Folgen
-
จาก Paris Agreement ที่จะลดปัญหาโลกร้อน ประเทศอังกฤษก็ตั้งเป้าหมายว่า จะเป็นประเทศไร้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2050 เขาจึงได้ออกนโยบาย 3 ระดับเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ตั้งแต่ระดับชาติ ระดับมหานคร และระดับชุมชนเมือง
-
มหานครในโลกส่วนใหญ่แล้วตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำสายสำคัญ มีพื้นที่เมืองครอบคลุมทั้งสองฝั่ง ต้องมีสะพานเชื่อมโยงระหว่างกัน เมื่อก่อนใช้สะพานอันเดียวร่วมกันทั้งรถยนต์และคนเดินเท้า แต่เมื่อใช้งานจริงแล้ว พบว่า รูปแบบการใช้งาน ข้อจำกัด และเทคนิคทางวิศวกรรมของสะพานรถยนต์กับสะพานคนเดินแตกต่างกันเป็นอย่างมาก จนใช้งานร่วมกันแล้วไม่ work จึงได้มีการออกแบบก่อสร้างสะพานสำหรับคนเดินเท้าโดยเฉพาะ
Urban Talk Thailand ได้รวบรวม 8 สะพานคนเดินเท้าจากทั่วโลกมาให้ชมกัน
-
Fehlende Folgen?
-
ต้นปี 2561 มีคุณป้าใช้ขวานทุบรถที่จอดขวางทางเข้าออกบ้าน ในหมู่บ้านเสรี ทางเข้าสวนหลวง ร9 เรื่องราวขยายใหญ่โตกลายเป็นว่า คุณป้าได้รับความเดือดร้อนจากตลาดใหญ่ข้าง ๆ มาเกือบสิบปี แม้ว่าศาลจะตัดสินให้ย้ายตลาดออกไปมา 7 ปีแล้ว แต่ก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
พอเกิดกรณีใหญ่ขึ้นมา แปปเดียวตลาดหายไปหมด แต่ยังมีประเด็นทางผังเมืองที่ต้องพิจารณาต่อไปอีกหลายเรื่อง -
คนอายุประมาณ 40-60 ปีกำลังเจอปรากฏการณ์ Sandwich Generation เนื่องจากต้องรับหน้าที่ในการดูแลพ่อแม่ของตัวเองซึ่งเป็นผู้สูงอายุ และลูกของตัวเองไปพร้อม ๆ กัน ทำให้มีปัญหาทั้งด้านการเงิน การจัดสรรเวลา นำมาซึ่งความเครียดจนเป็นกลุ่มอายุที่มีอัตราการฆ่าตัวตายและมีปัญหาทางจิตมากที่สุดเมืองต้องปรับตัวอย่างไรเพื่อรองรับ Sandwich Generation
-
นครลอนดอนมีขนาดพื้นที่ประมาณ 1,572 ตารางกิโลเมตร ใกล้เคียงกับกรุงเทพมหานคร แต่พื้นที่ย่านธุรกิจการเงินการธนาคารตรงกลางเมือง มีพื้นที่เพียง 1.12 ตารางไมล์ (ประมาณ 2.86 ตารางกิโลเมตร) มีประชากรในทะเบียนบ้านประมาณ 8,000 คน แต่มีตำแหน่งงานถึง 480,000 ตำแหน่งงาน มีอาคารสำนักงานอยู่เป็นจำนวนมาก ในอนาคตอันใกล้ จะมีอาคารเพิ่มขึ้น 11 อาคาร มีพื้นที่รวม 1 ล้านตารางเมตร จะมีหน้าตาอย่างไร และอาคารเหล่านั้นได้ออกแบบให้สอดคล้องกับข้อกำหนดใน City of London Plan of 2036 อย่างไรบ้าง
-
แนวคิด Green นู่นนี่กำลังมา ทราบไหมว่า แนวคิดแบบนี้เริ่มมาตั้งแต่ปลาย 1800s เมื่อการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้สภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชากรเมืองเลวร้ายลงไปมาก Sir Ebenezer Howard จึงเสนอแนวคิด Garden City of Tomorrow เพื่อย้ายอุตสาหกรรมที่ก่อมลภาวะไปอยู่ในเมืองใหม่ เมืองบริวารรอบมหานคร และมีการออกแบบเมืองใหม่ที่สามารถรับกับอุตสาหกรรมที่เป็นองค์ประกอบใหม่ของเมืองได้เป็นอย่างดี
-
เมืองเป็นพื้นที่ที่มีกิจกรรมและการใช้ประโยชน์ที่ดินหลายประเภท แต่ละประเภทมีความต้องการของตัวเอง และมีความสัมพันธ์กับประเภทอื่นๆ ทั้งในแง่ของการสนับสนุนเกื้อกูลซึ่งกันและกัน หรือ ขัดแย้งกัน จึงมีผู้เสนอแนวทางการจัดวางการใช้ประโยชน์ที่ดินหลายแบบนั้นให้เกิดประสิทธิภาพที่สุด แต่ก็มีหลายแนวคิด
-
มีดรามากันอยู่เนือง ๆ ระหว่างวัดกับคนที่อยู่ในคอนโด กล่าวหาว่าวัดประกอบกิจของสงฆ์และกิจกรรมต่าง ๆ ของวัดแล้วส่งเสียงดังเกินสมควร รบกวนชีวิตในที่อยู่อาศัย คนในสังคมแตกออกเป็นสองฝ่าย ถกเถียงกันไปเรื่อย ลองมาถอดความกันดูว่า จากเมื่อก่อนที่วัดกับชุมชนอยู่ด้วยกันอย่างสมดุล เกื้อกูลซึ่งกันและกัน แต่พลวัตของเมืองเปลี่ยนวิถีของทั้งวัดและชุมชน ทำให้ทั้งสองฝ่ายต้องปรับตัวเพื่อหาสมดุลกันใหม่
-
ทวีปแอฟริกามีปัญหาความยากจน และปัญหานั้นมีส่วนทำให้การพัฒนาเมืองและเศรษฐกิจเมืองที่เป็นภาคอุตสาหกรรมและการค้าการบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงเป็นไปอย่างเชื่องช้า มาดูกันว่าเขามีปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหานั้นอย่างไร
-
คำถามคาใจคน กทม. มีรถไฟฟ้าตั้งแต่ 2542 และสร้างต่อมาอีกหลายสาย ทำไมรถไม่หายติด แถมยังติดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซะอีก ลองมาดูต้นเหตุกัน -
ประเทศจีนพัฒนาเศรษฐกิจจากปี 1980 ถึง 2020 แค่ 40 ปี จากประเทศที่ยากจนมาก กลายเป็นประเทศที่มี GDP เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แถมยังประกาศว่าไม่มีคนจนเหลืออยู่ในประเทศอีกแล้ว เขามีมาตรการอย่างไรจึงทำเช่นนั้นได้
-
เมื่อพูดถึงผลกระทบจาก global warming และ climate change คนส่วนใหญ่มักจะกล่าวถึงเรื่องความสวยงาม ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ส่วนประเด็นด้านมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจนไม่ค่อยมีใครพูดถึงนัก สำนักข่าวรอยเตอร์ได้นำผลการศึกษาของ World Bank ธนาคารโลก ว่าประเทศเคนย่าจะได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างไรบ้างจากภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
-
คนบ่นกันว่า ค่าโดยสารรถไฟฟ้าใน กทม. แพงจังเลย ราคารวมที่ต้องไปต่อวินมอเตอร์ไซค์และยานพาหนะสาธารณะอื่น ๆ อีกก็ใกล้เคียงกับผ่อนรถแล้วหละ สาเหตุที่แพงเกิดจากอะไรบ้างนะ
-
โอลิมปิกปารีส 2024 บอกว่าจะแข่งกีฬาทางน้ำในแม่น้ำแซน กลางเมืองปารีสกันเลยหละ คุณภาพน้ำผ่านมาตรฐานหรือ แม่น้ำลำคลองเป็นช่องทางระบายน้ำตามธรรมชาติของเมือง แต่ก็นำมาซึ่งปัญหาคุณภาพน้ำและมลภาวะอื่น ๆ มาดูกันว่าหลักการจัดการเขาทำอย่างไร ทำไมเมืองใหญ่ในโลกจึงแยกระบบการจัดการน้ำฝนกับน้ำทิ้งน้ำเสียครัวเรือนออกจากกัน
-
น้ำท่วมเป็นปัญหาใหญ่ของเมือง ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครได้วางแนวทางในการป้องกันน้ำท่วมเอาไว้อย่างไร ถูกต้องตามหลักการไหม และได้รับการปฏิบัติบังคับใช้อย่างเหมาะสมหรือไม่
-
มกราคม 2565 อุบัติเหตุได้ทำให้เราสูญเสียคุณหมอกระต่ายไป ประเด็นทางผังเมืองที่น่าสนใจคือ คำฟ้องของเจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่า ผู้ต้องหาขับขี่ยานพาหนะด้วยความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดที่ "80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง" ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา กำหนดให้พื้นที่บริเวณที่เกิดอุบัติเหตุเป็นสถาบันราชการและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก ก็คือเป็นพื้นที่เมืองมาตั้งแต่ 30 ปีที่แล้ว แต่ไม่มีการแก้ไขกฎหมายจราจรให้มีความเร็วลดลงเหมาะสมกับการเป็นพื้นที่ชุมชนเมืองแต่อย่างใด
-
มีปัญหาเมือง น้ำท่วม รถติด PM2.5 ถนนพัง ฯลฯ ก็บอกว่า "ผังเมือง" ไม่ดี อันนี้ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องจริงที่ผังเมืองของเราไม่ได้มีประสิทธิภาพเทียบเคียงกับที่สากลเขาใช้กัน แต่พอถามไปรายละเอียดว่า แล้วไม่ดีเพราะอะไร ตอบกันไม่ได้สิครับ ลองมาดูกันว่า ต้นเหตุที่ผังเมืองไม่ดีอยู่ที่ไหนกันนะ
-
ข่าวรถบรรทุกทำถนนใน กทม. พัง 2 วันติดกัน คงเกิดจากหลายเหตุเกี่ยวเนื่องกัน ทั้่งบรรทุกเกิน ถนนไม่ได้มาตรฐาน การตรวจสอบจับกุมบกพร่อง ฯลฯ แต่ก็มีเหตุหนึ่งที่น่าสนใจคือ ทำไมโครงการทั้งหลายใน กทม. สร้างกันไม่จบไม่สิ้นเสียที โครงการนี้จบ โครงการอื่นก็ตามมาอีก เหตุส่วนหนึ่งเกิดจากผังเมืองนี่แหละ
-
บางกระเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ ถูกยกให้เป็นปอดของภาคมหานคร แต่ผังเมืองรวมสมุทรปราการได้ขยายการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นำมาซึ่งความกังวลต่อคุณภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ ความเป็นธรรมในการผังเมือง เจ้าของที่ดินในบางกระเจ้าถูกจำกัดสิทธิการพัฒนาเพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยไม่ได้รับผลตอบแทนแต่อย่างใด
ในศาสตร์การวางผังเมือง มีเครื่องมือหลายอย่างที่จะแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมอันเกิดจากผังเมืองรวม อันหนึ่งคือ การโอนสิทธิการพัฒนา Transfer of Development Rights เพื่อย้ายสิทธิจากพื้นที่ที่ควรจำกัดการพัฒนาไปอยู่ในพื้นที่ที่ควรได้รับการพัฒนามาก โดยสิทธินั้นยังอยู่ติดกับเจ้าของที่ดิน -
นักผังเมืองคนแรกของโลก คือ Hippodamus of Miletus ผู้จัดองค์ประกอบ 8 ประการของเมืองในยุคกรีกเดิมที่สร้างต่อกันไปเรื่อย ๆ แบบไร้ระเบียบ ให้มาเรียงกันในรูปแบบตาตาราง มีการใช้ modular system มาประกอบการกำหนดขนาดพื้นที่การใช้สอยแต่ละประเภท และวางแกนของเมืองตามแนวเหนือใต้ออกตก เพื่อให้รับแดดและลมอย่างเต็มที่
- Mehr anzeigen