Episódios
-
โรคปอดอักเสบ วัยไหนก็เป็นได้
โรคปอดอักเสบ หรือที่เราคุ้นหูว่า ปอดบวม เป็นโรคติดต่อทางระบบเดินหายใจ ที่พบบ่อยในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ และผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ระดับความรุนแรงของโรคปอดอักเสบจะแตกต่างกันไป ที่อันตรายที่สุดคือการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้
โรคปอดอักเสบเกิดขึ้นได้อย่างไร
เป็นแล้วจะอันตรายหรือไม่
ใครบ้างที่เสี่ยงต่อโรคปอดอักเสบ
วันนี้ คุณหมอภัททมาภรณ์ ศิริรัตน์สัตยะกุล อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจและภาวะวิกฤตระบบการหายใจ มีคำตอบมาฝาก เรามาฟังกันเลยค่ะ -
โรคหลอดเลือดสมอง รักษาทัน ป้องกันอัมพฤกษ์-อัมพาต
โรคหลอดเลือดสมอง หรือ สโตรก Stroke คือ ภาวะที่สมองขาดเลือด เมื่อสมองขาดเลือด จะทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อาการแสดงออกมากน้อยขึ้นกับระดับความรุนแรง และตำแหน่งของสมองที่ถูกทำลาย เช่น ชาหรืออ่อนแรงที่บริเวณใบหน้า ชาครึ่งซีกของร่างกายไม่ว่าจะเป็นบริเวณ ใบหน้า แขนขา บางรายอาจมีปัญหาเรื่องการพูด พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก เวียนศีรษะ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน เดินเซ ทรงตัวลำบาก
หากมีอาการของโรคหลอดเลือดสมองควรรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล เพราะการมาโรงพยาบาลได้ทันท่วงทีจะลดความเสี่ยงของการเป็นโรคอัมพฤกษ์-อัมพาตเฉียบพลันจากโรคนี้ได้
ถ้าหากมีอาการแล้วต้องรีบมาหาหมอภายในระยะเวลาเท่าไหร่?
จึงจะลดโอกาสการเกิดภาวะทุพพลภาพและลดอัตราการเสียชีวิตได้นั้น
วันนี้ คุณหมอศักดิ์สิทธิ์ กฤตลักษณ์กุล อายุรแพทย์ระบบประสาทและสมอง
มีคำตอบมาฝาก เรามาฟังกันเลยค่ะ
-
Estão a faltar episódios?
-
โดย นพ.กัปตัน วิริยะลัพภะ :โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
-
รู้ทัน ภัยเงียบ โรคกระดูกพรุน
กระดูกพรุน เป็นปัญหาของคนทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะผู้หญิง และผู้สูงอายุ ซึ่งเกิดจากแคลเซียมในร่างกายไม่เพียงพอ ทำให้ความหนาแน่นของกระดูกน้อยลงจนเกิดการแตกหักได้ง่าย
โรคนี้เป็นภัยเงียบที่ไม่มีสัญญาณเตือนใด ๆ ส่วนมากจะตรวจพบจากการหกล้มหรือกระแทกจนกระดูกหัก หรือมาพบแพทย์เพราะมีปัญหาตัวเตี้ยลง หลังค่อมหรือหลังโก่ง... แต่สามารถพบเจอโรคนี้ได้ผ่านการตรวจความหนาแน่นของกระดูก ซึ่งจะทำให้เราเตรียมตัวรับมือได้ทันก่อนเกิดความเสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาต
วันนี้ คุณหมอมานพ จันทนพันธ์ สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญมะเร็งนรีเวช ผ่าตัดผ่านกล้องและมีบุตรยาก มีคำตอบมาฝาก เรามาฟังกันเลยค่ะ -
อาการแบบนี้เป็นภูมิแพ้ หรือแค่หวัด
โรคภูมิแพ้และหวัด สามารถแยกความแตกต่างได้โดยที่โรคภูมิแพ้อากาศ เกิดจากการตอบสนองของร่างกายที่ไวต่อสารก่อภูมิแพ้มากกว่าปกติ จะมีอาการคันจมูก คันตา น้ำตาไหลร่วมด้วย ซึ่งต่างกับโรคหวัด ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส จะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล โดยช่วงแรกน้ำมูกจะใสแล้วค่อย ๆ ข้นขึ้น ปวดเมื่อยตามตัว บางรายอาจมีไข้ร่วมด้วย
วันนี้ คุณหมอจิตติมา เวศกิจกุล กุมารแพทย์เฉพาะทางโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันในเด็ก
ชวนมาทำความรู้จักกับโรคทั้งสอง เราไปฟังกันเลยค่ะ
-
กินเจ กินอย่างไรไตไม่พัง
โปรตีนในอาหารเจส่วนใหญ่ทำจากเต้าหู้ ฟองเต้าหู้และถั่ว ที่มีฟอสฟอรัสค่อนข้างสูง ซึ่งอาจส่งผลต่อระดับฟอสฟอรัสในเลือดได้ ผู้ป่วยโรคไตสามารถทานเจได้ หากได้รับคำปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทาง หรือนักกำหนดอาหาร เพราะผู้ป่วยโรคไตแต่ละระยะมีความเข้มงวดในการควบคุมอาหารที่ต่างกัน
> ทานเค็ม ทำให้เป็นไตวายเรื้อรังได้จริงเหรอ ?
> ปริมาณความเค็มของแต่ละคนไม่เท่ากัน แล้วเท่าไหร่ถึงจะพอดี ?
วันนี้ คุณหมอแสงเดือน สำราญทรัทย์ อายุรแพทย์โรคไต
มีคำแนะนำมาฝาก เราลองไปฟังกันเลยค่ะ
-
สุขภาพดี วัยสูงอายุ
เมื่ออายุที่มากขึ้นส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายถดถอยลง ผู้สูงอายุจึงเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทั้งสุขภาพกายและจิตใจได้ง่ายขึ้น
แต่การดูแลตัวเองอย่างดีอาจช่วยชะลอความเสื่อมนั้นได้ วัยผู้สูงอายุจึงเป็นวัยที่ต้องได้รับการดูแลเฉพาะที่แตกต่างจากวัยอื่น ๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสม มีสุขภาพแข็งแรงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อลดปัญหาทั้งต่อผู้สูงอายุเอง ต่อครอบครัว และสังคม
การดูแลผู้สูงอายุต้องให้ความสำคัญในด้านใดบ้าง?
วันนี้ คุณหมอชัยวัฒน์ สวนยา แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และคุณหมอธันวา ธีรัตพชรากุล อายุรแพทย์
มีคำแนะนำมาฝาก เราลองไปฟังกันเลยค่ะ
-
RSV ไวรัสตัวร้าย เป็นโรคในระบบทางเดินหายใจ สามารถติดต่อกันได้ง่ายเพียงการสัมผัสใกล้ชิด หรือสัมผัสสารคัดหลั่งทางตา จมูก และทางลมหายใจ
ช่วงนี้ภูเก็ตเจอทั้งฝน ทั้งมรสุม ทำให้อากาศชื้น เจ้าไวรัสร้าย RSV กำลังระบาด หากลูกน้อย มีไข้ มีเสมหะ หายใจเหนื่อย หายใจมีเสียงหวีด หายใจครืดคราด ให้รีบพบแพทย์ทันที
ไวรัส RSV กับไข้หวัด แตกต่างกันอย่างไร ?
อันตรายถึงชีวิตจริงหรือไม่ ?
วันนี้ คุณหมอวรุณ ตั้งจิตราพิทักษ์ กุมารแพทย์
มีคำตอบมาฝาก เราลองไปฟังกันเลยค่ะ
-
โพรไบโอติกส์ จุลินทรีย์ดี ฮีโร่ประจำลำไส้
โพรไบโอติกส์ มักพบในนมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ต ที่ช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหารและระบบอื่น ๆ ของร่างกาย ช่วยผลิตสารต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคได้ ดังนั้น โพรไบโอติกส์จึงช่วยทำให้เกิดความสมดุลทั้งระบบของร่างกาย
โพรไบโอติกส์ คืออะไร ? มีความสำคัญอย่างไรต่อสุขภาพ ?
วันนี้ คุณหมอ.วรมน พลายชุม อายุรแพทย์ทั่วไป
มีคำตอบมาฝาก เรามาทำความรู้กับจุลินทรีย์ตัวจิ๋วกันเลยค่ะ
-
สวยได้ในไทย ไม่ต้องบินไกลถึงเกาหลี
สาว ๆ ที่อยากสวยแต่โควิดระบาดแบบนี้จะไปเกาหลีก็คิดหนัก จริง ๆ แล้วทำศัลยกรรมในไทยก็สวยปังได้ ไม่ต้องบินไกลถึงเกาหลี เพราะที่ PPSI เรามีแพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมตกแต่ง ที่ผ่านการรับรองโดยสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งทั้งไทยและต่างประเทศ … ไม่ใช่แค่ผ่านการรับรอง แต่สมาคมฯ จะสนับสนุนความรู้และเทคโนโลยีให้แพทย์อย่างต่อเนื่อง มั่นใจได้เลยว่าทำศัลยกรรมที่ PPSI คุณจะได้รับการรักษาที่เหมาะสม ปลอดภัย ตามมาตรฐานระดับสากล (JCI)
-
แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว ด้วยเทคนิคการผ่าตัดผ่านกล้องแบบ MIS
การผ่าตัดผ่านกล้อง ด้วยเทคนิค MIS เป็นการผ่าตัดโดยการเจาะผ่านช่องท้องใกล้บริเวณอวัยวะที่ต้องการผ่าตัด เพื่อสอดอุปกรณ์ผ่าตัดและกล้องเพื่อบันทึกภาพ และส่งมายังจอซึ่งทำหน้าที่แทนตาของศัลยแพทย์ เพื่อให้การผ่าตัดสะดวกขึ้น
ดีกว่าการผ่าตัดแบบเดิมอย่างไร? การผ่าตัดผ่านกล้องแบบ MIS ใช้กับอวัยวะใดได้บ้าง?วันนี้ คุณหมอธรณิศ ตันติพิริยะกิจ ผู้อำนวยการศูนย์ผ่าตัดผ่านกล้อง
มีคำตอบมาฝาก เรามาฟังกันเลยค่ะ -
ภาวะมดลูกโต อะดีโนไมโอซิส ฟังดูอาจไม่คุ้นหู แต่ถ้าบอกว่าเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ สาว ๆ หลายคนคงร้องอ๋อทันที โดยเฉพาะกับผู้ที่วางแผนมีบุตร เพราะภาวะนี้เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้มีบุตรยาก
ใครเป็นกลุ่มเสี่ยง? เป็นแล้วจะมีอาการอย่างไร? รักษาด้วยวิธีไหนได้บ้าง?วันนี้ คุณหมอมานพ จันทนพันธ์ สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญมะเร็งนรีเวช ผ่าตัดผ่านกล้องและมีบุตรยาก มีคำตอบมาฝาก เรามาฟังกันเลยค่ะ
-
ประจำเดือนผิดปกติสัญญาณร้ายเนื้องอกมดลูก
เนื้องอกมดลูก โรคยอดฮิตของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ เกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนกระตุ้นให้เกิดเป็นเนื้องอก โดยเนื้องอกจะค่อย ๆ เพิ่มขนาดขึ้นอย่างช้า ๆ ทำให้สาว ๆ ไม่ทันสังเกต แต่เนื้องอกสามารถมีขนาดลดลงได้หากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือที่เรียกว่าวัยทอง
เนื้องอกมดลูกสามารถพบได้หลายตำแหน่ง เช่น บริเวณในกล้ามเนื้อมดลูก บริเวณที่ผิวด้านนอกมดลูก และบริเวณเนื้องอกที่โพรงมดลูก
การรักษาเนื้องอกมดลูก หากไม่มีอาการไม่จำเป็นต้องรักษาใด ๆ เพียงตรวจอัลตร้าซาวด์เป็นระยะ เพื่อติดตามดูขนาดของเนื้องอก แต่สำหรับผู้ที่มีอาการก็จำเป็นที่ต้องได้รับรักษา เริ่มจากการให้ยา หากไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาจำเป็นที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
-
มะเร็งทางนรีเวช หรือ มะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์ผู้หญิง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของผู้หญิง โดยปัจจัยสำคัญเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือประวัติการเป็นมะเร็งของคนในครอบครัว ที่ทำให้ผู้หญิงไทยเป็นโรคมะเร็งนรีเวชกันมากขึ้น ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และมะเร็งรังไข่เพราะมะเร็งทางนรีเวชสามารถเป็นได้ทุกช่วงอายุ ดังนั้นผู้หญิงทุกคนควรหมั่นสังเกตตัวเอง หากพบว่ามีอาการผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เฉพาะทาง รวมถึงการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำจากแพทย์
-
การฝากครรภ์ ที่ดีที่สุดควรฝากตั้งแต่ที่ทราบว่าตั้งครรภ์ เพื่อให้คุณหมอได้มีการติดตามพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ ตลอดจนให้คำแนะนำคุณแม่ในการปฏิบัติตัวระหว่างการตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้อง ให้มีสุขภาพที่แข็งแรงจนกระทั่งคลอดอย่างปลอดภัย และหากพบความผิดปกติบางอย่างของคุณแม่และลูกน้อยระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น ความผิดปกติของรก ความพิการของลูกน้อย ภาวะเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการมีชีวิตรอดของลูกน้อย หรือโรคบางชนิดที่สามารถถ่ายทอดทางกระแสเลือด คุณหมอจะได้วินิจฉัยหาแนวทางป้องกัน หรือให้การรักษาได้อย่างทันท่วงที
เตรียมความพร้อมเพื่อเป็นคุณแม่ที่มีครรภ์คุณภาพต้องทำอย่างไรบ้าง ไปฟังคุณหมอกันเลยค่ะ
- Mostrar mais