Episodes

  • เกิดชัยชนะที่ไม่กลับแพ้ได้ ด้วยปัญญา พิจารณาว่า ทุกสิ่งใดๆในโลก ล้วนปรุงแต่ง มีความไม่เที่ยง เป็นอนัตตา ให้เห็นว่าทุกสิ่งเป็นสมมุติ

    โดยเริ่มจาก มีสติ เกิดสมาธิ ทำจิตให้มีกำลัง เกิดปัญญา ใช้เป็นอาวุธ เพื่อตัด กิเลสตัณหา ที่เชื่อมยึดถือหรืออุปาทาน อยู่กับจิต โดยมี อวิชชาเป็นรากเหง้าอยู่ในจิต เมื่อเห็นตามความเป็นจริงในจิตว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง เป็นอนัตตา จะเกิดวิชชา อวิชชาดับ เกิดความดับเย็นคือนิพพานในจิตในใจ นั่นคือ ชัยชนะที่ไม่กลับแพ้แล้ว


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • ทำไม ความคิดนึก จึงเป็นการภาวนาได้ เพราะมีสติ สัมปชัญญะ กำกับอยู่ในความคิดนั้น, ดังนั้นจิตจะถูกรักษา ให้คิดนึก ด้วยความระลึกรู้ คือมีสติ ด้วยความรู้ตัวรอบคอบคือมีสัมปชัญญะ นั่นคือมีปัญญาเกิดขึ้นแล้วคือ มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสติ สัมมาวายามะ พร้อมกันทั้งสามสิ่ง, เกิด สัมมาสังกัปปะ ปราศจากกาม พยาบาท เบียดเบียน, นำไปสู่ สัมมากัมมันตะและสัมมาอาชีวะ ดำรงอยู่ในทางมรรคมีองค์แปดในชีวิตประจำวันได้

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • Episodes manquant?

    Cliquez ici pour raffraichir la page manuellement.

  • เราจะศรัทธา ปฏิบัติตามสิ่งใด สิ่งนั้นต้องตรวจสอบได้ ต้องพ้นทุกข์ได้จริง โดยต้องประกอบด้วยมรรคมีองค์แปด ตลอดทางที่ดำเนินไป คือ มีศีล สมาธิ ปัญญา

    เริ่มจาก มีศรัทธา พร้อมปัญญา ว่าสิ่งนั้นตรวจสอบได้ด้วยตนเอง เมื่อมั่นใจแล้ว ตั้งใจลงมือทำ ด้วยความเพียร มีสติ สมาธิ ปัญญา เกิดขึ้น จะเห็นว่า ทุกๆสิ่ง ไม่เที่ยง มีเงื่อนไข

    ปัจจัยเกิดขึ้น มีทุกข์ ไม่ควรยึดถือ

    วาง ละ ทิ้งเสีย นั่นคือถึงที่หมายแล้ว.


    <<timestamp >>

    [00:00] ศรัทธาทำให้เกิด ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา

    [14:58] มรรคแปด ร่องรอยที่ตรวจสอบได้

    [38:07] พิจารณาความไม่เที่ยง

    [56:56] ไม่ยึดถือ ละ วาง


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • จิตที่ไหลไปตามกระแส สุขๆ ทุกข์ๆ ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่เกาะ ตามหาที่พึ่งไปเรื่อยๆ ขาดที่พึ่งที่แท้จริง

    หากแต่ เมื่อเรามี สติเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นที่พึ่ง จะไม่ยึดในเวทนาทั้งสุขและทุกข์, ระลึก รู้ตัว ในสิ่งต่างๆคือ มีสติปัฏฐานสี่เป็นที่พึ่งตลอด,

    อกุศลธรรมดับ กุศลธรรมเกิด ข้ามกระแสน้ำเชี่ยว ด้วยสติสัมปชัญญะ


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • “บางคนนั่งเฉย ๆ ไม่ได้ไปหาใครพูดกับใคร แต่เบียดเบียนคนอื่นได้ เบียดเบียนตัวเองได้ ตรงความคิดไง ตัวไม่ขยับแต่จิตมันขยับ”

    หยุดจิตให้ได้ อย่าให้จิตไหลไปตามผัสสะ ควบคุมจิตไม่ให้คิดเรื่องต่างๆ ด้วยสติ ด้วยลมหายใจ

    จิตสงบ ระงับ เกิดสัมมาสมาธิ, แล้วใช้ปัญญาพิจารณา จิต เดี๋ยวผ่องใส เดี๋ยวขุ่นมัว เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตามเหตุการปรุงแต่ง

    จะเห็น จิตก็ไม่เที่ยง เป็นอนัตตา, วาง ละ จิตที่ไม่เที่ยงนั้น.


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • เจริญสติโดยการพิจารณากาย ใช้กายเพื่อชำระจิต ให้เห็นกาย ตามความเป็นจริง

    ให้เห็นกายนี้ว่า เป็นทั้งสิ่งปฏิกูล และเป็นสิ่งไม่ปฏิกูล และให้อยู่อุเบกขาในสิ่งนั้น

    ทำอย่างต่อเนื่อง, จิตจะแยกออกจากกาย จิตไม่ไปยึดถือ ยึดมั่นในกายว่าเป็นตัวตนของเรา,

    กิเลสในจิต จะค่อยๆ หลุดออกไปๆ ด้วยความเพียร ในการพิจารณากายซ้ำๆ ปัญญาจะเกิดขึ้น


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • ระงับความคิด ด้วยการตั้งสติ ด้วยการระลึกสังเกตอยู่กับลมหายใจ สังเกตดูเฉยๆ ฝึกบ่อยๆจนเกิด สัมมาสติ จิตตั้งมั่นได้ ไม่ตามไปกับสิ่งต่างๆที่ผ่านเข้ามา

    ไม่ตามความคิด อารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ,

    จิตแยกออกจากความคิด ความรู้สึกได้มากขึ้น มากขึ้น, เกิดความสงบ ระงับ, จิตเริ่มเป็นสมาธิ เรียกว่าสัมมาสมาธิ,

    ใช้สัมมาสมาธิเป็นเครื่องมือ เพื่อให้เชี่ยวชาญในความคิด แก้ปัญหาสิ่งต่างๆได้


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • ตั้งสติให้มั่น ด้วยพุทโธ ธัมโม สังโฆ ประดิษฐานอยู่ในใจเราตลอดเวลา จิตตั้งมั่นขึ้นได้ ไม่ไหลไปตามผัสสะที่เข้ามา เราจะมีความสุขเย็น ที่เกิดจากความสงบ ระงับ จากภายใน เกิดสติสัมสัมปชัญญะ จิตมีกุศลธรรมเกิดขึ้น มีเมตตา กรุณา

    อกุศลธรรมลด เบาบางลง มีความเพียร กล้าในการเผชิญหน้า แผ่เมตตาใหญ่ออกไป ความกังวลใจหายไป จากการมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง เป็นธงชัย


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • สังโฆคือผู้ปฏิบัติจนรู้แจ้ง ให้เราระลึกถึงคุณของสังโฆ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้แจ้งโลก เห็นทุกข์ คือเห็นธรรม เข้าใจอริยสัจสี่ เหมือนปัจจันตนครที่มีเครื่องป้องกัน

    โดยมีนายทวารที่ฉลาด คือ มีสติ เพื่อแยกแยะไม่ให้อกุศลจิตแทรกผ่านประตูเข้ามา อนุญาตให้เฉพาะคู่ราชฑูต คือ สมถและวิปัสสนา ถือสาสาส์นเรื่องการเห็นตามความเป็นจริงคือนิพพาน สู่เจ้าเมืองหรือวิญญาณ โดยผ่านทางมรรคแปด


    เมื่อผัสสะมากระทบผ่านประตูทั้งหก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สติที่มีกำลัง มีความละเอียด จะสังเกตเวทนาในช่องทางใจของเรา แยกแยะสิ่งดีหรือไม่ดี และเกิดสมถวิปัสสนาเข้าสู่จิต เห็นความเป็นของไม่เที่ยง ทั้งรูป นาม ขันธ์ทั้งห้าเป็นกองทุกข์ ควรแล้วหรือที่จะยึดถือว่าเป็นตัวตนของเรา

    วิญญาณเมื่อได้รับข่าวสารที่เป็นวิชชาเรื่อยๆ ก็จะค่อยๆพ้นออก คือ วิมุตติ โดยมีนิพพานแล่นไปสู่จิตซึ่งไม่ใช่ตัวตน

    จิตดับไป หลุดพ้นแล้ว จิตพ้นจากผัสสะต่างๆ คือ นิพพานนั่นเอง


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • รู้ลมแล้วจินตนาการไปในพุทธะ นึกถึงเหตุการณ์หลังการตรัสรู้ ครั้งที่สหัมบดีพรหมเกิดความร้อนใจ มานิมนต์ให้พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรม จินตนาการแล้วก็ไม่ลืมลม เป็นการเจริญทั้งพุทธานุสสติและอานาปานสติไปพร้อมกัน ทำให้เกิดความเห็นความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นสัมมาทิฏฐิ เดินไปตามทางอันประเสริฐ เส้นทางเดียวกับพระพุทธเจ้า เราเดินตามท่านไป ตริตรึกใคร่ครวญตามไป เกิดสัมมาสังกัปปะ บุคคลที่ทำเช่นนี้ถือว่ามีความเพียร ความสำเร็จผลตามพระพุทธเจ้าย่อมเกิดได้แน่นอน

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • ก่อนปฏิบัติธรรมถอดหัวโขนทั้งทางกาย วาจา ใจ และเมื่อมีผัสสะมากระทบอายตนะ 6 รับรู้ได้อยู่คือวิญญาณทั้ง 6 ทั้งส่วนกายและใจ มีเครื่องทดสอบว่าจะกำหนดความคิดให้หลีกออกจากวิตกทั้งสาม คือกามวิตก พยาบาทวิตกและวิหิงสาวิตกได้หรือไม่ ถ้ามันจะเกิดขึ้นในช่องทางใจของเรา จงหยุด จงถอยกลับ ไม่เอาเข้าไป ต้องรู้จักใคร่ครวญแยกแยะให้เข้าได้เฉพาะกุศลธรรม จะแยกแยะได้ต้องมีสติสัมปชัญญะ คือการระลึกรู้นั่นเอง พระพุทธเจ้าท่านใช้อานาปานสติ พระเจ้ามหาสุทัสสนะท่านใช้พรหมวิหาร 4 ตั้งจิตน้อมไปทางนั้น สิ่งนั้นก็มีพลังมาหุ้ม นั่นคืออาสวะที่ประกอบด้วยส่วนแห่งบุญ ชำระอาสวะเก่า จิตสะอาดขึ้น เจริญสัมมาสติให้มาก ย่อมทำสัมมาสมาธิให้เกิดขึ้นได้ จะอยู่เหนือความคิดได้พิจารณาแยกแยะความคิด ดี/ไม่ดี เห็นคุณเห็นโทษ

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • สังกัปปะ กับ วิตก เป็นความคิดเหมือนกัน แต่มีธรรมชาติที่ต่างกัน คือถ้าเราต้องน้อมจิตเรียกว่าความคิดตริตรึกหรือวิตก แต่ถ้าความคิดโผล่ขึ้นมาเรียกความคิดนี้ว่าสังกัปปะหรือความดำริ ทั้ง 2 ประเภท มีทั้งคิดในทางกุศลหรือสัมมา และอกุศลหรือมิจฉา เราต้องฝึกตริตรึกไปในทางที่ละกาม พยาบาท และเบียดเบียน เพื่อให้เกิดความดำริหรือสังกัปปะที่เป็นกุศล นี่เป็นการทำงานร่วมกันของวิตกและสังกัปปะ


    ฝึกได้เริ่มจากวิตกสู่สังกัปปะโดยพุทธานุสสติ เราต้องน้อมจิตไปคิด นึกถึงพระพุทธเจ้าตอนที่เป็นพระโพธิสัตว์เดินข้ามแม่น้ำเนรัญชราถือหญ้าคาปูนั่งใต้ต้นโพธิ์ จิตแน่วแน่ในการที่จะบรรลุสัมมาโพธิญาณให้ได้ ตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ จิตเป็นสมาธิอยู่ตลอด ตริตรึกและดำริไปในญาณทั้งสาม แผ่เมตตาทั่วทุกทิศ ดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ที่มีองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง ละอาสวะ รู้อริยสัจ 4 ขึ้นมาอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ให้เราคิดด้วยการนึกน้อมจิตไปในเรื่องของพระพุทธเจ้านี้ ให้สะสมจนเป็นสังกัปปะคือความดำริ ที่มันเกิดขึ้นได้เองเป็นธรรมชาติของจิตของเราเอาไว้อย่างนี้ให้ดี รักษาให้ได้ตลอดทั้งวัน


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • ความตายจะเป็นจุดสูงสุดของความทุกข์ที่เราต้องเจอ ต้องเข้าหาระลึกถึงความตายอย่างถูกต้อง เตรียมตัวตาย โดยเข้าใจว่าความตายเกิดขึ้นกับตัวเราแน่ และให้ได้ประโยชน์จากความตาย คือเจริญมรณานุสติ จะเกิดอานิสงส์ใหญ่เป็นธรรมที่ลงสู่อมตะ คือความไม่ต้องตายอีก ทำได้โดย

    ปล่อยวางในสิ่งของรักของหวงละความยึดถือตัวตนซึ่งเป็นแค่ธาตุทั้งสี่ละความอยากได้

    หลังความตายเอาอะไรไปไม่ได้ นอกจากความดี เร่งทำความดี พิจารณาบาปทั้ง 3 ช่อง ได้แก่ กาย วาจา และใจ โดยระลึกถึงบุญกิริยาวัตถุ 10 อย่าง การที่จะต่อสู้เพื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เอากุศลธรรมขึ้นเป็นหลักก่อน ตั้งฉันทะไว้ตรงนี้ ไปให้ได้ด้วยความเพียรพยายาม สู้ด้วยสติสัมปชัญญะ สู้ไม่ถอยไม่เลิกไม่แพ้ ปฏิบัติตามมรรคแปด ทุกข์หายไปทันที กุศลธรรมเพิ่มขึ้น ละอาสวะได้ จะบรรลุจะเห็นได้ด้วยตนเอง


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • คิดเป็นระบบด้วยการพิจารณาโดยอาศัยปัจจัย 4 เป็นพื้นฐาน เริ่มจากเครื่องนุ่งห่มให้พิจารณาว่าจะใส่เพื่ออะไร ดังนี้ ปะฏิสังขา โยนิโส จีวะรัง ปะฏิเสวามิ หมายถึงการพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงนุ่งห่ม. ถัดไปเป็นอาหารพิจารณาเพื่อไม่ให้เกิดเวทนาใหม่หรือระงับเวทนาเก่า พินิจเพ่งจดจ่อ มีสติ ไม่เผลอเพลิน ไม่ยึดติดเกิดความหวง

    ปัจจัยที่ 3 คือ เสนาสนะ พิจารณาการเข้าสู่เสนาสนะ หรือออกจากเสนาสนะด้วยสติสัมปชัญญะ ต่อไปเรื่องของปัจจัยเภสัชบริขารสำหรับคนป่วย จะใช้ยาหรือสิ่งของอะไรต้องพิจารณามีสติมีสมาธิ นั่นเป็นธรรมะโอสถไปในตัว เพื่อที่จะระงับทุกขเวทนา การมีเงื่อนไขเยอะ จะอยู่ยาก แต่หากเงื่อนไขแห่งความสุขน้อย สุขยิ่งมากเพราะจะทุกข์น้อย

    เกิดปัญญาด้วยการคิดที่เป็นระบบนั้นคือการโยนิโสมนสิการ หมายถึงการทำในใจ โดยแยกกายเห็นโดยความเป็นธาตุ เป็นปฏิกูล เกิดปัญญา สิ่งที่เป็นอกุศลธรรมลดลง ความยึดถือทั้งหลายลดลง ปล่อยวาง เจริญก้าวหน้าในธรรมะของพระพุทธเจ้ายิ่งๆขึ้นไป


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • คิดให้เป็นขณิกสมาธิด้วยการระลึกถึงพุทธประวัติ โดยจินตนาการเป็นภาพพระโพธิสัตว์ทำความเพียรไล่ตั้งแต่จากดงคสิริสู่ริมแม่น้ำเนรัญชรา ความระลึกได้ถึงความสงบที่เคยพบครั้งเป็นเด็กที่เกิดจากการวิเวกกายวิเวกจิตจนเกิดปิติสุข จึงพบทางสายกลาง เพราะคิดจึงรู้ ตัวเราเองคิดนึกตามจนสามารถเกิดปิติสุขมีความสบายใจแบบนั้นได้หรือไม่ สามารถพยากรณ์วาระจิตตนได้หรือไม่ ถ้าได้จึงจะถือว่าขณิกสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิได้เกิดขึ้นแล้ว ควรทำให้ชำนาญ เพื่อเป็นฐานในการค้นพบเส้นทางแห่งการตรัสรู้เช่นพุทธะต่อไป


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • ธรรมะบทแรก ‘ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร’ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นปฐมเทศนากับภิกษุปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ท่านทรงสอนไว้อย่างไร

    ใคร่ครวญธรรมในธรรมในคำสอนของ ‘พุทธะ’ ว่าอะไรคือหลักคำสอนที่มีความสำคัญสูงสุด เป็นความจริงอันประเสริฐ อะไรคือสิ่งที่แล่นไปดิ่งไปสุดโต่ง 2 อย่างที่ไม่ควรข้องแวะ อะไรคือขั้นตอนกระบวนการปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง ที่เมื่อทำกิจแต่ละข้อ ใน ‘อริยสัจ’ ได้แล้ว จะมีความรู้ยิ่ง อยู่เหนือจากความทุกข์ทั้งมวลได้


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • พิจารณานามรูปตามระบบแห่งความเห็นที่ถูกต้องเพื่อให้เกิดปัญญา มี 7ประการ ดังนี้

    ประการที่ 1 นามคือความรู้สึกที่เรารับรู้ทางวิญญาณได้ รูปคือธาตุ4ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟและลม

    ประการที่ 2 นามรูป มีเหตุเกิดจากวิญญาณ ซึ่งมาจากการมีสฬายตนะ

    ประการที่ 3 ความดับของนามรูปคือ ต้องดับวิญญาณ

    ประการที่ 4 องค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง เป็นหนทางปฏิบัติให้ถึงความดับของนามรูป

    เปรียบได้ระบบของอริยสัจ 4 คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค จึงเป็นระบบคิดที่จะเป็นการใคร่ครวญโดยแยบคาย ให้เกิดปัญญา

    ประการที่ 5 ประโยชน์จากนามรูป ทำให้เกิดสุขโสมนัส

    ประการที่ 6 โทษของนามรูปคือความไม่เที่ยง ทำให้เราเป็นทุกข์

    ประการที่ 7 นิสสรณะเป็นอุบายออกจากนามรูป คือนำออกซึ่งความกำหนัดยินดีพอใจในนามรูป โดยการปฏิบัติตามมรรค 8 พิจารณาด้วยความคิดที่เป็นระบบ ในธรรมะทั้ง7ประการ ปัญญาเกิด ปล่อยวางได้ อยู่กับทุกข์แบบสุข


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • บุคคลที่มีการสำรวมระวังนี้ได้ชื่อว่า ไม่ประมาท ตื่นอยู่ เริ่มต้นด้วยการตั้งสติตามทางสติปัฏฐาน4 โดยใช้พุทโธเป็นเครื่องมือให้เกิดสติ เรียกว่าเจริญพุทธานุสติ แต่ยังมีความคิดนึกผ่านทางช่องทางใจ ดังนั้นต้องมีการสำรวมระวังจากสติที่ตั้งขึ้น จิตสงบระงับลง ปรุงแต่งทางกายวาจาใจเบาบางลง ราคาโทสะโมหะระงับลง แม้คำว่าพุทโธก็หายไป เหลือแต่จิตที่อยู่กับธรรมารมณ์ในที่นี้คือสติ จิตอยู่ตรงไหนสติก็อยู่ตรงนั้น สติอยู่ตรงไหนจิตก็อยู่ตรงนั้น สติจึงรักษาจิตด้วยการสำรวมระวัง บุคคลที่มีสติตั้งมั่นแบบนี้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ตื่นอยู่ ไปตามสายเส้นทางที่มีองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง ทำให้รู้ถึงความตื่นอยู่เป็นขั้นๆ มีการพัฒนาทางจิตวิญญาณ มีการพัฒนาทางปัญญา เห็นความไม่เที่ยงของจิต จึงปล่อยวางได้

    << Timestamp >>

    [00:01]: ฝึกจิตด้วยสัญญมะและทมะเหมือนการฝึกสัตว์

    [13:52]: เป็นผู้ตื่นอยู่ด้วยพุทโธ

    [23:46]: สติรักษาจิต ด้วยการสำรวมระวัง และการข่มใจ

    [42:33]: หลับอย่างตื่นรู้ สู่การตื่นอย่างไม่หลับ

    [51:06]: ใช้ปัญญาเห็นความไม่เที่ยงของจิต จึงปล่อยวางได้


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • สมถะวิปัสสนาเป็นธรรมที่คู่กัน เจริญโดยใช้อานาปานสติ สมถะที่เมื่ออบรม ทำให้มากแล้วจิตจะเจริญ ไม่คล้อยเคลื่อนไปตามอารมณ์ ละราคะโทสะโมหะได้ แต่ก็ยังกำเริบได้ จิตต้องมีความเพียรต้องด้วยองค์ประกอบ 7 ประการ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาทิฏฐิ จึงมีกำลังขึ้น จิตเป็นสมาธิ

    วิปัสสนาเกิดเริ่มจากการโยนิโสมนสิการคิดตามระบบของอริยสัจสี่ คือความเห็นที่ถูกต้อง และพิจารณาด้วยจิตที่เป็นสมาธิ มีความสงบทั้งขบวนการนี้เรียกว่าการทำวิปัสสนา ปัญญาจะเกิดที่จิตของเรา ปัญญาคือความรู้ให้เห็นความจริง ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ปัญญาเมื่อเจริญแล้วจะ ละอวิชชาได้ ทำนิพพานให้แจ้ง เห็นความไม่เที่ยง ตัดแม้กระทั่งราก วิชชาเกิด

    << Timestamp >>

    [00:01]: จากลมหายใจสู่สมถะวิปัสสนา

    [09:43]: สมถะที่เมื่อเจริญแล้ว จิตจะเจริญ

    [14:24]: สมถะวิปัสสนา ธรรมที่มาคู่กัน ก่อเกิดมรรค

    [21:43]: วิปัสสนาที่เมื่อเจริญแล้ว ปัญญาจะเจริญ

    [40:07]: โยนิโสมนสิการคิดมาตามระบบแห่งความเห็นที่ถูกต้อง

    [44:27]: ปัญญาที่เมื่อเจริญแล้วจะทำนิพพานให้แจ้งได้


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • กำหนดรู้ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งจากทุกข์ นั่นคือขันธุ์ 5 ว่ามีสภาวะเปลี่ยนแปลงได้ด้วยเงื่อนไขปัจจัย ไม่เที่ยง ให้ละเสีย ไม่ควรยึดถือ เริ่มจากวิญญาณการรับรู้ ไม่เพลินไปตามอารมณ์ มีสติ สังเกตและวิริยะ ดำเนินตามระบบแห่งความเข้าใจที่ถูกหลัก หมายถึงระบบของความจริงอันประเสริฐ ได้แก่ทุกข์ที่เราต้องกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งแท้คืออภิญญา สมุทัยคือเหตุเกิดทุกข์ต้องละ นิโรธต้องทำให้แจ้ง และมรรคคือทางที่ทำให้เกิดความเข้าใจต้องทำให้เจริญ ด้วยความมีอภิญญาในจิตใจของเรา ความมีปัญญาอันยิ่ง รู้วาระจิตของตัวเอง ชนะตนเองจากความชั่วที่อยู่ในจิต จิตจะเกิดความสงบระงับ คืออุปสมายะ จิตมีความรู้ยิ่งคืออภิญญายะ จิตมีความรู้ดีมีความรู้พร้อมคือสัมโพธายะ และจิตมีความเย็น ความนุ่มนวลนั่นคือนิพพานายะ


    << Timestamp >>

    [00:01]: กำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง เริ่มที่วิญญาณ

    [18:22]: ระบบแห่งความจริงอันประเสริฐ

    [27:07]: สังเกตดูเฉยๆ แยกแยะสามสิ่งที่ห่อหุ้มจิตได้ด้วยสติ

    [36:05]: สามสิ่งคือ ปรุงแต่งจิตเพื่อ อุปสมายะ อภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ

    [44:29]: ความรู้อันยิ่งในทุกข์ : ละความยึดถือในขันธ์ห้า


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.