Эпизоды
-
กลายเป็นมหากาพย์อิรุงตุงนังไม่ต่างจากไส้ในแซนด์วิช เพราะเมื่อไม่นานมานี้ได้เกิดประเด็นดราม่า ‘SUBWAY’ ในประเทศไทย ซึ่งสาเหตุเกิดจากผู้บริโภคทั้งขาจรและขาประจำต่างพร้อมใจกันร้องเรียนคุณภาพอาหาร ตั้งแต่รสชาติขนมปังที่ไม่เหมือนเดิม สีจากกระดาษห่อเลอะติดอาหาร กระดาษห่อไม่มีโลโก้ SUBWAY หรือแม้แต่วัตถุดิบขาดแคลนผิดวิสัยร้านอาหารขวัญใจมหาชน
.
ฝุ่นยังไม่ทันหายตลบทางเพจเฟซบุ๊ค SUBWAY Thailand ได้ออกมาชี้แจงถึงดราม่าดังกล่าวโดยระบุว่า จากการตรวจสอบตามข้อมูลที่ลูกค้าร้องเรียนเข้ามา พบว่าสาขาที่ใช้บริการคือสาขาที่ถูกยกเลิกสิทธิ์แฟรนไชส์ไปตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2567 โดยมีจำนวนรวมทั้งสิ้นจำนวน 105 สาขา ซึ่งผู้ที่ออกมาอ้างว่าตนคือผู้ถือสิทธิ์แฟรนไชส์ SUBWAY แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย ก็คือบริษัท PTG Energy
.
คำถามคือก่อนหน้านี้เกิดเรื่องราวอะไรขึ้น เดิมทีแฟรนไชส์ SUBWAY ใครเป็นคนนำเข้ามา ทำไมแบรนด์ระดับ Global ถึงเกิดปัญหาที่ไม่น่าเกิด ปัญหาควรจะถูกคลี่คลายไปในทิศทางใด และข้อกฎหมายเกี่ยวกับการถือครองแฟรนไชส์ที่คนทำธุรกิจควรรู้มีอะไรบ้าง ทั้งหมดนี้ข้อชวนหาคำตอบแบบจัดเต็มได้ในรายการ Bon Appétit EP.104 -
“และผู้ที่จะได้เป็นมาสเตอร์เชฟจูเนียร์ของประเทศไทยในปีนี้ก็คือ ซันจิ และ เอตะ !”
.
สิ้นเสียงการตัดสินจาก 1 ใน 4 คณะกรรมการอย่าง เชฟป้อม-หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล จึงเป็นอันรู้ผลว่า ‘ซันจิ-กรรณปกร อภิบุญอำไพ’ และ ‘เอตะ-เอกตระการ เชี่ยวพัทธยากร’ สองหนุ่มน้อยวัย 11 ปี คือผู้ที่คว้าแชมป์มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ ซีซั่น 3 และเป็นแชมป์ร่วมครั้งแรกในหน้าประวัติศาสตร์ของรายการดังกล่าว
.
สำหรับผู้ที่ติดตามรายการมาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ ซีซั่น 3 น่าจะทราบดีอยู่แล้ว ว่าฝีมือการทำอาหารของเชฟเด็กทั้งสองคนนี้เกินอายุไปไกล ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทคาวหรือหวานก็ตีโจทย์ได้แตก และนำเสนอผลงานออกมาได้ประทับใจคณะกรรมการทุกอาทิตย์ ผนวกกับคาแรกเตอร์สดใส มุ่งมั่น ที่แสดงออกอย่างตรงไปตรงมา ทำเอาพ่อยกแม่ที่เฝ้าหน้าจอโทรทัศน์ต่างพากันโดนตกเข้าด้อมไปตามๆ กัน
.
ถึงการแข่งขันจะจบลงแล้ว แต่หลายคนน่าจะอยากรู้จัก ซันจิ และ เอตะ มากกว่านี้ รายการ Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว EP.103 เลยขออาสาพาไปทำความรู้จักกับทั้งสอง ตั้งแต่จุดเริ่มต้นการเข้าครัว เมนูที่ถนัดที่สุด วันที่ตัดสินใจสมัครลงแข่งขันมาสเตอร์เชฟจูเนียร์ฯ ความฝันในอนาคตที่ยังยืนอยู่บนเส้นทางสายอาหาร และทั้งคู่มากลายเป็นเพื่อนซี้กันตอนไหน
.
บอกเลยว่าการันตีความน่ารัก จนต้องเผลออมยิ้มตลอดทั้งรายการ -
Пропущенные эпизоды?
-
โอเด้งร้อนๆ โดนัทครีมสดเนื้อเนียน เมลอนปังกรอบนอกนุ่มใน และนานาสารพัดของทอดเสียบไม้ เหล่านี้เป็นเพียงเมนูยอดฮิตส่วนหนึ่งของ ‘LAWSON’ แบรนด์ร้านสะดวกซื้อชื่อดัง ที่ถูกยกให้เป็นเพื่อนพึ่งพายามหิวของนักเดินทาง
.
ด้วยเมนูสุดครีเอทไม่ว่าจะประเภทหวานหรือคาว ไหนจะเมนูสุดเอ็กซ์คลูซีฟที่รังสรรค์จากวัตถุดิบชั้นดีซึ่งวางขายในช่วงเทศกาล ไปจนถึงสินค้าเบ็ดเตล็ดทั่วไปที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน นั่นทำให้ LAWSON ครองตลาดร้านสะดวกซื้อในประเทศท่องเที่ยวสำคัญๆ อย่างญี่ปุ่น ที่ปัจจุบันมีเปิดให้บริการมากกว่า 14,000 สาขา
.
ขณะที่ในประเทศไทยความนิยมในแบรนด์ร้านสะดวกซื้อดังกล่าวก็ไม่น้อยหน้า หลายต่อหลายครั้งบนโลกโซเชียลฯ มักมีการโพสต์แชร์เมนูเด็ดของ LAWSON ไปจนถึงกระทู้ชวนถกว่า LAWSON สาขาไหนที่มีของกินให้เลือกหลากหลายมากที่สุด
.
อย่างไรก็ดี นี่ไม่ใช่กระแสไวรัลชั่วครั้งชั่วคราว เพราะหากมองกันที่ภาพรวม LAWSON ถือเป็นร้านสะดวกซื้อในไทยเพียงไม่กี่แบรนด์ที่ยืนระยะได้อย่างยาวนาน และมีสาขาเปิดรวมกันมากถึง 198 แห่ง ดังนั้นคำถามสำคัญคือกลยุทธ์ใดที่ทำให้ LAWSON ครองใจผู้บริโภคได้อยู่หมัด หาคำตอบได้จาก Bon Appétit ซีซั่น 2 EP.2 -
ห่างหายกันไปให้พอคิดถึง วันนี้รายการ ‘Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว’ กลับมาพบกับแฟนๆ และมิตรรักนักชิมอีกครั้ง พร้อมเรื่องราวสนุกๆ และหลากเทคนิคการบริหารธุรกิจอาหารที่คัดสรรโดย เชอร์รี่-มณีเนตร วรชนะนันท์ Host ของเราเหมือนเช่นเคย
.
ซีซั่นที่ 2 นี้ ประเดิมด้วยรสชาติแซ่บซี้ดจัดจ้านกับ ‘เผ็ดเผ็ด’ ร้านอาหารอีสาน ที่แต่ละเมนู ‘เผ็ด’ และ ‘เด็ด’ สมชื่อ ไม่ว่าจะส้มตำปูปลาร้าที่น้ำปลาร้าหมักเองกับมือ ตำหลวงพระบางรสนัวใส่พริกจัดเต็ม แหนมย่างรสเด็ดที่ไปแล้วไม่กินถือว่าผิด ไปจนถึงอาหารอีสานอีกกว่าร้อยเมนูที่ผ่านการครีเอทรสชาติ และคัดสรรวัตถุดิบอย่างพิถีพิถัน
.
‘Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว’ ซีซั่นนี้ มณีเนตรจึงขอประเดิมด้วยการพาไปคุยถึงการครีเอทรสชาติของเผ็ดเผ็ด และค้นเคล็ดก้นครกที่ทำให้ร้านอาหารอีสานสไตล์โฮมเมดร้านนี้เติบโตแบบก้าวกระโดด จนตอนนี้มีร้านเปิดทำการถึง 8 สาขา -
ถ้าถามว่าแบรนด์ไหนทำคอลแล็บบ่อยที่สุด เชื่อว่าชื่อของ Carnival ร้านมัลติแบรนด์สัญชาติไทยจะเป็นชื่อแรกที่หลายคนนึกถึง นอกจากจะคอลแล็บกับแบรนด์ในอุตสาหกรรมเดียวกันแล้ว Carnival ยังโดดเด่นเรื่องการคอลแล็บข้ามสาย ซึ่งตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมา หากนับนิ้วดูแล้ว Carnival คอลแล็บกับแบรนด์ต่างๆ มาแล้วกว่า 200 แบรนด์กันเลย
การจับมือกับแบรนด์น้อยใหญ่สร้างสรรค์โปรดักต์ใหม่ๆ ออกมายังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้จับมือกับแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดเจ้าดังอย่าง 'เบอร์เกอร์คิง' ออกแคมเปญ 'BURGER KING MEETS CARNIVAL' ที่ทั้งสองแบรนด์ได้รังสรรค์เบอร์เกอร์เมนูใหม่ในชื่อว่า 'Spicy & Crispy Carnival Burger' ออกมาเอาใจคนไทย และออกคอลเลกชั่นเครื่องแต่งกายแบบลิมิเต็ดเอดิชั่นเท่ๆ ที่นำสี CI ประจำแบรนด์มาผสมกันอย่างสนุกสนาน
เบื้องหลังการคอลแล็บแสนพิเศษจากสองแบรนด์ดังเป็นมายังไง ก่อนจะออกมาเป็นเมนู BURGER KING MEETS CARNIVAL ได้ต้องคิดอะไรบ้าง การคอลแล็บข้ามสาย โดยเอาของกินกับแฟชั่นมาอยู่ด้วยกันเป็นยังไง รายการ Podcast Bon Appetit ตอนพิเศษนี้จะพาไปสนทนากับ ตุลย์-ชนินทร์ นาคะรัตนาก Digital Marketing Manager บริษัท เบอร์เกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด คิง และ ปิ๊น–อนุพงศ์ คุตติกุล หนึ่งใน Co-founder ของ Carnival ถึงเบื้องหลังของแคมเปญนี้ -
รู้ไหมว่ากรุงเทพมหานครติดอันดับ 6 ในลิสต์ 20 เมืองที่ดีที่สุดด้านอาหาร ซึ่งจัดอันดับโดยนิตยสาร Time Out แต่ที่จริง ไม่ต้องมีรางวัลใดๆ มาการันตี ก็เชื่อว่าสำหรับคนไทยที่เรื่องกินเรื่องใหญ่ ก็คงรู้กันดีว่าสตรีทฟู้ดของไทยไม่แพ้ที่ไหน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมายังมีร้านอาหารทั้งขนาดเล็กและกลางผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดจนบางย่านกลายเป็นสวรรค์ของนักกินไปเลย
‘Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว’ ตอนพิเศษนี้จึงพาทุกคนไปทำความเข้าใจว่าทำไมบางย่านถึงเด่นด้านอาหารกว่าย่านอื่นๆ ทำไมบางย่านถึงมีรสชาติความเป็นจีนสูง รวมถึงแนะนำ 21 ร้านเล็กร้านอร่อยใน 7 ย่านดัง ที่ถ้าไม่รู้จะกินเมนูดังโดยไม่ต้องต่อคิวหรือหาที่จอดรถยังไง ก็ยังลิ้มรสความอร่อยของย่านได้ที่บ้านง่ายๆ แค่สั่งผ่านแอป Robinhood ที่ให้บริการ Food Delivery ซึ่งกลับมาเปิดอีกครั้ง พร้อมสนับสนุนร้านเล็กๆ ให้โตไปด้วยกัน
หรือถ้าไม่รู้จะกินอะไรดี ในแอปก็ยังมีร้านเล็กที่น่าสนับสนุนอีกเพียบ และถ้าหากใครสั่งร้านโปรดีดีพลัส และร้านโปรดีดีถึง 250 บาทขึ้นไป ใส่โค้ด KINARAIDEE ก็รับส่วนลดไปเลย 50 บาท แต่โค้ดพิเศษนี้มีจำนวนจำกัด และใช้งานได้ถึง 16 ตุลาคม 2567 เท่านั้น ถ้าไม่อยากตกขบวนความอร่อยก็เข้าแอป Robinhood แล้วไปสั่งกันเลย go.rbh.app/PAgI/ktufaf3y -
หลายครั้งที่เมื่อข้อมูลการจัดอันดับอาหารยอดนิยมของโลกออกมา หลายคนน่าจะเคยสงสัยว่าเขาวัดกันจากอะไร การจัดอันดับแบบนี้มีที่มาที่ไปยังไง และข้อมูลเหล่านี้มาจากไหน
.
รายการพ็อดแคสต์ Bon Appétit EP.100 ตอนนี้ มณีเนตร วรชนะนันท์ จะพาไปไขคำตอบทั้งหมด ตั้งแต่ไปดูว่าอาหารชาติไหนกันแน่ที่เป็นขวัญใจของชาวโลก ในแต่ละการจัดอันดับมีวิธีการยังไง จนถึงอาหารไทยอยู่ตำแหน่งไหนของอาหารโลก
.
และหลังจากพ็อดแคสต์ Bon Appétit ของเราเดินทางมายาวนานกว่า 100 ตอน ครั้งนี้เราจึงอยากขอแจ้งให้ทุกท่านและแฟนๆ ทราบว่าเราจะพักเบรกเป็นระยะเวลา 2 เดือน และกลับมาใหม่ในรูปแบบที่เต็มอิ่ม อร่อย และถึงพริกถึงขิงกว่าเดิม ส่วน EP.100 จะจัดเต็มแค่ไหน ไปฟังกัน -
19 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา แฟนบอลทั่วโลกต่างร่วมส่งเสียงปรบมือกึกก้องไปทั่วสนามแอนด์ฟิลด์ เพื่อเป็นการอำลา Jürgen Klopp ผู้จัดการทีมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์สโมสรลิเวอร์พูล
.
นอกจากเสียงเชียร์จากแฟนบอลแล้ว ยังมีอีกหนึ่งกลุ่มที่ร่วมแสดงความประทับใจต่อการอำลาของคล็อปป์ นั่นคือแบรนด์อาหารและเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ อย่าง Burger King และ Carlsberg ที่ต่างพากันออกมาสร้างสรรค์แคมเปญสุดพิเศษเพื่อเป็นการอำลาผู้จัดการทีมที่พวกเขารัก
.
มากไปกว่าอายุที่คล็อปปอยู่กับลิเวอร์พูลมา อะไรคือความทรงพลังที่ทำให้แบรนด์อาหารและเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ของโลกทำแคมเปญพิเศษออกมาอำลาชายผู้นี้ ตามไปฟังคำตอบเบื้องหลังแคมเปญเหล่านี้ได้ในรายการ Bon Appétit EP.99 -
‘ซอสพริกศรีราชา’ แค่ได้ยินชื่อก็อาจจะเข้าใจได้ว่านี่คือสินค้าจากไทย บวกกับภาพไก่ชนบนแพ็กเกจจิ้ง ก็ยิ่งคิดว่าเป็นแบรนด์ไทยเข้าไปใหญ่ แต่ขอบอกตรงนี้ว่า ซอสพริกราชาตราไก่ที่หลายคนเคยเห็นตามร้านอาหารต่างประเทศนั้น ไม่ใช่แบรนด์ไทย!
.
แล้วซอสพริกตราไก่มาจากไหน ซอสพริกศรีราชาของแทร่ต้องหน้าตาเป็นยังไง รายการ Bon Appétit Podcast ตอนนี้ มณีเนตร วรชนะนันท์ รวมรวบคำตอบของต้นกำเนิดและเส้นทางการไปสู่ตลาดโลกของซอสพริกศรีราชามาไว้ให้แล้ว ตามไปฟังพร้อมกันใน Bon Appétit EP.98 ได้เลย -
หากพูดถึงเกี๊ยวทอดชิ้นโตบนถาดยักษ์ที่ใครเห็นก็ต้องน้ำลายสอ คุณจะคิดถึงเกี๊ยวซ่าทอดจากร้านไหน เชื่อว่า Kinza Gyoza น่าจะเป็นหนึ่งในร้านที่หลายนึกชื่อขึ้นได้
.
Kinza Gyoza คือร้านเกี๊ยวซ่าทอดน้ำถาดยักษ์เจ้าแรกของไทย นอกจากเกี๊ยวชิ้นยักษ์ที่ใครเห็นก็น้ำลายสอ เกี๊ยวทุกชิ้นของร้านยังถูกเนรมิตขึ้นจากชายผู้มีประสบการณ์ยาวนานในการทำเกี๊ยวซ่า ด้วยตั้งใจอยากทำของดีๆ ให้คนไทยได้ลิ้มลอง
.
ปัจจุบันมีสาขากว่า 12 สาขาทั่วกรุงเทพฯ แต่ก่อนร้านเกี๊ยวซ่าแห่งนี้จะเติบโตและมีสาขามากมาย เริ่มแรกเป็นเพียงร้านเกี๊ยวแผงลอยเล็กๆ เท่านั้น จึงน่าสนใจว่าร้านเกี๊ยวแผงลอยเล็กๆ เติบโตขึ้นด้วยยุทธวิธีใด ไปลิ้มรสเกี๊ยวซ่าถาดใหญ่ พร้อมสนทนากับ มิน ปรมินทร์ ตันวัฒนะ เจ้าร้าน Kinza Gyoza ใน Podcast Bon Appetit EP.97 กันเลย
#Capital #BonAppetit #BonAppetitPodcast #KinzaGyoza -
อเมริกาเองได้ชื่อว่าเป็นเจ้าแห่งอาหารฟาสต์ฟู้ด แต่ตอนนี้ฟาสต์ฟู้ดกลับเริ่มเสื่อมความนิยม และคนอเมริกันได้หันมาซื้อวัตถุดิบและทำกับกันข้าวเองมากกว่าจ่ายเงินให้กับอาหารจานด่วน เกิดอะไรขึ้นกับวัฒนธรรมการกินของชาวอเมริกัน
.
เหตุผลหนึ่งที่ทำให้วัฒนธรรมฟาสต์ฟู้ดถอยหลังเป็นเพราะราคาอาหารที่แพงขึ้น ซึ่งหากมองจากประเด็นเศรษฐกิจและปัญหาเงินเฟ้อ อาจไม่น่าประหลาดใจนักหากของจะมีราคาสูงกว่าที่เคยเป็น แต่เมื่ออาหารจานด่วนที่ขึ้นชื่อเรื่องราคาถูกกลายเป็นสินค้าที่ราคาแพงกว่าของสด และมากกว่านั้นคือระยะเวลา 10 ปี ราคาฟาสต์ฟู้ดของอเมริกาสูงขึ้นหนึ่งเท่าตัว จึงทำให้วัฒนธรรมการกินของคนอเมริกันเปลี่ยนไป
.
นอกจากปัญหาเศรษฐกิจ เบื้องหลังการขึ้นราคาอาหารจานด่วนของร้านฟาสต์ฟู้ดในอเมริกาขึ้นอยู่กับปัจจัยใด ทำไมจากอาหารที่ขึ้นชื่อว่าต้องถูกและเร็วถึงมีราคาพุ่งไม่หยุด ไปไขคำตอบของคำถามทั้งหมดพร้อมกันในพ็อดแคสต์รายการ Bon Appétit EP.96 ตอนนี้ -
น้ำมันทรัฟเฟิลที่เห็นกันในปัจจุบันอาจไม่ได้สกัดจากเห็ดทรัฟเฟิลจริงๆ ไซรัปตามชั้นวางในซูเปอร์มาร์เก็ตที่เขียนว่าน้ำเชื่อมเมเปิล 100% อาจเป็นของปลอม หรือจะพาเมซานชีสที่โรยบนสปาเกตตีสุดที่รักอาจเป็นชีสที่ทำจากเยื่อไม้ ที่ว่ามาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของอาหารปลอมในอุตสาหกรรมอาหารเท่านั้น
.
เหตุผลที่มนุษย์ต้องคิดค้นอาหารปลอมขึ้นมา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะราคาที่แพงเกินจริง แต่นอกเหนือจากนั้นคือเรื่องความไม่มั่นคงทางอาหารที่ส่งผลให้ทรัพยากรทางการกินของมนุษย์เรามีข้อจำกัด ซึ่งมีผลต่อราคาอาหารอย่างมีนัย อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะคิดว่าสิ่งที่เรียกว่าป็นของปลอมนี้คือความไม่ถูกต้อง และบริษัทผู้อยู่เบื้องหลังผลิตสินค้ามาหลอกลวงผู้บริโภค แต่อันที่จริงแล้วมันคือของถูกกฎหมาย
.
ว่าแต่ว่าอาหารเหล่านี้มีเบื้องหลังการผลิตยังไง นอกจากเห็ดทรัฟเฟิล ไซรัปเมเปิล พาเมซานชีส มีผลิตภัณฑ์ไหนอีกบ้างที่เป็นของปลอม มณีเนตร วรชนะนันท์ จากรายการ Bon Appétit EP.95 จะพาไปเจาะลึก 11 อาหารใกล้ตัวที่ถูกปลอมมากที่สุดในโลก -
ถ้าอยากกินลาบอีสานสักจาน ซดแกงอ่อมสักถ้วย คงไม่ยากที่จะหาร้านอาหารอีสานเพื่อไปลิ้มรสเมนูที่ว่ามา แต่ถ้าอยากกินลาบจิ้นคั่ว แกงฮังเล จิ้นส้ม หรือเมนูอาหารเหนือ จะมีเพียงไม่กี่ร้านที่ประชากรเมืองกรุงจะคิดถึง ด้วยอาหารเหนือยังไม่แพร่หลายเช่นอาหารอีสาน ‘กำกิ๋นสุก‘ ร้านอาหารเหนือจากเมืองแพร่จึงก่อตัวด้วยอยากส่งต่ออาหารเหนือรสดั้งเดิมให้คนกรุงได้ลิ้มลอง
.
หลายคนคงอาจเคยเป็นป้ายร้านอาหารอีสานที่มักเขียนว่า ลาบยโส, ลาบสารคาม, ลาบอุดร ร้านลาบอีสานที่ที่มักระบุตำแหน่งที่มา ในขณะที่ร้านอาหารเหนือไม่ค่อยมีแบบนั้นให้เห็น ความแตกต่างของ ‘กำกิ๋นสุก‘ จึงเป็นการที่ร้านแห่งนี้ระบุอย่างชัดเจนว่าเป็นร้านอาหารเหนือสไตล์แพร่ แต่ที่มากกว่าการบอกว่ารกรากร้านแห่งนี้มาจากที่ไหน บิวรังสรรค์ ปัญญาใจ ผู้เป็นเจ้าของร้านยังเข้าครัวทำกับข้าวกับแม่มาตั้งแต่เด็ก และกำกิ๋นสุกเองก็เป็นสูตรอาหารที่มาจากร้านอาหารเหนือของแม่ด้วย
.
นอกจากสตอรี่ข้างต้นที่ว่ามา ความน่าสนใจอีกอย่างคือ ‘กำกิ๋นสุก’ ทำธุรกิจร้านอาหารเหนือจากแพร่นี้ยังไง เดย์วันของร้านแห่งนี้มีที่มาที่ไปแบบไหน และชื่อร้าน ‘กำกิ๋นสุก’ นี้แปลว่าอะไร รายการ Podcast Bon Appetit ตอนนี้ขอชวนลัดเลาะหลังครัวไปสนทนากับ บิว-รังสรรค์ ปัญญาใจ และ บิ๋ม-กัญญุตา มิ่งลดาพร คู่รักเจ้าของร้านอาหารเหนือแห่งนี้ -
เคยสงสัยกันหรือเปล่าว่าเบื้องหลังการรังสรรค์อาหารนับพันจานในแต่ละวันของสายการบินต่างๆ นั้นมีกระบวนการยังไง หลายคนคงคิดว่าอาหารแต่ละจานที่สายการบินเสิร์ฟให้ผู้โดยสายมีกระบวนการทำเหมือนกับอาหารทั่วไป แต่ความจริงนั้นแตกต่าง เพราะเมนูอาหารบนเครื่องบินนั้นมีข้อจำกัดหลายด้าน โดยเฉพาะเรื่องของสุขอนามัย การควบคุมอุณหภูมิ ไปจนถึงข้อจำกัดด้านกระบวนการทำที่ใช้เวลายาวนานถึงหลักสิบชั่วโมง
.
เบื้องหลังเมนูอาหารแต่ละเมนูที่เสิร์ฟให้ผู้โดยสารแต่ละเที่ยวบินนั้นมีขั้นตอนยังไง ในการเตรียมวัตถุดิบต้องคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้าง การสร้างสรรค์อาหารกว่านับพันจานในแต่ละวันมีความยาก-ง่ายมากแค่ไหน รายการ Podcast Bon Appétit EP.93 ตอนนี้ ‘มณีเนตร วรชนะนันท์’ จะพาทุกคนไปหาคำตอบของกระบวนการรังสรรค์อาหารบนเครื่องบิน -
มะพร้าวน้ำหอมหวานฉ่ำ ขนมไทยใส่กระทิ ไอติมกระทิเย็นๆ หวานชื่นใจ ฯลฯ คือเมนูที่เคียงคู่วัฒนธรรมการกินของคนไทยยาวนานตั้งแต่โบราณ แม้จะเป็นเมนูที่เราคุ้นเคยกัน แต่เมื่อได้เห็นไอศครีมของ Coconut Culture ก็ต้องยอมรับว่ามีความแตกต่าง เพราะแบรนด์ตั้งใจเปลี่ยนไอศครีมกระทิแบบดั้งเดิมให้ร่วมสมัยกว่าที่เคยเป็นมา
.
Coconut Culture ก่อตั้งขึ้นโดยคู่รักอย่าง วิทย์-เอกวิทย์ เชพานุเคราะห์ และ มะนาว-ศศิ เทอดธีระกุล ที่อยากทำแบรนด์ไอศครีมที่มีกระทิเป็นเบส ซึ่งหากใครเคยผ่านไปผ่านมาย่านพระอาทิตย์ หรือบังเอิญเปิดไปเจอเมนูไอศครีมของโคโคนัทคัลเจอร์ก็จะเห็นเมนูไอศครีมมะพร้าวที่ไม่เหมือนใคร และนอกจากแพสชั่นในไอศครีมกะทิแล้ว ทั้งสองยังได้นำลวดลายผ้าขาวม้าและวัสดุอย่างสังกะสีมาตกแต่งร้าน เพื่อนำเสนอความเป็นไทยออกมาอีกด้วย
.
อะไรทำให้ทั้งวิทย์และมะนาวแพสชั่นกับไอศครีมมะร้าว จุดเริ่มต้นของ Coconut Culture เป็นมายังไง รายการ Podcast Bon Appétit EP.92 ตอนนี้ขอฝ่าแดดยามเช้าไปยังถนนพระอาทิตย์ ลัดเลาะเข้าหลังร้านไอศครีมแห่งนี้เพื่อย้อนสนทนาถึงจุดเริ่มต้นของแบรนด์ ไปจนถึงพูดคุยวิธีการทำธุรกิจและความตั้งใจที่อยากให้มะพร้าวแทรกซึมอยู่ในไอศครีมทุกรสชาติ -
สินค้าบางชิ้นแม้จะราคาสูง แต่พอบอกว่ามาจากญี่ปุ่น ทำไมเราถึงกล้าที่จะจ่าย หรือยอมซื้อกันอย่างง่ายดาย ไม่ใช่แค่คนไทยเท่านั้นที่พอเห็นสินค้าญี่ปุ่นแล้วจะศิโรราบ เพราะผู้คนทั่วโลกล้วนเชื่อในความพรีเมียมของสินค้าจากแดนอาทิตย์อุทัยเช่นกัน ยิ่งถ้าเป็นสินค้าทางการเกษตร หรือผลิตภัณฑ์ชุมชน ก็ยิ่งวางใจกันเข้าไปใหญ่ในเรื่องของคุณภาพดี
.
‘เชอร์รี่-มณีเนตร วรชนะนันท์’ จะพาไปหาคำตอบว่าญี่ปุ่นทำยังไงให้สามารถขายสินค้าได้ในราคาดี, ทำไมโปรดักต์ต่างๆ ของญี่ปุ่นจึงเป็นที่ยอมรับและโด่งดังได้ในระดับโลก และอะไรที่ทำให้คนทั่วโลกยอมรับและเชื่อมั่นในสินค้าจากดินแดนแห่งนี้ ตามไปหาคำตอบพร้อมกันได้ใน Podcast Bon Appétit EP.91 ตอนนี้ -
การกินเผ็ดหรือมีอาหารรสจัดจ้านให้เลือกลิ้มลองอย่างหลากหลาย ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่เท่าไหร่สำหรับประเทศแถบเอเชีย เพราะแทบทุกเมนูอาหารเอเชียมักถูกแต่งเติมด้วยรสชาติของความเผ็ดซี๊ดแสบทรวง
.
แต่หากมองไปยังอเมริกานั้น วัฒนธรรมการกินเผ็ดหรือการกินอาหารรสแซ่บนับเป็นเรื่องที่ค่อนนข้างไกลตัวชาวอเมริกา จนเมื่อช่วงสิบปีให้หลังมานี้ที่วัฒนธรรมการกินเผ็ดของชาวอเมริกันได้รับความนิยม และเกิดเป็นเทรนด์กินซอสเผ็ดคู่กับอาหารหลายๆ เมนู มากไปกว่านั้นความนิยมการกินซอสเผ็ดยังได้ทำให้อเมริกาเกิดเทศกาลที่เรียกว่า National Hot Sauce Day ขึ้น
.
ทำไมอยู่ๆ วัฒนธรรมการกินเผ็ดแบบเอเชียจึงแพร่กระจายกลายเป็นเทรนด์ของคนอเมริกันได้ การเฉลิมฉลองวันซอสเผ็ดแห่งชาติเป็นยังไง ขอชวนลัดฟ้าไปยังอเมริกาเพื่อดูว่าชาวอเมริกันเขากินซอสเผ็ดกับอาหารชนิดไหน และเผ็ดที่ว่าจะเหมือนหรือต่างกับชาวเอเชียแบบเราๆ หรือไม่ ‘มณีเนตร วรชนะนันท์’ รอให้คำตอบอยู่ใน Podcast Bon Appétit EP.90 แล้วตอนนี้ -
นาราไทย คูซีน, อั้งม้อ, บ้านนอกเข้ากรุง, โคลิมิเต็ด, โคโกราวน์, อิงคะ และมาดามแม่ เชื่อว่าเมื่อไปเดินห้างสรรพสินค้า หรือเปิดแอปเดลิเวอรี่สั่งอาหาร หลายคนต้องเคยได้เห็นชื่อร้านเหล่านี้ผ่านตา หรือกระทั่งเคยแวะเวียนเข้าไปลิ้มรส
.
รายชื่อร้านอาหารทั้งหมดที่ว่ามาคือร้านอาหารในเครือ Nara Group บริษัทเครือร้านอาหารไทยที่ก่อตั้งโดย ยูกิ-นราวดี ศรีกาญจนา และ สิริโสภา จุลเสวก ที่เริ่มต้นมาจากการเป็นร้านอาหารไทยที่มีสาขาเพียงหลักหน่วย แต่ปัจจุบันนี้เครือร้านอาหารแห่งนี้ได้ขยายสาขาไปทั่วประเทศไทยและในต่างประเทศ
.
ในโอกาสที่เครือนารากรุ๊ปครบรอบ 20 ปีในการทำธุรกิจอาหารและพาวัฒนธรรมการกินแบบไทยและอาหารไทยเติบโตไกลถึงต่างแดน รายการ Podcast Bon Appétit ตอนนี้จึงได้ชวน ‘พิมพ์พยัพ ศรีกาญจนา’ ผู้เป็น Corporate Strategist และเป็นหนึ่งในทายาทเครือ Nara Group มาพูดคุยถึงเบื้องหลังการทำธุรกิจร้านอาหารไทย วิธีคิดในการทำแบรนด์อาหารแต่ละแบรนด์ในไปอยู่ในใจผู้คน ไปจนถึงอนาคตต่อไปของแบรนด์ -
ขนาด Apple ที่พยายามพัฒนา EV มานานกว่า 10 ปี ยังพับเก็บโปรเจกต์ไป และย้ายคนในโปรเจกต์ EV ไปพัฒนา AI ได้ นั่นคือ Apple กำลังมองเห็นโอกาสของตลาด AI รึเปล่า และถ้า ‘มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก’ เจ้าพ่อแพลตฟอร์มออนไลน์เครือเมต้าจะไปทำฟาร์มวัวบ้างล่ะ ทำไมถึงจะทำไม่ไม่ได้ มาร์กอาจจะกำลังเห็นโอกาสของธุรกิจฟาร์มวัวอยู่ก็ได้
.
แม้ปัจจุบันธุรกิจปศุสัตว์จะสร้างผลกระทบต่อโลกและสิ่งแวดล้อม แต่ก็น่าสนใจว่าทำไมเขาถึงหลงใหลและเข้ามาอยู่ในธุรกิจปศุสัตว์ จนบอกว่าหากเกษียณจากเมต้าแล้วเขาจะหันไปเปิดร้าน Mark's Meats อย่างจริงจัง มณีเนตร วรชนะนันท์ เตรียมไขคำตอบทั้งหมดที่รายการ Podcast Bon Appétit EP.88 แล้วตอนนี้ -
เคยสงสัยไหมว่าทำไมบางครั้งเราถึงซื้ออาหารบางอย่าง ซื้อของบางชิ้นโดยไม่ได้ไตร่ตรองสรรพคุณรวมๆ และไม่คิดถึงเหตุผลมากนัก แม้จะรู้ว่าอาหารบางอย่างไม่ดีต่อสุขภาพ หรือมีราคาแพงเกินจริงก็ยังคงเลือกที่จะซื้อ อะไรคือสิ่งที่ทำให้เราเผลอควักกระเป๋าจ่ายเงินโดยไม่ทันตั้งตัว?
.
คำตอบก็คือ ‘อารมณ์’ ของเรานั่นเอง และด้วยอารมณ์เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าหนึ่งชิ้น กระทั่งอาหารหนึ่งจานได้ง่ายๆ แบบไม่ต้องคำนึงถึงความเป็นเหตุเป็นผล บ่อยครั้งเหล่าแบรนด์ต่างๆ จึงมักหยิบเรื่องของอารมณ์มาเป็นกลยุทธ์ในการทำการตลาด เพื่อเพิ่มยอดขายและดึงดูดลูกค้า
.
เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับ Emotional Marketing มากขึ้น Podcast Bon Appétit EP.87 ตอนนี้ ‘มณีเนตร วรชนะนันท์’ จึงอยากชวนทุกคนไปมาเจาะลึกกลยุทธ์การตลาดที่ว่าด้วยเรื่องของอารมณ์ผ่านแบรนด์ชั้นนำระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น Red Bull หรือจะ McDonald's พวกเขามีวิธีทำการตลาดผ่านเรื่องอารมณ์จนทำให้คนตัดสินใจซื้อได้ยังไง และอะไรคือเหตุผลสำคัญที่เหล่าแบรนด์ควรทำ Emotional Marketing ตามไปฟังพร้อมกันได้เลย - Показать больше