Episoder

  • บนผิวแอปเปิ้ลที่มีรอยช้ำหรือเน่าเสีย อาจมีสารพิษพาทูลิน หรือแพท (PAT) ซึ่งมาจากเชื้อรา ที่ก่อพิษได้โดยยับยั้งการทำงานของกลูต้าไธโอน ส่งผลให้เกิดอนุมูลอิสระ และการอักเสบ ทั้งยังจับกับสารพันธุกรรม (DNA) ทำให้ยีนกลายพันธุ์ได้ แม้จะยังไม่มีรายงานว่าก่อมะเร็งในมนุษย์ได้หรือไม่ แต่มีรายงานวิจัยพบว่า ก่อมะเร็งในสัตว์ทดลองได้ถ้ากินต่อเนื่องนานๆ ถ้าไม่อยากเป็นสโนว์ไวท์หรือหนูน้อยหมวกแดงที่ถูกพิษจากแอปเปิ้ล ก็ต้องช่วยกันดูแล ตั้งแต่ขั้นตอนเก็บผลผลิตที่ต้องหลีกเลี่ยงที่ร้อนชื้น ขั้นตอนคัดแยกบรรจุก็คัดผลที่มีรอยช้ำออก และเมื่อเราซื้อมาบริโภคก็ไม่ควรเก็บไว้เป็นเวลานาน ถ้าเห็นแอปเปิ้ลมีรอยช้ำหรือเน่าเสีย อย่าเสียดาย โยนทิ้งเลยดีกว่า เพราะสาร PAT อาจกระจายอยู่ทั่วลูกแล้วโดยเรามองไม่เห็นก็เป็นได้

    ขอขอบคุณน้องหมูหวาน พรทิพย์ คำพูล นักศึกษา ป.โท หลักสูตรพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล สำหรับพอดแคสต์ ดีๆนี้ด้วยนะคะ

  • หนึ่งในสารอาหารจำเป็นที่ช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกัน ก็คือวิตามินซีค่ะ ตอนนี้ยังไม่มีงานวิจัยที่ฟันธงว่า การรับประทานวิตามินซีเสริมจะช่วยป้องกันโควิด ได้หรือไม่ แต่ที่แน่ๆ คือ การขาดวิตามินซีจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ บนโลกที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงจากโรคระบาด ข้อแนะนำที่ดีที่สุดตอนนี้คือ สำรวจตัวเองค่ะว่า ใน 1 วันเรารับประทานอาหารที่มีวิตามินซีเพียงพอหรือยัง ทานฝรั่งได้ 1 ผล ส้ม 2 ลูก น้ำส้ม หรือน้ำทับทิมหรือน้ำมะเขือเทศ 1 กล่อง ส้มโอ 1 ขีด (100 กรัม) หรือไม่? ถ้าไม่ชอบหรือทานน้อย ก็อาจพิจารณาทานอาหารเหล่านี้เพิ่ม หรือรับวิตามินซีเสริมแต่ก็ไม่ควรกินมากไป วันหนึ่งไม่ควรกินวิตามินซีเกิน 2000 มิลลิกรัม ถ้าเรารับประทานอาหารที่มีวิตามินซีเพียงพอก็น่าจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อลงได้บ้างค่ะ

    ขอบคุณน้องปรียารัฐ คีรีรมย์ นักศึกษา ป.โท หลักสูตรพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล สำหรับ content ดีๆนี้ด้วยนะคะ

  • Mangler du episoder?

    Klikk her for å oppdatere manuelt.

  • ขณะนี้มีงานวิจัยที่กำลังดำเนินอยู่ในหลายประเทศเพื่อศึกษาประสิทธิผลของการเสริมสังกะสี ต่อการลดการติดเชื้อหรือลดความรุนแรงของอาการของโรคโควิด 19 สังกะสีเป็นแร่ธาตุจำเป็น ต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ต่อต้านการอักเสบของปอด ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือ เราทุกคนควรบริโภคอาหารที่มีสังกะสีให้เพียงพอ โดยอาหารที่มีสังกะสีสูงได้แก่ อาหารทะเล เนื้อสัตว์ และถั่วต่างๆ หากเราบริโภคอาหารเหล่านี้เป็นประจำน่าจะทำให้ได้รับสังกะสีเพียงพอ และไม่จำเป็นต้องกินสังกะสีเสริม แต่หากไม่มั่นใจว่าได้รับสังกะสีเพียงพอหรือไม่ ก็แนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการ เพื่อประเมินว่า ขาดสังกะสีหรือไม่ จำเป็นต้องบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือไม่ หากรับประทานเสริม ใน 1 วันไม่ควรรับประทานสังกะสี เกิน 40 มิลลิกรัม 

    ขอบคุณน้องหนึ่งฤทัย ครุฑคาบแก้ว นักศึกษา ป.โท หลักสูตรพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล สำหรับ content ดีๆนี้ด้วยนะคะ