エピソード
-
สวัสดีค่ะ วันนี้มาพบกับ คุณหมอ ณัฐพล ลาภเจริญกิจ ในเรื่องของเครื่อง Thermage กับ Ulthera ซึ่งคุณหมอณัฐพลเป็น Medical director และ Founder ของ Infiniz Clinic ซึ่งเป็นคลินิก อันดับ 1 ปรับรูปหน้าโดยไม่ศัลยกรรม
Ulthera
เครื่อง Ulthera จะใช้ลักษณะของการยกกระชับ โดยการใช้คลื่นเสียง โดยจะใช้หัวทิป หรือว่าตัว Transducer ในการที่จะส่องลงไปที่ผิวหน้าคนไข้ในขณะทำและสามารถที่จะสแกนผิวหน้าคนไข้ ลงไปถึงตำแหน่งที่เราต้องการอย่างแท้จริง แล้วก็ต้องอาศัยประสบการณ์ของแพทย์ ในการที่จะส่องวิเคราะห์ชั้นผิว และเราสามารถจะมองเห็นชั้นผิวได้ด้วยในขณะทำ เหมือนกับคุณหมอที่ทำ Ultrasound ดูอวัยวะหรือเด็กอ่อนในครรภ์
Thermage
เครื่อง Thermage จะใช้เทคโนโลยีคลื่นวิทยุ หรือว่า Radio Frequency ที่มีพลังงานสูงที่สุดในกลุ่มของคลื่นวิทยุทั้งหมด ส่งผ่านความร้อน โดยจะถูกโฟกัสลงไปที่ผิวชั้นล่างอย่างเดียว พร้อมกับป้องกันผิวส่วนบนให้เย็น เพื่อไม่ให้ได้รับผลข้างเคียงจากความร้อน ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของเจ้าตัว Thermage
ผิวของคนเรามีทั้งหมดประมาณ 4 ชั้น
1.) ผิวส่วนบนหรือผิวชั้นขี้ไคล
2.) ผิวส่วนล่าง เป็นที่อยู่ของโปรตีน ในกลุ่มของคอลลาเจน ผิวชั้นนี้จะเป็นจุดที่ส่งผลต่อความอ่อนเยาว์, ความนุ่มนวล
3.) ชั้นไขมัน
4.) ชั้นกล้ามเนื้อ
Q: ทั้งสองเครื่องนี้จัดการกับผิวเราในระดับของความลึกเดียวกันเลยไหม ?
A: เครื่อง Ulthera จะช่วยในเรื่องของการกระชับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ที่เรียกว่าชั้น SMAS ซึ่งมีหน้าที่ พยุงโครงหน้าทั้งหมดของเรา ให้มีสภาพที่ตึงกระชับอยู่ ชั้น SMAS จะเป็นเนื้อเยื่อบาง ๆ อยู่ระหว่างชั้นไขมันกับชั้นกล้ามเนื้อ เราสามารถใช้ Ulthera เข้าไปแก้ไข้ให้มีความตึงกระชับได้ แต่ว่าตัว Thermage จะส่งคลื่นวิทยุลงไป ที่ชั้นไขมัน แล้วก็ชั้นคอลลาเจนส่วนบน ทั้งสองเทคโนโลยีนี้เหมือนกันที่ช่วยในเรื่องของการยกกระชับเหมือนกัน แต่ว่ามันไปทำงานคนละชั้นกัน เพราะฉะนั้น ถ้าทำงานประสานกันก็จะทำให้ผลลัพธ์ดีขึ้นนะ
Q: หน้าของใครเหมาะกับเครื่องไหน
A: Ulthera จะเหมาะกับคนที่ผิวค่อนข้างบาง หรือคนที่ผิวมีชั้นไขมันค่อนข้างน้อยอยู่แล้ว ตัวเครื่องจะทำงานได้ค่อนข้างดีและก็เห็นผลได้ค่อนข้างชัดเจน
Thermage จะเหมาะกันคนที่เนื้อเยอะนิดหนึ่ง เพราะใช้คลื่นวิทยุลงไปจัดการกับชั้นไขมัน ฉะนั้นแน่นอนว่าคนที่มีไขมันเยอะ ก็จะได้ผลดีกับการรักษาด้วย
Q: อยากทำเรื่องถุงใต้ตา สองเครื่องนี้ช่วยได้ไหม ?
A: ถ้าเกิดเคสไหนที่ถุงใต้ตามันเยอะมากจริง ๆ แน่นอนว่าประสิทธิภาพการรักษา อาจจะช่วยได้ประมาณ 30% - 50% ถ้าเกิดจะเอาให้หายเลย ก็อาจจะต้องทำศัลยกรรม ในกรณีที่ถุงใต้ตามันหย่อนในระดับ ที่เราสามารถที่จะแก้ไขด้วยการใช้สองเครื่องนี้ ก็สามารถทำได้เหมือนกัน ปกติจะใช้ตัว Thermage เข้าไป เพื่อทำให้ถุงใต้ตากระชับเข้าไปได้ดีขึ้น หลังจากนั้นเราอาจจะใช้ตัว Ulthera เก็บงาน ในส่วนของกล้ามเนื้อ ให้มันกระชับเข้าไปอีกระดับหนึ่ง ขึ้นอยู่กับแต่ละคน
============================
บทสัมภาษณ์ คุณหมอ ณัฐพล ลาภเจริญกิจ
Medical director และ Founder ของ Infiniz Clinic
แอปพลิเคชัน “Chiiwii ปรึกษาหมอผ่านแอป” http://onelink.to/chiiwii
============================
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม วิธีการใช้งาน สอบถามนัดแพทย์ ติดตามโปรโมชัน
LineOA : https://line.me/R/ti/p/%40myi8448h
Facebook : https://www.facebook.com/Chiiwiidoctor
Instagram : https://www.instagram.com/chiiwiidoctor
Twitter : https://twitter.com/ChiiwiiDoctor
Chiiwii website : https://www.chiiwii.com/
#Chiiwii #ปรึกษาหมอที่ใช่จากที่ไหนก็ได้ #แอปมือถือ #onlinedoctor #Telemedicine #Telehealth #หาหมอ #ชีวีใช้ใจดูแลใจ #คุยกับหมอชีวีได้ #ไม่ต้องรอให้ป่วย #Thermage #Ulthera #ดูแลผิวหน้า
-
วันนี้พวกเรามาคุยกันเรื่องการวางแผนครอบครัวเพื่ออนาคตกับ พญ.ศศวิมล ปรีชาพรกุล สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้มีบุตรยาก แพทย์ที่ปรึกษาประจำแอปพลิเคชัน Chiiwii
⚠️ กฎหมายอุ้มบุญ ⚠️
การแช่แข็งไข่ เพื่อจะนำไปใช้ในอนาคต สามารถทำได้โดยที่ยังไม่ต้องแต่งงาน แต่เมื่อเราอยากจะผสมไข่ของเรา เราจำเป็นที่จะต้องนำทะเบียนสมรสมาให้คุณหมอ (เช่นเดียวกับการทำ IVF)
⚠️ การแช่แข็งไข่ไม่ใช้การการันตีแต่เป็นการเพิ่มโอกาส ในการเป็นแม่ ⚠️
⛔️ ข้อห้าม ⛔️
1.) มีโรคที่เสี่ยงอันตรายต่อการให้ฮอร์โมน เช่น มะเร็งที่เกี่ยวกับนรีเวช
2.) กลุ่มที่มีโรคทางอายุรกรรม แบบรุนแรง
3.) กลุ่มโรคที่ ไม่สามารถฉีดยาสลบ หรือดมยาสลบ
บุคคลใดบ้างที่เข้าสู่การพิจารณาว่าควรจะแช่แข็งไข่ได้
1.) คนที่ยังไม่ได้แต่งงาน แต่มีความตั้งใจในชีวิตว่าวันหนึ่งจะเป็นคุณแม่
2.) กลุ่มคนไข้ที่มีโรค เช่น กลุ่มโรค chocolate cyst บางคนต้องตัดรังไข่ หรือต้องกินฮอร์โมน ที่ทำให้ไข่ไม่โตอีกต่อไป เราจึงเอาไข่ที่มีอยู่มาเก็บไว้ก่อน และก็อีกกลุ่มหนึ่ง ก็คือกลุ่มที่เป็นมะเร็ง ที่จะต้องให้เคมีบำบัด รังสีรักษา และอาจจะมีผลกับไข่ ทำให้จำนวนไข่ในรังไข่ลดลง
3.) กลุ่มคนที่จะทำการข้ามเพศแต่เขาอยากจะรักษาโอกาสที่จะมีลูกด้วยไข่ของตัวเอง
Q: ช่วงอายุที่แนะนำสำหรับการแช่แข็งไข่
A: อายุ 20 - 30 ต้น ๆ ถือว่าดีที่สุด พอหลัง 32 ปีไปแล้วคุณภาพ ไข่จะค่อย ๆ ลดลง มีแนวโน้มที่จะมีความผิดปกติของโครโมโซมมากขึ้น อายุยิ่งน้อย ยิ่งมีโอกาสได้ไข่คุณภาพสูงกว่าเมื่อเราอายุมากขึ้น
Q: อัตราความสำเร็จ
A: ขึ้นอยู่กับอายุและจำนวน ถ้าเรายิ่งอายุมาก เราก็ต้องใช้ไข่มากขึ้น เพราะโอกาสมีโครโมโซมผิดปกติมากขึ้น โดยเราอาจจะต้องมีการเก็บไข่มากกว่า 1 รอบ อัตราการรอดของไข่ ปกติหลังจากแช่แข็งไปแล้ว อยู่ที่ประมาณ 80% - 90% แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความชำนาญของห้องแล็บแต่ละที่ แต่ไม่ควรต่ำกว่า 80% ฉะนั้นแปลว่าถ้ามีไข่ 20 ใบ เอามาละลายแล้วเหลือ 18 ใบ หลังจากที่ผสมกับสเปิร์ม อัตราผสมปกติก็คือ 80% ได้ตัวอ่อนออกมา 14 ตัว จะต้องเลี้ยงไปเพื่อให้ถึงระยะที่ต้องฝังตัวเรียกว่า blastocyst ตัวอ่อนจะหายไปอีกครึ่งหนึ่ง เหลือ 7 ตัว แล้วก็ควรตรวจโครโมโซม เพราะว่าตัวอ่อนส่วนใหญ่จะผิดปกติ ฉะนั้นจาก 7 ตัว ถ้าคุณอายุ 30 ตอนที่คุณเก็บไข่ แปลว่าจาก 7 ตัวจะเหลือตัวอ่อนประมาณ 4 ตัว แล้วก็ อัตราการฝังตัวประมาณ 50% - 60% แปลว่าคุณมีโอกาสมีลูก 2 คน ถึงมันจะดูเยอะ แต่ว่าเป็นข้อมูลที่คนไข้ควรจะต้องได้รับทราบก่อน
Q: ขั้นตอนกระตุ้นไข่ทำยังไง ?
A: ถ้าไม่นับส่วนที่ ปรึกษาหมอและประเมิน ก็จะใช้เวลา ช่วงเตรียมตัวประมาณ 1 เดือน แล้วก็ช่วงกระตุ้นไข่อีกประมาณครึ่งเดือน โดยทั่วไปก็จะมีช่วง Suppress หมายความว่าช่วงเตรียมคนไข้ คือให้ฮอร์โมน เพื่อให้ไข่ settle อยู่ในระยะเดียวกัน พอช่วงกระตุ้นไข่ จะฉีดยาทุกวัน ทั้งหมดประมาณ 8 - 12 วันขึ้นอยู่กับแต่ละคนระหว่างนี้ก็จะมี follow up และดูแลว่ามันจะต้องไม่เกิดการ cancel ขึ้น ดูภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ แล้วก็เก็บไข่ ตอนเก็บไข่ก็ทำในห้องผ่าตัด ระยะเวลาตั้งแต่ที่เริ่มกระตุ้นจนถึงเก็บไข่ จะอยู่ที่ประมาณ 2 สัปดาห์ นับเป็น 1 รอบ ถ้าอยากจะกระตุ้นใหม่แนะนำให้พัก 2 รอบประจำเดือน ก่อนที่จะกลับเข้ามากระตุ้นอีกครั้งหนึ่ง เพราะฉะนั้นคนที่วางแผนว่าจะทำ 1 รอบ คือ 3 เดือน เพื่อสุขภาพของคนไข้
Q: ราคาของการเก็บไข่ ?
A: โดยทั่วไปมันจะอยู่หลักแสน รวมทั้งหมดเลย ตั้งแต่ ค่าหมอ, ค่า Investigate, ค่าเจาะเลือด ค่ายา, ค่า ultrasound, ค่าเก็บไข่ในห้องผ่าตัดออกมา เลขกลม ๆ ไม่รวมค่าแช่แข็งรายปี จะอยู่ประมาณ 90,000 - 120,000 ซึ่งอันนี้มันบวกลบ 20% - 30% ขึ้นกับสถานที่ ที่ทำ, ยาที่ใช้, ความชำนาญของแพทย์
Q: ค่าเก็บรักษาแช่แข็ง ?
A: ส่วนใหญ่จะเป็นหลักหมื่นเช่น 5 ปี 40,000 บาทขึ้นอยู่กันสถานที่
Q: ภาวะแทรกซ้อนจากการกระตุ้นไข่
A: เนื่องจากมันเป็นโปรแกรมแช่แข็งไข่ พอเราเก็บไข่ แล้วเราจบ ส่วนใหญ่พวก Hyperstimulation จะไม่เกิด ในยุคนี้เทคโนโลยีดีขึ้นมาก ทำให้การเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังเก็บไข่ลดลง มีภาวะแทรกซ้อนน้อยลง
============================
บทสัมภาษณ์ พญ.ศศวิมล ปรีชาพรกุล สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้มีบุตรยาก
แอปพลิเคชัน “Chiiwii ปรึกษาหมอผ่านแอป” http://onelink.to/chiiwii
============================
-
エピソードを見逃しましたか?
-
ไขข้อข้องใจเรื่องวัคซีนโควิดกับ อาจารย์ นพ.ณัฐพล พฤทธิ์พงศ์พันธุ์ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ ประจำโรงพยาบาลกรุงเทพพิษณุโลก อาจารย์แพทย์ ที่โรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์
🧪 หลักการผลิตวัคซีน ตอนนี้จะมีอยู่ 4 เทคโนโลยีหลัก ๆ
1.) ใช้ไวรัสที่ยังมีชีวิตทำให้อ่อนฤทธิ์ลง
2.) วัคซีนที่ทำจากตัวไวรัสที่ตายแล้ว
3.) ใช้ mRNA หรือว่าสารพันธุกรรมที่ใช้ในการสร้างโปรตีนผิวของไวรัส
4.) เป็น virus vector คือการเอาสารพันธุกรรม มาใส่ใน vector ที่ไม่ทำอันตรายต่อคน
⛔️ คนที่ไม่ควรฉีดวัคซีน ⛔️
คนที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่ดี ภูมิคุ้มกันบกพร่อง คนที่กินยากดภูมิต้านทาน
เป็นต้นQ: ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อความแม่นยำของ vaccine efficacy ?
A: vaccine efficacy คืออัตราส่วนของการเกิดโรคในคนที่ฉีดวัคซีน เพื่อดูว่าวัคซีน
สามารถ
ป้องกันการเกิดโรคได้มากแค่ไหน ซึ่งมีปัจจัยที่เป็นตัวแปรในการวัดผลค่อนข้าง
หลากหลาย เช่น ในพื้นที่นั้นๆ มีการระบาดเยอะแค่ไหน, พฤติกรรมของคน, วัฒนธรรมของคน ฯลฯ เพราะฉะนั้น vaccine efficacy การวัด การแปรผลเทียบกันในแต่ละพื้นที่จะค่อนข้างยาก บอกได้เพียงคร่าว ๆ เท่านั้นQ: อาการจะแย่ลงไหม ถ้าฉีดวัคซีนขณะติดเชื้ออยู่ ?
A: ในส่วนนี้ยังไม่มีข้อมูลงานวิจัยออกมา แต่ในความเห็นของ อาจารย์ นพ.ณัฐพล พฤทธิ์พงศ์พันธุ์ คิดว่าน่าจะไม่เกี่ยวกัน
Q: อายุต่ำกว่า 18 ปี ฉีดวัคซีนได้ไหม ?
A: ยังไม่มีการทดลองฉีดวัคซีน
ในคนอายุ
น้อยกว่า 18 ปี ตอนนี้จึงแนะนำให้ฉีดในคนที่อายุ 18 ปี ขึ้นไปเท่านั้นQ: ประสิทธิภาพของวัคซีน Sinovac กับ Astrazeneca เป็นอย่างไร? ทำไมไทยถึงไม่ใช้ Pfizer กับ Moderna ?
A: เราไม่ทราบข้อมูล
ของ Sinovac
มากนัก แต่ของ AstraZeneca มีการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ ที่เป็นมาตรฐานแล้ว หลักในการเลือกวัคซีนของกรมควบคุมโรค 1.)
ยึดเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก ซึ่ง
ทั้งสองเจ้านี้เป็นเทคโนโลยีการผลิตที่เราคุ้นเคย
วางใจในเรื่องความปลอดภัยได้มากกว่า แต่ของ Pfizer กับ Moderna จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ ยังไม่มั่นใจเรื่องความปลอดภัย 2.) เรื่องราคา AstraZeneca ผลิตวัคซีนให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงได้Q: เป็นโรคเกี่ยวกับไทรอยด์ ฉีดวัคซีนได้ไหม ?
A: โรคที่ไม่เกี่ยวกับปัญหาภูมิคุ้มกัน เช่น ไทรอยด์, เบาหวาน, ความดัน สามารถฉีดวัคซีนได้ตามปกติ Q: วัคซีน Sinovac เป็นวัคซีนเชื้อตาย มีความปลอดภัยสูงจริงหรือไม่ A: เรามีข้อมูล
งานวิจัย
เกี่ยวกับ
Sinovac
ไม่มากนัก แต่ไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรงอะไร และตามหลักการก็ควรจะเหมือนกับวัคซีนเชื้อตายตัวอื่น ๆ คือสามารถที่จะใช้ได้อย่างปลอดภัยQ: อายุ 60 ปีขึ้นไป ฉีดวัคซีนปลอดภัยไหม ? ผลค้างเคียงมีอะไรบ้าง ?
A: การทำการวิจัยหรือเก็บข้อมูลของ Sinovac ในอายุที่มากกว่า 60 ปียังมีไม่มากพอ จึงแนะนำว่าควรจะฉีดในผู้มีอายุต่ำกว่า 60 ปี แต่ในสถานะการณ์ที่เราเลือกไม่ได้จริง ๆ อาจารย์ นพ.ณัฐพล พฤทธิ์พงศ์พันธุ์ ก็ยังแนะนำว่าดีกว่าไม่ฉีด ผลข้างเคียงที่พบบ่อยไม่ว่าจะเป็น AstraZeneca หรือว่า Sinovac คือ อาการปวดบวมบริเวณที่ฉีด อาจจะมีไข้ต่ำ ๆ มีการปวดเมื่อยตามตัวได้
Q: เป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำ ฉีดวัคซีนได้ไหม ?
A: ถ้าเป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำ แต่ไม่ได้กินยากดภูมิเลย สามารถ
ฉีดวัคซีนทั้ง 2 ยี่ห้อได้============================
บทสัมภาษณ์ นพ.ณัฐพล พฤทธิ์พงศ์พันธุ์ อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคติดเชื้อ แอปพลิเคชัน “Chiiwii ปรึกษา
หมอผ่านแอป” http://onelink.to/chiiwii============================
-
เบื่อมั้ย❓ ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ทุกวันแต่ #แพ้แอลกอฮอล์ 💦 มือแห้ง ผิวแตก มือเหี่ยว ✨พบกับนวัตกรรมใหม่ล่าสุดของเจลล้างมือใน LIVE EP.51 "ถุงมือล่องหน ป้องกันคุณจาก COVID19 และ RSV ได้ยาวนานถึง 12 ชั่วโมง" กับ ภก. ธนาคาร ทำนุราศี ในวันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคมนี้ เวลา 9.00 น. 🛡 นวัตกรรมใหม่ล่าสุดของเจลล้างมือ ที่่มี Thin film Technology เป็นเหมือน #ถุงมือล่องหน ทำหน้าที่เคลือบมือ ปกป้องคุณและเด็กๆ จากเชื้อโรค COVID-19*, RVS** และเชื้อก่อโรคมือ เท้า ปาก* ได้นานถึง 12 ชั่วโมง 🤩 นวัตกรรมสุดเจ๋ง ที่การันตีด้วยรางวัล Silver Medal และ Canadian Special Awards จากงานประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ จากประเทศแคนาดา 🥇
*ผลการทดสอบจาก คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
**ผลการทดสอบจาก ภาควิชาชีวเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโรคติดเชื้อ แบบเป็นส่วนตัวเพิ่มเติมได้ที่ http://onelink.to/7um4su -
เตรียมคำถามเกี่ยวกับ #วัคซีนโควิด ไว้ให้พร้อม พบกับ นพ.ณัฐพล พฤทธิ์พงศ์พันธุ์ อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคติดเชื้อ ประจำแอป Chiiwii เลยค่าา
หากต้องการปรึกษา นพ.ณัฐพล พฤทธิ์พงศ์พันธุ์
ผ่านแอป "Chiiwii ปรึกษาหมอออนไลน์ " คลิก http://onelink.to/tm255k -
ปีวัวทอง เป็นปีแห่งความมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ 60 ปีจะมีวนมาสักครั้ง อย่าพลาดที่จะมีทายาทในปีนี้นะคะ
ใครสงสัยว่าวิธีธรรมชาตินับวันยังไงให้เป๊ะ ถ้าพยามแล้วไม่ติด คิดไม่ตกว่ามี options อะไรอีกบ้าง เข้ามาซักถามข้อข้องใจ กับ พญ.อัญชุลี พฤตฒิวรนันท์
สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้มีบุตรยาก ประจำแอป Chiiwii ได้เลยค่าถ้าต้องการปรึกษาพญ.อัญชุลี พฤตฒิวรนันท์
สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านมีบุตรยากแบบเป็นส่วนตัว
คลิก "Chiiwii ปรึกษาหมอออนไลน์ " http://onelink.to/yc4q29 -
ชีวีคือใคร
หมอชีวีมาจากไหน
คลิกเพื่อปรึกษาหมออย่างเป็นส่วนตัว http://onelink.to/chiiwii