Episodes
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/mloZ94p6QyU
“สิ่งที่น่ากลัวที่สุด คือคนที่อ้างว่าตัวเองเป็นคนดี แต่จริงๆ อาจไม่ใช่คนดี”
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้เล่าแนวคิดที่สนใจเรื่อง ‘คนดี’ เป็นพิเศษ คือแนวคิดอย่างจริยศาสตร์คุณธรรม หรือ Virtue Ethics ที่เชื่อว่าความดีนั้นซับซ้อนกว่าการมองทุกอย่างเป็นตัวเลขแบบอรรถประโยชน์นิยม หรือซับซ้อนกว่าการปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักศีลธรรมแบบหน้าที่นิยม
แล้วคนดีจริงๆ ต้องเป็นอย่างไร และเป็นยากแค่ไหน ทำไมเราต้องคุยเรื่อง ‘ความดี’ กันอย่างจริงจังมากขนาดนี้?
ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/tjOTvLZg5Kw
“ทำดีเพราะอยากขึ้นสวรรค์ ไม่ทำชั่วเพราะกลัวตกนรก”
ดูแล้วก็เหมือนเป็นแนวคิดที่ดี เพราะผลลัพธ์คือทุกคนอยากทำดี และไม่มีใครอยากทำชั่ว
แต่ อิมมานูเอล คานต์ นักปรัชญาผู้เชื่อมั่นในแนวคิดแบบ ‘หน้าที่นิยม’ หรือ ‘Deontology’ ขอค้านหัวชนฝา เพราะเขาเชื่อว่าการทำดีต้องมาจาก ‘เจตนาดี’ ที่ไม่หวังผลเท่านั้น!
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้พาไปลงลึกคำว่า ‘เจตนาดี’ ทำไมจึงต่างจากคำว่า ‘ปรารถนาดี’ ทำไมคานต์จึงเชื่อว่าแนวคิดนี้จะทำให้มนุษย์เป็นอิสระ ตรงข้ามกับแนวคิดเชิงศาสนาที่สร้างเงื่อนไขให้คนทำดี คนจึงตกเป็นทาสของเงื่อนไขนั้นแทน แต่แนวคิดของคานต์ก็มีจุดน่าเอ๊ะเช่นกัน แล้วจุดนั้นคืออะไร?
ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/RWZ3LRHWBF8
‘เพื่อประโยชน์สุขส่วนรวม’ คำนี้ใช้ได้ทุกกรณีจริงไหม และถ้าเราต้องเป็นคน ‘เสียสละ’ เพื่อส่วนรวมล่ะ เราจะยังคิดแบบเดิมหรือเปล่า?
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ชวนคุยเรื่องประโยชน์สุขส่วนรวม กับแนวคิด ‘อรรถประโยชน์นิยม’ ที่บอกว่าการกระทำไหนดี-ไม่ดี ให้ดูที่ผลของการกระทำ ถ้าทำแล้วนำมาซึ่งความสุขของคนจำนวนมากที่สุด สิ่งนั้นย่อมดีเสมอ
แต่เป็นแบบนั้นจริงหรือ แล้วทำไมแนวคิดนี้ถึงโหดร้ายและดูประหลาดมากในบางกรณี?
ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/3Lh6iFYPAU4
ทำไมการบอกว่าอะไรดีหรือไม่ดีจึงยาก แล้วเราควรเลือกทางไหนดี?
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ชวนคุยเรื่อง Trolley Problem หรือปัญหารถราง การทดลองทางความคิดเชิงปรัชญา ที่มีสถานการณ์สมมติว่า หากเราเป็นคนขับรถรางแล้วเห็นว่าข้างหน้ามีคน 5 คนอยู่บนราง แต่เราสามารถสับรางเพื่อเปลี่ยนไปอีกเส้นทาง แต่จะทับคน 1 คนแทน เราจะเลือกทางไหน?
จากสถานการณ์สมมตินี้นำมาสู่คำถามสำคัญทางปรัชญาว่า สรุปแล้วความดีคืออะไร เรามีมาตรวัดความดีที่เป็นสากลไหม การกระทำหนึ่งๆ ดีเพราะตัวการกระทำ หรือดีเพราะผลลัพธ์กันแน่ แล้วในชีวิตจริงล่ะ หลักการไหนถึงจะเป็นทางเลือกที่ดีและถูกต้อง?
ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/MrCxF3jrgzo
ทำไมเราถึงรู้สึกหมดไฟ?
เป็นเพราะเราเองที่เหนื่อยล้าเกินไป ไม่แข็งแกร่งมากพอสำหรับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน หรือเป็นเพราะสังคมยุคนี้กำลังเชื้อเชิญให้เราเดินไปสู่กรงขังอันใหม่ที่มีชื่อว่า ‘ความสำเร็จ’ มากเกินควร จนนำเราไปสู่ภาวะของ ‘การหมดไฟ’
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ชวนอ่านหนังสือ The Burnout Society ของนักปรัชญาเยอรมันเชื้อสายเกาหลี ฮันบยองชอล ไปด้วยกัน เพื่อตอบคำถามว่าทำไมสังคมที่ดูเหมือนจะให้เสรีภาพและความเป็นไปได้อย่างไม่สิ้นสุดกลับทำให้ท้ายสุด…
“...ชีวิตของพวกเขาไม่ต่างจากผีตายซาก คือมีชีวิตเกินกว่าที่จะตาย แต่ตายเกินกว่าจะใช้ชีวิต” ฮันบยองชอล
ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
-
“ไม่เป็นไรนะ”
“คุณดีพอแล้ว”
“ไม่ต้องพิสูจน์ตัวเองกับใครอีก”
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ขอปลอบโยนทุกคนด้วยปรัชญาวะบิ ซะบิ และคินสึงิ หนทางรับมือกับการเป็น Perfectionist ด้วยมุมมองที่บอกว่าความไม่สมบูรณ์คือธรรมชาติของชีวิต และชีวิตมีคุณค่าและความงามได้ต่อให้มันไม่สมบูรณ์ พร้อมชวนมองต่อว่าเราจะนำแนวคิดนี้มาปรับใช้กับตัวเองและสังคมได้อย่างไรบ้าง
ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
-
“ยังไม่ดีพอ”
“ยังไม่เก่งพอ”
มีใครเคยถูกคำพูดแบบนี้ทำร้ายอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นตัวเราที่พูดกับตัวเอง หรือเป็นคนอื่นพูดให้เราฟัง
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ขออยู่เป็นเพื่อนคนที่กำลังรู้สึกว่าตัวเองไม่สมบูรณ์แบบ ยังไม่เก่งพอ หรือยังไม่ดีพอ
ความรู้สึกแบบนี้ไม่ผิดโดยตัวมันเอง ถ้าทำให้เราอยากพัฒนาให้ดีขึ้น แต่เพราะอะไรบางครั้งเราจึงถูกความรู้สึกนี้ทำร้าย อีกทั้งมันอาจทำร้ายเรามากกว่าที่เราคิด และหาคำตอบว่า ปรากฏการณ์ Perfectionist ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง เมื่อผู้คนในอดีตอาจไม่เคยโหยหาความสมบูรณ์แบบมากเท่ากับเราในทุกวันนี้
ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/ZIIf9Huk36U
หลังชวนทำความรู้จักกับแนวคิดแบบ Nihilism และ Existentialism กันไปแล้ว
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้อยากแนะนำ ‘Absurdism’ อีกหนึ่งแนวคิดทางปรัชญาที่บอกเราว่า ‘ชีวิตมันเฮงซวย ไร้ความหมาย และฉันจะไม่พยายามหาความหมายอะไรให้มันหรอก’
ผ่านเรื่องราวของซิซีฟัส ชายผู้ถูกเทพเจ้าสาปให้ต้องเข็นหินขึ้นภูเขาทุกวัน
ทำไมซิซีฟัสถึงกลายเป็นผู้ที่ขบถที่สุดในสายตาของ อัลแบร์ต กามูส์ นักคิดนักเขียนเจ้าของรางวัลโนเบล ทำไมซิซีฟัสจึงกลายเป็น ‘Absurd Hero’ และทำไมการใช้ชีวิตแบบซิซีฟัสถึงเป็นการใช้ชีวิตที่มีคุณค่า?
ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/LEOw96ve_AE
ตอนเด็กๆ เราอาจคุ้นกับคำถามว่า “โตขึ้นฝันอยากเป็นอะไร”
โตขึ้นอีกหน่อยส่วนใหญ่เราอาจถูกบอกให้เลือกเส้นทาง เลือกเป้าหมาย สอบเข้าโรงเรียนนี้ เรียนต่อคณะนั้น ทำอาชีพนี้ เก็บเงินให้ได้เท่านี้ แล้วเราก็จะพยายามไปให้ถึง เพื่อสุดท้ายแล้วเราจะมี ‘ชีวิตที่ดี’
แต่มันเป็นแบบนั้นจริงไหม ชีวิตที่ดีต้องเป็นชีวิตที่มีความฝันหรือเป้าหมายเท่านั้นจริงไหม?
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ชวนคุยเรื่องความฝัน เป้าหมาย และความหมายของชีวิต ผ่าน 2 แนวคิดหลักคือ Essentialism และ Nihilism ทำไมท้ายสุดแล้วเราต้องยอมรับว่าชีวิตนั้นไร้ความหมาย และถ้าชีวิตไร้ความหมายจริง แล้วเราจะใช้ชีวิตแบบไหนกันต่อไป?
ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/1aeQ-Oz9Wp4
ตอนเรียน สิ่งที่วัดและประเมินผลเราคือเกรด ตอนทำงาน สิ่งที่วัดและประเมินผลเราอาจเป็น KPI ต่างๆ ที่ต้องทำให้ถึงเป้า จำนวนชิ้นงาน ยอดวิว ยอดไลก์ ยอดเอ็นเกจเมนต์ ยอดขาย ยอดกำไรสุทธิ ฯลฯ
อาจมีบางครั้งที่เราเอา ‘คุณค่า’ ของเราไปผูกติดกับตัวชี้วัดเหล่านี้ จนทำให้เรารู้สึกว่า ถ้า KPI ไม่ถึงเป้า ชีวิตเราก็อาจจะไร้ค่า
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ชวนคุยเรื่อง KPI ตั้งแต่ตัวชี้วัดในการเรียน การทำงาน จนถึงตัวชี้วัดของชีวิตเราเอง เมื่อการมี KPI ไม่ใช่เรื่องไม่ดี แต่เราในฐานะผู้ถูกประเมินจากคนดู จากลูกค้า จากหัวหน้า จากบริษัท จากองค์กร หรือกระทั่งจากตัวเราเอง จะมองเรื่องนี้ในมุมไหนได้บ้าง และอะไรคือ KPI ที่สำคัญสำหรับชีวิตเราจริงๆ?
ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/sUTrebsM47A
จากเอพิโสดก่อนเราทิ้งท้ายไว้ว่า การมีชีวิตที่ดีอาจไม่ใช่แค่เรื่องการทำงานให้หนัก แต่ไปไกลถึงประเภทของงาน นโยบายของรัฐ และเศรษฐกิจของโลก
เอพิโสดนี้ เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น เราอยากชวนมาสำรวจภาพรวมเศรษฐกิจและนโยบายรัฐแบบคร่าวๆ สักนิด เพิ่มความกระจ่างว่า อ๋อ แบบนี้นี่เอง ทำงานหนักแล้วถึงยังไม่รวยสักที
และถ้าเป็นแบบนั้น อย่างน้อยเราจะหาความหมายจากงานที่ทำได้ไหมนะ งานแบบไหนที่จะทำให้ชีวิตเรามีความหมาย และงานแบบไหนที่นอกจากไม่ช่วยให้ชีวิตดีขึ้น อาจจะยิ่งทำให้เราโง่ลงและมีความเป็นมนุษย์น้อยลงด้วย?
ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/gQJr_H1nDso51
ชั่วโมงต่อสัปดาห์คือค่าเฉลี่ยการทำงานของคนไทย ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่สัปดาห์ละ 40-44 ชั่วโมง
สถิติฟ้องว่าเราทำงานหนักแล้ว แล้วเราต้องทำงานหนักอีกแค่ไหน ชีวิตถึงจะดี?
Shortcut ปรัชญา ชวนคุยเรื่อง Work Hard กับ Work-Life Balance ที่เรื่องคุยเยอะจนต้องขอแบ่งเป็น 2 เอพิโสด
เอพิโสดนี้ชวนคุยถึงจุดเริ่มต้นในการสร้างคุณค่าของการทำงานหนัก ทำไมเวลางานจึงพร่าเลือนกับเวลาส่วนตัว และทำไมบางงานต่อให้ทำแทบตายก็อาจไม่ช่วยให้เรามีความสุขหรือมีชีวิตที่ดีขึ้น
ชวนคิด ชวนถาม กับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/kBNQ0mxE8oM
FOMO (Fear of Missing Out) คือการกลัวตกกระแส กลัวพลาดบางสิ่ง กลัวการไม่เป็นที่ยอมรับ กลัวไม่ได้เป็นคนสำคัญ เป็นอาการร่วมของยุคสมัยสำหรับคน Gen Y และ Gen Z
สังคมแบบไหนที่ทำให้เรา FOMO, ทำไมเราจึงเจ็บปวดเพราะ FOMO, อาการ FOMO ที่นำเราไปถึงขั้นการซื้อขาย ‘ตัวตน’ ในโลกออนไลน์เป็นแบบไหน และทำไมนรกจึงคือคนอื่นในความหมายแบบเดียวกับของ ฌ็อง-ปอล ซาร์ตร์ นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ชวนทำความเข้าใจ FOMO ที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตในโลกโซเชียลอย่างแยกไม่ขาด เมื่อเราต่างเจ็บปวดจากการเปรียบเทียบชีวิตกับคนอื่นในโลกโซเชียล และสูญเสียอิสรภาพเพราะเอาตัวเองไปตั้งอยู่บนการยอมรับและความคาดหวังของคนอื่น
ทางออกของเรื่องนี้อยู่ตรงไหน? ชวนคิด ชวนถาม กับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/nYE4JeLfmLs
สโตอิกคืออะไร
ถ้าลองเสิร์ชเราอาจพบข้อความทำนองว่า คือปรัชญาแห่งชีวิตที่ดี ปล่อยวางสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ ใช้ชีวิตเอาชนะอุปสรรค และเป็นตัวเองในแบบที่ดีที่สุด
ทั้งหมดที่กล่าวมาคือหลักสำคัญของแนวคิดแบบสโตอิก แต่กลับมีอีกหลักสำคัญหนึ่งที่ไม่ค่อยถูกพูดถึง หรือพูดถึงแต่ก็เป็นเพียงความหมายแบบแคบเท่านั้น สิ่งนั้นคืออะไร แล้วทำไมจึงถูกละเลยไป
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ชวนทำความรู้จักกับปรัชญาสโตอิกแบบลงลึก และชวนถกต่อว่าทำไมสโตอิกในสังคมเราจึงถูกตีความเป็นปรัชญาที่สนใจเฉพาะเรื่องของตัวเองเพียงอย่างเดียว
ชวนคิด ชวนถาม กับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/pDC30JNnMmA
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ต่อเนื่องจากเอพิโสดที่แล้ว อยู่กับ ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับคำถามที่ค้างไว้ว่า แล้วชาติเกิดขึ้นเมื่อไร
พ่วงกับคำถามสำคัญว่าทำไมชาติจึงทรงพลัง รวมถึงแง่มุมความรู้สึก Sense of Belonging หรือความรู้สึกยึดโยงของมนุษย์ที่อาจทำให้เราไม่อาจไม่มี ‘ชาติ’
ชวนคิด ชวนถาม กับ ธงชัย วินิจจะกูล, ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/W8Gz_eaeZFg
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ชวนแขกพิเศษ ธงชัย วินิจจะกูล นักประวัติศาสตร์ผู้เขียนหนังสือ ‘Siam Mapped กำเนิดสยามจากแผนที่’ มาคุยเรื่อง ‘ชาติ’ แบบครบรส
‘ชาติ’ สร้างปัญหาแบบไหน นิยามของชาติเป็นอะไรได้บ้าง ทำไมชาติอาจไม่ใช่บ้าน และทำไมพอเป็นเรื่องชาติ ความรู้สึกรักหรือไม่รักที่ควรเป็นของเรากลับไม่ใช่ของเราอีกต่อไป?
ชวนคิด ชวนถาม กับ ธงชัย วินิจจะกูล, ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/hDrFOlXs08U
เวลาถูกถามว่าเราคือใคร เรามักตอบด้วยชื่อ แต่จริงๆ ‘ชื่อ’ ไม่ใช่เรา เพราะคนชื่อเหมือนกับเราเป๊ะๆ ก็เป็นคนละคนกับเรา หรือถึงเราเปลี่ยนชื่อ เราก็ยังรู้สึกว่าเราเป็นคนเดิม
ถ้าอย่างนั้น ‘ตัวตน’ ของเราคืออะไรกันแน่?
ในทางพุทธศาสนาอาจสรุปได้ทันทีว่า ‘ตัวตนไม่มีจริง’ แต่ถ้าไม่มีจริง แล้วอะไรคือสิ่งที่ทำให้เราต่างจากคนอื่น
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ คุยเรื่องตัวตนผ่านแนวคิดของนักปรัชญาอย่าง เดวิด ฮิวม์ และ จอห์น ล็อก รวมถึงชวนคิดต่อว่า แล้วใครบ้างมีผลต่อการสร้างตัวตนของเรา
ชวนคิด ชวนถาม กับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด youtu.be/AUKnkAw2GZs
*Trigger Warning เอพิโสดนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับความตายและการจบชีวิต โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม
ถ้าความตายต้องมาถึงในสักวัน เป็นไปได้แค่ไหนที่เราจะเลือกฉากจบให้กับชีวิตของตัวเอง?
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ชวนคิดเกี่ยวกับฉากสุดท้ายของชีวิต ทั้งการการุณยฆาต การจบชีวิตเพื่อสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเอง และความรู้สึกของการอยากลาออกจากชีวิต รวมถึงมุมมองสำคัญสำหรับการสร้างคุณค่าใหม่ให้ชีวิต ในวันที่เราอาจมองไม่เห็นเหตุผลของการมีชีวิตอยู่
ชวนคิด ชวนถาม ชวนพักใจ กับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/t0Cd3akpFzw
ทุกคนต้องตายในวันหนึ่ง เรารู้แต่ก็กลัวที่จะตาย
‘ยังไม่ถึงวันของฉันหรอก’ คิดแบบนั้น แล้วเราก็เบือนหน้าหนีจากความตาย
เราจึงไม่ค่อยได้ทบทวนชีวิตในมุมของความตายเท่าไรนัก และการจินตนาการถึง ‘ความตายที่ดี’ บนเตียงอันเงียบสงบที่รายล้อมด้วยคนที่พร้อมดูแลเราจนถึงลมหายใจสุดท้าย ก็ดูเป็นเรื่องไกลเกินเอื้อมในหลายกรณี
เราอาจผลักความตายให้ไกลตัว แต่ลึกๆ เราก็รู้ว่ามันใกล้เพียงหนึ่งลมหายใจ
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ชวนคุยเรื่องความตาย ทั้งในระดับส่วนตัวและระดับสาธารณะ ทำไมเราจึงกลัวตาย ความตายสวยงามจริงไหม การคิดเกี่ยวกับความตายให้อะไรเรา แล้วความตายที่ดีเป็นอย่างไร?
ชวนคิด ชวนถาม กับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
- Montre plus