Episódios

  • หลังจากที่ สว. ชุดเก่าหมดวาระลงไปเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา ประเทศไทยก็กำลังเข้าสู่กระบวนการเลือก สว. ชุดใหม่ โดยมีกำหนดเปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 20-24 พฤษภาคม ก่อนจะไปสู่กระบวนการเลือกในระดับอำเภอ จังหวัด และประเทศ ในช่วงเดือนมิถุนายน
    .
    เพื่อต้อนรับเทศกาลการเลือก สว. ชุดใหม่ 101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนมาคุยว่าถึงแนวคิด-ข้อถกเถียงต่างๆ ว่าด้วย สว. โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า เราเลือก(ตั้ง) สว. กันไปทำไม และ สว. ยังจำเป็นต้องมีอยู่ไหมสำหรับประเทศไทย
    .
    ดำเนินรายการโดย วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา และ วจนา วรรลยางกูร บรรณาธิการ The101.world
    .
    อ่านเพิ่มเติมที่
    .
    เลือก(ตั้ง) ส.ว. ไปทำไม?
    https://www.the101.world/senator-nuttakorn/
    .
    หาคำตอบ ‘ส.ว. มีไว้ทำไม?’ กับปุรวิชญ์ วัฒนสุข เมื่อวุฒิสภาเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการประชาธิปไตย
    https://www.the101.world/purawich-watanasukh-interview/

  • ChatGPT บุกห้องเรียนมหาวิทยาลัย เอไอละเมิดลิขสิทธิ์ เอไอแย่งงานมนุษย์ ฯลฯ
    .

    ประเด็นเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะในปัจจุบัน ไม่ว่าหันไปทางไหน เอไอก็แทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของเราทุกคน
    .

    แม้เราจะอยู่ท่ามกลางการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเอไอในทุกๆ วัน กระนั้นการมองเอไอในฐานะจุดเปลี่ยนสำคัญของวัฒนธรรมมนุษย์ กลับไม่ค่อยถูกกล่าวถึงเท่าไรนัก
    .

    101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนคุยเรื่องบทบาทของ ‘เอไอ’ ในการเปลี่ยนวัฒนธรรมมนุษย์ ตลอดจนหลักการและนโยบายกำกับดูแลเอไอ เพื่อให้คนอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีใหม่ได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี
    .

    ดำเนินรายการโดย ณัชชา สินคีรี กองบรรณาธิการ The101.world และ สมคิด พุทธศรี บรรณาธิการบริหาร The101.world
    .

    อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่:
    .

    แย่งงาน หลายใจ และใดๆ ที่เอไอทำได้: คุยเรื่องเอไอในฐานะจุดเปลี่ยนวัฒนธรรมมนุษย์ กับ อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล https://www.the101.world/arthit-suriyawongkul-interview/
    .

    มหาวิทยาลัยมีไว้ทำไม? เมื่อ ChatGPT และ AI ทำให้เราเรียนจบได้เหมือนกัน https://www.the101.world/chatgpt-in-the-academic-world/
    .

    อาจารย์มหาวิทยาลัยจะสอนอย่างไร เมื่อ ChatGPT บุกห้องเรียน: ตัวอย่างการปรับตัวอย่างสร้างสรรค์ https://www.the101.world/chatgpt-in-the-academic-world-7/

  • Estão a faltar episódios?

    Clique aqui para atualizar o feed.

  • ‘อยากเรียน ไม่ได้เรียน’

    ‘อีก 10 ปีข้างหน้า ผมก็น่าจะทำไร่อยู่บนดอย’

    ‘ถ้าเด็กมีทางเลือก เขาก็ไม่มามาบวชเรียน’

    ข้างต้นนี้คือเสียงสะท้อนส่วนหนึ่งจากกลุ่ม ‘เด็กนอกสายตา’ ที่กำลังเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำหลายมิติ และเงื่อนไขสภาพความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันออกไป บางคนคือเด็กจากครอบครัวยากไร้ บางคนเป็นเด็กจากภาคเกษตรบนดอยสูง บางคนเป็นสามเณรที่ต้องบวชเพื่อให้ได้เรียน

    พ้นไปจากนี้ยังมีเด็กอีกมากมายที่ไม่เคยถูกมองเห็น ให้ความสำคัญ หรือกระทั่งทำความเข้าใจตัวตนและชีวิตเขาอย่างแท้จริง 101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนคุณมาลองเปิดตา เปิดใจ รับฟังเรื่องราวจากเด็กหลากหลายกลุ่มในชุดผลงาน Spotlight ‘เด็กนอกสายตา’ โดย 101 ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

  • ริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน นอกจากชาวบ้านจะต้องเผชิญอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการสู้รบทางฝั่งพม่าแล้ว พวกเขายังต้องเผชิญกับภัยคุกคามในรูปแบบโครงการพัฒนา นั่นคือ ‘โครงการผันน้ำยวม’ โครงการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำยวมและอ่างเก็บน้ำ ซึ่งเป็นภัยคุกคามที่ปรากฏตัวอย่างเงียบเชียบ
    .
    ท่ามกลางความเงียบ ชาวบ้านลุ่มน้ำสาละวินรับรู้ถึงภัยคุกคามอย่างชัดเจน จึงคัดค้านโปรเจ็กต์ยักษ์ที่อาจทำลายแม่น้ำและวิถีชีวิตของคนในชุมชน
    .
    101 In Focus สัปดาห์นี้ ขอพาทุกคนเดินทางไปยังลุ่มน้ำสาละวิน พร้อมชวยคุยกันว่าด้วยเรื่องการสร้างเขื่อนน้ำยวมที่คนพื้นที่คัดค้าน รวมถึงความไม่ชอบมาพากลที่เกิดขึ้นในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโครงการนี้
    .
    ดำเนินรายการโดย ชลธิชา ทักษิณาเวศน์ และ วจนา วรรลยางกูร กองบรรณาธิการ The101.world
    .
    อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
    - “Let me flow free” คำร้องขอจากลุ่มน้ำสาละวิน ถึง ‘เขื่อนน้ำยวม’ กัมปนาทในความเงียบ
    https://www.the101.world/the-salween-river-basin/

    - EIA EHIA! เสือกระดาษแห่งวงการสิ่งแวดล้อมไทย
    https://www.the101.world/environmental-impact-assessment-obstacle/

  • 101 In Focus EP.223 : เปิดใจคนพม่าลี้ภัยเข้าไทย หลังบังคับใช้กฎหมายเกณฑ์ทหาร
    .
    จากการที่กองทัพพม่าประกาศกฎหมายเกณฑ์ทหารเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกขึ้นในหมู่ประชาชนชาวพม่า เนื่องด้วยการกำหนดช่วงอายุบุคคลผู้เข้าข่ายต้องเกณฑ์ทหารในข้อกฎหมายนี้นั้นกว้าง ทำให้มีประชาชนที่เข้าเกณฑ์รวมกันทั้งสิ้นราว 14 ล้านคน
    .
    กฎหมายเกณฑ์ทหารเปลี่ยนชีวิตประชาชนพม่าให้ตกอยู่ในสถานการณ์คับขัน แม้จะไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรหากหลบหนี แต่ชาวพม่าจำนวนมหาศาลก็ตัดสินใจเผชิญความเสี่ยงด้วยการลี้ภัยไปนอกประเทศ ซึ่งปลายทางก็ไม่พ้นประเทศเพื่อนบ้านอย่างไทย
    .
    101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนเจาะลึกเรื่องชีวิตผู้ลี้ภัยชาวพม่าที่หลบหนีเข้าไทย ว่าต้องเผชิญความยากลำบากอย่างไรจากแนวทางการจัดการเรื่องผู้ลี้ภัยของไทยที่มักถูกตั้งคำถาม เรื่องราวเหล่านี้สะท้อนการกระทำของกองทัพพม่าที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพพลเมืองอย่างไร และไทยควรทำอย่างไรในการเตรียมรับมือสถานการณ์ผู้ลี้ภัยระลอกใหม่ที่กำลังเข้ามา
    .
    ดำเนินรายการโดย ณัชชา สินคีรี กองบรรณาธิการ The101.world และ วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา บรรณาธิการ The101.world
    .
    อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ : “ผมต้องละทิ้งชีวิตทั้งหมดแล้วหนีมา” เปิดใจคนพม่าลี้ภัยเข้าไทย หลังบังคับใช้กฎหมายเกณฑ์ทหาร https://www.the101.world/burmeses-under-forced-conscription/

  • ในโลกที่เสก ‘รสนิยม’ ได้ด้วยปลายนิ้ว เราอยู่ในโลกที่สามารถซื้อรูปเทสต์ดีของ ‘คนอื่น’ มาแอบอ้างเป็นของ ‘ตัวเอง’ ได้ ทำให้กลุ่มซื้อขายรูปกลายเป็นประเด็นบนโลกออนไลน์
    .
    การเกิดขึ้นของกลุ่มซื้อขายรูป นับเป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนอิทธิพลของโลกออนไลน์ที่มีมากขึ้นในทุกวันนี้ จนทำให้คนเริ่มอยากสร้างโลกอีกใบโดยการเอารูปคนอื่นมาอ้างว่าเป็นตนเอง และเพราะเหตุใดคนจึงยอม ‘ลงทุน’ เพื่อพยายามเป็นคนอื่นบนโลกออนไลน์
    .
    101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนทำความเข้าใจจักรวาลการซื้อขายรูปในโลกออนไลน์ ตลอดจนตั้งคำถามต่อว่าปรากฏการณ์นี้บอกอะไรเรา และสะท้อนความเป็นไปของสังคมอย่างไรบ้าง
    .
    ดำเนินรายการโดย ศุภวิชญ์ ศิริสวัสดิ์วัฒนา และ ชลธิชา ทักษิณาเวศน์ กองบรรณาธิการ The101.world

    อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
    ไม่ยาก ถ้าอยากเป็น ‘วัยรุ่นเทสต์ดี’ : เข้าใจจักรวาลซื้อขายรูป กับการพยายามอยากเป็น ‘คนอื่น’ บนโลกออนไลน์
    https://www.the101.world/fake-photos-for-fake-identity-account/

  • คำถามที่ว่า ‘เก็บภาษีไปทำไม?’ ยังคงไหลเวียนอยู่ในพื้นที่การถกเถียงสาธารณะมาทุกยุคทุกสมัย แม้จะเป็นที่เข้าใจกันว่าระบบภาษีในรัฐสมัยใหม่ มีขึ้นเพื่อให้รัฐมีรายได้ไปสร้าง ‘ระบบสวัสดิการสังคม’ ในรูปแบบต่างๆ และ ‘กระตุ้นการใช้จ่าย’ เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศดำเนินไปได้ด้วยดี ซึ่งผู้ได้ประโยชน์คือประชาชนทุกคน ถึงกระนั้น พลเมืองผู้เสียภาษีหลายคน ก็ยังรู้สึกกังขาว่าภาษีที่จ่ายไปถูกนำมายกระดับคุณภาพชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ และระบบภาษีที่ใช้กันในปัจจุบันนี้ต้องมีการทบทวนปรับปรุงแก้ไขในด้านใดบ้าง
    .
    101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนย้อนดูประวัติศาสตร์หน้าที่ของภาษี ที่เปลี่ยนผ่านจากการขูดรีดประชาชน สู่การเป็นเครื่องมือลดความเหลื่อมล้ำ พร้อมตั้งคำถามกับระบบภาษีรัฐไทยและโลกในปัจจุบัน ว่าอะไรคือโจทย์ใหญ่ในการสร้างระบบภาษีที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม
    .
    ดำเนินรายการโดย สมคิด พุทธศรี บรรณาธิการบริหาร The101.world และ เพ็ญพิชชา มุ่งงาม กองบรรณาธิการ The101.world
    .
    อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่:
    ปรัชญาภาษี : จาก ‘ภาษีคือการปล้น’ สู่ ‘เครื่องมือลดความเหลื่อมล้ำ’
    https://www.the101.world/philosophy-of-taxation/
    .
    รัฐไทยรายได้ภาษีน้อย เก็บเพิ่มไม่ได้แปลว่าเศรษฐกิจจะพัง
    https://www.the101.world/thai-government-tax-revenue/
    .
    ผาสุก พงษ์ไพจิตร : ปฏิรูปภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อสังคมไทยเสมอหน้า
    https://www.the101.world/interview-pasuk/
    .
    ‘ปฏิรูประบบภาษีไทย’ กับ อธิภัทร มุทิตาเจริญ
    https://www.the101.world/one-on-one-atipat/
    .
    ภาษี e-Service: ก้าวแรกของการเก็บภาษีจาก Digital Economy
    https://www.the101.world/e-service-tax-and-digital-economy/

  • ว่ากันว่า ประวัติศาสตร์นั้นมีสองด้านเสมอ ชวนสำรวจประวัติศาสตร์แบบ ‘๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ’ (2024) แอนิเมชั่นที่พูดถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 ด้วยการหยิบประวัติศาสตร์กระแสหลักมาเล่าใหม่ และเลนส์การมองการคัดง้างทางอำนาจของการเมืองไทยแบบฝั่งธรรมะ-อธรรม รวมทั้งผู้สอน-ผู้ถูกสอนด้วย
    .
    ดำเนินรายการโดย พิมพ์ชนก พุกสุข และ ศุภวิชญ์ ศิริสวัสดิ์วัฒนา กองบรรณาธิการ The101.world
    .
    อ่านเพิ่มเติมที่ www.the101.world/2475-dawn-of-revolution/

    The101World

  • ท่ามกลางการแข่งขันในแวดวงสื่อมวลชนที่เข้มข้นและท้าทายขึ้น หลายสำนักข่าวต้องพยายามดิ้นรนหาทางรอดด้วยการดึงเม็ดเงินโฆษณาให้ได้มากที่สุด จนทำให้เราได้เห็นข่าวประชาสัมพันธ์กันเกลื่อนหน้าสื่อไทย
    .

    แม้นี่จะไม่ใช่เรื่องผิด แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือข่าวเหล่านั้นมักไม่แปะป้ายให้คนเห็นชัดเจนว่าเป็นสื่อประชาสัมพันธ์อย่างที่ควรจะเป็น ทำให้ผู้เสพสื่อถูกยัดเยียดโฆษณาแบบไม่รู้ตัว ขณะเดียวกันการพึ่งพิงงบโฆษณาที่มากขึ้นเรื่อยๆ ก็ทำให้สื่อไทยสุ่มเสี่ยงโดนแทรกแซงเนื้อหาจากเอกชนเจ้าของเงินทุนเช่นกัน
    .

    ในภาวะแบบนี้ เราจะทำอย่างไรให้สื่อไทยยังคงรักษาจรรยาบรรณและความเปิดเผยโปร่งใสต่อประชาชน แต่ขณะเดียวกันก็สามารถเอาตัวรอดได้จากความท้าทายที่บีบเข้ามารอบด้าน? 101 In Focus ชวนมาพูดคุยกันในเรื่องนี้
    .

    ดำเนินรายการโดย ภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์ และ วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา บรรณาธิการ The101.world
    .

    อ่านเพิ่มเติมที่บทความ "ทางรอดที่ต้องแลก? – ว่าด้วยเสรีภาพและความโปร่งใส ในวันที่สื่ออยู่ได้ด้วยเงินโฆษณา กับ ‘อริน เจียจันทร์พงษ์’" https://www.the101.world/arin-jiajanpong-interview/

  • ‘ถวายคืนพระราชอำนาจ’ เคยเป็นข้อเรียกร้องของปัญญาชนฝ่ายกษัตริย์นิยมและผู้ชุมนุมช่วงก่อนรัฐประหาร 2549 สะท้อนความต้องการให้สถาบันกษัตริย์ควบคุมนักการเมืองในสถาบันแนวประชาธิปไตย

    เรื่องนี้ปรากฏอยู่ในดุษฎีนิพนธ์ ‘เสรีนิยมธรรมราชา: พลวัตแห่งอำนาจระหว่างสถาบันกษัตริย์กับสถาบันแนวประชาธิปไตยในโครงการจำกัดอำนาจเสียงข้างมาก (พ.ศ. 2540 – 2560)’ ผลงานการศึกษาของ ปฤณ เทพนรินทร์

    เสรีนิยมธรรมราชาคืออะไร เกิดขึ้นอย่างไร และถูกนำมาใช้อย่างไร

    101 In Focus สัปดาห์นี้ชวนทำความเข้าใจเรื่องเสรีนิยมธรรมราชา บริบทสังคมที่ทำให้เกิดข้อเรียกร้องให้สถาบันกษัตริย์มีพระราชอำนาจในการควบคุมสถาบันแนวประชาธิปไตย จนถึงความเปลี่ยนแปลงของเสรีนิยมธรรมราชาในปัจจุบัน

    ดำเนินรายการโดย ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย บรรณาธิการอาวุโส The101.world และ วจนา วรรลยางกูร บรรณาธิการ The101.world

    อ่านเพิ่มเติมที่

    ‘เสรีนิยมธรรมราชา’ ในโครงการจำกัดอำนาจเสียงข้างมากของชนชั้นนำจารีต: ปฤณ เทพนรินทร์
    www.the101.world/prin-tepnarin-interview/

  • ทฤษฎี ‘สองนคราประชาธิปไตย’ โดยเอนก เหล่าธรรมทัศน์ ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2537 ผ่านระยะเวลามาสามทศวรรษ มาถึงปัจจุบันที่การเมืองไทยยังเต็มไปด้วยความขัดแย้งทางการเมืองที่นับวันก็ยิ่งซับซ้อนและร้อนระอุมากขึ้น

    101 In Focus ตอนนี้ชวนคุยว่า ‘สองนคราประชาธิปไตย’ ยัง ‘ใหม่’ พอที่จะอธิบายการเมืองไทยได้อยู่หรือไม่

    ดำเนินรายการโดย ศุภวิชญ์ ศิริสวัสดิ์วัฒนา กองบรรณาธิการ The101.world และ สมคิด พุทธศรี บรรณาธิการบริหาร The101.world
    ...
    อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ :

    จาก ‘ไข่ดาวหนึ่งใบ’ สู่ ‘ไข่ดาวหลายใบ’: อ่านใหม่ ‘สองนคราประชาธิปไตย’ เมื่อภูมิทัศน์การเมืองไทยเปลี่ยน กับ ณพล จาตุศรีพิทักษ์
    https://www.the101.world/napon-jatusripitak-interview/

    ไม่ว่าอยู่เมืองใหญ่หรืออยู่ป่า เราต่างมองหาความยุติธรรม: หาคำตอบเรื่อง ‘เมืองยุติธรรม’ กับ อภิวัฒน์ รัตนวราหะ
    https://www.the101.world/apiwat-ratanawaraha-interview-multiverse-of-justice/

    เจ้าฟ้า-เจ้าสัว: จากความมั่งคั่งบนสายสัมพันธ์ สู่การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ‘ปวงชน อุนจะนำ’
    https://www.the101.world/puangchon-unchanam-interview/

  • 'อินโดนีเซีย' ได้เดินหน้าเข้าสู่จุดเปลี่ยนทางการเมืองครั้งสำคัญ เมื่อโจโก วีโดโด (Joko Widodo) ถึงคราวบอกลาตำแหน่งประธานาธิบดีหลังครองอำนาจมาต่อเนื่องครบ 10 ปีเต็ม เปิดทางให้ผู้นำคนใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

    โดยผลลัพธ์อย่างไม่เป็นทางการ ประกาศว่า ปราโบโว ซูเบียนโต (Prabowo Subianto) และ กีบรัน รากาบูมิง รากา (Gibran Rakabuming Raka) คือประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนต่อไป ด้วยชัยชนะแลนด์สไลด์ที่ได้คะแนนเสียงไปถึงร้อยละ 58

    แต่การคว้าชัยในครั้งนี้ของนายทหารวัย 72 ปีและบุตรชายคนโตของโจโกวี ทำให้เกิดคำถามถึงความเป็นประชาธิปไตยในอินโดนีเซียว่าเป็นไปตามครรลองมากน้อยแค่ไหน หรือประเทศแห่งนี้จะย้อนกลับไปสู่ยุคเผด็จการ และสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนจะย่ำแย่ลง?

    101 In Focus สัปดาห์นี้ เล่าเบื้องหลังการเกาะติดสถานการณ์การเลือกตั้ง ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เสียงของผู้สนับสนุนและวิพากษ์วิจารณ์ว่าที่ผู้นำ ปราโบโว-กีบรัน ไปจนถึงอนาคตของอินโดนีเซียภายหลังผ่านพ้นการเลือกตั้งและรับตำแหน่งเสร็จสิ้น

    ดำเนินรายการโดย ภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์ และวงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา บรรณาธิการ The101.world

  • สัปดาห์ที่ผ่านมา ปัญหาลิงในลพบุรีวนกลับมาอยู่ในห้วงความสนใจของชาวไทยอีกครั้ง หลังภาพสุดไวรัลของเด็กหญิงที่ถือปืนปลอมขู่ลิงและภาพลิงถือปืนนั่งอยู่บนรั้วพระปรางค์สามยอดทำให้เกิดการพูดถึงผลกระทบจากการเพิ่มจำนวนของลิงในลพบุรีเป็นวงกว้าง เพราะเบื้องหลังความตลกร้ายของภาพดังกล่าวคือชีวิตคนและลิงที่ยังหาตรงกลางในการอยู่ร่วมกันไม่ได้

    บ่อยครั้งเมื่อมีการถกเถียงถึงวิธีแก้ปัญหา มักจะมีคนเอ่ยถึงแนวทางที่เด็ดขาดและรุนแรง แต่ในความเป็นจริงไม่อาจทำแบบนั้นได้ เพราะปัญหาไม่ได้เป็นสีขาว-ดำอย่างที่เราเข้าใจ ก่อนจะด่วนตัดสินว่าลิงคือผู้ร้ายในปัญหานี้ เราต้องทำความเข้าใจลิงให้มากพอกับการทำความเข้าใจคน

    101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนทำความเข้าใจปัญหาลิงในลพบุรีให้ถึงต้นตอ สถานการณ์ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร คนกับลิงอยู่กันแบบไหน และเราจะหาทางออกที่ยั่งยืนได้อย่างไร

    ดำเนินรายการโดย ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย บรรณาธิการ The101.world และ เพ็ญพิชชา มุ่งงาม กองบรรณาธิการ The101.world

    อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
    ลิงโลกเก่าในเมืองใหม่: ลิงลพบุรี ปัญหา ‘ลิงแก้แห’ ที่ควรแก้ได้
    www.the101.world/the-monkeys-of-lopburi/

  • ประเด็นเรื่องการปรับปรุงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครถือเป็นหนึ่งในประเด็นที่หลายคนให้ความสนใจ ในแง่ที่ว่า นี่อาจเป็นการปรับปรุงรูปโฉมกรุงเทพฯ เสียใหม่ จากผังเมืองที่เต็มไปด้วยซอกซอยคดเคี้ยวและเดินทางลำบาก ก็อาจเป็นเมืองที่เดินทางสะดวก มีการคมนาคมสมบูรณ์ขึ้น ผู้คนใช้ชีวิตได้ง่าย

    กระนั้น มันก็ถูกจับตามองในแง่ที่ว่า นี่อาจเป็นการปรับปรุงผังเมืองที่เอื้อต่อ 'ทุน' เมื่อมีการจัดวาง ‘พื้นที่สีแดง’ หรือพื้นที่สำหรับส่งเสริมกิจกรรมเชิงพาณิชยกรรมต่างๆ และด้านหนึ่งก็อาจรุกไล่คนตัวเล็กตัวน้อยออกไปโดยไม่รู้ตัว แต่ถึงอย่างนั้น ทุนก็นับเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่จำเป็นสำหรับการจัดทำผังเมือง

    คำถามคือ แล้วเราจะจัดวางตำแหน่งแห่งที่ให้ทุนอยู่กับผังเมืองอย่างไร ให้มันเป็นเมืองที่โอบรับผู้คนทุกประเภท

  • คนไทยหลายคนต่างมีความหวังอยากให้ประเทศเปลี่ยนผ่าน-ก้าวไปข้างหน้า ไม่ว่าจะในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ แต่แม้ความหวังจะปรากฏให้เห็นรำไรๆ หลายครั้ง ก็เหมือนมีอะไรฉุดรั้งไม่ให้เราก้าวเดินไปถึงมันได้สักที
    .

    101 In Focus ตอนนี้ ชวนมาคุยกันว่าประเทศไทยกำลังติดหล่มอะไรกันอยู่ แล้วเราจะก้าวพ้นมันไปได้อย่างไร
    .

    ดำเนินรายการโดย เบน - วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา บรรณาธิการ The101.world และ กุ้ง - เพ็ญพิชชา มุ่งงาม กองบรรณาธิการ The101.world
    .

    อ่านเพิ่มเติมที่
    .

    - ‘ความหวังในหล่มโคลน’ สังคมไทยบนทางแยกสู่ประชาธิปไตยจำแลง: สมชาย ปรีชาศิลปกุล
    the101.world/Somchai-preechasinlapakun-interview/
    .

    - ทางตันเศรษฐกิจ-เกษตรกรรมไทยในเขาวงกต ‘หนี้’: มองทิศทางเศรษฐกิจไทย กับ โสมรัศมิ์ จันทรัตน์
    the101.world/sommarat-chantarat-interview/
    .

    - “ผลประโยชน์แห่งชาติไม่เท่ากับผลประโยชน์รัฐบาล” ตั้งหลักใหม่ในยุคสมัยที่โลกติดหล่ม ไทยตกหลุม: พงศ์พิสุทธิ์ บุษบารัตน์
    the101.world/pongphisoot-busbarat-interview/
    .

    - “ซอฟต์พาวเวอร์ต้องเข้าไปประทับในจิตวิญญาณ” ฉากทัศน์หน้าของวงการศิลปะและวัฒนธรรมไทยในสายตาของ พิเชษฐ กลั่นชื่น
    the101.world/pichet-klunchun-interview/
    .

    - Spotlight - ไทย Stuck ตาม Style?
    the101.world/category/spotlights/issue/thai-stuck-thai-style/

  • ผู้ใหญ่มักพูดว่า “เด็กคืออนาคตของชาติ” แต่ปัจจุบันเด็กไทยจำนวนหนึ่งไม่มีพื้นที่ให้เติบโตได้อย่างปลอดภัย ในช่วงปี 2018 – 2022 มีเด็กตกเป็นเหยื่อความรุนแรงภายในครอบครัวเพิ่มขึ้น และยังมีเด็กอีกจำนวนไม่น้อยต้องเผชิญกับปัญหาความยากจนและถูกทอดทิ้ง

    ‘สถานรองรับ’ จึงเป็นที่พักพิงแก่เด็กเหล่านี้ แต่งบประมาณที่รัฐไทยจัดสรรให้สถานรองรับทั้งประเทศนั้นไม่เพียงพอ ทำให้สถานรองรับอาจไม่ใช่ที่พักพิงของเด็กๆ

    101 In Focus สัปดาห์นี้ชวนคุยกันเรื่องงบ ‘สงเคราะห์’ เด็กไทยที่มีแนวโน้มลดลง แถมยังต่ำกว่าค่าใช้จ่ายที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อเด็กอย่างไร และชวนมองไปถึงแนวทางดูแลเด็กที่ควรจะเป็น

    ดำเนินรายการโดย อินทร์แก้ว โอภานุเคราะห์กุล กองบรรณาธิการ The101.world และ พิชชากร เรืองเดชาวิวัฒน์ นักวิจัยนโยบายสาธารณะ 101 PUB

  • ประโยคที่ว่า “คุกมีไว้ขังคนจน” เป็นสิ่งที่คนจำนวนมากพูดขึ้นมาเมื่อนึกถึงกระบวนการยุติธรรมไทย

    ‘ความเหลื่อมล้ำ’ ในกระบวนการยุติธรรมไทยไม่ใช่เรื่องใหม่ มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีตและยังคงมีให้เห็นอยู่บ่อยครั้งในปัจจุบัน จนกลายเป็นภาพจำและสิ่งที่คนคาดการณ์เป็นปกติไปแล้ว

    อะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำดังกล่าว เฉพาะความจนเท่านั้นหรือเปล่าที่ทำให้คนเข้าไม่ถึงสิทธิต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรม

    101 In Focus สัปดาห์นี้ชวนคุยกันเรื่องความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรม มองปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวอย่างรอบด้าน และวิเคราะห์ลึกลงไปให้ถึงรากของปัญหาในกระบวนการยุติธรรมที่ฝังตัวอยู่ในวิธีคิดแบบไทยๆ

    ดำเนินรายการโดย วจนา วรรลยางกูร บรรณาธิการ The101.world และ รัชพงษ์ แจ่มจิรไชยกุล นักวิจัยอิสระ

  • จาก 2566 ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นปี ‘พีก’ ที่สุดปีหนึ่งของสังคมไทย สู่การเริ่มต้นปีใหม่ที่ยังเต็มไปด้วยโจทย์สืบเนื่องและสารพัดเรื่องน่าจับตา

    ตั้งแต่การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ กฎหมายนิรโทษกรรม ปลายทางของนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต ไปจนถึงการเลือกตั้งใหญ่ในหลายประเทศ อาทิ ไต้หวัน อินโดนีเซีย อินเดีย สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา

    ยังไม่นับว่าเราต้องเผชิญกับความเหลื่อมล้ำ การผูกขาดทางเศรษฐกิจ และปัญหาคุณภาพชีวิตที่ ‘ไทย Stuck ตาม Style’ อีกหลากหลายด้าน

    จะเริ่มแก้จากตรงไหน? อะไรที่จะทำให้เราไม่เสียเวลาไปมากกว่านี้? 101 In Focus ตอนแรกของปี 2567 ชวนคุณย้อนมองเหตุการณ์ที่สุดแห่งปี 2566 ตามด้วยความท้าทายและ ‘ช้าง’ ตัวใหญ่ในห้องของสังคมไทยที่ควรพูดถึงกันเสียที

    ดำเนินรายการโดย ภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์ บรรณาธิการ The101.world และ สมคิด พุทธศรี บรรณาธิการบริหาร The101.world

  • ช่วงสิ้นปีนี้ทีมงาน 101 จึงชวนย้อนมองผลงานยอดอ่านสูงสุด 10 อันดับของ The101.world ในช่วงปี 2023 ที่ผ่านมา อันเป็นภาพสะท้อนความสนใจของผู้อ่าน ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาหลากหลายประเด็น ทั้งเนื้อหาเข้มข้นลึกละเอียด ไปจนถึงเนื้อหาที่โยนคำถามเพื่อชวนสังคมร่วมบทสนทนา
    .

    ในปีที่เหตุบ้านการเมืองทั้งในและนอกประเทศปะทุและคุกรุ่นนี้ มีอะไรซ่อนอยู่ใต้น้ำอีกบ้าง และสังคมกำลังสนใจอะไร
    .

    ดำเนินรายการโดย ภัคจิรา มาตาพิทักษ์ และ ศุภวิชญ์ ศิริสวัสดิ์วัฒนา กองบรรณาธิการ The101.world

  • เมื่อกล่าวถึงความยุติธรรม หลายคนจะจำกัดนิยามไว้เพียงบทกฎหมายหรือหลักนิติศาสตร์เท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้วกฎหมายไม่ได้เท่ากับความยุติธรรมเสมอไป เพราะการดำเนินชีวิตของมนุษย์มีความสลับซับซ้อนและแตกต่างหลากหลายเกินกว่าตัวบทกฎหมายจะอำนวยความยุติธรรมให้แบบครอบคลุมได้

    101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนสำรวจโลกของ ‘ความยุติธรรม’ ในมิติต่างๆ ที่นอกเหนือจากแค่มิติกฎหมายหรือนิติศาสตร์ที่เราคุ้นเคย ทั้งมิติทางสังคมวิทยา-มานุษยวิทยา, เศรษฐกิจ, การออกแบบเมือง, สิ่งแวดล้อม, การเมืองเปลี่ยนผ่าน และประวัติศาสตร์ จากมุมมองของผู้เชี่ยวชาญในแต่ละศาสตร์สาขา

    ดำเนินรายการโดย วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา บรรณาธิการ The101.world และ เพ็ญพิชชา มุ่งงาม กองบรรณาธิการ The101.world