Bölümler
-
นอกจากอารมณ์และความรู้สึกแล้ว ‘ความคิด’ ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญพื้นฐานในการมีสุขภาพจิตที่ดี โดยเฉพาะความคิดที่เราจับได้ยาก นั่นคือความคิดที่มีต่อตัวเอง
หลายครั้งที่เรามีความคิดต่อตัวเองในลักษณะของการตำหนิ ทำร้าย หรือโทษตัวเองโดยที่เราไม่ทันระวังรู้ตัว R U OK Medley เซ็ตนี้จึงอยากชวนลองใช้เวลาอยู่กับตัวเองนิ่งๆ สำรวจความคิดที่มีต่อตัวเองว่าเป็นอย่างไร พร้อมกับการค่อยๆ ปรับความคิดให้ลองฝึกใจดีกับตัวเองดูบ้าง ลดการดุด่าตัวเองซ้ำเมื่อทำผิดพลาดหรือไม่เป็นไปอย่างที่ต้องการ การฝึกใจดีกับตัวเองแบบนี้อาจนำไปสู่สิ่งที่เราคิดไม่ถึง อย่างการ ‘รักตัวเอง’ ได้ในอนาคต -
รับชมทาง YouTube
R U OK เอพิโสดสุดท้ายในซีรีส์ Mindset อยากชวนคุยเรื่องความสำเร็จ
คำที่เป็นเส้นชัย เป็นเหมือนเป้าหมายที่ต้องเดินทางไปให้ถึง แต่สำหรับบางคนแล้วยิ่งเดินทางเป้าหมายยิ่งห่างไกล จนตั้งคำถามว่าตกลงแล้วความสำเร็จคืออะไรกันแน่
R U OK เลยอยากตั้งคำถามกับคำว่าประสบความสำเร็จอีกครั้ง เราต้องวางสิ่งนี้ไว้เป็นเป้าหมายชีวิตหรือไม่ ถ้าความสำเร็จไม่ใช่จุดที่เราจะเดินทางไป ซึ่งอาจขัดกับบรรทัดฐานของสังคม เราจะทำอย่างไร รวมถึงวิธีอิสระตัวเองจากคุณค่าที่ตัวเองโอบกอดมานาน -
Eksik bölüm mü var?
-
รับชมทาง YouTube
ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัย อาชีพ ความสัมพันธ์แบบไหนก็ไม่สามารถหลีกหนี ‘ปัญหา’ ได้พ้น หรือแม้ว่าจะหลีกเลี่ยงแค่ไหน สุดท้ายแล้วทุกชีวิตก็ต้องกลับมาแก้ปัญหาไม่ว่าจะผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไรก็ตาม
แต่หลายครั้งปัญหาก็ทำให้เรารู้สึกทุกข์จนอยากจะหลบหนีไปเรื่อยๆ จนเกือบลืมว่าไม่ว่าจะอย่างไร ปัญหาก็ไม่มีวันหายไป R U OK วันนี้เลยขอแชร์วิธีที่จะทำให้ระหว่างที่อยู่ในการ ‘ฮึบ’ มีวิธีอะไรบ้างที่จะทำให้เรามีแรงกลับมารับมือกับปัญหา ด้วยสภาพจิตใจที่มั่นคงและแข็งแรงกว่าเดิม -
ในช่วงเวลาที่ต้องโฟกัสกับ ‘หน้าที่’ และ ‘ความรับผิดชอบ’ ของตัวเอง ทั้งวัยเรียนที่ต้องเรียนหนังสือ พ่อ-แม่ที่ต้องหาเงินมาเลี้ยงดูลูก หรือสามี-ภรรยาที่ต้องทำงานเพื่อความก้าวหน้ามั่นคงของครอบครัว มีสิ่งหนึ่งที่หลายคนอาจละเลยนั่นคือเรื่องของ ‘ความสัมพันธ์’
ในทางจิตวิทยา ความสัมพันธ์ที่แข็งแรงคือพื้นฐานสำคัญที่ทำให้ผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้ ฉะนั้นแล้วการทำหน้าที่เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอให้ชีวิตราบรื่นและแข็งแรง R U OK เอพิโสดนี้เลยอยากชวนกลับมาทบทวนดูว่า ความสัมพันธ์ของเรากับคนรอบข้างยังแข็งแรงดีอยู่ไหม เพื่อให้ความสัมพันธ์ยังเป็นตาข่ายที่แน่นหนา รองรับเรายามร่วงหล่นและผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤตไปด้วยกัน -
เคยสำรวจตัวเองกันไหมว่าบางครั้งที่ ‘เลือก’ หรือ ‘ไม่เลือก’ ทำอะไร ลึกๆ แล้วอาจมาจากความคิดที่ไม่อยากทำให้พ่อแม่เสียใจ ซึ่งสาเหตุหนึ่งของ Mindset นี้เป็นไปได้ว่ามาจากการสื่อสารภายในครอบครัวที่ไม่ตรงไปตรงมา แถมทำให้อีกฝ่ายรู้สึกผิด หรือที่เรียกว่า Guilt Trip
R U OK ชวนสำรวจของการเลือกตัดสินใจบางอย่างที่คำนึงถึงความรู้สึกของคนอื่น โดยเก็บความต้องการของตัวเองเอาไว้ว่ามีผลเสียอย่างไร ส่งผลถึงวัยผู้ใหญ่อย่างไร และเราจะมีวิธีสื่อสารอย่างไรบ้างที่จะทำให้เข้าใจโดยไม่ต้องทำร้ายกัน -
การมองโลกเป็น 2 ขั้ว ดี-เลว, ถูก-ผิด, ใช่-ไม่ใช่ แม้ว่า Mindset นี้ไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่การแยก 2 อย่างต่างขั้วชัดเจน อาจทำให้เราพลาดรายละเอียดซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ โดยเฉพาะการพยายามเข้าใจมนุษย์ที่มีความซับซ้อนและไม่สามารถแยกทุกอย่างขาดกันอย่างชัดเจน R U OK อยากชวนสำรวจถึงที่มาของการมองโลกเป็น 2 ขั้ว ที่อาจเป็นไปได้ทั้งกลไกการป้องกันตัวเองหรือจากประสบการณ์ในวัยเด็ก และชวนให้เห็นถึงปัจจุบันว่าถ้าหากรู้ตัวว่ากำลังใช้ Mindset นี้อยู่แล้วนำไปสู่ความติดขัดซ้ำๆ การวางแว่นนี้ลงบ้างก็อาจทำให้เราเข้าใจในสิ่งที่เป็นจริงๆ มากขึ้น
-
รับชมทาง YouTube
ความพยายามคือหนึ่งในคุณสมบัติที่หลายคนยึดถือว่าจะนำทางไปสู่ความสำเร็จ แต่เชื่อหรือไม่ว่าความพยายามกลับใช้ต้นทุนทั้งทางร่างกายและจิตใจไปอย่างมหาศาล R U OK จึงอยากชวนสำรวจว่า หากจะทำบางสิ่งบางอย่างให้ประสบผลสำเร็จ จำเป็นต้องใช้ความพยายามเสมอไปหรือไม่ เรามีทางเลือกอื่นที่นอกเหนือจากความพยายามหรือเปล่า เพราะการดูแลร่างกายและจิตใจของตัวเองก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้ความสำเร็จปลายทางเช่นกัน -
รับชมทาง YouTube
“คนรักกันไม่ควรมีความลับต่อกัน” ประโยคชินหูที่หลายคู่ใช้เป็นเหตุผลในการรู้เรื่องราวอีกฝ่าย จนกลายเป็นประเด็นให้ถกกันไม่จบสิ้นว่าแท้จริงแล้วในความสัมพันธ์ เราควรเหลือพื้นที่ส่วนตัวของตัวเองไว้แค่ไหน
R U OK เชียร์ว่ามีทั้งสิ่งที่เราควรบอกและไม่ควรบอกกับคนที่อยู่ในความสัมพันธ์ และยังเชื่อด้วยอีกว่าไม่ว่าจะอยู่ในความสัมพันธ์รูปแบบไหน ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะมีพื้นที่ส่วนตัว เพราะจะคงไว้ซึ่ง Self-Respect หรือการยอมรับนับถือของตัวเอง ชวนอีกฝ่ายตกลง ปรับตัวและเรียนรู้กันไป เพราะทุกคนควรมีพื้นที่ที่กลับไปเมื่อไรก็อบอุ่นใจและเป็นเจ้าของมันได้แบบเต็มๆ -
รับชมทาง YouTube
‘คนที่ใช่ไม่ต้องพยายาม’ ประโยคสุดฮิตของความรักที่หลายคนเชื่อว่า ในชีวิตนี้จะมีใครสักคนเป็น ‘คนที่ใช่’ รออยู่ แต่ในเมื่อมนุษย์เปลี่ยนแปลงทุกวัน ‘คนที่เคยใช่’ ก็อาจกลายเป็นคนที่ไม่ใช่ได้ในวันข้างหน้า
จิตวิทยาความรักความสัมพันธ์ใน R U OK เอพิโสดนี้ชวนดูแลรักษาความรักให้ ‘ใครคนนั้น’ ยังคงเป็นคนที่ใช่อย่างยาวนาน ด้วยการกลับไปสำรวจความสัมพันธ์ว่าตกลงแล้วเรารักกันที่อะไร ชวนมองหาคุณค่าที่สอดคล้องระหว่างกัน และการแสดงออกถึงความรักด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้ความรักกลายเป็นความเบิกบานทางใจและส่งเสริมให้เป็นขุมพลังหนึ่งในการใช้ชีวิต -
ในปัจจุบันที่ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวกลายเป็นคอนเทนต์ หลายคนอาจกังวลว่าจะเปิดรับสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดได้อย่างไร และหากพลาดก็อาจทำให้เป็นคนที่ไม่ทันเหตุการณ์และกลายเป็นคนตกยุค
ภายใต้ความรู้สึกว่าตัวเองจะพลาดเหตุการณ์สำคัญ มันถูกซ้อนอยู่ด้วยความกลัวและความกังวล ทางออกสิ่งนี้คือนอกจากจะจัดการความรู้สึกกลัวและวิตกกังวลที่เกิดขึ้นแล้ว เราเองมีสิทธิ์ที่จะเลือกในการเปิดรับว่าเพียงพอที่จุดไหน เพราะเราคือคนเดียวที่จะสังเกตเห็นและรับรู้จุดพอดีที่ว่านั้น -
เราอาจเคยได้ยินประโยคที่ว่า “ให้ยิ้มสู้รับกับปัญหา” จนเกิดความสงสัยว่าเราจะยิ้มได้อย่างไรในเมื่อข้างในมีแต่อารมณ์ที่ชวนให้ห่อเหี่ยวและไม่มีแรง
เชื่อหรือไม่ว่า ‘การยิ้ม’ ช่วยนำพาอารมณ์บวกๆ ให้ร่างกายที่ซึมเซาหดหู่กลับมามีแรงขึ้นได้ เพราะมันจะนำพาประสบการณ์แห่งความสุขที่เคยได้รับกลับมาให้เรารู้อีกครั้ง นอกจากนั้นแล้วการยิ้มยังช่วยเพิ่มพลังอึด ฮึด สู้ หรือ Resilience ให้มีแรงจัดการกับอารมณ์และปัญหา ไม่ได้หมายความว่าให้ล้างอารมณ์ลบเหล่านั้นทิ้ง แต่การยิ้มทำให้เรามีพลังในการเข้าไปจัดการอารมณ์ลบๆ เหล่านั้นต่างหาก -
เป็นธรรมดาที่มนุษย์ต้องการเห็นตัวเองมีคุณค่า แต่บางครั้งเรามักพาตัวเองไปพึ่งพิงสิ่งอื่น และใช้สิ่งที่ว่านั้นวัดคุณค่าของตัวเอง โดยเฉพาะเรื่อง ‘งาน’ เมื่อมีงานก็ทำให้รู้สึกมั่นคงทางใจ และสะท้อนว่าตัวเองมีคุณค่า
R U OK อยากชวนให้มองเห็นว่า บางครั้งสิ่งที่เราใช้วัดคุณค่าของตัวเอง ก็วกกลับมาทำร้ายเราให้เจ็บปวดทั้งกายใจ และเป็นเราเองนี่แหละที่ไม่ยอมปล่อยมือ แล้วเพราะอะไรเราจึงไม่ยอมปล่อยมือจากสิ่งที่ทำให้เจ็บปวด ล็อกทางใจและคุณค่าที่เราวางไว้อยู่ตรงไหน เอพิโสดนี้อาจชวนให้มองเห็น แต่ทั้งหมดคุณต้องลงมือทำด้วยตัวเอง -
แม้จะเป็นความจริงที่ว่า การพูดให้เจ็บแล้วจำ จะทำให้อีกฝ่ายตระหนักและจำสิ่งที่ต้องการสื่อสารได้จริง แต่สิ่งที่ฝากไว้มากกว่านั้นคือบาดแผลที่ฝังใจ และอาจเปลี่ยนความคิด พฤติกรรมของคนคนหนึ่งไปเลยก็ได้
R U OK ชวนให้เห็นที่มาของมายด์เซ็ตของการพูดให้เจ็บแล้วจำที่อาจมีต้นเหตุจากการส่งต่อแนวคิดรุ่นต่อรุ่นเพราะใช้ได้ผล แต่เพราะโลกใบนี้มีทางเลือกมากกว่านั้น เราอาจไม่จำเป็นต้องสร้างบาดแผล เพียงเพราะต้องการให้อีกฝ่ายเข้าใจ ฉะนั้นจะมีวิธีอะไรอีกบ้างที่สามารถสื่อสารให้เข้าใจ โดยไม่สร้างร่องรอยทางใจและไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ -
สภาพแวดล้อมและสังคมที่คนแต่ละคนหรือแต่ละเจเนอเรชันให้คุณค่านั้นอาจไม่เหมือนกัน บางคนอาจให้ความสำคัญกับความสงบเรียบร้อย หากแต่บางคนอาจให้ความสำคัญกับความแตกต่างหลากหลายและความเป็นมนุษย์ ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อความเห็นไม่เหมือนกัน อาจนำไปสู่ความขัดแย้งกันได้
R U OK ชวนหาวิธีของตัวเองในการอยู่ร่วมกันกับความเห็นต่าง เพราะความเห็นที่ต่างกันอาจไม่จำเป็นต้องโน้มน้าวให้คิดเหมือนกัน และไม่จำเป็นต้องลดทอนคุณค่าของอีกฝ่าย แต่การสื่อสารอย่างสันติและการเคารพในสิ่งที่อีกฝ่ายให้คุณค่า อาจเป็นทางออกของการอยู่ร่วมกัน -
ปัญหาด้านความสัมพันธ์ที่พบเจอในวัยผู้ใหญ่เชื่อหรือไม่ว่าส่วนใหญ่เกิดจากความไว้ใจ (Trust) ที่เกิดจากการเลี้ยงดูที่แตกต่างกัน ความไว้ใจจึงเป็นเหมือนรากในการแสดงออกถึงความวางใจ หวาดระแวง หรือไม่เชื่อใจทั้งคนอื่นและตัวเอง
R U OK ชวนสำรวจ ‘Trust Issue’ ว่าถูกแสดงออกผ่านมิติของการใช้ชีวิต การทำงาน ความสัมพันธ์อย่างไร และถ้าหากอยากลองฝึกไว้ใจตัวเองและคนอื่นสามารถเริ่มต้นได้อย่างไรบ้าง เพราะนี่อาจเป็นเครื่องมือที่ช่วยคลี่คลายปัญหาความสัมพันธ์ที่ดูยากแสนยากก็ได้ -
หลายคนหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงความเศร้าหรือเรื่องที่เป็นทุกข์ เพราะเกรงว่าจะทำให้ทุกข์มากขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว การค่อยๆ เผชิญหน้าจะทำให้ความเศร้านั้นเบาบางลง
เมื่อความเศร้าเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องพบเจอไม่วันใดก็วันหนึ่ง R U OK อยากชวนทำความคุ้นเคยความเศร้าด้วยการเผชิญหน้าอย่างกล้าหาญ เพราะยิ่งอยู่ในความเศร้าได้นานเท่าไร กล้ามเนื้อทางใจจะเพิ่มความแข็งแรงในการรับมือ และวันหนึ่งเราจะพบวิธีในการออกจากหลุมเศร้าด้วยรูปแบบของตัวเอง -
แม้ความหวังจะเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้เรามีแรงออกไปสู้อุปสรรคและเอาชนะปัญหาต่างๆ ได้ แต่ในทางกลับกัน การมีความหวังเพียงอย่างเดียวก็อาจกลายเป็นกับดักและกั้นไม่ให้นำไปสู่การลงมือทำ
R U OK ชวนดูความหวังว่ามันทำงานกับจิตใจเราอย่างไรบ้าง ข้อดีข้อเสียของการมีความหวัง รวมถึงการประเมินความหวังในสถานการณ์ต่างๆ กับความเป็นจริงเพื่อนำไปสู่การลงมือทำ เพราะแท้ที่จริงแล้วเรามีพละกำลังและอำนาจในการควบคุมตัวเองมากกว่าการใช้ความหวังเพียงอย่างเดียว -
แน่นอนว่าการทำความรู้จักตัวเองเป็นสิ่งที่ดี ที่เราจะชัดเจนว่าในสถานการณ์ต่างๆ เราต้องการอะไร เพื่อจะสื่อสารให้คนอื่นได้รับรู้ แต่เคยสงสัยไหมว่า ‘การรู้จักตัวเอง’ ที่ว่านั้น ‘ตัวเรา’ คือใครกันแน่ เพราะตัวตนของเราเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา แล้วเราจะรู้ตัวตนที่แท้เราได้อย่างไร
R U OK ชวนเข้าใจทฤษฎีเกี่ยวกับ ‘Self’ หรือ ‘ตัวตน’ ที่ท้ายที่สุดแล้วอาจไม่จำเป็นต้องรู้จักตัวตนที่แท้จริงก็ได้ เพราะตัวเราเองเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ไม่มีคำตอบที่ตายตัวและเสร็จสิ้น การทำความรู้จักตัวเองจึงเป็นเหมือนงานที่ไม่มีวันเสร็จ แต่ค่อยๆ ทำไป ออกไปใช้ชีวิต แล้วก็แวะกลับมาทบทวนตัวเอง ก็น่าจะเพียงพอแล้วในการหาคำตอบ -
ในยุคที่หันไปทางไหนก็เจอแต่คนเก่ง คนที่ประสบความสำเร็จอยู่รอบตัวตลอดเวลา จนหลายคนตั้งคำถามกับการเป็น ‘คนธรรมดา’ ของตัวเองว่า เราต้องเก่งอะไรสักอย่างไหมชีวิตเราถึงจะอยู่รอดได้สังคมที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน
R U OK ชวนคิดอีกด้านว่า จริงๆ แล้วความเก่งอาจไม่ต้องเปรียเทียบ ไม่ต้องออกไปไขว่คว้า แต่แท้ที่จริงทุกคนมีความเก่งอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว เพียงแต่เข้าไปค้นหามัน และทุกความเก่งที่เรามองไม่เห็นหรือรู้สึกไม่มีความหมาย สามารถประยุกต์ใช้ร่วมกันจนทำให้เกิดมูลค่าและทำให้เรามีชีวิตตั้งอยู่ได้ -
เชื่อหรือไม่ว่า Mindset บางอย่างที่เราใช้เลือกมอง ล้วนมีผลมาจากการเลี้ยงดูในวัยเด็ก ที่มีเสียงของพ่อแม่หรือผู้ปกครองบอก และเราก็ ‘เชื่อตาม’ เสียงเหล่านั้น หลายคนเท่าทันและจัดการเสียงเหล่านั้นได้ แต่อีกหลายคนลากพา ‘เสียง’ มาจนถึงตอนโต และใช้ตัดสินใจในสถานการณ์ปัจจุบัน
แน่นอนว่าเสียงเหล่านั้นมันเคยใช้งานได้ดี แต่ก็ไม่ได้เสมอไป R U OK ชวนสังเกตและเท่าทันเสียงในอดีตที่มีผลต่อ Mindset พลิกดูว่าชุดความไหนยัง ‘เวิร์ก’ อยู่บ้าง เพราะการตั้งคำถามกับคนที่เลี้ยงดูมา ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่รักเขาเสมอไป - Daha fazla göster