Эпизоды
-
วันนี้เป็น Ep. ที่มาจากคำถามบน Tiktok ที่มีคนถามเกี่ยวกับการทำงานของตับ
เราสามารถรู้ได้หรือไม่ว่า ตับของเราเริ่มเสื่อม หรือทำงานได้น้อยลง ?
มีสัญญาณหรืออาการเริ่มต้นอะไรบ้างไหมที่ให้เรารู้ตัวก่อน ?
มาฟังคำตอบจากพี่หมอเอ้ว ใน 6 Minute Health Talk EP.14 กันค่ะ
-
วันนี้เราจะพูดคุยถึงเรื่องของ "ความเครียด"
ปกติเราจะคุ้นเคยกันดีว่าความเครียดส่งผลเสียต่อสุขภาพมากมาย
แต่จริงๆ แล้วกลไกความเครียดมันมีหน้าที่ที่จำเป็นต่อร่างกายของเราอยู่
มาดูกันค่ะว่าคำอธิบายคืออะไร เมื่อเรามีความเครียดเกิดขึ้น ร่างกายจะทำงานยังไง ?
-
Пропущенные эпизоды?
-
วันนี้เป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่น่าสนใจจากทางสมาคมโรตไตแห่งประเทศไทย
โรคไตระยุสุดท้ายเป็นอย่างไร อาการมากแค่ไหนถึงบอกได้ว่าเป็นระยะสุดท้ายแล้ว ?
ใน Ep. นี้ ศ.นพ. เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์ อายุรแพทย์โรคไต จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะมาให้ความรู้และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการรักษาในอนาคต
ติดตามรับฟังกันค่ะ
-
การดูแลตัวเองในช่วงที่ฝุ่น PM 2.5 สูง นอกเหนือจากการดูแลตัวเองทั่วๆ ไป
อย่างการใส่ Mask และพยายามอยู่ภายในตัวอาคารแล้ว
ในทางทฤษฎีพบว่าอาหารอาจเป็นตัวช่วยป้องกันผลกระทบของ PM 2.5 ได้
วันนี้เราเลยจะมาโฟกัสเรื่องของอาหารการกินของเรากันค่ะว่า
ในช่วงที่ฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้น เราควรกินอาหารประเภทไหนบ้างเพื่อดูแลตัวเอง ?
-
ปกติแล้วไขมันจะแทรกอยู่ในตับของเราอยู่แล้ว แต่ถ้าเกิดไขมันสะสมเยอะเกินไปก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราได้
วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับภาวะที่เรียกว่าไขมันพอกตับ มันคืออะไร ? มีสาเหตุจากอะไรบ้าง ?
จะรู้ได้ยังไงว่าเรามีภาวะไขมันพอกตับ ? แล้วเราจะแก้ไขภาวะนี้ได้ไหม ?
-
จาก Ep. ที่แล้ว เราพูดถึงประโยชน์ของจุลินทรีย์ในลำไส้กันไปแล้ว
วันนี้เราจะมาดูกันต่อว่า อาหารอะไรบ้างที่ดีและมีประโยชน์ต่อจุลินทรีย์ในลำไส้ของเรา
และมาทำความรู้จักกับ 4 คำนี้ Prebiotics Probiotics Postbiotics Synbiotics ว่ามันคืออะไร
ติดตามใน 6 Minute Health Talk Ep. นี้กันค่ะ
-
เราเคยคุยเรื่องจุลินทรีย์ หรือ Microbiome กันไปแล้วหลาย Ep.
แต่วันนี้เราจะมาคุยสรุป 5 เหตุผลสั้นๆ ว่าจุลินทรีย์ในลำไส้มันเกี่ยวกับสุขภาพของเราได้ยังไง ?
จุลินทรีย์ในลำไส้มีผลต่อสมองและจิตใจของเราจริงไหม ?
เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันในร่างกาย และความอ้วนความผอมของเรายังไง ?
-
หัวข้อในวันนี้เกี่ยวข้องกับไต เราจะมาคุยกันว่ากินยังไงจึงจะไม่เป็นโรคไต ?
เวลาที่เราซื้ออาหาร มีเคล็ดลับในการเลือกซื้ออาหารยังไงบ้างที่จะป้องกันไม่ให้เกิดโรคไต ?
วันนี้เราจะมาฟังคำตอบจาก รศ.พญ. ประพิมพ์พร ฉัตรานุกูลชัย ใน Ep. นี้กันค่ะ
-
วันนี้เราจะมาคุยเรื่องของ Caffeine cache เป็นภาวะนึงของการดื่มกาแฟที่อาจมีอันตรายได้
ภาวะนี้คืออะไร ? ทำไมถึงอันตรายต่อชีวิตเราได้ ? แล้วการทำงานของคาเฟอีน มันทำให้เราหายง่วงได้ยังไง ?
ติดตามคำตอบได้ใน 6 Minute Health Talk Ep. นี้กันค่ะ
-
เครื่องดื่ม zero calorie ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าไม่มีพลังงาน แล้วจะทำให้เราอ้วนขึ้นได้ยังไง ?
แต่การทดลองต่างๆ ก็มีข้อมูลมากพอที่จะสรุปว่า คนที่ดื่มเครื่องดื่ม zero calorie เป็นประจำมีแนวโน้มที่จะอ้วนขึ้นได้มากกว่าคนที่ไม่ดื่ม
อะไรคือคำอธิบายของเรื่องนี้ มาฟังพี่หมอเอ้วใน Ep. กันค่ะ
-
"ถึงแม้ว่าความล้มเหลวจะทำลายจิตใจของคนในทีมไปมาก เพียงแต่ความล้มเหลวแต่ละครั้งมันทำให้ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทีละเล็ก ทีละน้อย และสิ่งเหล่านี้มันจะนำไปสู่การช่วยชีวิตผู้ป่วยได้" ความตอนหนึ่งจากหนังสือของหมอ Murray อันเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นหลัง
เรื่องราวยังคงอยู่กับหมอ Murray จาก Ep. ที่แล้ว
ความก้าวหน้าของการปลูกถ่ายไตยังดำเนินต่อไปเรื่อยๆ
วิธีการรักษาใหม่ๆ ถูกมาทดลองใช้
และหนึ่งในการรักษาใหม่นั้นเป็นไอเดียที่เกิดขึ้นมาจากสงครามโลกครั้งที่ 2การรักษาใหม่นั้นแม้ว่าจะเพิ่มโอกาสให้ไต "ติด" มากขึ้น แต่ก็เพิ่มโอกาสตายมากขึ้นด้วยเช่นกัน
ใน Ep. เราจะมาดูกันว่า การรักษาใหม่นั้นคืออะไร ? และทำไมจึงเพิ่มโอกาสตายมากขึ้น ? หาคำตอบได้ใน Ep. สุดท้ายของซีรีส์นี้ไปด้วยกันครับ
-
สงสัยกันไหมคะว่าเราต้องดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้วจริงหรือเปล่า ? แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าดื่มน้ำแค่ไหนถึงเพียงพอต่อตัวเอง ? ดื่มน้ำเยอะไปอันตรายไหม ? มาฟังคำตอบจากพี่หมอเอ้วกันค่ะ
-
Ep. นี้ ว่าด้วยเรื่องราวของหมอเมอร์รีย์ ที่เข้ามาพลิกวงการปลูกถ่ายไต
หลังจากล้มเหลวมานับครั้งไม่ถ้วน หมอหลายคนจึงเชื่อว่าการปลูกถ่ายไตเป็นสาขาที่ไม่มีอนาคตและอาจจะเป็นไปไม่ได้
จนหมอ โจเซฟ เอดเวิร์ด เมอร์รีย์ เข้ามาและทำให้ความฝันในการปลูกถ่ายไตเป็นจริงได้ในที่สุด
จุดเริ่มต้นของเรื่องราวใน Ep. นี้เกิดขึ้นจากนักบินที่ถูกไฟคลอกทั่วร่างกายจากเหตุเครื่องบินตก
ส่วนเรื่องราวจะเป็นอย่างไร ผู้ป่วยถูกไฟคลอกจะเกี่ยวกับการปลูกถ่ายไตยังไง
เกิดอะไรขึ้นกับการปลูกถ่ายไตที่สำเร็จครั้งแรก ?
มาฟังหมอเอ้วเล่าใน Ep. นี้กันครับ
-
podcast วันนี้เป็น Ep. พิเศษ เพราะเรามีแขกรับเชิญมาร่วมพูดคุยด้วย
หมอแม้ว พญ. ศกุนี นิรันดร์วิชย ซึ่งนอกจากจะเป็นหมอเชี่ยวชาญด้านผิวหนังแล้ว ยังเป็น Innovation Team Lead ของบริษัท Digital Health Venture และเป็นอดีต Co-founder ของ healthtech startup ด้าน telemedicine
วันนี้หมอเอ้วชวนหมอแม้วมาคุยเรื่อง ChatGPT กับวงการแพทย์ ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา คนพูดถึง ChatGPT กันมากว่าจะเปลี่ยนแปลงโลกไปยังไงบ้าง
แต่วันนี้เราจะมาโฟกัสกันเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการแพทย์ ทั้งในแง่ของคนที่เป็นหมอ ในแง่ของการเรียนการสอน และผลกระทบที่จะมีต่อคนทั่วไปในฐานะที่เป็นคนไข้
และไม่ใช่แค่ข้อดี แต่ข้อเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้ด้วย ไปฟังหมอเอ้วคุยกับหมอแม้วกันค่ะ
-
หลายครั้งคนมักถามบ่อยๆ ว่า เราควรจะ detox แบบไหน ? ต้อง detox ทุกๆ กี่เดือน ? แต่จริงๆ แล้วคำถามสำหรับเรื่องนี้มันคือว่า "การ detox มันจำเป็นสำหรับร่างกายเราหรือเปล่า ?" วันนี้มาฟังคำตอบจากพี่หมอเอ้วกันค่ะ
-
หลังจากเรื่องราวการปลูกถ่ายไตใน EP. แรกผ่านมา 5 ปี ก็มีทีมหมอที่สนใจเรื่องการปลูกถ่ายไตเพิ่มมากขึ้น แต่เกือบทั้งหมดเป็นการนำไตจากผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วมาใช้
ใน EP. นี้ จะเป็นเรื่องราวของการปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิต
เดือนธันวาคม ปี 1972 ช่างไม้หนุ่มผู้หนึ่งตกลงมาจากที่สูงขณะที่กำลังปีนขึ้นไปซ่อมหลังคาบ้าน สีข้างเขากระแทกพื้นอย่างแรง ถึงขั้นทำให้ไตข้างนั้นของเขาเสียหายและต้องตัดไตข้างนั้นทิ้ง ซึ่งก็ไม่น่าจะมีปัญหาเพราะคนเราสามารถมีไตข้างเดียวได้
แต่แล้วก็มีเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดเกิดขึ้น จนนำไปสู่ความพยายามที่จะนำไตจากผู้บริจาคที่ยังไม่เสียชีวิตมาปลูกถ่าย ส่วนเรื่องราวจะเป็นอย่างไร
ทำไมผู้ป่วยต้องได้รับการปลูกถ่ายไต ? หมอนำไตมาจากใคร ? และการผ่าตัดจะผ่าตัดหรือล้มเหลว ?
ไปฟังหมอเอ้วเล่าให้ฟังกันได้ใน EP. นี้เลยครับ
-
วันนี้พี่หมอเอ้วจะมาชวนคุยเรื่องการงีบว่าส่งผลดีกับสุขภาพของเราจริงๆ หรือเปล่า ? ข้อดีและข้อเสียของการงีบคืออะไรบ้าง ? ใครบ้างที่ควรงีบ ?
-
เวลาพูดถึงการนอน หลายคนอาจจะนึกถึงเฉพาะสิ่งแวดล้อมภายในห้องนอน แต่จริงๆ แล้วการนอนมันยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างวันด้วย ว่าเราทำอะไรและกินอะไรเข้าไปบ้างโดยเฉพาะในมื้อเย็น วันนี้เราจะมาคุยกันว่าสิ่งที่เรากินเข้าไปเกี่ยวข้องกับการนอนได้ยังไง ?
-
ไข่ เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ราคาถูก กินง่าย ทำได้หลายเมนู แต่ก็มีข้อเสียอยู่ด้วยเหมือนกัน คำถามคือ เรากินไข่ทุกวันเลยได้ไหม ? เป็นอันตรายหรือเปล่า ? ต้องกินกี่ฟองถึงเรียกว่าพอดี ?
-
วันนี้เป็นเอพิโสดแรกของรายการใหม่ในช่องเรื่องเล่าจากร่างกาย เราจะมาโฟกัสในเรื่องของการดูแลสุขภาพ แบบเน้นนำไปใช้จริงได้เลย
จะเป็นตอนสั้นๆ ประมาณ 5-6 นาที ตั้งใจว่าจะให้เป็นเหมือนเครื่องมือช่วยที่ไม่เสียเวลาฟังมาก
และเป็นเครื่องกระตุ้นเตือนคนทั่วๆ ไป ที่ยุ่งๆ กับเรื่องต่างๆ ในชีวิต ไม่ให้ลืมการดูแลสุขภาพ
สำหรับตอนแรกนี้ เราจะมาคุยถึง 11 วิธีแก้ปัญหาสำหรับคนที่นอนหลับยากกันค่ะ
- Показать больше