Episodi
-
ความใจดีมันดีนะครับ แต่อะไรที่มากไปน้อยไปมันก็ไม่ดีทั้งนั้น
-
เป็นทฤษฎีจิตวิทยาทีอาจจะช่วยทำให้เรางดการผัดวันประกันพรุ่งของเราได้
-
Episodi mancanti?
-
คนประเภทนี้ต่างคนต่างนิยามกันต่างออกไป แต่ผมเชื่อว่ามันจะมีจุดร่วมที่คล้าย ๆ กันแน่นนอน ใน EP.นี้ ผมมีเทคนิคจิตวิทยามารับมือคนประเภทนี้กันครับ
-
EP.นี้ผมได้หยิบยกกรณีนึงจากหนังสือ Atomic Habit มาให้ฟังกัน เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการควบคุมตัวเองมากที่สุด นั่นก็คือสภาพแวดล้อมนั่นเอง
-
เป็น EP. ที่อยากมาแชร์มุมมองของการดูดวงในมุมมองจิตวิทยากันบ้าง
-
"ความลับ" เป็นกฎเหล็กข้อแรก ๆ เลยล่ะรับในความสัมพันธ์ ที่เราควรจะตระหนักกันไว้ คงไม่มีใครอยากที่จะสร้างความสัมพันธ์มาเพื่อที่จะทำลายมันทิ้ง เพียงเพราะการเอาความลับไปบอกต่อ
-
ภาวะ Dead Inside อันตรายหรือไม่ ในมุมมองผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาถือว่าอันตรายต่อสุขภาพจิตมากค่ะ เพราะคนที่มีภาวะหัวใจไร้ความรู้สึกมีความเสี่ยงสูงที่จะทำร้ายตนเองจนถึงแก่ชีวิตได้ เพราะเขาไม่มีที่ยึดเหนี่ยวในชีวิต ไม่มีเป้าหมาย
-
เชื่อว่าหลายๆ คนอาจจะคุ้นเคยกับ ‘เป้าหมาย 10,000 ก้าว’ ที่ไม่ว่าเป็นโทรศัพท์มือถือหรือ Smart Watch ก็มักจะกำหนดเป้าหมายการเดินมาให้เรา นั่นคือ 10,000 ก้าวต่อวัน ในความจริงมันมีที่มาด้วยนะ
-
คำว่า “อารมณ์ชั่ววูบ” มีลักษณะตามชื่อเรียกคือพอเกิดอารมณ์วูบขึ้นมา ไม่ว่าด้านดีหรือไม่ดีก็ตาม แล้วส่งผลให้เราไปทำสิ่งต่างๆ ตามที่อารมณ์นั้นชักนำไป
อารมณ์ชั่ววูบสามารถเป็นได้ทั้งด้านบวกและด้านลบ ด้านบวก เช่น เราผ่านไปเห็นใครกำลังลำบาก เหลียวไปเห็นเขาแค่เสี้ยววินาทีเดียว ความรู้สึกสงสารก็เกิดวูบขึ้นมา ทำให้เราเข้าไปช่วยเหลือเขาทันที
-
การ “ตัดสิน” คนอื่น คือการที่เราเชื่อและพูดอะไรที่เกี่ยวกับคนอื่นโดยปราศจากข้อมูลที่ครบถ้วนหรือมากเพียงพอ หลายคนอาจจะเคยโดนคำพูดที่มา “ตัดสิน” ตัวเรา โดยที่คนที่พูดนั้นไม่ได้เคยอยู่ในสถานการณ์แบบเรา ซึ่งหลายครั้งก็อาจจะเกิดจากการพูดโดยที่ไม่ได้คิดอย่างรอบคอบก่อน
-
นักจิตวิทยาพยายามแบ่งประเภทรูปแบบความผูกพันในวัยผู้ใหญ่มาอย่างต่อเนื่อง และในปี 1990 Bartholomew ได้พัฒนาโครงสร้างรูปแบบความผูกพันในผู้ใหญ่ที่แบ่งออกเป็นมิติ 2 ดังนี้
มิติความวิตกกังวล หมายถึง ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองและความรู้สึกว่าตนเองคู่ควรแก่การยอมรับหรือปฏิเสธจากผู้อื่น มิตินี้จะสะท้อนว่าบุคคลมีความรู้สึกทางบวกหรือทางลบต่อตนเอง (model of self)
มิติหลีกเลี่ยง หมายถึง ระดับที่บุคคลจะเข้าถึงหรือหลีกเลี่ยงความใกล้ชิดและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น มิตินี้สะท้อนความรู้สึกทางบวกหรือทางลบที่มีต่อผู้อื่น (model of others) มองว่าผู้อื่นน่าไว้ใจหรือไม่น่าไว้วางใจ อยู่เคียงข้าง ห่างเหิน เอาใจใส่หรือละทิ้ง
จากโมเดล 2 มิตินี้สามารถสร้างรูปแบบความผูกพันได้ 4 รูปแบบดังต่อไปนี้
รูปแบบความผูกพันแบบมั่นคง (Secure) เป็นรูปแบบที่มองตนเองและมองผู้อื่นในทางบวก บุคคลจะรู้สึกสบายใจเมื่อมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด เห็นคุณค่าในตนเองและให้ความสำคัญกับการเป็นตัวของตัวเอง เต็มใจพึ่งพาและรับการสนับสนุนจากผู้อื่น
รูปแบบความผูกพันแบบหมกมุ่น (Preoccupied) เป็นรูปแบบที่มองตนเองทางลบ และมองผู้อื่นทางบวก บุคคลจะมีความรู้สึกลึกๆ ว่าตนเองไม่มีคุณค่า จึงต้องการที่จะยืนยันคุณค่าของตนเองด้วยการพยายามอย่างมากที่จะมีความสัมพันธ์ใกล้ขิดกับผู้อื่น และหากผู้อื่นไม่เข้าใกล้หรือใกล้ชิดเพียงพอ บุคคลจะมีความเศร้าและหดหูอย่างมาก
รูปแบบความผูกพันแบบหมางเมิน (Dismissing) เป็นรูปแบบที่มองตนเองทางบวก และมองผู้อื่นทางลบ บุคคลจะปฏิเสธและหลีกเลี่ยงที่จะใกล้ชิดกับผู้อื่น เพราะคาดหวังเกี่ยวกับผู้อื่นในทางลบ จนคิดว่าความสัมพันธ์ใกล้ชิดเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น นอกจากนี้บุคคลยังให้คุณค่ากับตนเองด้วยการปฏิเสธว่าบุคคลอื่นมีคุณค่ากับตนและให้ความสำคัญกับความเป็นอิสระอย่างมาก
รูปแบบความผูกพันแบบหวาดกลัว (Fearful) เป็นรูปแบบที่มองตนเองและผู้อื่นทางลบ บุคคลจะประเมินค่าของตนเองจากการตอบสนองและลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างตนและผู้อื่นว่าผู้อื่นทำดีกับตนหรือไม่ แต่ในขณะเดียวกันบุคคลกลับหวาดกลัวที่จะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด เพราะกลัวว่าจะได้รับความเจ็บปวดจากความสัมพันธ์หรือการถูกเพิกเฉยไม่ใส่ใจจากผู้อื่นเนื่องจากมองผู้อื่นในแง่ลบ -
เราต่างมองความรักกันในหลากหลายมุม และในมุมของวิทยาศาสตร์เคมีนั้นก็ไม่หลุดพ้นจากเรื่องนี้เช่นเดียวกัน ในตอนนี้ผมก็มาแบ่งปันความรักในมุมของเคมีนะครับ ว่าการที่คนเรารู้สึกรักเนี่ย มันมีสารเคมีตัวไหนบ้างที่ทำหน้าตรงนี้อยู่
-
ใน Ep.นี้ผมก็อยากจะมาแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับอาการ Dunning Kruger Effect ซึ่งสำหรับคนที่รู้แล้วก็ไปฟังเพื่อเอาความบันเทิงได้ครับ แต่สำหรับคนยังไม่รู้ก็จะได้รู้ครับว่ามันคืออะไร
-
ผมก็ไม่กล้ายืนยันว่ามันมีจริงมั้ย เหมือนกันครับ แต่แค่อยากให้ลองฟังเป็นไอเดียเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็พอ
-
ทุกวันนี้ผมสังเกตเห็นคนส่วนใหญ่เกิดอาการ Anxiety ในเรื่องนี้ขึ้นเยอะ ซึ่งผมก็เป็น 1 ในนั้น ใน EP.นี้เนื้อหาส่วนใหญ่ผมจะอิงหนังสือชื่อ late bloomers the power of patience หรือชื่อแปลไทย "สำเร็จได้ไม่เห็นต้องรีบ" โดยพอผมได้อ่านสรุปเล่มนี้แล้วมันได้ทำให้ความกังวลดังกล่าวแทบจะหายไปทันทีเลย ผมเลยอยากจะนำมาแบ่งปันแบบคร่าว ๆ กัน
-
เรามักเคยปลอบใจด้วยประโยคที่เปรียบเทียบกับคนที่ด้อยกว่าเรา เพื่อเป็นการให้กำลังใจตัวเองกันอยู่บ่อย ๆ แต่ถ้าใช้กันเยอะหรือบ่อยเกินไป มันอาจไม่ให้ผลดีสักเท่าไร
-
ในโลกที่หลาย ๆ อย่างก็ดูโหดร้ายไปหมด หันไปทางไหนก็เจอแต่สิ่งที่ดูเหมือนจะทำร้ายจิตใจเราได้ ความคิดที่อยากจะไม่รู้สึกอะไรเลยก็คงผุดขึ้นในหัวของหลาย ๆ คน แต่นั่นมันดีแล้วจริง ๆ เหรอ?
-
เราชอบคิดกันว่าการเก็บซ่อนความรู้สึกตัวเองนั้นทำให้เราเป็นคนเข้มแข็ง แต่จริง ๆ แล้วผลมันตรงกันข้ามเลย มาฟังกันว่าเพราะอะไร
-
ความกังวลมันคือภาวะที่ปกติมาก ๆ ในมนุษย์ แต่สิ่งที่จะมาคุยกันในตอนนี้คือ ทำไมเราถึงชอบกังวลกับอนาคตที่มันก็ยังมาไม่ถึง มาลองหาสาเหตุกัน
-
ช่วงนี้หลาย ๆ คนก็คงเข้าสู่ช่วงศึกสุดท้ายในรั้วมหาลัย(ถึงเรียนอยู่บ้านก็ตาม) หลาย ๆ คนที่มีเป้าหมายชัดเจนก็รอไม่ไหวที่จะใบปริญญา แต่หลาย ๆ คนกลับรู้สึกเคว้ง ๆ รู้สึกว่าไร้จุดหมาย จะเอาไงดีกับชีวิต มาฟังกันว่ามันคืออะไร
- Mostra di più