Episoder

  • ถ้าถามว่าแบรนด์ไหนทำคอลแล็บบ่อยที่สุด เชื่อว่าชื่อของ Carnival ร้านมัลติแบรนด์สัญชาติไทยจะเป็นชื่อแรกที่หลายคนนึกถึง นอกจากจะคอลแล็บกับแบรนด์ในอุตสาหกรรมเดียวกันแล้ว Carnival ยังโดดเด่นเรื่องการคอลแล็บข้ามสาย ซึ่งตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมา หากนับนิ้วดูแล้ว Carnival คอลแล็บกับแบรนด์ต่างๆ มาแล้วกว่า 200 แบรนด์กันเลย

    การจับมือกับแบรนด์น้อยใหญ่สร้างสรรค์โปรดักต์ใหม่ๆ ออกมายังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้จับมือกับแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดเจ้าดังอย่าง 'เบอร์เกอร์คิง' ออกแคมเปญ 'BURGER KING MEETS CARNIVAL' ที่ทั้งสองแบรนด์ได้รังสรรค์เบอร์เกอร์เมนูใหม่ในชื่อว่า 'Spicy & Crispy Carnival Burger' ออกมาเอาใจคนไทย และออกคอลเลกชั่นเครื่องแต่งกายแบบลิมิเต็ดเอดิชั่นเท่ๆ ที่นำสี CI ประจำแบรนด์มาผสมกันอย่างสนุกสนาน

    เบื้องหลังการคอลแล็บแสนพิเศษจากสองแบรนด์ดังเป็นมายังไง ก่อนจะออกมาเป็นเมนู BURGER KING MEETS CARNIVAL ได้ต้องคิดอะไรบ้าง การคอลแล็บข้ามสาย โดยเอาของกินกับแฟชั่นมาอยู่ด้วยกันเป็นยังไง รายการ Podcast Bon Appetit ตอนพิเศษนี้จะพาไปสนทนากับ ตุลย์-ชนินทร์ นาคะรัตนาก Digital Marketing Manager บริษัท เบอร์เกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด คิง และ ปิ๊น–อนุพงศ์ คุตติกุล หนึ่งใน Co-founder ของ Carnival ถึงเบื้องหลังของแคมเปญนี้

  • รู้ไหมว่ากรุงเทพมหานครติดอันดับ 6 ในลิสต์ 20 เมืองที่ดีที่สุดด้านอาหาร ซึ่งจัดอันดับโดยนิตยสาร Time Out แต่ที่จริง ไม่ต้องมีรางวัลใดๆ มาการันตี ก็เชื่อว่าสำหรับคนไทยที่เรื่องกินเรื่องใหญ่ ก็คงรู้กันดีว่าสตรีทฟู้ดของไทยไม่แพ้ที่ไหน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมายังมีร้านอาหารทั้งขนาดเล็กและกลางผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดจนบางย่านกลายเป็นสวรรค์ของนักกินไปเลย

    ‘Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว’ ตอนพิเศษนี้จึงพาทุกคนไปทำความเข้าใจว่าทำไมบางย่านถึงเด่นด้านอาหารกว่าย่านอื่นๆ ทำไมบางย่านถึงมีรสชาติความเป็นจีนสูง รวมถึงแนะนำ 21 ร้านเล็กร้านอร่อยใน 7 ย่านดัง ที่ถ้าไม่รู้จะกินเมนูดังโดยไม่ต้องต่อคิวหรือหาที่จอดรถยังไง ก็ยังลิ้มรสความอร่อยของย่านได้ที่บ้านง่ายๆ แค่สั่งผ่านแอป Robinhood ที่ให้บริการ Food Delivery ซึ่งกลับมาเปิดอีกครั้ง พร้อมสนับสนุนร้านเล็กๆ ให้โตไปด้วยกัน

    หรือถ้าไม่รู้จะกินอะไรดี ในแอปก็ยังมีร้านเล็กที่น่าสนับสนุนอีกเพียบ และถ้าหากใครสั่งร้านโปรดีดีพลัส และร้านโปรดีดีถึง 250 บาทขึ้นไป ใส่โค้ด KINARAIDEE ก็รับส่วนลดไปเลย 50 บาท แต่โค้ดพิเศษนี้มีจำนวนจำกัด และใช้งานได้ถึง 16 ตุลาคม 2567 เท่านั้น ถ้าไม่อยากตกขบวนความอร่อยก็เข้าแอป Robinhood แล้วไปสั่งกันเลย go.rbh.app/PAgI/ktufaf3y

  • Mangler du episoder?

    Klikk her for å oppdatere manuelt.

  • ทุกวันที่ 22 กันยายนของทุกปี คือวัน World Car-Free Day หรือวันปลอดรถโลก เป็นวันที่ทั่วโลกพยายามรณรงค์ให้ประชาชนลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว แล้วหันมาใช้พาหนะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การเดิน การปั่นจักรยาน และการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ
    .
    การมีอยู่ของวันปลอดรถโลกช่วยสร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้รถยนต์ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้โลกร้อน การจัด World Car-Free Day ไม่ใช่การต่อต้านไม่ให้ใช้รถยนต์ แต่เป็นการทำให้เมืองต่างๆ เห็นโอกาสของการได้ทดลองปรับสภาพการจราจรและพื้นที่สาธารณะให้เป็นมิตรกับคนเดินถนนและนักปั่นจักรยานมากขึ้น อีกทั้งยังสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนลองเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางและเห็นข้อดีของการใช้ชีวิตที่พึ่งพารถยนต์น้อยลงอีกด้วย
    .
    ในหลายๆ เมืองมีกิจกรรมพิเศษในวันนี้ เช่น ปิดถนนสายหลักให้กับการเดินและปั่นจักรยาน พื้นที่สาธารณะที่เคยเป็นของรถยนต์จะถูกเปลี่ยนเป็นสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การแสดงดนตรีสด การเล่นกีฬา หรือนำมาจัดถนนคนเดิน หรือบางเมืองก็ให้ประชาชนใช้บริการขนส่งสาธารณะฟรีในวันนี้ด้วย
    .
    วันไร้รถยนต์มีที่มายังไง การลดใช้รถยนต์แล้วลองเปลี่ยนมาเดินเท้าหรือปั่นจักรยานแทนดีต่อเศรษฐกิจเมืองยังไง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.21 ตอนนี้ 

  • อาจเรียกได้ว่าปี 2024 เป็นปีทองของ ‘ก็อดซิลล่า’ ราชันแห่งสัตว์ประหลาดที่กลับมาทวงบัลลังก์อีกครั้งหลังจาก Godzilla Minus One ได้คว้ารางวัลสาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม (Best Visual Effects) จากเวทีออสการ์ครั้งที่ 96 ไปครองอย่างสมเกียรติ 
    .
    ความสำเร็จของ Godzilla จะว่าได้มาด้วยการนำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์หลากหลายแนวของหลายค่ายก็อาจพูดได้ แต่หากย้อนกลับไปยังต้นกำเนิดจริงๆ ผู้อยู่เบื้องหลังการสร้างสรรค์อย่าง TOHO STUDIOS จากแดนอาทิตย์อุทัยนั้นก็ล้มลุกคลุกคลานและปรับตัวในสมรภูมิความบันเทิงมาอย่างยาวนาน
    .
    ไม่ว่าจะปรับภาพลักษณ์ของเจ้าสัตว์ประหลากตัวนี้ ปรับแนวเรื่องเพื่อให้สอดคล้องกับทาร์เก็ตใหม่ๆ แต่ทุกครั้งไป เคล็ดลับความสำเร็จของ Godzilla ก็วนกลับมาที่รากเหง้าที่ TOHO STUDIOS เซตเอาไว้ ซึ่งรากที่ว่าคืออะไร Biztory ตอนนี้จะพาไปไขคำตอบ  

  • ไอศครีม ไก่ทอด ทิชชู่ อุปกรณ์ไอที ไปจนถึงซูเปอร์มาร์เก็ต มองไปทางไหนก็เห็นสินค้าจากแดนมังกรอยู่รอบตัวเต็มไปหมด เรียกว่าจีนเริ่มคืบคลานเข้ามาเรื่อยๆ จนผู้ประกอบการบ้านเราอยู่ยากเข้าไปทุกที
    .
    จีนได้รับฉายาว่า ‘โรงงานของโลก’ (Factory of the World) ด้วยแรงงานจำนวนมาก การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการขนส่งสินค้าทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซัพพลายเชนที่ครอบคลุม และความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี ทำให้จีนมีบทบาทสำคัญกับเศรษฐกิจโลกในฐานะผู้ผลิตสินค้าขนาดใหญ่ของโลกและเป็นประเทศที่ผลิตสินค้าส่งออกไปยังตลาดทั่วโลกในราคาที่ได้เปรียบคู่แข่ง
    .
    ทุนจีนเข้ามาในไทยส่งผลกระทบยังไงบ้าง แล้ว SME ไทยจะสู้สินค้าจากจีนยังไงดีในวันที่ตั้งกำแพงภาษีอาจไม่เพียงพอ รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.20 ตอนนี้ 

  • ประเด็นที่ร้อนแรงและสั่นสะเทือนแวดวงธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม คงหนีไม่พ้นเรื่องของธุรกิจจีนที่เข้ามารุกหนักในไทย ไม่ว่าจะเป็น MIXUE ร้านไอศกรีมที่ตอนนี้มีสาขาในไทยกว่า 200 สาขา Zhengxin ร้านไก่ทอดที่ราคาเริ่มต้นแค่ 15 บาท Temu แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ขึ้นชื่อเรื่องของถูก และอื่นๆ อีกมากมาย จนทำให้ผู้ประกอบการน้อยใหญ่ต่างหวั่นใจว่าตอนนี้ทุนจีนกำลังเข้ามากินรวบตลาดหรือไม่ แล้วธุรกิจไทยควรจะต้องปรับตัวอย่างไนให้อยู่รอดในวันที่สนามธุรกิจดุเดือดขึ้นทุกวัน
    .
    รายการ Business Summary EP.15 ตอนนี้ เล็ก–มนต์ชัย วงษ์กิตติไกรวัล และพลอย-วรรณทิพย์ โพธิ์พรหม ขอพาไปไขคำตอบถึงที่มาว่าทำไมจีนกำลังจ้องจะตีตลาดในไทยและอาเซียน ไปจนถึงวิธีเอาตัวรอดของคนทำธุรกิจ และการแก้เกมจากภาครัฐในหลากหลายประเทศของอาเซียน ว่าทำอย่างไรถึงป้องกันไม่ให้สินค้าจีนหลั่งไหลเข้าประเทศมามากเกินไป พร้อมสนับสนุนให้ธุรกิจในประเทศยังอยู่รอดอย่างยั่งยืน

  • ทำไมถึงควรเดินทางด้วยจักรยาน และการปั่นจักรยานดีต่อเรา ธุรกิจ และเศรษฐกิจเมืองยังไง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.19 ตอนนี้

  • อร่อย อยู่ตามริมถนนหรือทางเท้า เปิดดึก ซื้อง่ายขายเร็ว แต่ในขณะเดียวกันก็นำพาสัตว์พาหะอย่างหนูหรือแมลงสาบ รวมถึงกีดขวางทางเท้า 
    .
    นี่คือข้อดี-ข้อเสียเมื่อนึกถึงร้านหาบเร่แผงลอยที่เป็นเหมือนสิ่งหล่อเลี้ยงปากท้องคนทำงาน แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้เมืองดูไม่สวยงามหรืออาจสร้างปัญหาให้กับเมืองได้
    .
    หาบเร่แผงลอยอยู่คู่กับเมืองมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่เป็นแผงลอยขายกันง่ายๆ หน้าบ้าน จนมาถึงหาบเร่เอามาขายในเมือง แต่เมื่อเข้ามาแล้วต้องมีการจัดระเบียบและออกแบบให้ร้านค้าอยู่ร่วมกับเมืองและคนได้อย่างถูกกฎหมายด้วย
    .
    ที่มาที่ไปของหาบเร่แผงลอยคืออะไร ต่างประเทศจัดระเบียบหรือผ่อนผันร้านหาบเร่แผงลอยยังไง แล้วร้านค้าริมถนนนี้ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมืองได้ยังไง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.18 ตอนนี้

  • แม้ไม่ใช่คนที่ชื่นชอบการเล่นกีฬาเป็นชีวิตจิตใจ หรือคลั่งไคล้ในแบรนด์กีฬา แต่เชื่อว่าหลายคนน่าจะคุ้นเคยกับชื่อของ Decathlon ด้วยเป็นแบรนด์ที่ขายสินค้าราคาย่อม เข้าถึงง่าย มีโปรดักต์หลากหลายประเภท อีกความดีงามของแบรนด์นี้ยังคือเรื่องคุณภาพ 
    .
    Decathlon ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1976 ซึ่งตอนนี้ก็เป็นเวลากว่า 48 แล้วที่แบรนด์สัญชาติฝรั่งเศส (หรือที่หลานยคนเข้าใจว่าเป็นแบรนด์จีน) ยืนระยะมา และนับเป็นหนึ่งในแบรนด์กีฬาที่เป็นผู้เล่นรายใหญ่ของตลาด ด้วยมีร้านค้าเฉลี่ยกว่า 2,800 สาขาใน 56 ประเทศ ขายอุปกรณ์กีฬากว่า 2,080 รายการ ครอบคลุมกีฬา 80 ชนิด และมีแบรนด์กีฬาเป็นของตัวเองกว่า 20 แบรนด์ 
    .
    อายุแบรนด์และการเป็นอาณาจักรสินค้าด้านกีฬาอาจยังไม่ใช่เหตุผลท้ังหมดที่ทำให้ดีแคทลอนยังคงครองใจผู้คนทุกเพศทุกวัยได้ เพราะเบื้องหลังความสำเร็จและเป็นที่รักของคนทั้งโลกมีมากกว่านั้น และวันนี้ ฉัตรชนก ชัยวงค์ รองบรรณาธิการ Capital และ Host ประจำรายการ Podcast Biztory รอให้คำตอบเบื้องหลังความสำเร็จของแบรนด์ Decathlon แล้วตอนนี้

  • ‘น่ารักมั้ยไม่รู้ แต่รอให้รักอยู่นะรู้ไหม ดูแลแบบไม่พัก เพราะหวังได้รักไม่ใช่ผลักไส’ ช่วงนี้หลายๆ คนน่าจะได้ยินเพลงนี้กันมาบ้าง เสียงใสๆ ดูเข้าถึงง่ายนี้เป็นผลงานของ Butterbear หรือน้องหมีเนยประจำร้านขนม Butterbear Cafe

    น้องหมีเนยคือหนึ่งในวิธีการสร้างสัญลักษณ์เพื่อให้คนจดจำสินค้าและบริการได้ อย่างเมืองเองก็มีการสร้างสัญลักษณ์เพื่อให้คนเห็นแล้วรู้ว่าคือที่ไหนเช่นกัน นั่นก็คือการสร้างมาสคอต (mascot) หรือสิ่งมีชีวิตที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด เมือง องค์กร หรือทีมกีฬาขึ้นมา โดยมาสคอตมักจะถูกออกแบบมาให้มีลักษณะน่ารัก จดจำง่าย และสร้างความเชื่อมโยงกับผู้คน ยกตัวอย่างมาสคอตที่ทุกคนน่าจะรู้จักกันดี เช่น คุมะมง หมีดำแห่งจังหวัดคุมาโมโตะ หรืออย่างปาปา-ทูทู้ มาสคอตปลาทูแม่กลองต่างดาว ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม

    การมีมาสคอตที่สื่อสารตัวตนของเมืองนั้นดียังไง และมาสคอตช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ยังไงบ้าง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.17 ตอนนี้

  • ถ้าพูดถึง Beyond The Vines สตูดิโอออกแบบสัญชาติสิงคโปร์ หลายคนน่าจะนึกถึงกระเป๋าทรง Dumpling ไม่ก็กระเป๋าแบบ Poofy ด้วยเฉดสีถูกใจ ดีไซน์น่าโดน แถมยังฟังก์ชั่น เพราะช่วงปีที่แล้วกระแสการพรีฯ สินค้าข้ามประเทศและบุกไปช้อปกระเป๋าทั้งสองแบบถึงสิงคโปร์นั้นมาแรงแบบฉุดไม่อยู่

    ตอนนี้ไม่จำเป็นต้องพรีฯ สินค้าอีกต่อไป เพราะสองสามีภรรยาอย่าง Daniel Chew และ Rebecca Ting ผู้ก่อตั้งแบรนด์ประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่าวันที่ 26 สิงหาคมนี้ Beyond The Vines สาขาแรกในไทยจะเปิดทำการที่ Central World แถมยังเป็นสาขาแฟล็กชิปของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย!

    ก่อนไปช้อปที่สาขาแรก Biztory ตอนนี้อยากชวนไปขุดคุ้ยเรื่องราวของแบรนด์ที่ไม่ได้เพิ่งเกิด แต่เพิ่งดังระเบิดในช่วงโควิด-19 ว่ากลยุทธ์อะไรกันที่ทำให้ Beyond The Vines พลิกธุรกิจให้ดังจนเปิดสาขานอกประเทศได้ขนาดนี้

  • ผู้คน ต้นไม้ คาเฟ่ ป้าย ประตูหน้าต่าง และน้องแมวที่เจอระหว่างทาง เราเชื่อว่าเมืองยังมีแง่มุมสนุกๆ อีกเยอะ แค่เราออกเดินสำรวจ แต่บางครั้งก็ต้องยอมรับว่าการออกไปเดินในเมืองแลกมาด้วยอากาศร้อนเพราะไม่มีร่มไม้ข้างทาง และอันตรายต่างๆ จากทางเท้าที่เป็นหลุม เป็นบ่อ จะดีแค่ไหนถ้าพื้นที่สาธารณะอย่างทางเท้าที่เราใช้เดินอยู่ทุกวัน ทำให้เราเดินสนุกได้เหมือนเวลาไปต่างประเทศ

    การเดินเป็นวิธีการเดินทางที่ง่าย ดีต่อสุขภาพ และประหยัดที่สุด นอกจากประโยชน์ต่อตัวเองแล้ว การเดินยังมีประโยชน์กับเมืองด้วย ทั้งทำให้เมืองคึกคักมีชีวิตชีวา และส่งเสริมเศรษฐกิจของเมืองในระยะยาว เพราะทุกครั้งที่เราเดินเท่ากับเพิ่มโอกาสในการอุดหนุนธุรกิจหรือร้านค้าของคนตัวเล็กตัวน้อยไปในตัว

    ความรู้สึกที่ทำให้คนอยากเดิน เริ่มต้นจากการมีทางเท้าที่ดีและปลอดภัย รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) ขออาสาพาทุกคนมาดูกันว่าทางเท้าที่ออกแบบดีหน้าตาเป็นแบบไหน และเมืองที่เดินสะดวกช่วยขับเคลื่อนธุรกิจและเศรษฐกิจได้ยังไง ในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.16 ตอนนี้

  • ช่วงที่ผ่านมานี้ เชื่อว่าทุกคนน่าจะได้ยินข่าวปลาหมอคางดำบุกสร้างความเดือดร้อนให้เหล่าเกษตรกร และส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ด้วยเป็น ‘เอเลี่ยนสปีชีส์’ ที่ปรับตัวได้เร็ว อยู่ได้ทั้งน้ำเค็มและน้ำจืด และแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วจนทำให้สัตว์ในท้องถิ่นสูญพันธุ์ได้ 

    เอเลี่ยนสปีชีส์ หรือชนิดพันธุ์ต่างถิ่น คือสิ่งมีชีวิตที่ไม่เคยอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งมาก่อน แต่เข้ามาจากถิ่นอื่น แล้วเกิดการปรับตัวและขยายพันธุ์จนอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่ได้ เช่น ผักตบชวา เป็นต้น แต่บางคนอาจยังไม่รู้ว่าปลานิลและยางพาราเองก็เป็นเอเลี่ยนสปีชีส์เช่นเดียวกัน หมายความว่าเอเลี่ยนสปีชีส์ไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในบ้านเรา

    คำถามสำคัญจึงคือเอเลี่ยนสปีชีส์นั้นมีแต่ข้อเสียอย่างเดียวหรือเปล่า มีชนิดพันธุ์ที่เข้ามาแล้วทำให้เศรษฐกิจดีบ้างไหม แล้วถ้าเข้ามาแล้วไม่ดี เมืองควรจัดการยังไง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.15 ตอนนี้

  • นอกจากสิงคโปร์จะการออกแบบเมืองทางกายภาพ เช่น การสร้างสวนสาธารณะให้คนออกมาพักผ่อนหย่อนใจ การออกแบบทางเท้าให้คนเดินสะดวก อีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเติบโตและคุณภาพชีวิตของคนในเมืองดีขึ้น คือเรื่องขีดความสามารถในการแข่งขัน เพราะเมืองที่สร้างแรงจูงใจให้คนทำงานอยากพัฒนาตัวเอง และมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานได้นั้นย่อมนำมาซึ่งโอกาสในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ดีตามไปด้วย

    แน่นอนว่าสิงคโปร์ไม่ได้มีแต่ข้อดี และยังมีอีกหลายปัญหาให้ต้องเร่งแก้ไข สิ่งที่น่าสนใจคือสิงคโปร์ออกแบบนโยบายยังไง และลงทุนกับอะไรบ้างถึงมีขีดความสามารถในการแข่งขันดีที่สุดในโลกจนทิ้งห่างเพื่อนบ้านได้ รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบและพาแล้วในรายการ Podcast Capital City EP.14 ตอนนี้

  • ขอต้อนรับเข้าสู่ 'Biztory' รายการพอดแคสต์ที่ว่าด้วยเส้นทางความสำเร็จในการทำธุรกิจ ไปจนถึงเบื้องหลังวิธีคิดและกลยุทธ์ในการทำธุรกิจของแบรนด์ต่างๆ จากทั่วทุกมุมโลก ตั้งแต่แบรนด์เล็ก ไปจนถึงแบรนด์ใหญ่ที่มีประวัติศาตร์ยาวนาน
    .
    ดำเนินรายการโดย ออม–ฉัตรชนก ชัยวงค์ ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร Capital นอกจากนั้น ในทุกๆ อีพียังมีเพื่อนๆ ชาว Capital ที่แวะเวียนกันมาแลกเปลี่ยนความเห็นและพูดคุยถึงเรื่องราวของแบรนด์ต่างๆ ไปด้วยกัน

  • สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่หลายคนน่าจะตั้งตารอมานาน ด้วยเป็นสัปดาห์ที่มหกรรมกีฬาสุดยิ่งใหญ่อย่าง Paris 2024 Olympics กำลังจะเปิดฉากอย่างเป็นทางการแล้ว 

    สิ่งที่โดดเด่นมากๆ ของโอลิมปิกครั้งนี้คือ ปารีสพยายามชูว่าเป็นโอลิมปิกที่รักษ์โลกที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยนำพื้นที่สาธารณะที่เป็นแลนด์มาร์กสำคัญทางประวัติศาสตร์มาออกแบบให้เป็นสนามกีฬากลางแจ้ง หรือเรียกให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือการแทรกสนามกีฬาลงไปในพื้นที่สาธารณะ เปลี่ยนจากการดูกีฬาในโดมมาเป็นการดูกีฬาแบบที่มีเมืองปารีสเป็นฉากหลัง เป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่สาธารณะในเมืองที่มีอยู่แล้วได้อย่างคุ้มค่า เพราะไม่ต้องสร้างใหม่ และหลังจากจบงานเมืองก็ได้ใช้ประโยชน์ต่อ 

    Paris 2024 Olympics รอบนี้จะมีอะไรน่าตื่นเต้นบ้าง เป็นมหกรรมกีฬาที่รักษ์โลกที่สุดจริงหรือไม่ ทำไมถึงมีบางเสียงคัดค้านหรือไม่เชื่อว่าจะทำได้จริง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบและพาทัวร์ปารีสไปด้วยกันในรายการ Podcast Capital City EP.13 ตอนนี้

  • รอรถเมล์นานจนร้องไห้ก็เคยมาแล้ว จะนั่งรถไฟฟ้าก็ราคาแพงแถมคนเยอะ แต่ถ้าจะให้นั่งรถแท็กซี่หรือวินมอเตอร์ไซค์ก็จ่ายไม่ไหว และยิ่งแล้วใหญ่ถ้าต้องซื้อรถยนต์ที่พ่วงมากับค่าเติมน้ำมัน 
    .
    เชื่อว่าหลายคนน่าจะเจอปัญหาเดียวกันคือค่าเดินทางในกรุงเทพฯ ราคาแพงจนทำให้รู้สึกเศร้าปนท้อแท้ใจทุกครั้งที่ต้องออกจากบ้าน เพราะบางครั้งต้องเดินทางหลายต่อกว่าจะถึงที่หมาย และต้องเผื่อเวลาเดินทางนานกว่าปกติ ซึ่งแลกมากับการต้องเสียทั้งเงินและเวลา 
    .
    กลับกัน ในประเทศชั้นนำทั่วโลกนั้นมีวิธีออกแบบและบริหารจัดการค่าเดินทางให้ถูกได้ เพราะเห็นว่าทุกค่าเดินทางและค่าโดยสารที่คนเมืองจ่ายไป เพื่อเดินทางไปทำงาน เดินทางไปร้านค้า หรือเดินทางไปพักผ่อนหย่อนใจ ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจและทำให้ธุรกิจเติบโต
    .
    ค่าเดินของคนกรุงเทพฯ สัมพันธ์กับค่าแรงขั้นต่ำแค่ไหน ทำไมกรุงเทพฯ ถึงค่าเดินทางแพง แล้วจะออกแบบเมืองยังไงให้ค่าเดินทางถูกลง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการ Podcast Capital City EP.12 ตอนนี้

  • ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้ AI เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันและในการทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น ใช้แชทบอทในการถาม-ตอบเรื่องที่อยากรู้ หรือแม้แต่ข้าวของเครื่องพวกหม้อหุงข้าว แอร์ ไดร์เป่าผม ก็ยังมี AI ไว้เพิ่มฟังก์ชันการใช้งานและเป็นสีสันทางการตลาด

    แต่ท่ามกลางโอกาสอันดี ก็ยังมีความความท้าทายซ่อนอยู่ เมื่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF คาดการณ์ไว้ว่า เกือบ 40% ของการจ้างงานทั่วโลกจะได้รับผลกระทบจาก AI ที่เข้ามาแทนที่คนในมิติใดมิติหนึ่ง แล้วในฐานะคนทำงานจะต้องอัปสกิล รีสกิลอย่างไร ถึงจะเอาตัวรอดในยุคที่ AI ครองเมืองได้

    รายการ Business Summary EP.14 ตอนนี้ เล็ก–มนต์ชัย วงษ์กิตติไกรวัล พาไปพูดคุยกับ ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ ซีอีโอ ViaLink เพื่อไขคำตอบถึงทางรอดและทางรุ่ง ท่ามกลางความเสี่ยงที่อาจจะโดน AI แย่งงานในอนาคต

  • เผลอแป๊บเดียวก็เข้าสู่หน้าฝนอย่างเป็นทางการแล้ว เชื่อว่าถ้าฝนตกหลังเลิกงานเมื่อไหร่ ทุกคนน่าจะพบเจอกับความยากลำบากทันที ไม่ว่าจะรถติด รถเมล์มาช้ากว่าเดิม ผู้โดยสารในรถไฟฟ้าแน่นขนัด และที่สำคัญคือปัญหาน้ำท่วมและภัยธรรมชาติต่างๆ 
    .
    ตามปกติแล้วเมืองควรออกแบบให้ผู้คนใช้ชีวิต ดำเนินธุรกิจและใช้บริการสาธารณะ รวมถึงทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตลอดทั้งปี เมืองยังต้องถูกออกแบบเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ทางธรรมชาติ เหตุการณ์น้ำท่วมจากฝนตก หรือน้ำทะเลหนุนด้วย ที่ผ่านมา เมืองหลวงหรือราชธานีเก่าตั้งแต่สมัยอยุธยานั้นมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำมาโดยตลอด จึงมีวิธีการอยู่ร่วมกับน้ำซึ่งยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน แต่ด้วยเมืองที่เราอยู่ย่อมขยายใหญ่ขึ้นตามยุคสมัยและความซิวิไลซ์ ทางน้ำผ่านที่เคยออกแบบไว้จึงอาจลดลง  
    .
    การออกแบบเมืองเพื่อรับมือกับน้ำท่วมที่ว่านี้คืออะไร ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีวิธีการป้องกันน้ำท่วมยังไงบ้าง และจะออกแบบเมืองยังไงให้ป้องกันน้ำท่วมได้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการ Podcast Capital City EP.11 ตอนนี้

  • หลังจากเฝ้ารอมา 4 ปี รายการแข่งขันฟุตบอลสุดยิ่งใหญ่อย่างฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป หรือที่นิยมเรียกกันว่า ฟุตบอลยูโร (UEFA EURO) 2024 ก็วนกลับมาให้คอบอลได้ส่งเสียงเชียร์และร้องเพลงชาติดังกระหึ่มไปทั่วทั้งสนามอีกครั้ง
    .
    ถ้าถามคนเยอรมันว่าเชียร์ทีมอะไร พวกเขาก็จะตอบกลับมาว่า “จะเชียร์ทีมอื่นทำไม ก็ต้องเชียร์ทีมเยอรมันสิ” นี่คือประโยคสั้นๆ ที่ทำให้เราเห็นว่ากีฬาฟุตบอลไม่ใช่แค่การแข่งขันเตะลูกกลมๆ แล้ววัดผลแพ้ชนะเท่านั้น ทว่ามันยังผูกพ่วงกับเรื่องการเมือง วัฒนธรรม โดยเฉพาะเศรษฐกิจอย่างแยกไม่ขาด ไม่ว่าจะเป็นการแย่งชิงกันเป็นเจ้าภาพ บรรดาโรงแรมที่เตรียมต้อนรับนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้ามา ร้านค้าร้านอาหารที่ขายดิบขายดี ไปจนถึงธุกิจขายโทรทัศน์ที่มียอดขายเพิ่มขึ้น 
    .
    ชวนทุกคนมาย้อนดูเศรษฐกิจช่วงฟุตบอลยูโร พร้อมกับการตั้งคำถามว่าการเป็นเจ้าภาพนั้นมีข้อดีหรือข้อเสียยังไง กับ รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) ในรายการ Podcast Capital City EP.10 ตอนนี้