Episodi
-
หาประเทศเรียนต่อ เรียนภาษา บางทีอาจไม่ต้องไปถึงยุโรป หรืออเมริกา โซนเอเชียแถวๆ บ้านเราก็น่าสนใจไม่น้อย ลองฟังประสบการณ์ชีวิตจาก 4 ตอนของพอดแคสต์ นักเรียนนอก
-
รวม 5 ตอนฟังต่อกันยาวๆ จากพอดแคสต์ นักเรียนนอก หลากหลายทั้งสาขาวิชาและประสบการณ์ชีวิตจากดินแดนอเมริกา
-
เอม-นภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ เป็นหน้าที่หลายคนอาจจะคุ้นตากันดีในวงการสื่อโทรทัศน์บ้านเรา เอมเคยทำงานเป็นผู้สื่อข่าวภาคสนามของสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่ง ก่อนที่จะตัดสินใจไปเรียนต่อด้านการทำข่าวโดยตรงที่ประเทศอังกฤษ ณ มหาวิทยาลัย City, University of London ที่นั่นเอมได้ลงพื้นที่ทำข่าวจริงในสังคมยุโรป ได้ฝึกงานกับสำนักข่าวระดับบิ๊กทั้ง The Independent และ BBC ในช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ไปฟังประสบการณ์ที่เอมได้รับจากการฝึกงานที่นั่น ในยุคนี้ที่เขาบอกว่าเป็นช่วงเวลาที่เฟื่องฟูที่สุดของวงการสื่อมวลชน
-
ป่าน-นวพรรณ เกตุมณี ตัดสินใจทิ้งการเรียนปริญญาตรีด้านมนุษยศาสตร์ที่เรียนมา เพื่อตามความฝันไปเรียนแฟชั่นที่ต่างประเทศ ไกลถึงเมืองอาร์เนม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่นั่นป่านพบกับเรื่องไม่คาดฝันมากมาย ทั้งการเรียนการสอนที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ อาจารย์ที่เหมือนจะไม่ชอบหน้าป่าน และการคบหากับแฟนหนุ่มชาวดัตช์ หลังจากทนเรียนกับภาษาที่ไม่คุ้นอยู่หนึ่งปี ป่านตัดสินใจลาออกกลับบ้าน และใช้ความรู้เท่าที่ร่ำเรียนมา เปิดแบรนด์ส่วนตัวชื่อว่า MUETTA ทำเสื้อผ้าคอลเลกชั่นคอนเซปต์จัดได้น่าสนใจ ถึงแม้จะไม่ได้เรียนจนจบ เป็นสิ่งที่พิสูจน์ว่าแรงบันดาลใจทางศิลปะอาจไม่ได้มาจากใบปริญญา
-
วิชัย มาตกุล คือนักเขียนสำนวนยียวน และครีเอทีฟไดเรกเตอร์ของแซลมอนเฮาส์ โปรดักชันเฮาส์ที่ยวนไม่ต่างจากตัววิชัยเอง ก่อนหน้านี้วิชัยออกพ็อกเก็ตบุ๊กเล่มหนึ่งชื่อว่า โยดายาบอย ที่เล่าเรื่องชีวิตตัวเองในสมัยที่ถูกพ่อส่งไปเรียนภาษาอังกฤษที่พม่าหลังจบ ม.6 (ใช่ ไปเรียนภาษาอังกฤษที่พม่า พ่อมีเหตุผลของพ่อ - วิชัยบอกอย่างนั้น) นั่นทำให้วิชัยต้องใช้เวลาวัยรุ่นเพียงครั้งเดียวในประเทศที่ไม่เคยคิดอยากไป แต่มันกลับเป็นวันเวลาที่หล่อหลอมเขาขึ้นมาเป็นคนใหม่ได้อย่างไม่น่าเชื่อ
-
มนสิชา รุ่งชวาลนนท์ สนใจในประวัติศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก หลังจบปริญญาตรีด้านโบราณคดีที่ประเทศไทย เธอก็ตัดสินใจไปเรียนต่อด้าน Heritage Management ที่มหาวิทยาลัยไลเดน ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่ตอกย้ำว่าเธอสนใจศาสตร์แห่งการจัดการความทรงจำเหล่านี้ โดยเฉพาะความทรงจำจากความขัดแย้ง หรือ conflict heritage ที่เธอสนใจเป็นพิเศษ จนจับทางรถไฟสายมรณะ conflict heritage ชื่อดังของไทยมาทำธีสิสจบที่นั่น ไปฟังว่าสำหรับคนเรียนโบราณคดี heritage คืออะไร ควรบริหารจัดการอย่างไร และมันให้อะไรกับคนเสพและบริหารความทรงจำเช่นเธอ
-
เฟิร์น-อานิกนันท์ เอี่ยมอ่อง มีครอบครัวทำกิจการร้านแว่นมานานหลายรุ่น แต่ตัวเธอเองกลับไม่รู้ว่าแว่นทำขึ้นมาได้อย่างไร เมื่อคิดดังนี้ เธอจึงไปสมัครเรียนคอร์สการทำแว่นที่ M.O.F. (Meilleurs Ouvriers de France Lunetiers) โรงเรียนช่างฝีมือทำแว่นตา ที่เมืองมอเรซ เมืองเล็กๆ แสนสงบ ในประเทศฝรั่งเศส และกลับมาเปิดร้านแว่น custom made ชื่อ Arty&Fern
อ่าน shownotes ได้ที่ thestandard.co/podcast/nukreannok13
-
ขิม พัทธมญส์ ไปเรียนที่เมืองไมซอร์ ประเทศอินเดีย แล้วนำเรื่องราวสุดเฮฮาป่าแตกของชีวิตที่อินเดียมาเล่าลงเพจ ตามติดชีวิตอินเดีย จนเป็นที่พูดถึงและติดตามของคนไทยจำนวนมาก ยอดไลค์เพจของขิมสูงกว่าสองแสนไลค์ พร้อมกับที่เธอมีผลงานหนังสือ ตามติดชีวิตอินเดีย ออกมาเล่าชีวิตในอินเดียอีกหนึ่งเล่ม คราวนี้เธอจะมาเล่าด้วยเสียงบ้าง ว่าระหว่างทางชีวิตในอินเดียที่เขาว่าแสนจะไม่สะดวกสบายนั้น จะเป็นอย่างไร
อ่าน shownotes ได้ที่ thestandard.co/podcast/nukreannok12
-
เต่า ไชยณัฐ เป็นพนักงานออฟฟิศ และนักเขียนที่รู้จักในนามปากกาว่า บองเต่า หลังจากเขียนแชร์ประสบการณ์การเรียน ป.โท MBA ที่ INSEAD สถาบันระดับโลกที่เมืองฟงแตนโบล ประเทศฝรั่งเศส ไว้ในหนังสือ บอง ออง ฟรองซ์ คราวนี้นักเรียนนอกพอดแคสต์ ขอถามเจาะลึกไปถึงวิธีการเข้าเรียน บรรยากาศในคลาส และความเฮฮาปาจิงโกะทั้งในและนอกห้องเรียน ในแบบที่หนังสือก็ยังไม่ได้เล่า
-
แป๋ม-ปรารี กิตติดำเกิง เป็นดีไซเนอร์ชาวไทยที่ได้รับเทียบเชิญจากบริษัทนวัตกรรมระดับโลกอย่าง Apple ให้เข้าทำงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Apple Park ออฟฟิศแห่งใหม่ของบริษัท ที่คูเปอร์ติโน แคลิฟอร์เนีย
ชวนฟังเส้นทางการเรียนของนักเรียนดีไซน์แบบปรารี กับการปรับตัวเข้ากับการเรียนดีไซน์แบบตะวันตก การทำงานในสหรัฐอเมริกา และบรรยากาศการทำงานในบริษัท Apple ที่ลึกลับอย่างกับอยู่ในซีไอเอ! -
ฐนฐ จินดานนท์ ไปเรียนเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนด้านเศรษฐกิจการคลัง เศรษฐศาสตร์การคลัง รวมถึงเศรษฐศาสตร์การพัฒนา ที่ประเทศสวีเดน ที่ใครหลายคนคงคุ้นชื่อในฐานะเป็นถิ่นกำเนิดของอีเกียมากกว่า แต่อีกสถานะนึงของสวีเดนคือเป็นประเทศต้นแบบของรัฐสวัสดิการอันดับต้นๆ ของโลก “เร็วๆ นี้ก็มีการประกาศว่าสวีเดนเป็นประเทศที่ดีที่สุดในโลกครับ ถ้าดูในด้านสวัสดิการ” ฐนฐบอก ซึ่งความสนใจในด้านรัฐสวัสดิการนี้ ขับให้เมนต้องเดินทางไปเห็นต้นแบบด้วยตาตัวเองที่มหาวิทยาลัยลุนด์ ในเมืองลุนด์ ประเทศสวีเดน
อ่าน shownotes ได้ที่ thestandard.co/podcast/nukreannok09
-
จากชีวิตนักเรียนไทยที่ได้ไปใช้ชีวิตที่อเมริกาตั้งแต่เด็กเป็นเวลาถึง 10 ปี โบ-สาวิตรี มาเล่าให้ฟังถึงชีวิตในมหาวิทยาลัยในแคลิฟอร์เนีย ที่ไม่ใช่แค่เรียน แต่ยังเล่นกันจริงจัง รวมถึงประสบการณ์การเข้าไปอยู่ในสมาคมนักเรียนหญิงหรือ Sorority ที่เราอาจคุ้นเคยจากหนังฮอลลีวู้ด ชีวิต Sorority ของจริงจะสวยเริ่ดเชิดหยิ่งเหมือนในหนังหรือเปล่า ไปติดตามฟังกันได้เลย
อ่าน shownotes ได้ที่ thestandard.co/podcast/nukreannok08
-
จากความมุ่งมั่นอยากเป็นคนข่าวที่แท้จริง หญิงไทยผู้ไม่เคยไขว้เขวกับความฝันและความถนัดของตน ดั้นดนสู่ลอนดอนในฐานะเด็กทุน Chevening เพื่อไปพบว่าความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมไว้ตั้งเยอะ มีขนาดแค่เศษเสี้ยวของเพื่อนร่วมชั้น! และจากที่เตรียมใจไปแล้วว่าต้องเรียนโคตรหนักโคตรยาก ก็พบว่า ไอ้ที่คิดไว้ก็แค่เศษเสี้ยว (อีกแล้ว!) ของความยากมหันต์อันแท้ทรูที่รออยู่!
อ่าน shownotes ได้ที่ thestandard.co/podcast/nukreannok07
-
หลายคนคงคุ้นหน้าคุ้นตาคุ้นเสียงของหนุ่มน้อย Kayavine หรือ เค เลิศสิทธิชัย Vlogger หน้ามนที่มาตั้งกล้องเล่าเรื่องราวที่ได้ประสบพบเจอระหว่างเรียนอยู่ที่สหรัฐอเมริกา นอกจากรอยยิ้มพิมพ์ใจกับกล้ามสวยๆ ที่แม่ยกมองเป็นต้องละลายแล้ว ชีวิตการเรียนไฮสคูลและมหาวิทยาลัยในอเมริกาของหนุ่มเคก็ยังน่าสนใจไม่แพ้กัน
อ่าน shownotes ได้ที่ thestandard.co/podcast/nukreannok06
-
พูดถึงไต้หวันเกือบทุกคนคงนึกถึงเมืองไทเปทันที แต่ก้อย-พัณณ์ชิตา ธนวีร์กิตติโชติ กลับเลือกไปเรียนแลกเปลี่ยนที่เมืองไถจงทางตอนกลางของไต้หวันเป็นเวลา 1 เทอม ไปฟังการปรับตัวของนักเรียนไทยในประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเป็นลูกครึ่งระหว่างจีน-ญี่ปุ่น รวมถึงเรื่องช้อป เรื่องเที่ยว และที่สำคัญเลย เรื่องกิน! (แล้วเรื่องเรียนล่ะ ไปไหน...)
อ่าน shownotes ได้ที่ thestandard.co/podcast/nukreannok05
-
นอกจาก 12 ปีจะเป็นเวลาที่วนครบ 1 รอบนักษัตร จากปีชวดไปจบที่ปีกุนแล้ว 12 ปียังเป็นเวลาที่ ไปป์-รัฐภูมิ ตู้จินดา ได้รับทุนไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกาตั้งแต่มัธยมหกจนจบปริญญาเอก ในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์หรือ ComSci ซึ่งเขาได้ทำธีสิสวิจัยนวัตกรรมทางคอมพิวเตอร์หลายชิ้นจนต่อยอดเป็นสตาร์ทอัพ และถูกบริษัทยักษ์ใหญ่ซื้อไปในราคาแสนแพง! ทุกวันนี้ไปป์ทำงานเป็นหนึ่งในทีมที่ปรึกษาของรัฐบาล ได้นำความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งแนวคิดที่ได้จากการใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศมาพัฒนาประเทศอย่างเต็มความสามารถ
อ่าน shownotes ได้ที่ thestandard.co/podcast/nukreannok04
-
นก-พริมาภา หรือ นก KPN เป็นนักร้องสาวที่เวลาร้องเพลงแต่ละทีนี่คือทุกคนต้องก้มกราบ ล่าสุดไปได้ที่สองของเวทีระดับโลกที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก คนรัสเซียก็ก้มกราบ คือเสียงทรงพลังระดับตัวแม่อย่างนี้หาไม่ได้ง่ายๆ แต่แล้วทำไมยังต้องยอมเสียเงิน เสียเวลาทำมาหากิน เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปเรียนร้องเพลงเพิ่มเติมถึงแอลเออีก เราพบว่าเรื่องราวของพี่นกสนุกมาก และทำให้เห็นเลยว่า คนที่แน่วแน่กับแพสชั่นของตน จะพยายามทำทุกอย่างให้มันออกมาดีที่สุดแบบนี้นี่แหละ
-
ก่อนจะมาเป็นดีเจปาล์มเวอร์ชั่นที่หล่อแล้ว ผอมแล้ว เท่แล้ว เป็นขวัญใจเด็กแนวแล้ว รู้ไหมว่าสมัยมัธยม เขาเป็นวัยรุ่นลูสเซอร์ตัวอ้วน หน้าสิว และเซื่องซึมเพราะเบื่อความซ้ำซากจำเจของชีวิต จนได้เดินทางไปเป็นเด็กแลกเปลี่ยนที่ปารากวัย แค่ปีเดียวให้หลัง น้ำหนักลดไป 18 กิโลกรัม ความเซ็งหายเกลี้ยงไปพร้อมสิวบนใบหน้า ร่าเริงสดใสกลายเป็นคนละคน เขาไปเจออะไรมา เฟี้ยต-ธัชนนท์ รับหน้าที่ซักฟอกแทนคุณผู้ฟัง
อ่าน shownotes ได้ที่ thestandard.co/podcast/nukreannok03
-
ทุกครั้งที่แจน-ณิชมน บอกใครๆ ว่าเธอกำลังเรียนปริญญาเอกด้านไหน เชื่อว่าคนที่ได้ยินต้องตาโตด้วยความทึ่งว่า มันมีวิชาแบบนี้อยู่ด้วยหรือ แต่พอรู้ว่าเป็นของญี่ปุ่น คนก็คงพูดคล้ายๆ กันว่า อืม ญี่ปุ่นนี่มันญี่ปุ่นจริงๆ! มาติดตามฟังเรื่องความเป็นอยู่ การรับจ๊อบรัวๆ และการห้ำหั่น (ทางวิชาการ) กับเพื่อนร่วมชั้นนานาชาติที่วาเซดะ มหาวิทยาลัยชื่อดัง
อ่าน shownotes ได้ที่ thestandard.co/podcast/nukreannok01
-
ถ้าไม่ได้คิดจะไปเรียนเมืองนอก ทำไมเราต้องฟังเรื่องราวชีวิตนักเรียนนอก?
เฟี้ยต-ธัชนนท์ ยืนยันว่า รายการนี้เหมาะกับวัยค้นหาอย่างแท้จริง เพราะพูดถึง 2 สิ่งสำคัญ ได้แก่ ‘สิ่งที่เราต้องทำ’-ซึ่งคือการเรียน และ ‘สิ่งที่เราอยากทำ’-นั่นคือการเดินทางท่องเที่ยว และสองอย่างนี้ก็ถูกรวมไว้ในรายการนี้แล้ว
ไม่เชื่อลองฟังตัวอย่างรายการบางส่วน แล้วถามตัวเองว่า มันน่าจะสามารถ inspire ให้เราออกเดินทางและเรียนรู้โลกได้บ้างไหม