エピソード

  • แม้ว่าปัญหาด้านการเงินจะสามารถใช้หลักทางการเงินเข้าไปจัดการกับตัวเลขต่างๆ ได้อย่างมีขั้นตอนและทางออก แต่ปัญหาทางการเงินบางเรื่องกลับยากกว่านั้น เพราะคือการเงินที่มีความรู้สึก โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว เช่นเดียวกับคำถามที่มาถึง Money Coach และ NamFinance ว่า ถ้าจะต้องเข้าไปช่วยเหลือครอบครัว แต่แลกมาซึ่งอนาคตทางการเงินของตัวเอง ควรทำอย่างไร หรือแท้จริงแล้วอาจมีความต้องการอะไรซ่อนอยู่ภายใต้โจทย์การเงินที่ว่านี้

  • แม้ว่าเจ้าของคำถามในเอพิโสดนี้จะไม่ใช่ผู้ประสบปัญหาด้านการเงินโดยตรง แต่เกิดขึ้นกับลูกน้องซึ่งอาจส่งผลมาถึงตัวเองในไม่ช้า เมื่อแม่บ้านฝีมือดีมีปัญหาด้านการเงินจนเป็นหนี้นอกระบบ ยืมเงินเป็นงูกินหางจนแก้ปัญหาไม่ได้ ในฐานะเจ้านายควรจะจัดการปัญหานี้อย่างไร ถ้าอยากช่วยเหลือและรักษาบรรทัดฐานขององค์กรที่ต้องปฏิบัติกับลูกน้องทุกคน


    สามารถส่งคำถามหรือแชร์เรื่องราวของคุณมาได้ที่ [email protected] หรือโพสต์แล้วติดแฮชแท็ก #TheMoneyCase ไม่จำเป็นต้องปรึกษาปัญหาอย่างเดียว ใครมีเคสที่ประสบความสำเร็จในช่วงวิกฤตที่อยากเล่าหรืออยากแชร์ ก็สามารถส่งมาแบ่งปันให้ผู้ฟังคนอื่นๆ ได้เช่นกัน

  • エピソードを見逃しましたか?

    フィードを更新するにはここをクリックしてください。

  • กระบวนการฟ้องร้องเป็นสิ่งที่หลายคนกลัวและไม่อยากให้ไปถึง โดยเฉพาะคนที่เปิดธุรกิจ มีการกู้ยืมและไม่สามารถไปต่อได้แม้ว่าจะพยายามเท่าไรก็ตาม เช่นเดียวกับคำถามในสัปดาห์นี้ มันนี่โค้ช และ Nam Finance เลยขอคลี่ให้เห็นกระบวนการทางกฎหมายที่จะเกิดขึ้นหลังไม่สามารถผ่อนชำระหนี้จากธนาคาร จะมีอะไรบ้าง และควรใช้โอกาสนี้กลับมาโฟกัสธุรกิจอย่างไร เพื่อช่วยลดความกังวลและอาจเป็นจุดตั้งต้นใหม่สำหรับธุรกิจ การเงิน ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต


    สามารถส่งคำถามหรือแชร์เรื่องราวของคุณมาได้ที่ [email protected] หรือโพสต์แล้วติดแฮชแท็ก #TheMoneyCase ไม่จำเป็นต้องปรึกษาปัญหาอย่างเดียว ใครมีเคสที่ประสบความสำเร็จในช่วงวิกฤตที่อยากเล่าหรืออยากแชร์ ก็สามารถส่งมาแบ่งปันให้ผู้ฟังคนอื่นๆ ได้เช่นกัน

  • หลังจากที่มันนี่โค้ชและ Nam Finance ได้พูดถึงการแบ่งเงินการลงทุนเป็นตะกร้าเงินต่างๆ ตามความเร่งด่วนและความจำเป็นในการใช้ จนหลายคนได้ลองไปทำตาม แต่ก็มีข้อจำกัดตามมาว่าเงินที่ใช้ลงทุนไม่ได้มีมากพอ และเมื่อกระจายเงินแต่ละตะกร้าแล้วก็ไม่ได้มีมูลค่าสูงมาก ฉะนั้นแล้วจะโฟกัสอย่างไรให้การลงทุนเป็นไปตามเป้าหมายและใช้เครื่องมือการเงินอะไรให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด พบคำตอบใน The Money Case by The Money Coach เอพิโสดนี้

    สามารถส่งคำถามหรือแชร์เรื่องราวของคุณมาได้ที่ [email protected] หรือโพสต์แล้วติดแฮชแท็ก #TheMoneyCase ไม่จำเป็นต้องปรึกษาปัญหาอย่างเดียว ใครมีเคสที่ประสบความสำเร็จในช่วงวิกฤตที่อยากเล่าหรืออยากแชร์ ก็สามารถส่งมาแบ่งปันให้ผู้ฟังคนอื่นๆ ได้เช่นกัน

  • สิ้นปีแบบนี้หลายคนอาจรู้สึกเหนื่อยจากการที่ต้องสู้อย่างหนัก เพราะอยากให้เงินสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต The Money Case by The Money Coach เอพิโสดนี้ จึงอยากให้กำลังใจสำหรับคนที่กำลังท้อและมองไม่เห็นว่าชีวิตจะดีขึ้นได้อย่างไร เพราะสำหรับเรื่องเงินแล้ว เป้าหมายและทิศทางสำคัญกว่าความเร็ว และเป็นเกมยาวที่เราต้องเล่นทั้งชีวิต


    สามารถส่งคำถามหรือแชร์เรื่องราวของคุณมาได้ที่ [email protected] หรือโพสต์แล้วติดแฮชแท็ก #TheMoneyCase ไม่จำเป็นต้องปรึกษาปัญหาอย่างเดียว ใครมีเคสที่ประสบความสำเร็จในช่วงวิกฤตที่อยากเล่าหรืออยากแชร์ ก็สามารถส่งมาแบ่งปันให้ผู้ฟังคนอื่นๆ ได้เช่นกัน

  • เดือนสุดท้ายของปีเป็นช่วงเวลาที่ดีที่เราจะหันกลับมาทบทวนเรื่องต่างๆ ในชีวิต รวมถึงเรื่องการเงิน The Money Case By The Money Coach เอพิโสดนี้อยากชวนทบทวนการเงินตลอดทั้งปีที่ผ่านมา ว่ายังมีสุขภาพที่ดีอยู่หรือไม่ผ่าน 4 คำถามสำคัญ ซึ่งไม่ต่างกับการดูแลร่างกาย ถ้าเราสะสม ตรวจเช็ก ซ่อมแซม การเงินก็จะแข็งแรงและพร้อมรับมือกับวิกฤตหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้น


    สามารถส่งคำถามหรือแชร์เรื่องราวของคุณมาได้ที่ [email protected] หรือโพสต์แล้วติดแฮชแท็ก #TheMoneyCase ไม่จำเป็นต้องปรึกษาปัญหาอย่างเดียว ใครมีเคสที่ประสบความสำเร็จในช่วงวิกฤตที่อยากเล่าหรืออยากแชร์ก็สามารถส่งมาแบ่งปันให้ผู้ฟังคนอื่นๆ ได้เช่นกัน

  • บัตรเครดิตคือเครื่องมือใช้แทนเงินสดที่สร้างความสะดวกสบายให้กับชีวิตประจำวัน แต่ถ้าหากไม่มีความสามารถในการผ่อนชำระคืนก็กลายเป็นผลเสีย The Money Case by The Money Coach ไม่ได้ห้ามในการใช้บัตรเครดิต แต่จะทำอย่างไรให้การใช้เกิดประโยชน์กับเราสูงสุด บัตรเครดิตใบแรกควรเริ่มต้นอย่างไร และหากมีบัตรเครดิตหลายใบจะจัดสรรอย่างไรให้ไม่ติดกับดักจนกลายเป็นหนี้ในที่สุด

    สามารถส่งคำถามหรือแชร์เรื่องราวของคุณมาได้ที่ [email protected] หรือโพสต์แล้วติดแฮชแท็ก #TheMoneyCase ไม่จำเป็นต้องปรึกษาปัญหาอย่างเดียว ใครมีเคสที่ประสบความสำเร็จในช่วงวิกฤตที่อยากเล่าหรืออยากแชร์ก็สามารถส่งมาแบ่งปันให้ผู้ฟังคนอื่นๆ ได้เช่นกัน



  • การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์อย่างการซื้อคอนโดเพื่อปล่อยเช่า เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยม แต่ก่อนที่จะเริ่มลงทุนนั้นมีประเด็นหลายอย่างที่ Money Coach อยากชวนคิด ทั้งวิธีการเลือกสินทรัพย์เพื่อลงทุน ซึ่งไม่เหมือนการเลือกเพื่ออยู่อาศัย การเข้าใจตลาด ทำเล รวมถึงวิธีคำนวณการผ่อน และการรีไฟแนนซ์ ซึ่งเป็นการปิดประตูเจ๊งในการลงทุนให้ได้มากที่สุด

    สามารถส่งคำถามหรือแชร์เรื่องราวของคุณมาได้ที่ [email protected] หรือโพสต์แล้วติดแฮชแท็ก #TheMoneyCase ไม่จำเป็นต้องปรึกษาปัญหาอย่างเดียว ใครมีเคสที่ประสบความสำเร็จในช่วงวิกฤตที่อยากเล่าหรืออยากแชร์ก็สามารถส่งมาแบ่งปันให้ผู้ฟังคนอื่นๆ ได้เช่นกัน



  • การลงทุนและเก็บเงิน หลายครั้งที่เรามักพุ่งไปที่เครื่องมือมากกว่าการจัดวางเป้าหมาย ซึ่งอาจแบ่งได้เป็นเป้าหมายระยะสั้นและเป้าหมายระยะยาว ถ้าเรารู้เป้าหมายที่ชัดเจนแล้วเราจะสามารถจัดหาเครื่องมือการลงทุนให้ทำตามเป้าหมายนั้นได้สำเร็จ เช่นเดียวกับคำถามที่มีมาถึงมันนี่โค้ชในเอพิโสดนี้ ที่ต้องการทั้งวางแผนเก็บเงินแต่งงานและเก็บเงินเกษียณไปพร้อมกัน ซึ่งแต่ละจุดมุ่งหมายการใช้เงินควรใช้เครื่องมือที่แตกต่างกัน The Money Case by The Money Coach เลยขออาสาช่วยวางแผนและจัดเครื่องมือการลงทุนให้อย่างเหมาะสม


    สามารถส่งคำถามหรือแชร์เรื่องราวของคุณมาได้ที่ [email protected] หรือโพสต์แล้วติดแฮชแท็ก #TheMoneyCase ไม่จำเป็นต้องปรึกษาปัญหาอย่างเดียว ใครมีเคสที่ประสบความสำเร็จในช่วงวิกฤตที่อยากเล่าหรืออยากแชร์ก็สามารถส่งมาแบ่งปันให้ผู้ฟังคนอื่นๆ ได้เช่นกัน

  • จากคำถามทีเล่นทีจริงที่ส่งมาถึงมันนี่โค้ชว่า อยากเม้มเงินที่ภรรยาจ่ายเป็นรายสัปดาห์เพราะไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เพราะเป้าหมายของครอบครัวอยากเกษียณเร็ว The Money Case by The Money Coach เอพิโสดนี้ไม่ได้ชวนมาหาทริกเม้มเงิน แต่อยากชวนตั้งคำถามถึงการเกษียณทางการเงินเร็ว หรือ Financial Independence, Retire Early ว่ามีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร และจะสร้างสมดุลอย่างไรถึงความสุขในวันนี้และความสุขในอนาคต


    สามารถส่งคำถามหรือแชร์เรื่องราวของคุณมาได้ที่ [email protected] หรือโพสต์แล้วติดแฮชแท็ก #TheMoneyCase ไม่จำเป็นต้องปรึกษาปัญหาอย่างเดียว ใครมีเคสที่ประสบความสำเร็จในช่วงวิกฤตที่อยากเล่าหรืออยากแชร์ก็สามารถส่งมาแบ่งปันให้ผู้ฟังคนอื่นๆ ได้เช่นกัน

  • ก่อนจะเริ่มลงทุน เก็บเงินเกษียณ หรือเก็บเงินก้อนอื่นๆ สำหรับเป้าหมายในอนาคต มันนี่โค้ชอยากให้มือใหม่ทุกคนได้เก็บ ‘เงินสำรองฉุกเฉิน’ ซึ่งถือเป็นเงินก้อนสำคัญที่จะเตรียมรับมือกับอนาคตที่อาจเกิดเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง เงินก้อนนี้จะเป็นเหมือนฟูกกันล้มสำหรับช่วยชีวิต แต่จะมีเทคนิคและขั้นตอนอย่างไร ติดตามได้ใน The Money Case by The Money Coach เอพิโสดนี้


    สามารถส่งคำถามหรือแชร์เรื่องราวของคุณมาได้ที่ [email protected] หรือโพสต์แล้วติดแฮชแท็ก #TheMoneyCase ไม่จำเป็นต้องปรึกษาปัญหาอย่างเดียว ใครมีเคสที่ประสบความสำเร็จในช่วงวิกฤตที่อยากเล่าหรืออยากแชร์ก็สามารถส่งมาแบ่งปันให้ผู้ฟังคนอื่นๆ ได้เช่นกัน

  • การเป็นหนี้คือเงื่อนไขทางการเงินที่ถูกออกแบบมาให้ชีวิตสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น มันนี่โค้ชจึงอยากเปลี่ยนทัศนคติของการเป็นหนี้มาเป็นการใช้สินเชื่อในอนาคตที่เราสามารถชำระได้ หากทำได้ตามนี้ชีวิตอาจดำเนินไปถึงเป้าหมายได้เร็วมากยิ่งขึ้น

    แต่อย่างไรก็ตามก่อนที่เราจะตัดสินใจใช้สินเชื่อไม่ว่ารูปแบบไหน ชิ้นใหญ่อย่างบ้าน หรือชิ้นเล็กๆ อย่างการผ่อนโทรศัพท์มือถือ มี 3 ข้อที่ควรนำมาสำรวจตัวเอง เพื่อความไม่ประมาท และทำให้วางแผนการใช้สินเชื่อได้ดีมากยิ่งขึ้น


    สามารถส่งคำถามหรือแชร์เรื่องราวของคุณมาได้ที่ [email protected] หรือโพสต์แล้วติดแฮชแท็ก #TheMoneyCase ไม่จำเป็นต้องปรึกษาปัญหาอย่างเดียว ใครมีเคสที่ประสบความสำเร็จในช่วงวิกฤตที่อยากเล่าหรืออยากแชร์ก็สามารถส่งมาแบ่งปันให้ผู้ฟังคนอื่นๆ ได้เช่นกัน

  • แม้ว่าวงแชร์จะเป็นการลงทุนที่ถูกกฎหมาย แต่วงแชร์บางประเภทอาจนำมาซึ่งความเสี่ยงที่เปียแล้วไม่ได้เงินที่สะสมไว้ โดยเฉพาะวงแชร์วงร้อนที่พร้อมจะล้มและหนีมากเป็นพิเศษ เช่นเดียวกับคำถามที่มาถึง The Money Case by The Money Coach เอพิโสดนี้ เมื่อญาติตั้งวงแชร์แล้วหนีไม่ยอมจ่าย อันตรายและการคุกคามจึงมาถึงตนเอง เลยเกิดเป็นคำถามเกี่ยวกับวงแชร์ และการช่วยเหลือญาติ ว่าการอยู่เป็นครอบครัวที่พึ่งพาอาศัยกัน เราช่วยเรื่องเงินกันได้มากแค่ไหน


    สามารถส่งคำถามหรือแชร์เรื่องราวของคุณมาได้ที่ [email protected] หรือโพสต์แล้วติดแฮชแท็ก #TheMoneyCase ไม่จำเป็นต้องปรึกษาปัญหาอย่างเดียว ใครมีเคสที่ประสบความสำเร็จในช่วงวิกฤตที่อยากเล่าหรืออยากแชร์ก็สามารถส่งมาแบ่งปันให้ผู้ฟังคนอื่นๆ ได้เช่นกัน

  • การมีรายได้สูงอาจไม่ได้หมายความถึงการมีสภาพคล่องทางการเงิน เพราะบางคนต้องเอาเงินเหล่านั้นกลับไปดูแลหรือรวมถึงการใช้หนี้ให้ครอบครัวจนกลายเป็น ‘เดอะแบก’ ที่ถึงแม้จะทำด้วยความเต็มใจก็ตาม ความรู้สึกลึกๆ กลับหมดแรง

    ตัวอย่างจากคำถามที่มีมาถึงมันนี่โค้ชและ Nam Finance เอพิโสดนี้ที่รายได้ส่วนใหญ่ต้องนำกลับไปใช้หนี้ให้ครอบครัว จนเมื่อได้เงินมาก้อนใหญ่จากการขายที่ดินจึงเกิดคำถามควรจัดสรรเงินก้อนนี้อย่างไร เพื่อให้กระแสเงินสดในครอบครัวคล่องตัวและสภาพจิตใจของเจ้าของคำถามไม่รู้สึกว่าต้อง ‘แบก’ หนักมากขนาดนี้


    สามารถส่งคำถามหรือแชร์เรื่องราวของคุณมาได้ที่ [email protected] หรือโพสต์แล้วติดแฮชแท็ก #TheMoneyCase ไม่จำเป็นต้องปรึกษาปัญหาอย่างเดียว ใครมีเคสที่ประสบความสำเร็จในช่วงวิกฤตที่อยากเล่าหรืออยากแชร์ก็สามารถส่งมาแบ่งปันให้ผู้ฟังคนอื่นๆ ได้เช่นกัน

  • การลงทุนไม่ใช่เรื่องของผู้มีรายได้สูงเท่านั้น แต่คือการจัดสรรรายได้ให้เหมาะสมเพื่อชีวิตในอนาคต เช่นเดียวกับคำถามประจำสัปดาห์ที่ส่งมาถึงโค้ชหนุ่มและ NamFinance ที่เป็นผู้มีรายได้รายวัน รวมเป็นเงินเดือนเพียงหลักพัน แต่เริ่มลงทุนในหุ้นจนเริ่มงอกเงย มายด์เซ็ตสำคัญในการเปิดเกมการลงทุนตั้งแต่รายได้ยังน้อยมีอะไร และข้อควรระวังสำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่ต้องฟังใน The Money Case by The Money Coach เอพิโสดนี้


    สามารถส่งคำถามหรือแชร์เรื่องราวของคุณมาได้ที่ [email protected] หรือโพสต์แล้วติดแฮชแท็ก #TheMoneyCase ไม่จำเป็นต้องปรึกษาปัญหาอย่างเดียว ใครมีเคสที่ประสบความสำเร็จในช่วงวิกฤตที่อยากเล่าหรืออยากแชร์ก็สามารถส่งมาแบ่งปันให้ผู้ฟังคนอื่นๆ ได้เช่นกัน

  • การเป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องผิด แต่ความสามารถในการชำระหนี้ต่างหากที่ควรพิจารณา The Money Case by The Money Coach ชวนสำรวจว่าเรากำลังกลายเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่ สัญญาณเตือนในการชำระหนี้คืออะไร เพื่อให้การเป็นหนี้ทำให้ไม่กลายเป็นผู้ป่วยทางการเงิน


    สามารถส่งคำถามหรือแชร์เรื่องราวของคุณมาได้ที่ [email protected] หรือโพสต์แล้วติดแฮชแท็ก #TheMoneyCase ไม่จำเป็นต้องปรึกษาปัญหาอย่างเดียว ใครมีเคสที่ประสบความสำเร็จในช่วงวิกฤตที่อยากเล่าหรืออยากแชร์ ก็สามารถส่งมาแบ่งปันให้ผู้ฟังคนอื่นๆ ได้เช่นกัน

  • เชื่อหรือไม่ว่ากระดาษเพียง 2 แผ่น สามารถเปลี่ยนอนาคตของมนุษย์ออฟฟิศให้สามารถจัดการเรื่องการเงินได้อย่างชัดเจน มันนี่โค้ชและ Nam Finance ชวนให้รู้จักงบการเงินหรืองบรายรับ-รายจ่ายที่ตั้งขึ้นเพื่อควบคุมการเงินในอนาคต แทนที่จะทำตามย้อนหลังแบบบัญชี ข้อดีการมีงบการเงินคืออะไร จุดตั้งต้นเริ่มแบบไหน ติดตามได้ใน The Money Case เอพิโสดนี้


    สามารถส่งคำถามหรือแชร์เรื่องราวของคุณมาได้ที่ [email protected] หรือโพสต์แล้วติดแฮชแท็ก #TheMoneyCase ไม่จำเป็นต้องปรึกษาปัญหาอย่างเดียว ใครมีเคสที่ประสบความสำเร็จในช่วงวิกฤตที่อยากเล่าหรืออยากแชร์ ก็สามารถส่งมาแบ่งปันให้ผู้ฟังคนอื่นๆ ได้เช่นกัน

  • สำหรับคนที่มีธุรกิจของครอบครัว อาจตัดสินใจเลือกยากว่าควรจะสืบทอดธุรกิจที่บ้านต่อ หรือออกมาทำงานออฟฟิศตามเป้าหมายของตัวเอง วันนี้ Money Coach และ NamFinance จะมาชวนวิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสียของแต่ละเส้นทาง รวมถึงหากตัดสินใจกลับมาทำธุรกิจที่บ้านมีจะมีวิธีการและคำถามอะไรบ้างที่ต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนตัดสินใจ


    สามารถส่งคำถามหรือแชร์เรื่องราวของคุณมาได้ที่ [email protected] หรือโพสต์แล้วติดแฮชแท็ก #TheMoneyCase ไม่จำเป็นต้องปรึกษาปัญหาอย่างเดียว ใครมีเคสที่ประสบความสำเร็จในช่วงวิกฤตที่อยากเล่าหรืออยากแชร์ ก็สามารถส่งมาแบ่งปันให้ผู้ฟังคนอื่นๆ ได้เช่นกัน

  • เป้าหมายการเงินกับชีวิตคู่ไม่ใช่เรื่องง่าย เช่นเดียวกับเคสในสัปดาห์นี้ที่เขียนมาปรึกษามันนี่โค้ชและ NamFinance ที่ฝ่ายหนึ่งวางแนวทางการเงินไว้อย่างชัดเจน กับอีกฝ่ายที่รายรับไม่เพียงพอ จึงเป็นข้อจำกัดในการช่วยเหลือทางด้านการเงิน แต่ก็ต้องใช้ชีวิตคู่อยู่ด้วยกัน เคสแบบนี้ควรมีทางออกอย่างไร The Money Case by The Money Coach ตอบไว้ในเอพิโสดนี้


    สามารถส่งคำถามหรือแชร์เรื่องราวของคุณมาได้ที่ [email protected] หรือโพสต์แล้วติดแฮชแท็ก #TheMoneyCase ไม่จำเป็นต้องปรึกษาปัญหาอย่างเดียว ใครมีเคสที่ประสบความสำเร็จในช่วงวิกฤตที่อยากเล่าหรืออยากแชร์ ก็สามารถส่งมาแบ่งปันให้ผู้ฟังคนอื่นๆ ได้เช่นกัน

  • สำหรับพนักงานเงินเดือนโอที โค้ชหนุ่ม มันนี่โค้ช และ Nam Finance อยากชวนดูเอพิโสดนี้โดยเฉพาะ เพราะโครงสร้างรายได้ลักษณะนี้อาจทำให้วางแผนการเงิน รวมถึงการลงทุนที่ใช้เงินเดือนผิดพลาด จุดที่ควรระวังคือตรงไหน คนส่วนใหญ่พลาดเพราะอะไร รวมถึงวิธีจัดการโอที หรือรายได้พิเศษที่ทำให้การเงินของคุณมั่นคงมากยิ่งขึ้น


    สามารถส่งคำถามหรือแชร์เรื่องราวของคุณมาได้ที่ [email protected] หรือโพสต์แล้วติดแฮชแท็ก #TheMoneyCase ไม่จำเป็นต้องปรึกษาปัญหาอย่างเดียว ใครมีเคสที่ประสบความสำเร็จในช่วงวิกฤตที่อยากเล่าหรืออยากแชร์ ก็สามารถส่งมาแบ่งปันให้ผู้ฟังคนอื่นๆ ได้เช่นกัน