Bölümler
-
“เปิงซังกราน” หรือ “ข้าวสงกรานต์” อาหารในพิธีกรรมตามความเชื่อของคนมอญ ในเทศกาลสงกรานต์ ชาวมอญทำขึ้นเพื่อใช้บูชานางสงกรานต์ ถวายพระ และมอบให้แก่ผู้ที่เคารพนับถือ คนไทยเรียกอาหารชนิดนี้ว่า “ข้าวแช่” ตามลักษณะข้าวที่แช่อยู่ในน้ำ เป็นอาหารที่นิยมรับประทานในช่วงหน้าร้อน จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของอาหารในฤดูร้อนของคนไทย👉 อ่านหนังสือวิถีมอญในไทยเพิ่มเติม www.stou.ac.th/link/hIeTJ
-
จากประเพณีตักบาตรทางเรือ สู่ ประเพณีตักบาตรข้าวเม่า | พิศาล บุญผูก
-
Eksik bölüm mü var?
-
ประเพณีในเทศกาลออกพรรษาของชาวมอญบ้านศาลาแดงเหนือ | คุณนพดล แสงปลั่ง
-
ประเพณีตักบาตรดอกไม้ของชาวมอญ ในเทศกาลออกพรรษา
ประเพณีในเทศกาลวันออกพรรษา เป็นวันปวารณาออกพรรษาของพระสงฆ์ เป็นการจำลองเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากดาวดึงส์ ชาวบ้านจะเตรียมดอกไม้ ธูป เทียน มาถวายพระสงฆ์ที่เดินไปทำพิธีปวารณาออกพรรษาในอุโบสถ อุปมาเหมือนได้ถวายสักการะบูชาพระพุทธองค์ เป็นประเพณีที่ได้ทั้งศรัทธาของประชาชนและเป็นการทำให้พระวินัยของพระพุทธเจ้ายังมั่นคงอยู่ในพระสมณะที่เป็นสาวกของพระพุทธองค์
-
วิถึชีวิตของคนมอญดั้งเดิมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันระหว่างวัดและชุมชน พระภิกษุ สามเณร และชาวบ้านอาศัยพึ่งพากัน ศิษย์วัดและระภิกษุสงฆ์ ต่างมีบทบาทที่ปฏิบัติต่อกันด้วยความเกื้อกูล เอื้ออารี กลายเป็นสถาบันที่วิเศษของชุมชนนอกจากสถาบันครอบครัว
-
ชาวชุมชนบ้านศาลาแดงเหนือ จังหวัดปทุมธานีในอดีต มีอาชีพค้าขายเครื่องปั้นดินเผาทางเรือ ได้ล่องเรือไปรับสินค้าประเภทเครื่องปั้นดินเผาที่เกาะเกร็ด และบางตะนาวศรี จังหวัดนนทบุรี ล่องเรือค้าขายไปตามคลองซอยต่างๆ ในย่านจังหวัดนนทบุรี เช่น คลองตลาดขวัญ คลองบางใหญ่ คลองมหาสวัสดิ์ คลองโยง คลองพระพิมล คลองบางบัวทอง คลองลากค้อน คลองลำรี คลองบางภาษี คลองเจ๊ก เป็นต้น
-
ผ้าห่อคัมภีร์ใบลาน ผ้าที่ใช้ปกป้องรักษาคัมภีร์ใบลาน สะท้อนถึงวัฒนธรรม พลังศรัทธา ความเชื่อ ที่มีต่อพระพุทธศาสนา สะท้อนเรื่องราวประวัติศาสตร์และท้องถิ่น
-
กฐิน พุทธบัญญัติของพระพุทธเจ้าที่มีให้กับพระสงฆ์ กล่าวคือ วินัยของพระสงฆ์ที่ต้องร่วมกันทำ คือ ผ้า และผ้าที่ทำต้องไม่ได้เจาะจงว่าเป็นของใครหรือให้ใคร แต่ต้องเป็นไปตามมติของที่ประชุมสงฆ์พิจารณาร่วมกัน
-
พระพิมพ์โคนสมอ พระพิมพ์ดินเผา วัดชมภูเวก จ.นนทบุรี
-
การค้าขายทางเรือของชาวชุมชนบ้านศาลาแดงเหนือ จังหวัดปทุมธานี