Episodi
-
EP นี้ เรามาแนะนำการระบุความเสี่ยงให้ชัดเจนใน 4 รูปแบบ ผู้ที่เกี่ยวข้องอ่านคำบรรยายความเสี่ยงแล้ว ก็ไม่ต้อง Read between the lines และแน่นอนว่า ความชัดเจนในการบรรยายความเสี่ยง ย่อมทำให้ การบริหารจัดการความเสี่ยงในขั้นตอนถัดไป ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลครับ
-
Pain point ของคนทำงานในการบริหารความเสี่ยง คือ ไม่รู้ว่าตนเองมีความเสี่ยงอะไรบ้าง นั่นคือ ไม่สามารถระบุความเสี่ยงได้ชัดเจน
ในขั้นตอนแรกของ กระบวนการบริหารความเสี่ยง จะกำหนดให้คนทำงานกำหนด Scope หรือ ขอบเขตของการทำงานที่กำลังบริหารความเสี่ยง ระบุสภาพแวดล้อม ปัจจัยที่เกี่ยวข้องระหว่างการทำงาน ลักษณะของ stakeholders และ ระบุเงื่อนไขหรือ Criteria ที่ทำให้เกิดความเสี่ยง
EP นี้จะมาขยายความในขั้นตอนนี้ว่าเราจะกำหนด Scope, บรรยาย Context และระบุ Criteria ได้อย่างไร เพื่อนำไปสู่การระบุความเสี่ยงและบริหารความเสี่ยงในลำดับถัดไป
-
Episodi mancanti?
-
บทสรุปแห่งควารมขัดแย้งบนพื้นที่ทางทะเลที่เชื่อว่ามีทรัพยากรมูลค่ามหาศาล ตั้งแต่เริ่มต้นเมื่อ 50 กว่าปีก่อน
บางช่วงเกิดความวุ่นวายในประเทศหนึ่ง บางตอนก็เกิดความวุ่นวายในอีกประเทศหนึ่ง ทอดเวลาจนถึงต้นปี 2567
บางทีในครั้งนี้ ทั้งสองประเทศอาจจะหาทางออกร่วมกันเพื่อพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติเพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งสองประเทศได้
แล้วพวกเราทั้งสองประเทศจะพัฒนาไปด้วยกัน
-
ประวัติศาสตร์กัมพูชายุคใหม่ หลังได้รับอิสรภาพจากฝรั่งเศส เกิดความขัดแย้งในอุดมการณ์ ประเทศเปลี่ยนแปลงการปกครองไปตามผู้นำกัมพูชาที่เข้ามามีอำนาจ โดยมีมหาอำนาจทั้งฝ่ายโลกเสรีและโลกคอมมิวนิสต์อยู่เบื้องหลัง เป็นสมรภูมิหนึ่งของสงครามตัวแทน ที่ทำให้ต้องสู้รบกันเองนานอยู่หลายปี
เมื่อคอมมิวนิสต์ล่มสลาย องค์กรระหว่างประเทศเข้ามาช่วยจัดการ เกิดการเจรจา นำไปสู่การเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงประเทศเข้าสู่ยุคสันติภาพภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เป็นราชอาณาจักรกัมพูชาอีกครั้ง
ช่วงที่เกิดความวุ่นวายนี้ ก็ทับซ้อนกับการประกาศพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล การเจรจาแก้ปัญหาจึงไม่เกิดขึ้น
EP นี้ เราจะมาทำความเข้าใจสถานการณ์ในช่วงนี้กันครับ
-
เขตแดนทางทะเลเพิ่งจะมีการกำหนดอย่างเป็นทางการเมื่อ สหประชาชาติออกอนุสัญญาว่าด้วยกฎหมายทางทะเล หรือ United Nation Convention on the Law Of The Sea ในปี 1958 และเพิ่มเติมในปี 1982 ทำให้การกำหนดเขตแดนมีความชัดเจนมากขึ้น แต่กระนั้นก็ตาม ความขัดแย้งก็ยังมีตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเขตแดนทางทะเลนั้นมีผลประโยชน์อันเกิดจากทรัพยากรที่อยู่ในพื้นที่
EP นี้จึงสรุปที่มาที่ไปและหลักในการกำหนดเขตแดนทางทะเลเพื่อทำความใจว่า อะไรที่ทำให้เกิดความขัดแย้งเกิดเป็นพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลขึ้น
-
ปัญหาของพื้นที่ทับซ้อนส่วนหนึ่งเกิดจากหลักเขตที่ 73 ที่กัมพูชาอ้างจากสนธิสัญญา สยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ.๑๒๕ ที่สยามขอคืนพื้นที่ตราดและหมู่เกาะนอกชายฝั่ง
EP นี้จึงพาย้อนอดีตกลับไปยังเหตุการณ์ ร.ศ.๑๑๒ ที่เป็นมูลเหตุแห่งสนธิสัญญาฉบับนี้
-
ปัญหาพื้นที่ทับซ้อน ไทย-กัมพูชา สิ่งที่รับรู้เป็นการทั่วไปคือ กัมพูชามีการอ้างสิทธิ์พื้นที่ที่เรียกว่าไหล่ทวีปที่สามารถนำเอาไปเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่นั้นได้ โดยเฉพาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
ประเทศไทยก็ใช้สิทธิ์ในการกำหนดพื้นที่ไหล่ทวีปที่เป็นสิทธิ์ของไทย ที่บางส่วนมีการทับซ้อนกับพื้นที่ที่กัมพูชาอ้างสิทธิ์ถึง 26,000 ตารางกิโลเมตรเรื่องราวที่ทำให้เกิดพื้นที่ทับซ้อนนั้น มีที่มาที่ไป มีองค์ประกอบ มีสาเหตุที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในอดีต การทำความเข้าใจเรื่องราวความขัดแย้งนี้เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในการหาทางออกในอนาคต จึงมีหลายเรื่องราว
Podcast ของเราจึงนำเอาบันทึกการบรรยายแบ่งเป็นตอนย่อย ๆ 5 ตอนพิเศษEP นี้เป็นตอนแรกที่ว่าด้วยเรื่อง การกำหนดเขตแดนระหว่างประเทศเรียนเชิญทุกท่านติดตามรับฟังครับ
-
Predictable Irrational เป็นหนังสือที่ อธิบายพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ ที่ใคร ๆ ก็มองว่าเป็นปรกติ แต่ถ้าพิจารณาให้ลึกซึ้งแล้ว เพฤติกรรมเหล่านั้น "ไม่ค่อยสมเหตุสมผล"
Dan Ariely ผู้แต่งบอกว่า มันมีแรงแฝงเร้นที่ทำให้คนเรามีพฤติกรรมแบบนี้
พฤติกรรมปรกติที่ไม่สมเหตุสมผลนี้ ถูกนักการตลาดนำไปใช้เพื่อสร้างให้ลูกค้าซื้อของมากเกินความต้องการ
EP นี้ จะหยิบเอาพฤติกรรมที่เรียกว่า ตรรกะแห่งการเชื่อมโยง มาเล่าให้ฟังครับ
-
มาตรการควบคุม ป้องกัน อาจละเว้นได้ ถ้าความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และผลประโยชน์ของการดำเนินการมาตรการเพิ่มเติมไม่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับต้นทุน
ตัวอย่างที่น่าสนใจคือ การซื้อสินค้าปลอดภาษีของนักท่องเที่ยวในญี่ปุ่นEP นี้ เราจึงหยิบเอาเรื่องนี้มาเทียบเคียงกับการประเมินผลประโยชน์และต้นทุนในการบริหารความเสี่ยงครับ
-
ภูมิรัฐศาสตร์ เป็นเรื่องของการนำ ภูมิศาสตร์+รัฐศาสตร์+การทหาร ไปวางยุทธศาสตร์เพื่อสร้างอำนาจทางการเมืองการทหารระหว่างประเทศ โดยบริบทของภูมิรัฐศาสตร์ในโลกปัจจุบันได้ขยายขอบเขตไปครอบคลุมปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลในวงกว้าง ก่อให้เกิดโอกาสและความเสี่ยงในรูปแบบใหม่
ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และเทคโนโลยี ได้สร้างความเชื่อมโยงให้กับโลกในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับประเทศ องค์กรธุรกิจ ลงไปถึงระดับปัจเจกบุคคล นั่นหมายถึงว่า อะไรที่เป็นภัยคุกคามที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ ก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบไปยังประเทศ องค์กรธุรกิจ หรือแม้กระทั่งระดับประชาชน เหตุการณ์ที่เป็นภัยคุกคามนี้จึงถูกเรียกว่า ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ที่เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นบนโลกแต่สามารถขยายวงของผลกระทบไปยังพื้นที่ส่วนอื่นของโลกได้
เราไปทำความรู้จักกับ ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ กันให้มากขึ้นใน EP กันครับ
-
ประเทศไทยกำลังใช้ความได้เปรียบเชิง ภูมิศาสตร์ มากำหนดเป็นยุทธศาสตร์ ภายใต้แนวคิดด้าน ภูมิรัฐศาสตร์ หรือ Geopolitics
มาทำความรู้จักกับโครงการ ที่มาที่ไป รวมไปถึงมุมมองด้าน ภูมิรัฐศาสตร์ ที่เป็นพื้นฐานของโครงการนี้กันครับ
-
แนวคิดด้าน ภูมิรัฐศาสตร์ ในยุคปัจจุบัน ได้ขยายขอบเขตการใช้ ภูมิศาสตร์ สร้างความได้เปรียบทางการเมือง การทหาร ครอบคลุมไปถึง การใช้ภูมิศาสตร์ ประกอบกับปัจจัยแวดล้อมที่เกิดใหม่ สร้างความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ การเงิน การลงทุน การเมืองระหว่างประเทศ และแน่นอนว่า ยังคงมีประเด็นเรื่อง ความมั่นคงที่เกี่ยวพันกับ การเมือง การทหาร
ยุทธศาสตร์ของชาติมหาอำนาจ จะใช้แนวคิด ภูมิรัฐศาสตร์ ในการกำหนดยุทธศาสตร์ที่สร้างความได้เปรียบ เพิ่มอิทธิพล ในด้านที่ต้องการ หรือ ตอบโต้ชาติมหาอำนาจอื่น
ใน EP นี้ เรามาดูตัวอย่างยุทธศาสตร์ที่วางอยู่บนแนวคิดภูมิรัฐศาสตร์กันครับ
-
ภายหลังที่อเมริกาถล่มญี่ปุ่นด้วยระเบิดนิวเคลียร์ ปิดฉากสงครามโลกครั้งที่ 2 โลกจึงตระหนักว่า พลังอำนาจทางการทหารได้เปลี่ยนจากความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ มาเป็นพลังทำลายล้างของอาวุธอย่างระเบิดนิวเคลียร์ที่ส่งจากที่ไหนก็ได้ ไปยังที่ไหนก็ได้ ไม่ขึ้นกับภูมิศาสตร์แล้ว
แต่มุมมองด้านภูมิรัฐศาสตร์ได้กลับมาใหม่อีกครั้ง และมีความสำคัญมากขึ้นในโลกปัจจุบัน
มาฟังกันครับว่า ภูมิรัฐศาสตร์ หรือ Geopolitics สำคัญอย่างไรในโลกปัจจุบัน
-
คนที่ติดตามข่าวสารตามหน้าสื่อ หรือ social media คงได้อ่านได้เห็นคำว่า ภูมิรัฐศาสตร์ ยิ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์ในที่ใดที่หนึ่งบนโลก แล้วผลกระทบอาจจะกระจายออกไปยังพื้นที่อื่นทั่วโลก เราก็จะเรียกเหตุการณ์เหล่านี้ว่า เกิดความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์
Podcast ของเราจึงเปิดเรื่องใหม่ที่ว่าด้วย ภูมิรัฐศาสตร์ มาทำความรู้จักกับ ภูมิรัฐศาสตร์ กันครับ ว่าคืออะไร เกี่ยวข้องกับชีวิต ธุรกิจ หรือ ประเทศ อย่างไร
-
การบริหารความเสี่ยงเป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายและนำมาใช้ในการบริหารจัดการในองค์กร แต่การบริหารความเสี่ยงก็เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่นำมาใช้กับความเสี่ยง แต่ก็ไม่ใช่เครื่องมือที่นำไปใช้ได้ในทุกเหตุการณ์
การบริหารความสี่ยง ก็อาจจะไม่เหมาะกับการบริหาร Look Like Risk
ภาคส่งท้ายจึงขอสรุป Risk, Look Like Risk, และ กับดักแห่งความเชี่ยวชาญที่ว่าด้วย ค้อนกับตะปู ครับ
-
Look Like Risk ตัวสุดท้ายที่เราอยากแนะนำให้รู้จัก คือ ปัญหา (Problem) ที่เรามักจะพบบ่อย ๆ ว่า มีการระบุปัญหา หรือ ผลกระทบที่เกิดจากปัญหา มาเป็นความเสี่ยง
ในมุมมองของเราคิดว่า ยังไงปัญหาเหล่านี้ก็ไม่ควรจะระบุเป็นความเสี่ยงให้เสียเวลา ส่วนจะมีเหตุผล รายละเอียดอย่างไร เรียนเชิญไปรับฟังครับ
-
การทำงานในองค์กร คนทำงานจะถูกกำหนดบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบที่สอดคล้องกับเป้าหมายในการทำงาน และการส่งมอบผลงานตามความคาดหวังองค์กร
กระบวนการทำงานจึงเริ่มต้นจากาการวางแผน การกำหนดขั้นตอนการทำงาน การจ้ดสรรทรัพยากร การเตรียมองค์ความรู้ ที่นำไปสู่การลงมือปฏิบัติ เพื่อให้การทำงานตั้งแต่เริ่มต้นไปจนสิ้นสุดการทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิลและประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้เรียกว่า Normal Practice หรือการปฏิบัติงานตามแนวทางที่ควรจะเป็น
การละเว้น การขาดความรู้ความสามารถ หรือ การจ้ดสรรทรัพยากร รวมถึงเวลาในการทำงานไม่สอดคล้องกับการทำงานที่ควรจะเป็น จะเป็นเหตุให้ผลการทำงานไม่ได้ตามต้องการ ซึ่งประเด็นเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า Performance มากกว่า ความเสี่ยง
EP นี้จะพูดถึง Look Like Risk ตัวที่เรียกว่า Normal Practice ครับ ทำไมเราถึงมองว่าเรื่องนี้ไม่ใช่ประเด็นที่เหมาะสมกับ การบริหารความเสี่ยง ครับ
-
ในรายงานการตรวจสอบไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบประเภทใด มักจะพบสิ่งที่แปลก แตกต่าง หรือ โดดเด่น จากสิ่งปรกติทั่วไป สิ่งเหล่านี้จะถูกรายงานว่าเป็น ข้อเท็จจริงค้นพบ หรือ Findings
สิ่งที่แแปลกแตกต่างนี้ อาจจะเป็น ความเสี่ยง หรือ ไม่ใช่ความเสี่ยงก็ได้ แต่หลายคนเมื่อเห็นสิ่งที่ผิดแผกแตกต่าง ก็มักจะเหมารวมว่าเป็น ความเสี่ยง แต่ที่จริงแล้ว Findings นั้น สามารถเป็นอย่างอื่นนอกจากความเสี่ยงได้ และก็ควรมีวิธีการบริหารจัดการที่เหมาะสมEP นี้จึงแนะนำการแยกประเภทและการบริหารจัดการ Findings ที่ได้จากการตรวจสอบครับ
- Mostra di più