エピソード

  • เคยเป็นกันรึเปล่าที่เมื่อไปเดินเล่นที่ห้างสรรพสินค้าแล้วมีอาการอยากซื้อ ของมันต้องมี เมื่อเห็นข้าวของตามห้างร้าน โดยเฉพาะเมื่อไปเดินเล่นตามย่านช้อปปิ้งหรือห้างสรรพสินค้าที่มักออกแบบร้านให้ล้อมรอบไปด้วยหน้าต่าง หรือการดีไซน์เพื่อให้สะดวกต่อการ window shopping 
    .
    แม้ว่าโลกของเทคโนโลยีจะพัฒนาไปไกล โดยเฉพาะระบบออนไลน์ที่ช่วยให้เราช้อปปิ้งสินค้าได้ง่ายๆ ไม่ต้องไปถึงหน้าร้าน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าพื้นที่กายภาพเองยังคงมีอิทธิพลและส่งผลต่อผู้คนอย่างมีนัย ยิ่งเมื่อเป็นห้างร้านที่ถูกออกแบบให้เป็นกระจกล้วนก็ยิ่งกระตุ้นความต้องการครอบครองสินค้านั้น และนอกเหนือไปจากกระตุ้นให้เกิดการซื้อ ด้านหนึ่งยังส่งผลต่อเศรษฐกิจและธุรกิจในเมืองอีกด้วย 
    .
    การดีไซน์เพื่อให้สะดวกต่อการ window shopping นั้นมีรายละเอียดยังไง ห้างร้านจะต้องดีไซน์แบบไหนเพื่อให้เกิดการซื้อ นอกจากการกระตุ้นให้ผู้คนสนใจสินค้าและอาจเกิดการซื้อ การออกแบบร้านเช่นนี้ดีกับธุรกิจเมืองยังไง ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) รอไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.3 ตอนนี้

  • น้ำมันทรัฟเฟิลที่เห็นกันในปัจจุบันอาจไม่ได้สกัดจากเห็ดทรัฟเฟิลจริงๆ ไซรัปตามชั้นวางในซูเปอร์มาร์เก็ตที่เขียนว่าน้ำเชื่อมเมเปิล 100% อาจเป็นของปลอม หรือจะพาเมซานชีสที่โรยบนสปาเกตตีสุดที่รักอาจเป็นชีสที่ทำจากเยื่อไม้ ที่ว่ามาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของอาหารปลอมในอุตสาหกรรมอาหารเท่านั้น
    .
    เหตุผลที่มนุษย์ต้องคิดค้นอาหารปลอมขึ้นมา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะราคาที่แพงเกินจริง แต่นอกเหนือจากนั้นคือเรื่องความไม่มั่นคงทางอาหารที่ส่งผลให้ทรัพยากรทางการกินของมนุษย์เรามีข้อจำกัด ซึ่งมีผลต่อราคาอาหารอย่างมีนัย อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะคิดว่าสิ่งที่เรียกว่าป็นของปลอมนี้คือความไม่ถูกต้อง และบริษัทผู้อยู่เบื้องหลังผลิตสินค้ามาหลอกลวงผู้บริโภค แต่อันที่จริงแล้วมันคือของถูกกฎหมาย
    .
    ว่าแต่ว่าอาหารเหล่านี้มีเบื้องหลังการผลิตยังไง นอกจากเห็ดทรัฟเฟิล ไซรัปเมเปิล พาเมซานชีส มีผลิตภัณฑ์ไหนอีกบ้างที่เป็นของปลอม มณีเนตร วรชนะนันท์ จากรายการ Bon Appétit EP.95 จะพาไปเจาะลึก 11 อาหารใกล้ตัวที่ถูกปลอมมากที่สุดในโลก

  • エピソードを見逃しましたか?

    フィードを更新するにはここをクリックしてください。

  • หากคุณเป็นคนที่เติบโตมากับการ์ตูนยุคญี่ปุ่นคงคุ้นหน้าคุ้นตากันดีกับโปเกม่อน หรือเจ้าการ์ตูนตัวสีเหลืองหูยาวจากแดนอาทิตย์อุทัยที่เป็นขวัญใจเด็กๆ ยุคนั้น นอกจากเป็นตัวการ์ตูนในภาพยนตร์ โปเกม่อนยังมักไปปรากฏอยู่ตามสินค้าต่างๆ แม้กระทั่งในเกมที่มี Pokemon GO ถือกำเนิดขึ้นในปี 2016
    .
    สำหรับโปเกม่อนและเกม Pokemon GO ไม่ได้ทำหน้าที่่แค่สร้างความสนุกสนานให้กับเด็กๆ เท่านั้น แต่อีกด้านหนึ่ง โดยเฉพาะเกม Pokemon GO ที่ผูกกับระบบ AR. และ GPS นี้ยังมีส่วนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเมืองด้วยอีกเช่นกัน และผู้เล่นเองยังได้เดินสำรวจเพื่อทำความรู้จักกับเมืองผ่านเกมนี้ได้
    .
    เกมในสมาร์ตโฟนสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับเมืองมากแค่ไหน เกม Pokémon Go มีวิธีออกแบบเกมยังไงให้คนอยากเล่นและอยากออกไปสำรวจเมืองผ่านเกม รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) รอไขคำตอบแล้วในรายการ Podcast Capital City EP.2 ตอนนี้

  • ถ้าอยากกินลาบอีสานสักจาน ซดแกงอ่อมสักถ้วย คงไม่ยากที่จะหาร้านอาหารอีสานเพื่อไปลิ้มรสเมนูที่ว่ามา แต่ถ้าอยากกินลาบจิ้นคั่ว แกงฮังเล จิ้นส้ม หรือเมนูอาหารเหนือ จะมีเพียงไม่กี่ร้านที่ประชากรเมืองกรุงจะคิดถึง ด้วยอาหารเหนือยังไม่แพร่หลายเช่นอาหารอีสาน ‘กำกิ๋นสุก‘ ร้านอาหารเหนือจากเมืองแพร่จึงก่อตัวด้วยอยากส่งต่ออาหารเหนือรสดั้งเดิมให้คนกรุงได้ลิ้มลอง
    .
    หลายคนคงอาจเคยเป็นป้ายร้านอาหารอีสานที่มักเขียนว่า ลาบยโส, ลาบสารคาม, ลาบอุดร ร้านลาบอีสานที่ที่มักระบุตำแหน่งที่มา ในขณะที่ร้านอาหารเหนือไม่ค่อยมีแบบนั้นให้เห็น ความแตกต่างของ ‘กำกิ๋นสุก‘ จึงเป็นการที่ร้านแห่งนี้ระบุอย่างชัดเจนว่าเป็นร้านอาหารเหนือสไตล์แพร่ แต่ที่มากกว่าการบอกว่ารกรากร้านแห่งนี้มาจากที่ไหน บิวรังสรรค์ ปัญญาใจ ผู้เป็นเจ้าของร้านยังเข้าครัวทำกับข้าวกับแม่มาตั้งแต่เด็ก และกำกิ๋นสุกเองก็เป็นสูตรอาหารที่มาจากร้านอาหารเหนือของแม่ด้วย 
    .
    นอกจากสตอรี่ข้างต้นที่ว่ามา ความน่าสนใจอีกอย่างคือ ‘กำกิ๋นสุก’ ทำธุรกิจร้านอาหารเหนือจากแพร่นี้ยังไง เดย์วันของร้านแห่งนี้มีที่มาที่ไปแบบไหน และชื่อร้าน ‘กำกิ๋นสุก’ นี้แปลว่าอะไร รายการ Podcast Bon Appetit ตอนนี้ขอชวนลัดเลาะหลังครัวไปสนทนากับ บิว-รังสรรค์ ปัญญาใจ และ บิ๋ม-กัญญุตา มิ่งลดาพร คู่รักเจ้าของร้านอาหารเหนือแห่งนี้

  • อากาศร้อนแดดแผดเผาแบบนี้นอนอยู่บ้านดีกว่าไหม 
    ตอบอย่างตรงไปตรงมา การหลบแดดอยู่ที่บ้านอาจ ‘ไม่ดี’ นัก ไม่ดีแรกคือเรื่องของสุขภาวะ เมื่อร่างกยเราไม่ได้รับการขยับเขยื้อน อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ไม่ดีต่อมาคือเรื่องของเศรษฐกิจ หากเราไม่ออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน เศรษฐกิจและธุรกิจในเมืองอาจไม่รับผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญ
    หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า ‘เมืองเดินได้ เศรษฐกิจเดินดี’ นั่นก็เพราะการออกแบบเมืองให้เดินได้ หรือพลเมืองออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านได้นั้น ด้านหนึ่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของเมือง ไม่ว่าอากาศจะร้อนหรือหนาวผู้คนยังคงออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านเพื่อจับจ่ายใช้สอยได้
    ว่าแต่เมืองที่ไม่ว่าจะร้อนหรือหนาวก็ใช้ชีวิตนอกบ้านเหล่านี้ถูกออกแบบยังไง ทางเชื่อมทางลอดระหว่างอาคารทำให้พ่อค้าแม่ค้าขายดีได้ยังไง เพราะเมืองรึเปล่าที่ทำให้เราไม่อยากออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) รอไขคำตอบแล้วในรายการ Podcast Capital City EP.1 ตอนนี้

  • รายการที่จะเล่าเรื่องการออกแบบพื้นที่อย่างสร้างสรรค์ ตั้งแต่ระดับเมืองจนถึงโต๊ะทำงาน ที่จะทำให้คนทำธุรกิจ คนทำงาน จนถึงผู้บริโภคมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
    ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum)

  • เคยสงสัยกันหรือเปล่าว่าเบื้องหลังการรังสรรค์อาหารนับพันจานในแต่ละวันของสายการบินต่างๆ นั้นมีกระบวนการยังไง หลายคนคงคิดว่าอาหารแต่ละจานที่สายการบินเสิร์ฟให้ผู้โดยสายมีกระบวนการทำเหมือนกับอาหารทั่วไป แต่ความจริงนั้นแตกต่าง เพราะเมนูอาหารบนเครื่องบินนั้นมีข้อจำกัดหลายด้าน โดยเฉพาะเรื่องของสุขอนามัย การควบคุมอุณหภูมิ ไปจนถึงข้อจำกัดด้านกระบวนการทำที่ใช้เวลายาวนานถึงหลักสิบชั่วโมง 
    .
    เบื้องหลังเมนูอาหารแต่ละเมนูที่เสิร์ฟให้ผู้โดยสารแต่ละเที่ยวบินนั้นมีขั้นตอนยังไง ในการเตรียมวัตถุดิบต้องคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้าง การสร้างสรรค์อาหารกว่านับพันจานในแต่ละวันมีความยาก-ง่ายมากแค่ไหน รายการ Podcast Bon Appétit EP.93 ตอนนี้ ‘มณีเนตร วรชนะนันท์’ จะพาทุกคนไปหาคำตอบของกระบวนการรังสรรค์อาหารบนเครื่องบิน 

  • มะพร้าวน้ำหอมหวานฉ่ำ ขนมไทยใส่กระทิ ไอติมกระทิเย็นๆ หวานชื่นใจ ฯลฯ คือเมนูที่เคียงคู่วัฒนธรรมการกินของคนไทยยาวนานตั้งแต่โบราณ แม้จะเป็นเมนูที่เราคุ้นเคยกัน แต่เมื่อได้เห็นไอศครีมของ Coconut Culture ก็ต้องยอมรับว่ามีความแตกต่าง เพราะแบรนด์ตั้งใจเปลี่ยนไอศครีมกระทิแบบดั้งเดิมให้ร่วมสมัยกว่าที่เคยเป็นมา
    .
    Coconut Culture ก่อตั้งขึ้นโดยคู่รักอย่าง วิทย์-เอกวิทย์ เชพานุเคราะห์ และ มะนาว-ศศิ เทอดธีระกุล ที่อยากทำแบรนด์ไอศครีมที่มีกระทิเป็นเบส ซึ่งหากใครเคยผ่านไปผ่านมาย่านพระอาทิตย์ หรือบังเอิญเปิดไปเจอเมนูไอศครีมของโคโคนัทคัลเจอร์ก็จะเห็นเมนูไอศครีมมะพร้าวที่ไม่เหมือนใคร และนอกจากแพสชั่นในไอศครีมกะทิแล้ว ทั้งสองยังได้นำลวดลายผ้าขาวม้าและวัสดุอย่างสังกะสีมาตกแต่งร้าน เพื่อนำเสนอความเป็นไทยออกมาอีกด้วย
    .
    อะไรทำให้ทั้งวิทย์และมะนาวแพสชั่นกับไอศครีมมะร้าว จุดเริ่มต้นของ Coconut Culture เป็นมายังไง รายการ Podcast Bon Appétit EP.92 ตอนนี้ขอฝ่าแดดยามเช้าไปยังถนนพระอาทิตย์ ลัดเลาะเข้าหลังร้านไอศครีมแห่งนี้เพื่อย้อนสนทนาถึงจุดเริ่มต้นของแบรนด์ ไปจนถึงพูดคุยวิธีการทำธุรกิจและความตั้งใจที่อยากให้มะพร้าวแทรกซึมอยู่ในไอศครีมทุกรสชาติ

  • เทศกาลสงกรานต์เวียนมาพร้อมวันหยุดยาวอีกหน สงกรานต์นับเป็นเทศกาลสำคัญที่ผู้คนนิยมเดินทางกลับภูมิลำเนาและไปท่องเที่ยว แน่นอนว่าตามมาด้วยความต้องการใช้ขนส่งสาธารณะที่มากขึ้น ซึ่งจำนวนผู้ใช้บริการรถสาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นได้ส่งผลให้ราคาตั๋วเดินทางทั้งรถทัวร์ รถไฟ ไปจนถึงเครื่องบินมีราคาแพงกว่าห้วงเวลาปกติ
    .
    บ้านก็อยากกลับแต่ค่าเดินทางกลับแพงแสนแพง ทำไมช่วงหยุดยาวทีไรค่ารถและค่าตั๋วเครื่องบินถึงราคาพุ่ง รายการ Business Summary EP.11 ตอนนี้ มนต์ชัย วงษ์กิตติไกรวัล และ วรรณทิพย์ โพธิ์พรหม จะมาเล่าถึงเหตุผลเบื้องหลังราคาตั๋วเดินทางที่แพงในช่วงเทศกาลวันหยุดยาว การกำหนดเพดานราคาตั๋วโดยสารของภาครัฐ ไปจนถึงผลเชิงบวกของเทศกาลที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ

  • สินค้าบางชิ้นแม้จะราคาสูง แต่พอบอกว่ามาจากญี่ปุ่น ทำไมเราถึงกล้าที่จะจ่าย หรือยอมซื้อกันอย่างง่ายดาย ไม่ใช่แค่คนไทยเท่านั้นที่พอเห็นสินค้าญี่ปุ่นแล้วจะศิโรราบ เพราะผู้คนทั่วโลกล้วนเชื่อในความพรีเมียมของสินค้าจากแดนอาทิตย์อุทัยเช่นกัน ยิ่งถ้าเป็นสินค้าทางการเกษตร หรือผลิตภัณฑ์ชุมชน ก็ยิ่งวางใจกันเข้าไปใหญ่ในเรื่องของคุณภาพดี 
    .
    ‘เชอร์รี่-มณีเนตร วรชนะนันท์’ จะพาไปหาคำตอบว่าญี่ปุ่นทำยังไงให้สามารถขายสินค้าได้ในราคาดี, ทำไมโปรดักต์ต่างๆ ของญี่ปุ่นจึงเป็นที่ยอมรับและโด่งดังได้ในระดับโลก และอะไรที่ทำให้คนทั่วโลกยอมรับและเชื่อมั่นในสินค้าจากดินแดนแห่งนี้ ตามไปหาคำตอบพร้อมกันได้ใน Podcast Bon Appétit EP.91 ตอนนี้

  • การกินเผ็ดหรือมีอาหารรสจัดจ้านให้เลือกลิ้มลองอย่างหลากหลาย ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่เท่าไหร่สำหรับประเทศแถบเอเชีย เพราะแทบทุกเมนูอาหารเอเชียมักถูกแต่งเติมด้วยรสชาติของความเผ็ดซี๊ดแสบทรวง 
    .
    แต่หากมองไปยังอเมริกานั้น วัฒนธรรมการกินเผ็ดหรือการกินอาหารรสแซ่บนับเป็นเรื่องที่ค่อนนข้างไกลตัวชาวอเมริกา จนเมื่อช่วงสิบปีให้หลังมานี้ที่วัฒนธรรมการกินเผ็ดของชาวอเมริกันได้รับความนิยม และเกิดเป็นเทรนด์กินซอสเผ็ดคู่กับอาหารหลายๆ เมนู มากไปกว่านั้นความนิยมการกินซอสเผ็ดยังได้ทำให้อเมริกาเกิดเทศกาลที่เรียกว่า National Hot Sauce Day ขึ้น
    .
    ทำไมอยู่ๆ วัฒนธรรมการกินเผ็ดแบบเอเชียจึงแพร่กระจายกลายเป็นเทรนด์ของคนอเมริกันได้ การเฉลิมฉลองวันซอสเผ็ดแห่งชาติเป็นยังไง ขอชวนลัดฟ้าไปยังอเมริกาเพื่อดูว่าชาวอเมริกันเขากินซอสเผ็ดกับอาหารชนิดไหน และเผ็ดที่ว่าจะเหมือนหรือต่างกับชาวเอเชียแบบเราๆ หรือไม่ ‘มณีเนตร วรชนะนันท์’ รอให้คำตอบอยู่ใน Podcast Bon Appétit EP.90 แล้วตอนนี้

  • นาราไทย คูซีน, อั้งม้อ, บ้านนอกเข้ากรุง, โคลิมิเต็ด, โคโกราวน์, อิงคะ และมาดามแม่ เชื่อว่าเมื่อไปเดินห้างสรรพสินค้า หรือเปิดแอปเดลิเวอรี่สั่งอาหาร หลายคนต้องเคยได้เห็นชื่อร้านเหล่านี้ผ่านตา หรือกระทั่งเคยแวะเวียนเข้าไปลิ้มรส 
    .
    รายชื่อร้านอาหารทั้งหมดที่ว่ามาคือร้านอาหารในเครือ Nara Group บริษัทเครือร้านอาหารไทยที่ก่อตั้งโดย ยูกิ-นราวดี ศรีกาญจนา และ สิริโสภา จุลเสวก ที่เริ่มต้นมาจากการเป็นร้านอาหารไทยที่มีสาขาเพียงหลักหน่วย แต่ปัจจุบันนี้เครือร้านอาหารแห่งนี้ได้ขยายสาขาไปทั่วประเทศไทยและในต่างประเทศ 
     .
    ในโอกาสที่เครือนารากรุ๊ปครบรอบ 20 ปีในการทำธุรกิจอาหารและพาวัฒนธรรมการกินแบบไทยและอาหารไทยเติบโตไกลถึงต่างแดน รายการ Podcast Bon Appétit ตอนนี้จึงได้ชวน ‘พิมพ์พยัพ ศรีกาญจนา’ ผู้เป็น Corporate Strategist และเป็นหนึ่งในทายาทเครือ Nara Group มาพูดคุยถึงเบื้องหลังการทำธุรกิจร้านอาหารไทย วิธีคิดในการทำแบรนด์อาหารแต่ละแบรนด์ในไปอยู่ในใจผู้คน ไปจนถึงอนาคตต่อไปของแบรนด์

  • ขนาด Apple ที่พยายามพัฒนา EV มานานกว่า 10 ปี ยังพับเก็บโปรเจกต์ไป และย้ายคนในโปรเจกต์ EV ไปพัฒนา AI ได้ นั่นคือ Apple กำลังมองเห็นโอกาสของตลาด AI รึเปล่า และถ้า ‘มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก’ เจ้าพ่อแพลตฟอร์มออนไลน์เครือเมต้าจะไปทำฟาร์มวัวบ้างล่ะ ทำไมถึงจะทำไม่ไม่ได้ มาร์กอาจจะกำลังเห็นโอกาสของธุรกิจฟาร์มวัวอยู่ก็ได้ 
    .
    แม้ปัจจุบันธุรกิจปศุสัตว์จะสร้างผลกระทบต่อโลกและสิ่งแวดล้อม แต่ก็น่าสนใจว่าทำไมเขาถึงหลงใหลและเข้ามาอยู่ในธุรกิจปศุสัตว์ จนบอกว่าหากเกษียณจากเมต้าแล้วเขาจะหันไปเปิดร้าน Mark's Meats อย่างจริงจัง มณีเนตร วรชนะนันท์ เตรียมไขคำตอบทั้งหมดที่รายการ Podcast Bon Appétit EP.88 แล้วตอนนี้

  • เคยสงสัยไหมว่าทำไมบางครั้งเราถึงซื้ออาหารบางอย่าง ซื้อของบางชิ้นโดยไม่ได้ไตร่ตรองสรรพคุณรวมๆ และไม่คิดถึงเหตุผลมากนัก แม้จะรู้ว่าอาหารบางอย่างไม่ดีต่อสุขภาพ หรือมีราคาแพงเกินจริงก็ยังคงเลือกที่จะซื้อ อะไรคือสิ่งที่ทำให้เราเผลอควักกระเป๋าจ่ายเงินโดยไม่ทันตั้งตัว? 
    .
    คำตอบก็คือ ‘อารมณ์’ ของเรานั่นเอง และด้วยอารมณ์เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าหนึ่งชิ้น กระทั่งอาหารหนึ่งจานได้ง่ายๆ แบบไม่ต้องคำนึงถึงความเป็นเหตุเป็นผล บ่อยครั้งเหล่าแบรนด์ต่างๆ จึงมักหยิบเรื่องของอารมณ์มาเป็นกลยุทธ์ในการทำการตลาด เพื่อเพิ่มยอดขายและดึงดูดลูกค้า
    .
    เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับ Emotional Marketing มากขึ้น Podcast Bon Appétit EP.87 ตอนนี้ ‘มณีเนตร วรชนะนันท์’ จึงอยากชวนทุกคนไปมาเจาะลึกกลยุทธ์การตลาดที่ว่าด้วยเรื่องของอารมณ์ผ่านแบรนด์ชั้นนำระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น Red Bull หรือจะ McDonald's พวกเขามีวิธีทำการตลาดผ่านเรื่องอารมณ์จนทำให้คนตัดสินใจซื้อได้ยังไง และอะไรคือเหตุผลสำคัญที่เหล่าแบรนด์ควรทำ Emotional Marketing ตามไปฟังพร้อมกันได้เลย 

  • สาวกขนมหวานที่เลิฟการกินของหวานเป็นชีวิตจิตใจคงน่าจะคุ้นกันดีกับชื่อของ Gram Pancakes และ PABLO Cheesetart บางคนเองก็คงเคยมีโอกาสไปต่อคิวยาวเหยียดเพื่อรอซื้อ เพราะในช่วงเวลาหนึ่งแพนเค้กและชีสชาร์ตจาก Gram Pancakes และ PABLO Cheesetart นั้นเรียกว่าได้รับความนิยมอย่างมากในไทย แต่หลังจากเดินทางทำตลาดมายาวนาน วันนี้แบรนด์ขนมหวานสองแบรนด์นี้กลับต้องปิดตัวลงหลังขาดทุนต่อเนื่องนาน 8 ปี
    การปิดกิจการของร้านขนมหวานทั้งสองนี้มีสาเหตุมาจากอะไร เพราะหากมองย้อนไปในช่วงแรกที่แบรนด์เปิดตัว ทั้งสองร้านขนมหวานนี้ถือว่าประสบความสำเร็จและได้รับการตอบรับจากคนไทยอย่างมาก Podcast Bon Appétit ตอนนี้ มณีเนตร วรชนะนันท์ จะพาไปไขคำตอบว่าทำไมร้านแพนเค้กและชีสทาร์ตเจ้าดังถึงไม่ปังในตลาดไทย ตามไปฟังกันเลย 

  • ตลอดเกือบสิบปีที่ผ่านมา กระแสอาหารหนึ่งที่เรียกว่า Plant-Based ถือเป็นกระแสที่นิยมขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยเทรนด์การกินที่เปลี่ยนไป การกินมังสวิรัติและวีแกนขยายความนิยมเพิ่มมากขึ้น จนอุตสาหกรรมอาหารเองก็ต่างผลิตเนื้อสัตว์จากพื้นให้หลากหลายแบบ หลากหลายรสชาติออกมา เพื่อเป็นตัวเลือกทางด้านการกิน แต่ตอนนี้กลับดูเหมือนว่า Plant-Based กำลังจะตายและเสื่อมความนิยมลงไป
    .
    อะไรคือเหตุผลที่ทำให้รูปแบบการรับประทานอาหารที่เน้นพืชเป็นหลัก หรือเทรนด์ Plant Base กำลังเปลี่ยนไป มณีเนตร วรชนะนันท์ รอไขคำตอบเรื่อง Plant-Based ที่ Podcast Bon Appétit EP.85 แล้ว ตามไปฟังพร้อมกันได้เลย

  • หากเป็นในต่างประเทศ หรืออย่างฝรั่งเศส การนั่งชิลๆ ระหว่างวันเพื่อจิบไวน์คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะไวน์สำหรับประเทศแถบยุโรปเป็นเหมือนเครื่องดื่มที่สร้างสุนทรียระหว่างมื้ออาหาร แต่ถ้ามองมาที่ไทยบ้านเรา ไวน์เพิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเมื่อไม่นานนี่เอง 
    .
    ด้วยแพสชั่นและความหลงใหลในไวน์ จนอยากส่งต่อความพิเศษของเครื่องดื่มชนิดนี้ให้คนไทยได้ลิ้มรส ‘เบน–เบญจวรรณ วิสูตรสัตย์’ จึงได้ก่อตั้ง MUST Wine Bar ร้านอาหารสไตล์บิสโทรขึ้น ณ ทองหล่อ 13 ในคอนเซปต์ ‘Wine Dining’ ที่เมื่อสั่งอาหารแล้วจะถูกเสิร์ฟพร้อมไวน์ที่เธอเลือกมาแล้วว่าเข้ากับเมนูนั้นๆ เพราะอยากเปิดโลกไวน์ใหม่ๆ ให้คนไทยได้สัมผัส
    .
    MUST Wine Bar จะพิเศษและสามารถสร้างประสบการณ์การดื่มไวน์ใหม่ๆ ได้ยังไง วิธีเลือกไวน์เข้ามาให้คนไทยได้ลองมีรายละเอียดยังไง เบนได้รอส่งต่อประสบการณ์การดื่มไวน์ และพาคุณท่องเข้าไปในอาณาจักรแห่งการดื่มของ MUST Wine Bar แล้วที่รายการ Podcast Bon Appétit EP.84 ตอนนี้

  • ช่วงนี้ไปที่ไหนก็เป็นต้องเจอกับร้านไอศกรีม-เครื่องดื่มสีแดงรายล้อมอยู่รอบตัว ร้านที่ว่าก็คือ ‘Mixue’ แบรนด์สัญชาติจีนที่เข้ามาทำการตลาดในไทยได้ไม่นานก็สามารถขยายสาขาได้หลายร้อยสาขาทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล
    .
    นอกจากเจ้ามาสคอตตุ๊กตาหิมะแสนน่ารักที่เชื้อเชิญให้เราอยากเข้าไปลิ้มลองรสชาติไอศครีมแดนมังกร ราคาของสินค้าจาก Mixue เองก็ราคาเป็นมิตรและถูกกว่าสินค้าประเภทเดียวกัน หรือนี่อาจจะเป็นเหตุผลที่แบรนด์ไอศครีมและเครื่องดื่มแบรนด์นี้สามารถผลิดอกออกผลธุรกิจได้อย่างรวดเร็วในตลาดไทย 
    .
    Mixue ทำการตลาดในไทยด้วยกลยุทธ์ใด อะไรคือเหตุผลเบื้องหลังการเติบโตของแบรนด์ไอศครีมแบรนด์นี้ มณีเนตร วรชนะนันท์ รอไขคำตอบทั้งหมดให้แล้วใน Podcast Bon Appétit EP.83 ตามไปฟังพร้อมกันได้เลย

  • ถ้าย้อนกลับไปหลายสิบปีก่อน การจะเป็นครีเอเตอร์หรือนักรีวิวอาหารออนไลน์นั้นไม่ง่ายเลย ด้วยสื่อกระแสหลักยุคนั้นล้วนเป็นสื่อโทรทัศน์ มากไปกว่านั้นเรื่องของเทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียเองก็ยังเป็นเรื่องใหม่ แถมความเร็วอินเทอร์เน็ตยังไม่รวดเร็วเทียบเท่า 5G ยุคปัจจุบัน แต่สำหรับ ‘ลุงอ้วน’ หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ ‘ลุงอ้วน กินกะเที่ยว’ นั้น ไม่มีอะไรเป็นอุปสรรคมากพอให้เขาไม่อยากรีวิวอาหารร้านอร่อยที่ได้มีโอกาสไปลิ้มลองเลยสักนิด
    .
    ใครที่อยู่มาตั้งแต่การรีวิวในเว็บไซต์ pantip.com เป็นพื้นที่ที่เราจะไปตามหาที่เที่ยวเด็ด ของกินร้านอร่อย ก็คงจะคุ้นเคยดีกับ ‘ลุงอ้วน กินกะเที่ยว’ จนมาถึงยุคนี้ที่แม้เทคโนโลยีและโซเชียลจะพัฒนาเปลี่ยนไปไกล ถึงอย่างนั้นเราก็ยังได้เห็นลุงอ้วนรีวิวของอร่อยในทุกๆ แพลตฟอร์มเรื่อยมา 
    .
    อะไรทำให้ชายคนนี้แพสชั่นในการกิน การเป็นนักรีวิวยุคก่อนกับยุคปัจจุบันแตกต่างกันยังไง ประสบการณ์การกินที่สั่งสมมายาวนาน ตั้งแต่สมัยหูฉลามเยาวราชชามละ 35 บาทจะมีเรื่องราวใดซ่อนอยู่ พ็อดแคสต์ Bon Appétit ตอนนี้ของชวนไปพูดคุยกับ ‘ลุงอ้วนกินกะเที่ยว’ ถึงจุดเริ่มต้นที่ทำให้ลุงอ้วนรักการกินจนกลายมาเป็นนักรีวิวระดับตำนาน ไปจนถึงเบื้องหลังการทำงาน ความคิด และความเชื่อที่ลุงอ้วนคนนี้มีต่อวงการรีวิวอาหาร 

  • ปีที่ผ่านมาเรียกได้ว่าเป็นปีทองของธุรกิจหม่าล่าและชาไทยเลยก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าจะไปทางไหน เปิดโซเชียลใด เป็นต้องเจอกับการรีวิวร้านหมาล่าเปิดใหม่ กระทั่งชาไทยรสเข้มผ่านมาให้เห็น ซึ่งนอกเหนือจากที่ว่ามา LINE MAN Wongnai ยังได้เผยข้อมูลให้ได้เห็นอีกด้วยว่าร้านอาหารประเภทที่นั่งมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง   
    .
    ด้วยเทรนด์และความนิยมเปลี่ยนอยู่เสมอ จึงน่าสนใจว่านอกจากกระแสของปี 2023 ปี 2024 ของเราจะมีอะไรผุดขึ้นมาฮิตได้บ้าง ปีนี้จะเป็นปีทองของธุรกิจอาหารประเภทไหน ซึ่งหลังจากเรา season break ไปในช่วงท้ายของปีเก่าจะเข้าสู่ปีใหม่ เราจึงขอต้อนรับคุณผู้ฟังด้วยการไปคุยถึงเทรนด์ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มปี 2024 ที่น่าจับตามองกัน เทรนด์ธุรกิจอาหารที่ว่าจะมีกระแสไปในทิศทางไหน เมนูอะไรผงาดขึ้นมา 
    .
    เชอร์รี่-มณีเนตร วรชนะนันท์ โฮสต์รายการ Bon Appétit จึงได้สรุป 5 เทรนด์ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มปี 2024 ที่คนทำธุรกิจและหลงใหลอาหารต้องรู้มาให้ได้ฟังกันใน Bon Appétit EP. 81 หากพร้อมแล้วก็ตามไปฟังกันเลย