติดตามรับฟังค่ะ

    --- Send in a voice message: https://podcasters.spotify.com/pod/show/snclibrary/message
  • การประชุม APEC 2022 หรือชื่อเต็มๆ ว่า Asia-Pacific Economic Cooperation มีชื่อภาษาไทยอย่างเป็นทางการว่า การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ เอเปก เป็นเวทีการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่มีความสำคัญระดับโลก มีเป้าหมายหลักเพื่อส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าการลงทุน ความร่วมมือด้านมิติสังคมและการพัฒนาด้านอื่น ๆ มีสมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจ โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในจำนวนนั้น และปีนี้ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ช่วงเวลาสำคัญของการประชุมที่ไทยเป็นเจ้าภาพตลอดปี 2022 นี้ ไฮไลท์ของงานที่คาดว่าอยู่ในความสนใจของประชาชนทั่วไป เห็นจะเป็นการประชุมรัฐมนตรีเอเปก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน ซึ่งมีการจัดงานเลี้ยงรับรองผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปกและแขกรับเชิญพิเศษพร้อมคู่สมรสในช่วงค่ำ โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้จัดกิจกรรม “Vijit CHAO PHRAYA” ปรากฎการณ์แห่งแสงสีสุดยิ่งใหญ่สร้างสีสันริมแม่น้ำเจ้าพระยายามต้อนรับ อีกทั้งงานเลี้ยงรับรองอันพิถัพิถันมีผู้ดูแลจัดอาหาร ระดับร้านอาหาร Michelin Star 2 ดาวในไทย ที่ทุกเมนูได้คัดสรรวัตถุดิบคุณภาพสูงมาจากทั่วประเทศ 100% ตั้งแต่เชียงใหม่ถึงเบตง ด้วยแนวคิดการออกแบบอาหารค่ำ “Sustainable Thai Gastronomy Gala Dinner” ที่รังสรรเมนูอาหารทุกจานตามแนวคิดหลักของการประชุม Open Connect Balance และสิ่งสำคัญอีกประการ คือ การกำหนดตราสัญลักษณ์ APEC ซึ่งแต่ละปีจะเปลี่ยนไปตามอัตลักษณ์และบริบทของเขตเศรษฐกิจเจ้าภาพ โดยตราสัญลักษณ์ APEC 2022 ครั้งนี้ มีผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจำนวน 598 ผลงาน มีเพียงหนึ่งเดียวที่ได้รับเลือก คือ ตราสัญลักษณ์ "ชะลอม" ของนายชวนนท์ วงศ์ตระกูลจง นิสิตคณะสถาปัตย์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย โดยเส้นตอกไม้ไผ่ที่สานกันเป็นชะลอม 21 ช่อง สื่อถึง 21 เขตเศรษฐกิจสมาชิก สีเส้นตอก 3 สี คือ สีน้ำเงิน สื่อถึง OPEN การเปิดกว้าง สีชมพู สื่อถึง CONNECT การสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยง และสีเขียว สื่อถึง BALANCE ความสมดุลระหว่างกัน

    ขอบคุณข้อมูล
    การเตรียมการจัดประชุมสัปดาห์ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ระหว่างวันที่ ๑๔ – ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ
    โดย: APEC 2022 เผยแพร่เมื่อ: 8 พ.ย. 2565
    https://www.apec2022.go.th/th/aelw-th/

    ชะลอม โลโก้ APEC 2022 Thailand เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล
    โดย: APEC 2022 เผยแพร่เมื่อ: 14 ม.ค. 2565
    https://www.apec2022.go.th/th/logo-chalom-apec-2022-thailand-th/

    มารู้จัก BCG คืออะไร มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจอย่างไร พร้อมเปิดแผนทำงาน“พาณิชย์”ปี 65
    โดย: ผู้จัดการออนไลน์ เผยแพร่เมื่อ: 29 พ.ย. 2564
    https://mgronline.com/business/detail/9640000118137

    ขอบคุณเพลงประกอบ ผู้ใหญ่มา และชาวบ้านขออาสามาเล่าให้ฟังเรื่องเอเปค
    โดย ASEAN THAI
    https://youtu.be/j3YhkjUJZOs

    --- Send in a voice message: https://podcasters.spotify.com/pod/show/snclibrary/message
  • พระปฐมเจดีย์ หรือ องค์พระ ที่ชาวนครปฐมเรียกขานนั้น รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ.2395 โดยให้ช่างทหารในต่อตัวอย่างถวายเป็นรูปพระเจดีย์กลมไม่มีฐานทักษิณ แต่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบพระเจดีย์เป็นทรงระฆังโดยสร้างครอบเจดีย์องค์เดิมไว้ภายในดังที่เห็นในปัจจุบัน เหตุที่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบพระเจดีย์เนื่องด้วยการปฏิสังขรณ์ครั้งแรกพังทลายลง ดังมีความจาก เรื่องพระปฐมเจดีย์ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุญนาค) กล่าวถึงพระเจดีย์ที่ก่อขึ้นไปได้สูง 17 วา 2 ศอก (35 เมตร) เมื่อถึงปีวอกโทศก เดือน 8 ขึ้น 13 ค่ำ “...เพลากลางคืน ได้ยินเสียงร้องไห้เซ็งแซ่ในที่องค์พระ จนชาวบ้านตกใจ ครั้นรุ่งขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ ฝนตกหนักทั้งกลางวันกลางคืน อิฐที่ก่อนั้นหนักตัวก็เลื่อนทรุดลงมา รอบตัวเพราะฐานทักษิณไม่มี ข้างบนหนัก ข้างล่างบางเพียง 3 ศอก 4 ศอก ทรงกันไว้ไม่อยู่ ต้องรื้อออกเสียทำใหม่...”

    รัชกาลที่ 4 จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์และกรมขุนราชสีหวิกรม คิดตัวอย่างแบบรูปพระเจดีย์ใหม่ ให้ฐานใหญ่ขึ้นเพื่อรับน้ำหนักข้างบนได้ ทั้งได้เสริมเพิ่มความแข็งแรง ดังความกล่าวว่า “...องค์พระปฐมเจดีย์นั้นก่อขึ้นแล้ว ที่ชั้นทักษิณที่ 1 ปักเสานางเรียงรอบองค์ แล้วมีเสาปักเป็นขาทรายค้ำเสานางเรียงด้วยชั้นทักษิณที่ 2 มีแต่ขาทรายค้ำ ไม่มีเสานางเรียง ที่ตรงบัวถลาลงไป มีเสานางเรียงปักไม้ซุงทั้งต้นถึงพื้น อีกรอบหนึ่ง รัดด้วยซุงทั้งต้นแล้วเอาสายโซ่ใหญ่รัดที่หน้ากระดานท้องไม้บัวถลาแห่งหนึ่ง รัดหลังบัวถลาแห่งหนึ่ง รัดตั้งแต่ท้องไม้ลูกแก้ว ถึงบัวคลุมถูกปากระฆังอีก 5 ชั้น ที่กลางองค์ระฆังมีเสานางเรียงรัดสายโซ่อีกสามรอบ ที่คอถลามีเสานางเรียง ตีนเสาเชิงเรียงนั้นใส่ปลอกไม้ซากชั้นหนึ่ง แล้วรัดสายโซ่อีก 5 รอบ ปลายเสานั้นเอาไม้ซาก 10 นิ้วสี่เหลี่ยม สับปากกันเป็นปลอกปลายเสาอีกชั้นหนึ่ง ลูกแก้วปล้องไฉนหลังฝาละมีรัดสายโซ่ที่ท้องไม้อีก 8 รอบ แล้วก่ออิฐถือปูนหุ้ม”

    เชิญทุกท่านติดตามความมหัศจรรย์ของช่างโบราณที่มีความสามารถยิ่ง ในการก่อเสริมโครงสร้างเพิ่มความแข็งแรงให้กับพระเจดีย์ขนาดใหญ่โตมโหฬารองค์นี้ ดังกล่าวในหนังสือเรื่อง น้ำ: บ่อเกิดแห่งวัฒนธรรมไทย ของ สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ว่า “โซ่รัดรอบองค์พระปฐมเจดีย์ เมื่อครั้งบูรณะพระปฐมเจดีย์ ในปีพ.ศ. 2512 วิศวกรพบลูกโซ่ขนาดใหญ่รัดองค์พระเจดีย์ไว้เป็นชั้น ๆ ในระดับที่ตรงกันกับแรงดันออกสูงสุดซึ่งคำนวณด้วยวิธีสมัยใหม่”
    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เล่าทีละเรื่องเมืองนครปฐม: #1 องค์พระรัดรอบด้วยโซ่ คือ อย่างไร   


    บรรณานุกรม
    ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. (2516). เรื่องพระปฐมเจดีย์. นครปฐม: สำนักงานจัดประโยชน์และรักษาองค์พระปฐมเจดีย์.
    นฤมล บุญญานิตย์. (2548). การบูรณะปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์ : กรณีศึกษาจากเอกสารจดหมายเหตุ. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
    วัดพระปฐมเจดีย์. (2518). ที่ระลึกงานเทศกาลนมัสการพระปฐมเจดีย์. นครปฐม: วัดพระปฐมเจดีย์.
    สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา. (2539). น้ำ : บ่อเกิดแห่งวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: สมาคมสถาปนิกสยาม.
    สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. (2512). เรื่องพระปฐมเจดีย์กับนำเที่ยว. นครปฐม: สำนักงานจัดหาประโยชน์และรักษาองค์พระปฐมเจดีย์.

    --- Send in a voice message: https://podcasters.spotify.com/pod/show/snclibrary/message
  • วันที่ 2 พฤศจิกายน ของทุกปี นับเป็นธรรมเนียมของชาวจังหวัดนครปฐมที่จะร่วมนมัสการในโอกาสฉลองวันคล้ายวันเกิดพระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ อันมีที่มาจากการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งทรงเป็นสมเด็จพระยุพราช ได้เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือ พ.ศ. 2451 และทรงพบพระพุทธรูปโบราณขนาดใหญ่ที่เมืองศรีสัชนาลัย โดยลักษณะองค์พระนั้นต้องพระราชหฤทัย แต่ชำรุดมากคงเหลือแต่พระเศียร พระหัตถ์ข้างหนึ่งและพระบาท พระองค์ทรงสันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เชิญลงมากรุงเทพฯ จัดการพระราชพิธีสถาปนาให้บริบูรณ์เต็มพระองค์ขึ้น ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2456 ที่วัดพระเชตุพน เมื่อการหล่อแล้วเสร็จพระพุทธรูปยืนมีขนาดสูงตั้งแต่พระบาทถึงพระเกศ 12 ศอก 4 นิ้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้เชิญมาประดิษฐานในพระวิหารด้านทิศเหนือของพระปฐมเจดีย์ ซึ่งปรับแปลงจากวิหารพระประสูติของเดิมครั้งรัชกาลที่ 4 เป็นวิหารโถงเปิดโล่ง 3 ด้าน คือ ด้านหน้าและ 2 ด้านข้าง พระพุทธรูปออกจากกรุงเทพฯ มายังนครปฐมในเดือนมกราคม พ.ศ. 2457 ดำเนินการตกแต่งประกอบตั้งองค์แล้วเสร็จบริบูรณ์ในวันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 ตรงกับวัน แรม 10 ค่ำ เดือน 11 ปีเถาะ การถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ จากหลักฐานจากเอกสารจดหมายเหตุ กระทรวงศึกษาธิการ รัชกาลที่ 6 (สำเนา) ที่ 1/905 ลงวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2456 ถึง เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ เรื่องส่งนามพระร่วงซึ่งพระราชทานว่า พระร่วงธรรมสามีอินทราทิตย์กิติอุดม สถิตปฐมเจติยสถาน วชิระราชสมภารปูชนีย์บพิตร์ และพบเอกสารกรมศิลปากร ที่ 4/889 ลงวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2456 จากเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ อธิบดีกรมศิลปากร กราบบังคมทูล รัชกาลที่ 6 เรื่อง การแก้ไขวิหารพระประสูติเป็นวิหารสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ โดยออกพระนามพระพุทธรูปดังกล่าวเช่นกัน ทั้งนี้ ในเวลาต่อมามีการประกาศถวายพระนามใหม่ โดยประกาศกระแสพระบรมราชโองการถวายพระนามพระพุทธปฏิมาที่พระวิหารด้านอุดรแห่งองค์พระปฐมเจดีย์ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 40 หน้า 2177-2179 วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2466 ว่า  พระร่วงโรจน์ฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชปูชนิยบพิตร์ และคงใช้พระนามนี้มาจนปัจจุบัน

    ข้อมูลจาก

    ประกาศกระแสร์พระบรมราชโองการถวายพระนามพระพุทธปฏิมาที่พระวิหารด้านอุดรแห่งองค์พระปฐมเจดีย์.  (2466, 14 ตุลาคม).  ราชกิจจานุเบกษา.  เล่ม 40.  หน้า 2177 – 2179. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.  เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ รัชกาลที่ ๖.  ร.๖ ศ. ๙.๑/๘๐(พ) เรื่อง ปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์และวัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม.

     ภาพประกอบ นฤมล บุญญานิตย์

    --- Send in a voice message: https://podcasters.spotify.com/pod/show/snclibrary/message
  • งานนมัสการพระปฐมเจดีย์ประจำปี ที่ชาวนครปฐมมักเรียกกันว่า "งานกลางเดือน" สันนิษฐานว่ามีมาแต่ครั้งโบราณ ทั้งนี้ พบเอกสารจดหมายเหตุ กระทรวงศึกษาธิการ สมัยรัชกาลที่ 5 เรื่องเกี่ยวกับเงินรายได้การจัดงานเทศกาลนมัสการพระปฐมเจดีย์ ใน ร.ศ. 126 และ 127 (พ.ศ. 2450 และ 2451 ) กล่าวถึงระยะเวลาการจัดงานระบุคือ วันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ถึง วันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 นอกจากนี้มีนิราศอย่างน้อย 2 เรื่อง ที่ระบุช่วงเวลาของการมานมัสการพระปฐมเจดีย์ คือ โคลงนิราศพระประทม พระนิพนธ์ของ พระเจ้าบรมวงษ์เธอกรมหลวงวงษาธิราชสนิท ในสมัยรัชกาลที่ 3 เสด็จมานมัสการในวันเสาร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 จุลศักราช 1196 ซึ่งตรงกับวันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2377 ตรงกับวันลอยกระทง กลางเดือน 12 และ นิราศพระประธม ของสุนทรภู่ ก็ได้กล่าวถึงการมานมัสการพระปฐมเจดีย์ในช่วงเวลาเดือน 12 เช่นกัน โดยมาในวันจันทร์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 12 ตรงกับวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2385 ระยะเวลาการจัดงานในครั้งต้นรัตนโกสินทร์ที่พบหลักฐานสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น มีการจัดงานสมโภช และออกร้านค้าจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ ของประชาชน 5 วัน และในเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน การจัดงานได้มีการขยายทั้งในส่วนกิจกรรมต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ตลอดจนเวลาในการจัดงานที่เพิ่มขึ้นเป็น 7 วัน ผนวกเพิ่มด้วยงานของกาชาดจังหวัดนครปฐมต่อท้ายงานอีก 2 วัน รวมเวลา 9 วัน 9 คืน สำหรับในปี 2565 นี้ จัดขึ้นในวันที่ 5-13 พฤศจิกายน 2565 ชวนท่านผู้ฟังทุกท่านมาเที่ยวงานวัดกันค่ะ

    --- Send in a voice message: https://podcasters.spotify.com/pod/show/snclibrary/message
  • ที่ผ่านมาเมื่อพูดถึงอุโมงค์น้ำเชื่อว่าคนส่วนใหญ่จะนึกไปถึงอุโมงค์ระบายน้ำ หรือ หากท่านใดติดตามโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ก็อาจจะนึกถึงภาพอุโมงน้ำ หรือ ม่านน้ำ (Water Salute) ที่มีการฉีดน้ำจากสองฝั่งทำให้เกิดเป็นอุโมงค์น้ำ ขณะที่เครื่องบินของสายการบินเอทิฮัดลงจอดที่สนามบินนานาชาติภูเก็ตเป็นลำแรก ซึ่งเป็นธรรมเนียมสากลทั่วโลกในการแสดงความยินดี หรือ การต้อนรับเที่ยวบินสำคัญ เช่น เที่ยวบินปฐมฤกษ์ เที่ยวบินที่มาสนามบินแห่งนั้นเป็นครั้งแรก หรือแม้แต่เที่ยวบินครั้งสุดท้ายของสนามบินนั้น ซึ่งกรณีของภูเก็ต เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2564 นั้น เป็นการต้อนรับเครื่องบินลำแรกที่เข้ามาตามโครงการและนำนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยหลังวิกฤติการแพร่ระบาดโควิด-19 แต่ในส่วนของอุโมงค์น้ำ (Swimming Flume) ซึ่งเป็นกระแสวิพากษ์กิจกรรมหนึ่งทางโลกออนไลน์ขณะนี้นั้น เป็นนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์การกีฬา ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการพัฒนาสมรรถภาพในการว่ายน้ำ และยังสามารถใช้ในการกายภาพบำบัดทางการแพทย์ รวมถึงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ อุโมงค์น้ำเป็นเทคโนโลยีของประเทศเยอรมัน ที่คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเข้ามาเพื่อใช้ในการเรียนการสอนตั้งแต่ พ.ศ. 2560 นับเป็นห้องปฏิบัติการของคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา ตั้งอยู่ที่อาคารจุฬาพัฒน์ 10 นอกจากใช้เพื่อการเรียนการสอนแล้วยังใช้ในกิจกรรมอื่น ๆ ทั้งภายใน ภายนอกมหาวิทยาลัย เช่น ฝึกซ้อมเพื่อเพิ่มสมรรถนะของนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติไทย เป็นต้น

    ขอบคุณข้อมูล

    - เรื่อง รู้จัก “อุโมงค์น้ำ” เพื่อการกีฬา ใช้งานอย่างไร    
    เผยแพร่เมื่อ 19 ต.ค. 2565 ทาง https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2530698  
    - เรื่อง รู้จัก "อุโมงค์น้ำ" ธรรมเนียมการต้อนรับเครื่องบินลำแรก ไม่ใช่ฉีดฆ่าเชื้อแต่อย่างใด   
    เผยแพร่เมื่อ 2 ก.ค. 2564 ทาง https://mgronline.com/travel/detail/9640000064132  
    - เรื่อง อุโมงค์น้ำ “Swimming Flume” : พบหมอรามา ช่วง Idea ชีวิตดี 29 พ.ย.60 (4/6)  
    เผยแพร่โดย RAMA Channel เมื่อ 29 พ.ย. 2560  ทาง https://www.youtube.com/watch?v=57uX5iiRswM  
    - เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของตัวแปรทางชีวกลศาสตร์ของการว่ายน้ำ 200 เมตร
    ท่าฟรอนท์ ครอลในรยางค์ส่วนบนของนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติไทย  
    เผยแพร่ทาง https://he02.tci-thaijo.org/index.php/spsc_journal/article/view/250798

    ขอบคุณภาพปกจาก “รู้จัก อุโมงค์น้ำ (Swimming Flume) นวัตกรรมเสริมความแกร่ง”
    เผยแพร่โดย อีจัน เมื่อ 19 ต.ค. 2022
    เผยแพร่ทาง https://www.ejan.co/general-news/n49pkhztnj

    ขอบคุณเพลงนำรายการ รักข้ามโขง หนู มิเตอร์
    เผยแพร่โดย noometermusic ทาง https://www.youtube.com/watch?v=MlYyqUq0DB0

    --- Send in a voice message: https://podcasters.spotify.com/pod/show/snclibrary/message
  • The Midnight Library เรื่องราวของนวนิยายที่ชวนให้ตั้งคำถาม ให้ลองค้นหาความหมายของการมีชีวิตอยู่ ให้ลองเปิดมุมมองของความเป็นไปได้อย่างไร้ขีดจำกัดบนทางเลือกใหม่ของโลกที่ต่างไปอย่างสิ้นเชิง ที่ที่อาจทำให้เราฉุกคิดในทางใดทางหนึ่ง ที่ที่อาจทำให้เราค้นพบอย่างแท้จริง มาสัมผัสพลังสร้างสรรใน มหัศจรรย์ห้องสมุดเที่ยงคืน นวนิยายที่เปี่ยมไปด้วยความอบอุ่นและอารมณ์ขัน ที่จะเข้าถึงหัวใจของสิ่งที่มีความหมายในชีวิต หาอ่านได้ที่ PR6108.A33 ม56 ชั้น 3 หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ห้องสมุดที่มีหลากหลายฝันให้คุณมาค้นหา กับช่วงเวลา Midnight Library ที่ขอเชิญชวนชาวศิลปากรมาอ่านกันยาวๆ จนเที่ยงคืนค่ะ

    --- Send in a voice message: https://podcasters.spotify.com/pod/show/snclibrary/message
  • เรื่องราวของ เค้ง-ณภัทร อัสสันตชัย ชายหนุ่มผู้ปลดปล่อยตัวเองจากพันธนาการ ใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือระบายความเครียดตั้งแต่วัยเด็ก หากแต่โลกบนกระดาษของเด็กอนุบาลนั้นได้ัพัฒนาจนสามารถผลิตและขายงานบน NFT สร้างรายได้จากสินทรัพย์ดิจิทัลให้ตัวเองได้เพียงวัย 17 ปี 

    ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก

    เรื่อง เค้ง-ณภัทร ศิลปิน Doodle Art ที่เปลี่ยนเวลาว่าง สร้างงานศิลปะ NFT  จนขายงานชิ้นแรกได้ตอนอายุ 17  โดย พัฒนา ค้าขาย
    เผยแพร่ทาง https://adaymagazine.com/dooword-nft/

    --- Send in a voice message: https://podcasters.spotify.com/pod/show/snclibrary/message