Episodit

  • ต่อเนื่องจาก EP. 5 ที่แล้ว เราได้ทราบหลักการของ Family Holding Company ใน EP. 6 นี้ เรามาทำความรู้จักประโยชน์ของ Family Holding Company เพิ่มเติม ทั้งในประโยชน์เพื่อลดภาระภาษีโดยรวม และช่วยปรับโครงสร้างธุรกิจให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น เพื่อลดความขัดแย้งในครอบครัว และส่งต่อความมั่งคั่งของกลุ่มของครอบครัวได้อย่างยั่งยืน

    #SCBWealth #SCBPrivateBanking #FamilyOffice #FamilyWealthPlanning

  • Family Holding Company ตัวช่วยในการรวบรวมทรัพย์สินที่มีความสำคัญของกลุ่มครอบครัว ดูแลจัดการ และส่งต่อทรัพย์สินครอบครัว เพื่อให้คุณมั่นใจได้ว่าจะสามารถส่งต่อความมั่งคั่งของกลุ่มครอบครัวไปยังรุ่นสู่รุ่นได้อย่างยั่งยืน และเป็นธรรม เอกสิทธิ์พิเศษสำหรับลูกค้า SCB PRIVATE BANKING รับชมได้ในรายการ Family Wealth Planning EP. 5

    #SCBWealth #SCBPrivateBanking #FamilyOffice #FamilyWealthPlanning

  • Puuttuva jakso?

    Paina tästä ja päivitä feedi.

  • กดอ่านได้ที่นี่ https://bit.ly/44mnBiK

    CB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย

    1) การปรับมุมมองแนวโน้มที่มีต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นชะลอตัวลงแบบจัดการได้ (Soft landing) จากอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอลงต่อเนื่อง แม้จะยังต้องใช้เวลาอีก 1- 2 ปีกว่าที่จะเข้าสู่อัตราเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% ของ Fed

    2) ดอกเบี้ยประเทศพัฒนาแล้วโดยเฉพาะ สหรัฐฯ จะค้างในระดับสูงจนถึงช่วงกลางปีหน้า ส่วนการลดดอกเบี้ยน่าจะเป็นแบบช้าและค่อยๆ ลง ขณะที่ดอกเบี้ยกลุ่มประเทศ Emerging มีโอกาสลดลงได้เร็วกว่า ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระยะข้างหน้า ด้านประเทศที่มีบริษัทและครัวเรือนก่อหนี้สูงจำนวนมาก มีความเสี่ยงภาวะ Balance sheet recession

    3) เราปรับมุมมองหุ้นกู้ Investment Grade กลับขึ้นมาเป็น Slightly Positive แต่ยังคงแนะนำหลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้นกู้ HY โดยเฉพาะในตลาดหุ้นกู้จีน

    4) ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 2/2023 ของตลาดหุ้นหลายแห่งทั่วโลกออกมาดีกว่าคาด หรือแย่น้อยกว่าคาด

    5) Valuation ของตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้วเริ่มตึงตัวน้อยลง โดยเฉพาะหุ้นกลุ่ม Tech ของสหรัฐฯ ซึ่งเราแนะนำสับเปลี่ยนเข้า Defensive ไปก่อนหน้านี้ พร้อมกันนี้ เราปรับมุมมองหุ้นญี่ปุ่นเป็น Neutral หลังตลาดรับรู้การเปลี่ยนกรอบนโยบาย Yield Curve Control พอสมควรแล้ว และระยะถัดไปมีแรงหนุนรออยู่ นอกจากนี้เรายังคงแนะนำทยอยสะสมหุ้นจีน A-share ปรับหุ้นเวียดนามเป็น Neutral ส่วนหุ้นจีน H-share เรายังคงมุมมอง Neutral แม้ Valuation ค่อนข้างถูกก็ตาม

    สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ประจำเดือน ส.ค. ของ SCB CIO

    #SCB #SCBCIO #INVESTMENT #WEALTH

  • ทำความรู้จัก Property Backed Loan ตัวช่วยบริหารภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แปลงเป็นเงินลงทุนและกระแสเงินสดจากอสังหาริมทรัพย์ที่คุณถือครองอยู่ เพื่อต่อยอดความมั่งคั่งอย่างเหนือระดับ

    เอกสิทธิ์พิเศษสำหรับลูกค้า SCB PRIVATE BANKING รับชมได้ในรายการ Family Wealth Planning EP.4

    การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะผลิตภัณฑ์ เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

    #SCBWealth #SCBPrivateBanking #FamilyOffice #FamilyWealthPlanning

  • เมื่อเจ้ามรดกตัดสินใจส่งต่อมรดกให้แก่ลูกหลาน ผลของการส่งต่อไปยังผู้รับจะมีภาระภาษีอย่างไร สินทรัพย์ประเภทใดที่ไม่ต้องเสียภาษีการรับมรดก และเราสามารถใช้กลยุทธ์ในการบริหารจัดการภาษีการรับมรดกอย่างไรได้บ้าง เพื่อให้ลูกหลานหรือคนที่เราอยากส่งต่อ ไม่ต้องแบกรับภาระภาษีและยังช่วยให้เกิดความรวดเร็วในการส่งต่อมรดก หาทุกคำตอบได้ใน Family Wealth Planning EP3 จากผู้เชี่ยวชาญของ SCB PRIVATE BANKING

    เอกสิทธิ์พิเศษสำหรับลูกค้า SCB PRIVATE BANKING

    #SCBWealth #SCBPrivateBanking #FamilyOffice #FamilyWealthPlanning

  • ในยุคนี้ที่ชีวิตไม่แน่นอน พินัยกรรมเป็นเรื่องสำคัญที่ห้ามมองข้าม แล้วก่อนคิดทำพินัยกรรม เราต้องรู้อะไรบ้าง

    Family Wealth Planning Episode นี้ ขอสรุป 3 เรื่องสำคัญต้องรู้ก่อนทำพินัยกรรม เพื่อส่งต่อทรัพย์สินสู่ทายาทอย่างถูกต้องตามเจตนารมณ์

    เอกสิทธิ์พิเศษสำหรับลูกค้า SCB PRIVATE BANKING

    #SCBWealth #SCBPrivateBanking #FamilyOffice #FamilyWealthPlanning

  • กดอ่านได้ที่นี่ https://bit.ly/3Qfc3u5

    SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย

    1) ปรากฎการณ์อัตราเงินเฟ้อชะลอตัว (disinflation) มีให้เห็นในหลายประเทศ โดยเงินเฟ้อในกลุ่ม Developed markets ชะลอลงช้ากว่ากลุ่ม Emerging markets เนื่องจากเงินเฟ้อจากภาคบริการยังอยู่ในระดับสูง

    2) คาด Fed จบรอบการขึ้นดอกเบี้ยแต่จะค้างดอกเบี้ยไว้ระดับสูงในช่วงที่เหลือของปี เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอแต่มีโอกาสหลีกเลี่ยงเศรษฐกิจถดถอยได้สูงขึ้น

    3) เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวช้ากว่าคาดในไตรมาสที่ 2/2023 ทำให้มีโอกาสมากขึ้นที่ภาครัฐจะออกมาตรการกระตุ้นแบบเฉพาะเจาะจงในช่วงครึ่งหลังของปี ขณะที่ ปัจจัยเสี่ยงที่เริ่มสูงขึ้นคือ หนี้ของรัฐบาลท้องถิ่นที่ครบกำหนดชำระค่อนข้างมากในช่วง ส.ค.-ก.ย.นี้

    4) การเร่งตัวของ Bond yield ในช่วงที่ผ่านมาเป็นปัจจัยชั่วคราว คาดจะเริ่มลดลงหลังเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง และสัญญาณที่ชัดของการหยุดขึ้นดอกเบี้ยจาก Fed ดังนั้น เรามองว่า ยังคงเป็นโอกาสดีที่จะสะสมพันธบัตรเข้าพอร์ต เพื่อจัดการกับความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย/ชะลอตัว

    5) Valuation ของตลาดหุ้น Developed Markets ส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็วตั้งแต่ต้นปี และส่วนใหญ่เป็นผลมาจาก P/E rerating ยกเว้นตลาดหุ้นยุโรป ขณะที่ ตลาดหุ้นที่ Valuation ยังถูก มักมีปัจจัยความเสี่ยงกดดัน เช่น ตลาดหุ้นจีน ไทย และเวียดนาม อย่างไรก็ตาม เรายังคงแนะนำทยอยสะสมหุ้นจีน A-share เนื่องจากแนวโน้มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบเฉพาะเจาะจงในช่วงครึ่งหลังของปี และหุ้นไทย จากความไม่แน่นอนทางการเมืองและนโยบายเริ่มลดลง

    สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ประจำเดือน ก.ค. ของ SCB CIO

    #SCB #SCBCIO #INVESTMENT #WEALTH

  • ใหม่! Family Wealth Planning รายการที่จะมานำเสนอความรู้ คำแนะนำ และบริการที่ปรึกษาด้านการบริหารสินทรัพย์ครอบครัว ให้คุณได้ส่งต่อความมั่งคั่งจากรุ่นสู่รุ่นอย่างยั่งยืน ใน 5 เรื่องสำคัญ

    1. Estate & Succession Planning บริการวางแผนส่งต่อทรัพย์สินและและธุรกิจครอบครัว 2. Family Business Governance การจัดทำธรรมนูญครอบครัวและแนวทางกำกับดูแลธุรกิจครอบครัว3. Real Estate Law กฏหมายและภาษีอากรเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์4. Investment Regulation กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน5. Taxation การบริหารภาษีอากรสำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

    เอกสิทธิ์พิเศษสำหรับลูกค้า SCB PRIVATE BANKING

    #SCBWealth #SCBPrivateBanking #FamilyOffice #FamilyWealthPlanning

  • กดอ่านได้ที่นี่ >> https://goo.by/LFQS3

    SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย

    1) ธนาคารกลางหลักส่งสัญญาณใกล้จบรอบการขึ้นดอกเบี้ย แต่การลดดอกเบี้ยเป็นเรื่องของปีหน้า ส่วนเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรป แม้ชะลอและอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยแต่จะไม่รุนแรง ขณะที่ EM Asia แม้การฟื้นตัวช้ากว่าคาดในช่วงครึ่งแรก แต่มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง

    2) ปัจจัยความเสี่ยงที่ต้องระวัง คือ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอยแบบรุนแรง เงินเฟ้อยืดเยื้อกว่าคาด และเศรษฐกิจ EM Asia ชะลอตัว

    3) แนะนำตั้งรับเศรษฐกิจชะลอตัวด้วยพันธบัตรรัฐบาล เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ มีแนวโน้มลดลงในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า ขณะที่เราปรับมุมมองหุ้นกู้คุณภาพสูงลงเป็น Neutral จากความเสี่ยง spread ของหุ้นกู้กลุ่ม medium grade (A+ ถึง BBB-) ที่จะถูกกระทบจากความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย

    4) หนุนเปิดเกมส์รุกด้วยการเพิ่มหุ้น EM Asia เน้น จีน A-share ที่มูลค่าค่อนข้างถูกเทียบกับอดีต และหุ้นไทยที่มูลค่ายังน่าสนใจ ขณะที่ หุ้นกลุ่มเติบโตสหรัฐฯเริ่มแพง และหุ้นยุโรปถูกกระทบจากเงินเฟ้อยืดเยื้อโดยแนะนำสับเปลี่ยนเข้าหุ้นกลุ่ม Defensive ในสหรัฐฯ ที่มีผลกำไรแข็งแกร่งแม้ในช่วงเศรษฐกิจถดถอย รวมถึง valuation ที่ยังน่าสนใจ เช่น กลุ่ม Utilities และกลุ่ม Consumer staples

    5) ควรลงทุนใน commodity เพื่อ Hedge ความเสี่ยงเงินเฟ้อยืดเยื้อ และความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical risks) เนื่องจาก การเพิ่ม commodities เข้ามาใน portfolio ในสัดส่วนที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 5%-10% ตามความเสี่ยงที่รับได้ จะช่วยกระจายความเสี่ยงได้ดีในช่วงที่เงินเฟ้อสูงมากกว่าตลาดคาด เนื่องจาก commodities มักจะเคลื่อนไหวตรงกันข้ามกับ หุ้น และพันธบัตร

    สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ประจำเดือน มิ.ย. ของ SCB CIO

    #SCB #SCBCIO #INVESTMENT #WEALTH

  • กดอ่านได้ที่นี่ >> https://bit.ly/3WrPt2p

    SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย

    1. การจัดการเพดานหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ และการจัดตั้งรัฐบาลของไทย ทำให้ความไม่แน่นอนทางการเมืองสูงขึ้นในระยะสั้น และมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะสั้นจำกัด จากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังแข็งแกร่งและการฟื้นตัวภาคบริการของไทยมีต่อเนื่อง

    2. ความผันผวนระยะสั้นของตลาดในช่วงที่ความไม่แน่นอนทางการเมืองสูงขึ้น เป็นโอกาสในระยะยาวที่จะสะสมหุ้น Defensive และ Mega Tech ของสหรัฐฯ รวมถึง หุ้นกลุ่มท่องเที่ยว บริโภค และโรงพยาบาลของไทย

    3. SCB CIO ปรับมุมมองหุ้นญี่ปุ่นเป็นทยอยขาย (Slightly negative from Neutral) เนื่องจากในระยะข้างหน้าความเสี่ยงเงินเฟ้อของญี่ปุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คาดว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะปรับนโยบาย Yield Curve Control ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นมีแนวโน้มปรับขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินเยนมีแนวโน้มกลับมาแข็งค่าขึ้น

    สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ประจำเดือน พ.ค. ของ SCB CIO

    #SCB #SCBCIO #INVESTMENT #WEALTH

  • กดอ่านได้ที่นี่ >> https://bit.ly/3NdrVf8

    SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย

    1) ความตึงเครียดในภาคการเงินของสหรัฐฯ และยุโรป บวกกับผลของดอกเบี้ยสูง ทำให้ความกังวลเศรษฐกิจถดถอยกลับมาอีกครั้ง

    2) นักลงทุนควรป้องกันความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย ด้วยการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล (Positive)

    3) สำหรับการลงทุนในหุ้นโดยรวม เรายังมีมุมมอง Neutral โดยยังต้องติดตามงบไตรมาสที่ 1/2023 และความเสี่ยงการถูกปรับลดคาดการณ์กำไร

    ทั้งนี้ เรายังเน้นการลงทุนในตลาดหุ้นจีน A-share (Positive) ตลาดหุ้นจีน H-share (Slightly Positive) และตลาดหุ้นไทย (Slightly Positive) ที่ Valuation น่าสนใจและมีแนวโน้มกำไรที่ฟื้นตัวในระยะข้างหน้า

    สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ประจำเดือน เม.ย. ของ SCB CIO

    #SCB #SCBCIO #INVESTMENT #WEALTH

  • อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม - http://bit.ly/42FDUav

    SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย

    1) แม้เงินเฟ้อจะชะลอลงช้า แต่ประเด็นปัญหาภาคธนาคารในสหรัฐฯ ทำให้ธนาคารกลางหลักต้องพิจารณาเสถียรภาพสถาบันการเงินมากขึ้น และจะทำให้ธนาคารกลางหลักเริ่มส่งสัญญาณหยุดขึ้นดอกเบี้ยภายในไตรมาส 2/2023

    2) ในช่วงที่ธนาคารกลางใกล้หยุดขึ้นดอกเบี้ย เรามองว่า ยังเป็นโอกาสดีสำหรับการสะสมหุ้นกู้คุณภาพสูง ขณะที่ Asian REITs ยังน่าสนใจ จากผลบวกอัตราการเช่าและค่าเช่าที่ฟื้นตัว โดยเฉพาะในไทยและสิงคโปร์

    3) สำหรับการลงทุนในหุ้นโดยรวม เรายังมีมุมมองเป็น Neutral อยู่ โดยมูลค่าเริ่มน่าสนใจ แต่ยังมีแรงกดดันจากทั้งต้นทุนทางการเงินที่สูงและกำไรที่เติบโตติดลบ ทั้งนี้ เราได้ปรับมุมมองหุ้นเวียดนาม เป็น Slightly Negative หรือให้ทยอยขาย และให้เน้นการลงทุนในตลาดหุ้นจีน A-share ซึ่งมีมุมมอง Positive ตลาดหุ้นจีน H-share ที่มีมุมมอง Slightly Positive และตลาดหุ้นไทย ที่ Slightly Positive เช่นกัน เนื่องจากมูลค่าน่าสนใจ และมีแนวโน้มกำไรฟื้นตัวในระยะข้างหน้า

    สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ประจำเดือน มี.ค. ของ SCB CIO

    #SCB #SCBCIO #INVESTMENT #WEALTH

  • อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม - http://bit.ly/3m4bAxV

    SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ 3 ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย

    1) เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มแค่ชะลอตัวลง แต่ไม่ถดถอยในปีนี้ โดยปัจจัยบวกหลัก ได้แก่ การเปิดประเทศของจีน ยุโรปจัดการกับวิกฤติพลังงานได้ดี ตลาดแรงงานแข็งแกร่ง และ pent up demand หลังเปิดประเทศ ขณะที่ ปัจจัยเสี่ยงหลัก เช่น ความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ และเงินเฟ้อที่ชะลอช้าทำให้ดอกเบี้ยอยู่สูงนาน

    2) ความแตกต่างด้านแนวโน้มดอกเบี้ยระหว่างสิ่งที่ตลาดคาดไว้กับสิ่งที่ธนาคารกลางจะทำ เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่อาจสร้างความผันผวนในตลาดการเงินระยะข้างหน้า

    3) เรามองเป็นโอกาสดีที่จะสะสมหุ้นกู้คุณภาพสูง (Positive) และ Asian REITs (Slightly Positive) ในส่วนการลงทุนในหุ้น (Neutral) ยังมีแรงกดดันจากทั้งต้นทุนทางการเงินที่ยังสูง และกำไรเติบโตติดลบ แต่เรายังเน้นการลงทุนในตลาดหุ้นจีน (A-share: Positive; H-share: Slightly Positive) และตลาดหุ้นไทย (Slightly Positive)

    สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ประจำเดือน ก.พ.ของ SCB Chief Investment Office (CIO)

    #SCB #SCBCIO #INVESTMENT #WEALTH

  • อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม >> https://bit.ly/3Xlkftr

    SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ประเด็นสำคัญที่จะมีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) สำหรับปี 2023 ประกอบด้วย

    1) การเปิดเมืองและเปิดประเทศของจีนที่เร็วกว่าที่เราคาดไว้ และนโยบายที่ยังผ่อนคลาย เป็นปัจจัยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน รวมถึงเศรษฐกิจประเทศที่พึ่งพาจีน

    2) ธนาคารกลางหลักส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยช้าลง แต่ยังคงปรับขึ้นต่อและค้างดอกเบี้ยไว้ในระดับสูง ตามที่เงินเฟ้อทั่วไปแม้ชะลอลง แต่ยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าธนาคารกลาง

    3) เรายังคงแนะนำลงทุนสินทรัพย์คุณภาพสูง เพื่อสร้าง Yield และยังมีมุมมองโดยรวมเป็น Neutral ต่อหุ้น แต่มีมุมมอง Positive กับหุ้นจีน A-shares และ Slightly Positive กับหุ้นจีน H-shares ขณะที่ แนวโน้มค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น เราจึงคงมุมมองว่า การป้องกันความเสี่ยง FX ยังคงมีความจำเป็นมากขึ้น

    รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ประจำเดือนม.ค.ของ SCB Chief Investment Office (CIO)#SCB #SCBCIO #INVESTMENT #WEALTH

  • อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม >> https://bit.ly/3UDjbyY

    SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ประเด็นสำคัญที่จะมีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) สำหรับปี 2023 ประกอบด้วย

    2023 Economic Outlook

    อัตราเงินเฟ้อลดลงช้าและยังเกินเป้าหมายธนาคารกลางหลักดอกเบี้ยจะเริ่มขึ้นแบบช้าลง แต่ยังคงอยู่ในระดับสูงเศรษฐกิจหลักชะลอลงอย่างพร้อมเพรียงและมีนัยยะ (Synchronized and Serious Slowdown) ทำให้ตลาดยังกังวลภาวะเศรษฐกิจถดถอยการชะลอตัวของเศรษฐกิจและการประท้วงจะเป็นหนึ่งในปัจจัยกดดันให้ทางการจีนยกเลิก Zero Covid Policy ในปี 2023 แต่การเปิดเมืองเปิดประเทศน่าจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปความไม่แน่นอนด้านภูมิรัฐศาสตร์ และด้านนโยบายยังทำให้ตลาดเงินโลกมีแนวโน้มผันผวนการเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทานการผลิตของโลกจะยิ่งเร็วขึ้นตามกระแส Geopolitics, ESG และ Digital innovation

    2023 Portfolio Strategy

    เน้นลงทุนสินทรัพย์คุณภาพสูงเพื่อสร้างผลตอบแทนจากกระแสเงิน (Yield)ความไม่แน่นอนสูงที่ยังยืดเยื้อ ทาให้เรายังคงแนะนำถือเงินสดหรือมีผลิตภัณฑ์การลงทุนความเสี่ยงต่ำ (Slightly Positive)เงินเฟ้อเริ่มผ่านจุดสูงสุด + ความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยสูง =สะสมพันธบัตร/หุ้นกู้ โดยทยอยเพิ่ม Durationแต่ยังเน้นคุณภาพสูง (Slightly Positive)การลงทุนในตลาดหุ้นยังต้องระวังกับดักด้านมูลค่า (Valuation trap) (Neutral)แม้เศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงถดถอย แต่การเปิดเมืองของจีน และการลดกำลังการผลิตของ OPEC+ ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนราคาน้ำมันโลก (Slightly Positive)การป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนมีความจำเป็นมากขึ้น หลังการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed เริ่มช้าลง + ดุลบัญชีเดินสะพัดไทยเริ่มกลับมาเกินดุล

    รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ฉบับนี้ ของ SCB Chief Investment Office (CIO)#SCB #SCBCIO #INVESTMENT #WEALTH

  • อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม >> https://bit.ly/3CWCL2c

    SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ 3 ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย

    1) ตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดเริ่มได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อสูงยืดเยื้อ และดอกเบี้ยขาขึ้น แต่ไม่มากพอที่จะทำให้ธนาคารกลางส่งสัญญาณชะลอการขึ้นดอกเบี้ย

    2) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่ ตลาดหุ้นรอประเมินผลกระทบของเงินเฟ้อและดอกเบี้ยที่มีต่อผลประกอบการไตรมาสที่ 3

    3) เราแนะนำให้มีเงินสดหรือผลิตภัณฑ์ความเสี่ยงต่ำ (มุ่งคุ้มครองเงินต้น) 5%-15% ของพอร์ต และเน้นทยอยสะสมหุ้นกู้คุณภาพดี รวมทั้ง ยังมีมุมมองโดยรวมเป็น Neutral ต่อหุ้น โดยทยอยสะสมหุ้นที่มีการเติบโตยั่งยืนและอัตรากำไรสูง ในประเทศที่ได้อานิสงส์จากการเปิดเมือง และการเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทาน ขณะที่ แนะนำให้มีสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะน้ำมันในสัดส่วน 5% ของพอร์ต

    รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ประจำเดือนต.ค. ของ SCB Chief Investment Office (CIO)

    #SCB #SCBCIO #INVESTMENT #WEALTH

  • SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ 3 ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย

    1) ทิศทางอัตราดอกเบี้ยยังเป็นขาขึ้น และอยู่ในระดับสูง แม้ว่า มีแนวโน้มขยับขึ้นช้าลง จากอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงและชะลอลงค่อนข้างช้า

    2) เศรษฐกิจชะลอตัวลง และความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยสูงขึ้น ตลาดการเงินโลกยังคงมีแนวโน้มผันผวนสูง จากความไม่แน่นอนในหลายปัจจัย

    3) เราแนะนำให้มีเงินสดหรือผลิตภัณฑ์ความเสี่ยงต่ำ (คุ้มครองเงินต้น) 5-15% ของพอร์ต และเน้นทยอยสะสมหุ้นกู้ที่คุณภาพดี รวมทั้ง มีมุมมองโดยรวมเป็น Neutral ต่อหุ้น โดยทยอยสะสมหุ้นบริษัทที่เติบโตยั่งยืนและอัตรากำไรที่สูง ในประเทศที่ได้อานิสงส์จากการเปิดเมือง และการเปลี่ยนแปลงในห่วงโซ่อุปทาน ขณะที่ แนะนำให้มีสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะน้ำมัน 5% ของพอร์ต

    รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ประจำเดือนก.ย. ของ SCB Chief Investment Office (CIO)

    #SCB #SCBCIO #INVESTMENT #WEALTH

  • การกู้เงินไม่ได้น่ากลัวอย่างที่หลาย ๆคนคิด หากบริหารจัดการให้ดีการกู้ยืมเงินสามารถสร้างประโยชน์ระยะยาวได้ ชวนฟังปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงก่อนคิดจะกู้เงินจากผู้เชี่ยวชาญด้าน Wealth Planning พร้อมยกตัวอย่างหลักการกู้ซื้อที่สำคัญประเภทต่าง ๆ เช่น อสังหาริมทรัพย์ และการเช่าซื้อรถยนต์ พร้อมแนะนำทางเลือกสร้างกระแสเงินสดจากผลิตภัณฑ์ Property Backed Loan สินเชื่อเพื่อใช้ในการบริหารความมั่งคั่งจากอสังหาริมทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ที่นักลงทุนถือครอง

  • SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ 3 ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย

    1) อัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศยังอยู่สูงแต่เริ่มชะลอลง คาดการขยับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ยังคงมีต่อเนื่อง แต่จะมีลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไปตามภาวะเศรษฐกิจมากขึ้น (gradual and data dependent)

    2) ผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ล่าสุดส่วนใหญ่ ขยายตัวดีกว่าที่ตลาดคาด โดยเฉพาะบจ.สหรัฐฯ ที่มีความสามารถบริษัทในการจัดการผลกระทบจากเงินเฟ้อสูง และดอกเบี้ยขาขึ้น

    3) เราปรับคำแนะนำหุ้นสหรัฐฯ ให้ทยอยสะสมหุ้นกลุ่ม High Quality ขณะที่ ยังคงมุมมอง Slightly positive ต่อหุ้นจีน A-share หุ้นไทย หุ้นเวียดนาม และหุ้นอินโดนีเซีย รวมทั้ง แนะนำทยอยสะสมหุ้นกู้ IG เพื่อสร้างกระแสรายได้กับให้พอร์ต และมีสินค้าโภคภัณฑ์ ราว 4%-6% ของพอร์ต เพื่อการจัดการความเสี่ยงเงินเฟ้อ โดยเน้นที่น้ำมัน

    รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ประจำเดือนส.ค. ของ SCB Chief Investment Office (CIO)

  • SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ 3 ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย

    1) ความกังวลภาวะเศรษฐกิจถดถอย ส่งผลกดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และทำให้เริ่มเห็นสัญญาณเงินเฟ้อ โดยเฉพาะสหรัฐฯ ใกล้ผ่านจุดสูงสุด ในขณะที่ ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลักในปีนี้ ยังคงเป็นขาขึ้น

    2) ผลประกอบการใน 2Q2022 จะเป็นตัวบ่งชี้ว่า กำไรบริษัทได้รับผลกระทบแค่ไหน จากเงินเฟ้อที่สูง ดอกเบี้ยขาขึ้น และเศรษฐกิจชะลอตัว ในขณะที่ ภาวะ Inverted yield curve ในสหรัฐฯ มีแนวโน้มเกิดขึ้นเป็นระยะในช่วง 2H2022

    3) เรายังแนะนำให้มีเงินสดในพอร์ตราว 5-10% ทยอยสะสมหุ้นจีน A-Shares หุ้นไทย และหุ้นเวียดนาม รวมทั้ง สร้างกระแสรายได้ให้กับพอร์ต ด้วยการทยอยสะสมหุ้นกู้ IG พร้อมทั้งจัดการความเสี่ยงเงินเฟ้อ ด้วยการมีสินค้าโภคภัณฑ์ ในพอร์ตราว 4-6% โดยเน้นที่น้ำมัน

    รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ประจำเดือนก.ค. ของ SCB Chief Investment Office (CIO)