Episodes
-
Episodes manquant?
-
ต้นกำเนิดของโลโก้ดัง สตาร์บัคส์ และ ที่มาของชื่ออันแปลกประหลาด
-
หลังจากที่คุยกันมานาน วันนี้อยากจะขอสรุปและพาย้อนกลับไป 500ปี กับเรื่องของดีไซน์ว่ามีผลต่อธุรกิจและผู้คนอย่างไร
-
เคยสังเกตไหมว่าทำไมขวดนมที่ขายอยู่ตามห้างสรรพสินค้าหรือร้านสะดวกซื้อแถวบ้านจึงใช้ขวดพลาสติกแบบขุ่น ไม่ใช้แบบใสเหมือนขวดน้ำที่ขายกันอยู่ทั่วไป?
หากจะบอกว่าเป็นเพราะราคา หรือการออกแบบเพื่อความสวย เพื่อการตลาดาแล้วละก็ ทำไมถึงใช้ขวดขุ่นเหมือนกันหมดทุกแบรนด์ ทุกรุ่น
บางคนบอกว่าการใช้ขวดใสจะทำให้มีผลต่อนมที่บรรจุอยู่ข้างใน แน่นอนว่าเราอาจจะเคยเห็นนมบางยี่ห้อที่ใช้ขวดแก้วใส และนั่นก็ยิ่งเพิ่มความฉงนงงงวยเข้าไปอีก เพราะนั่นหมายความว่า ความใส และความขุ่น ไม่มีผลกับการเก็บรักษาของนม?
วันนี้เราจะพาทุกคนมาหาคำตอบกัน
-
ไขความลับของโลโก้แบรนด์ดัง ที่มีสัญลักษณ์บางอย่างซ่อนอยู่
-
คำถามจากผู้ฟัง ที่น่าสงสัยว่าทำไมทั้ง ๆ ที่ร้อนก็ร้อน แถมกันหนาวก็ไม่ได้ แต่ทำไมผู้ชายต้องผูกเนคไทด์เพื่อความสุภาพด้วย?
-
ถ้าพวกรถหรู Super Car สามารถจัดเครื่องไว้ด้านหลังได้ ทำไมรถญี่ปุ่นที่เราใช้ถึงต้องมีเครื่องอยู่ด้านหน้าด้วย
-
ไม่ใช่เพียงแค่บาสเกตบอล แต่ฟุตบอล และเทนนิสด้วย ทำไมจึงต้อใช้สีส้ม ขาวดำ และเหลือง?
-
กราฟเส้นที่แสดงอัตราการติดเชื้อของแต่ละประเทศที่ผมเชื่อว่าทุกคนเคยเห็นกันเป็นประจำ เส้นที่ปัจจุบันของไทยเป็นเส้นโค้งและกำลังแบนเรียบ ไม่รู้ว่ามีใครเคยสังเกตไหม แต่ที่แกน Y ของกราฟโควิด19 นี้ วางตัวเลขไว้ไม่เหมือนกับปกติที่เราทำกราฟกันอยู่ทุกวัน
-
ทำไมคีย์บอร์ดถึงเรียงตามตัวอักษรแปลก ๆ อย่าง QWERTY หรือ ฟหกด่าสว เพื่ออะไร และทำไมไม่เรียงตามตัวอักษร
-
มารู้จักประเภทของโลโก้กันว่ามีแบบไหนและ แบบไหนถึงจะเหมาะกับแบรนด์ของเรา
-
เมื่อพูดถึงผู้หญิงและผู้ชาย เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า ทำไมเด็กผู้หญิงต้องคู่กับสีชมพู เด็กผู้ชายต้องคู่กับสีฟ้า ใครเป็นคนกำหนดว่าสีชมพูคือผู้หญิง? แล้วผู้หญิงชอบสีชมพูจริงหรือเปล่า?
ซึ่งถ้าย้อนไปในสมัยก่อนเด็กที่คลอดออกในโรงพยาบาลจะถูกห่อด้วยผ้าสีขาวทั้งหมดไม่ว่าจะเพศหญิงหรือชาย แต่การที่ห่อด้วยสีขาวทั้งหมดทำให้ระบุเพศได้ค่อนข้างลำบาก จึงเริ่มใช้สีของผ้าที่ห่อเข้าใช้เพื่อให้ระบุเพศได้ง่ายขึ้น และปรากฎว่าจริง ๆ แล้วในสมัยนั้น ผ้าห่อสีชมพูกลับเป็นของเด็กผู้ชาย และผ้าห่อสีฟ้าคือของผู้หญิง ... ทำไมกัน? ในคำถามนี้มีคำตอบที่ซ่อนอยู่ ฟังคำตอบได้ในอีพีนี้
-
การ์ตูนดิสนีย์ไม่ว่าจะเป็นมิกกี้เม้าส์ โดนัลตั๊ก หรือแม้แต่การ์ตูนบักส์บันนี่ก็สวมถุงมือ สวมทำไม? เพราะแค่เสริมความสวยงามน่ารัก? ไม่ใช่แน่ ๆ และคุณสามารถค้นหาคำตอบได้ใน Design You Don't See EP นี้
-
ทองเค คืออะไร คือทองปลอม? คือทองผสม? หรือเป็นทองแท้? คำตอบคือ "ถูกหมดทุกข้อ" วันนี้ Design you don't see จะพาคุณมารู้จักกับทองเคกันครับ
-
เคยสงสัยไหมว่า บางสี่แยกที่ไม่มีตำรวจ หรือไม่มีไฟจราจร รถจะวิ่งเร็วขึ้น?
คุณสงสัยไม่ผิดครับ เพราะในต่างประเทศมีการออกแบบสี่แยกบนถนนใหม่ โดยเป้าหมายของการออกแบบก็เพื่อลดอุบัติเหตุ เหมาะสมสำหรับยานพาหนะทุกประเภท และแน่นอนคือรถติดน้อยลง และวิธีที่พวกเขาทำคือการนำเอาไฟจราจรออก
พบกับอีกหนึ่งการออกแบบที่คุณพบทุกวันแต่มองไม่เห็นกับ Design You Don't See ทุกวันอังคาร ทางช่อง Creative Talk Podcast ครับ
-
ทำไมมาสคอตจึงหน้าตาคล้ายกัน และมักจะทำให้เรารักเราหลงในความน่ารักของมัน เรื่องนี้มีทฤษฏีที่ซ่อนอยู่
-
พูดถึงดีไซน์ดีดีมากมายแล้ว วันนี้มาเล่าเรื่องดีไซน์ที่ไม่ได้เรื่องบ้าง ใครเคยใช้งานอะไรที่รู้สึ่กว่ามันไม่เวิร์ก หรือบางดีไซน์เรากลับใช้มันจนชินจนลืมไปแล้วว่ามันไม่เวิร์ก
-
เสื้อยืดสีอะไรที่คนนิยมมากที่สุด และทำไม คือหนึ่งในคำถามที่ดูเหมือนธรรมดาจากผู้ฟังรายการ Design You Don't See แต่กลับมีคำตอบที่น่าสนใจไม่น้อย วันนี้เราพาคำตอบมาให้ทุก ๆ ท่านได้เข้าใจกันแล้วครับ
-
เคยเป็นไหมเวลาเดินทางไปไหนไกล ๆ แล้วรู้สึกว่า ขาไปช้ากว่าขากลับ ทั้ง ๆ ที่ใช้เวลาเดินทางเท่ากัน
เรื่องนี้มีคำตอบ..
หนังสือชื่อ "Time Paradox" ฟิลิป ซิมบาร์โด และ จอห์น บอยด์ บอกว่า ประสบการณ์ของมนุษย์เรากับเวลาเป็นเรื่องไม่ตายตัว เมื่อใดก็ตามที่เรานึกถึงเวลาอยู่เสมอ ๆ เราจะรู้สึกว่ามันนานกว่าปกติ
ถ้าคุณปล่อยให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลไฟล์แล้วมี Progress bar ขึ้นมาบอกว่าเหลืออีก 3 นาที คุณจะชิล ไม่คิดอะไรมาก รอ 3นาทีแล้วกลับมาดูคอมพิวเตอร์อีกครั้ง
แต่ถ้าคอมพิวเตอร์ไม่บอกอะไรคุณเลย มีแต่กราฟฟิครูปวงกลมหมุน ๆ ไปเรื่อย ๆ อย่างไม่สิ้นสุด คุณจะรู้สึกอึดอัด กระวนกระวาย และรู้สึกว่านานกว่าปกติแม้ว่าจะใช้เวลา 3นาทีเท่ากัน
เพราะในแบบที่สอง คุณนึกถึงเวลาบ่อยครั้งกว่าแบบแรก
และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมการนั่งรถขาไปจึงรู้สึกว่านานกว่าขากลับ..
เพราะขาไปคุณมักจะจดจ่อกับสิ่งใหม่ ๆ ที่จะได้เห็น
แต่ในขณะที่ขากลับ..คุณมักจะปล่อยเวลาทิ้งไปจนกว่าจะถึงบ้านนั่นเอง
- Montre plus