Folgen

  • 25-26 กรกฎาคมที่ผ่านมา ประเทศเวียดนามได้เห็นภาพคลื่นมหาชนพร้อมใจกันเดินทางไปร่วมไว้อาลัยในรัฐพิธีศพของ ‘เหงวียนฟู้จ่อง’ (Nguyễn Phú Trọng) เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ผู้ทรงอิทธิพลที่เพิ่งล่วงลับไปก่อนหน้านั้นเพียงหนึ่งสัปดาห์ บ่งบอกว่าคนเวียดนามรักผู้นำคนนี้มากขนาดไหน
    .

    เหงวียนฟู้จ่องคือผู้ที่ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ยาวนานที่สุดถึง 13 ปี ตั้งแต่ปี 2011-2024 และได้ทิ้งมรดกไว้ให้เศรษฐกิจ-สังคม-การเมืองเวียดนามมากมายตลอดช่วงเวลาที่เขาครองอำนาจ
    .

    ASEAN บ่มีไกด์ ตอนนี้จึงชวนมาร่วมย้อนรำลึกถึงผู้นำคนนี้ว่าเขาสร้างคุณูปการอะไรไว้ให้เวียดนามบ้างถึงได้กลายเป็นที่รักของประชาชนขนาดนี้ และการเมืองเวียดนามในวันที่ไม่มีเขา จะเป็นอย่างไรต่อไป? กับ แขกรับเชิญพิเศษ รศ.ดร.ธนนันท์ บุ่นวรรณา จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
    .

    ดำเนินรายการโดย เบน – วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา
    .

    (ภาพประกอบ: MINH HOANG / POOL / AFP)

  • ย้อนไปในปี 2017 เรื่องราวของชนกลุ่มน้อย ‘โรฮิงญา’ ในพม่ากลายเป็นข่าวใหญ่ระดับโลก จากการถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยกองทัพพม่า จนมีคนต้องเสียชีวิตและลี้ภัยไปถึงหลักแสน … ผ่านมา 7 ปีจนถึงวันนี้ เคราะห์กรรมของคนโรฮิงญาก็ยังไม่ได้สิ้นสุดลง แถมต้องเผชิญชะตากรรมบทใหม่ท่ามกลางไฟสงครามกลางเมืองหลังรัฐประหาร 2021
    .
    คนโรฮิงญากำลังเจอกับอะไร และความขัดแย้งกับชนชาวพุทธพม่าและอาระกันที่ฝังลึกจะมีทางคลี่คลายลงได้ไหม ASEAN บ่มีไกด์ ชวน รศ.ดร.ดุลยภาค ปรีชารัชช นายกสมาคมภูมิภาคศึกษาและอาจารย์สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาเล่าเรื่องราวให้ฟัง
    .
    ดำเนินรายการโดย เบน – วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

  • Fehlende Folgen?

    Hier klicken, um den Feed zu aktualisieren.

  • “ถ้ามีพลเมืองฟิลิปปินส์ถูกสังหารด้วยการกระทำที่จงใจ ผมถือว่านั่นใกล้เคียงมากกับสิ่งที่เรานิยามว่าเป็นเหตุแห่งสงคราม และเราก็จะต้องตอบโต้”
    .

    ถ้อยแถลงของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ บงบง มาร์กอส เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา เกี่ยวกับสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างฟิลิปปินส์และจีนเหนือพื้นที่พิพาท ‘ทะเลจีนใต้’ (หรือที่ฟิลิปปินส์เรียกว่า ‘ทะเลฟิลิปปินส์ตะวันตก’) สะท้อนถึงความขัดแย้งที่กำลังร้อนแรงขึ้นจนอาจสุ่มเสี่ยงเกิดสงครามใหญ่ รวมไปถึงท่าทีของฟิลิปปินส์ที่กำลังแข็งกร้าวต่อจีนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเป็นที่เด่นชัดนับตั้งแต่การก้าวขึ้นมาของมาร์กอสในปี 2022
    .

    ความดุดันของมาร์กอสต่อเรื่องทะเลจีนใต้เกิดจากหลายเหตุปัจจัย แต่หนึ่งในนั้นคือแรงผลักจากประเด็นการเมืองภายใน รวมไปถึงเรื่องส่วนตัวและครอบครัวของมาร์กอสเอง และท่าทีของมาร์กอสที่แข็งกร้าวนี้ก็กำลังมีส่วนทำให้การเมืองฟิลิปปินส์ชุลมุนชุลเกยิ่งขึ้น … เรื่องราวเป็นมาอย่างไร? อาเซียน บ่มีไกด์ ตอนนี้จะมาเล่าให้ฟัง

    .
    ดำเนินรายการโดย เบน – วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

    .
    ภาพประกอบ: JAM STA ROSA / AFP และ Tobias SCHWARZ / AFP

  • ค่ำวันนี้ (15 พ.ค. 2024) กำลังจะเป็นช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ของการเมืองสิงคโปร์ เมื่อ ลอว์เรนซ์ หว่อง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เตรียมเข้าพิธีสาบานตนเป็นนายกฯ คนใหม่ หลังจากที่นายกฯ คนปัจจุบัน ลี เซียนลุง ประกาศลงจากตำแหน่ง ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนผ่านผู้นำครั้งแรกในรอบ 20 ปี
    .

    ตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมาในบทบาทผู้นำสิงคโปร์ ลี เซียนลุง ผู้เป็นบุตรชายของบิดาแห่งชาติและผู้นำคนแรกอย่าง ลี กวนยู ได้พาสิงคโปร์ที่พ่อเขาสร้าง เดินหน้าพัฒนาต่อมาในทิศทางใด และอนาคตการเมืองของตระกูลลีจะเป็นอย่างไรต่อไปในวันที่ยังไร้วี่แววทายาทมาสานงานต่อ? ASEAN บ่มีไกด์ ชวน ชยาภัทร วารีนิล นักวิเทศสัมพันธ์ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาคุยถึงเรื่องราวตัวตน ผลงาน และครอบครัวของ ลี เซียนลุง ในวันสุดท้ายของเขาบนเก้าอี้นายกฯ สิงคโปร์
    .

    ดำเนินรายการโดย เบน – วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

  • หลังต้องปิดประเทศไปจากวิกฤตโควิด-19 และการรัฐประหาร พม่าได้ทยอยกลับมาเปิดพรมแดนให้ผู้คนเดินทางไปเยือนได้อีกครั้ง แต่ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองที่ยังไม่ปกติสุขแบบนี้ การเดินทางไปพม่ายากกว่าเมื่อก่อนแค่ไหน? เสี่ยงอันตรายไหม? บรรยากาศยังคึกคักมีชีวิตชีวาอยู่หรือเปล่า?
    .

    ASEAN บ่มีไกด์ ตอนนี้ เล่าเรื่องราวที่พบเห็นจากการเดินทางไปนครย่างกุ้ง ประเทศพม่า ในช่วงเวลาที่พม่าอยู่ภายใต้การปกครองของคณะรัฐประหารมาแล้วครบ 3 ปีเต็ม
    .

    ดำเนินรายการโดย เบน – วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

  • เข้าสู่ปีสุดท้ายของโจโก วิโดโด (Joko Widodo) หรือ โจโกวี (Jokowi) ในตำแหน่งประธานาธิบดีของอินโดนีเซียก่อนจะมีการเลือกตั้งผู้นำคนใหม่มาแทนเขาในปีนี้ แต่ดูเหมือนว่าแม้เขาจะครองอำนาจมาแล้วติดกันยาวนานถึง 10 ปี คะแนนนิยมก็ลอยอยู่ที่ 70-80% อย่างแทบไม่เคยมีตก
    .

    อะไรที่ทำให้คนอินโดนีเซียยังชื่นชอบประธานาธิบดีโจโกวีอย่างไม่เสื่อมคลายกระทั่งปีสุดท้ายของการดำรงตำแหน่ง และนอกจากเสียงชื่นชมแล้ว โจโกวีต้องเผชิญข้อครหาวิพากษ์วิจารณ์อะไรบ้าง? ASEAN บ่มีไกด์ พาไปย้อนมองตัวตนและผลงานของชายชื่อโจโกวีตลอดทศวรรษที่ผ่านมา จากมุมมองของ อรอนงค์ ทิพย์พิมล อาจารย์ประจำสาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    .

    ดำเนินรายการโดย เบน-วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

  • ‘ศร’ หนุ่มชาวไทใหญ่ที่หนีทหารจากกองทัพรัฐฉานเข้ามาในไทยอย่างผิดกฎหมาย ก่อนเข้าทำงานค้าบริการทางเพศในบาร์เกย์ที่จังหวัดเชียงใหม่ คือตัวละครที่กำลังเป็นที่พูดถึงจากผู้ชมภาพยนตร์ ‘ดอยบอย’ (Doi Boy)
    .

    แต่เรื่องราวของศรไม่ได้เป็นแค่จินตนาการของผู้สร้างภาพยนตร์เสียทีเดียว เพราะมันอิงจากเค้าโครงชีวิตจริงของผู้ชายชาวไทใหญ่หลายคนที่ลงเอยต้องเข้าสู่แวดวงค้าบริการทางเพศในประเทศไทย
    .

    ชีวิตของคนกลุ่มนี้เป็นอย่างไร มีอะไรที่หนังยังไม่ได้เล่าถึง? ASEAN บ่มีไกด์ ตอนนี้ ชวน อัมพร จิรัฐติกร รองศาสตราจารย์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้มีผลงานศึกษาวิจัยชีวิตของหนุ่มค้าบริการทางเพศชาวไทใหญ่ในประเทศไทย มาเล่าเรื่องนี้ให้ฟังแบบเจาะลึก
    .

    ดำเนินรายการโดย เบน – วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา
    .

    สามารถอ่านงานวิจัยของอาจารย์แบบเต็มได้ที่
    .

    Masculinity for Sale: Shan Migrant Sex Worker Men in Thailand and Questions of Identity
    https://journals.sagepub.com/doi/abs/10.1177/1097184X221119793
    .

    Shan Male Migrants’ Engagement with Sex Work in Chiang Mai, Thailand, Pre- and Post-Pandemic
    https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/14672715.2023.2221679

  • "ท่องเที่ยวเวียดนามกำลังจะแซงไทย!" กลายเป็นข้อความไวรัลบนโซเชียลมีเดียของไทยช่วงเดือนที่ผ่านมา หลังพบข้อมูลว่าการท่องเที่ยวของเวียดนามเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงของภูมิภาค และกำลังแย่งนักท่องเที่ยวไปจากประเทศไทย!?
    .

    การท่องเที่ยวของเวียดนามจะแซงไทยได้จริงไหม และทำไมอยู่ๆ เวียดนามถึงเนื้อหอมสำหรับนักท่องเที่ยวขึ้นมา? ASEAN บ่มีไกด์ ชวน มรกตวงศ์ ภูมิพลับ อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาคุยกันในเรื่องนี้
    .

    ดำเนินรายการโดย เบน-วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

  • การสู้รบระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสในฝั่งปาเลสไตน์ที่เพิ่งปะทุขึ้นมาอีกครั้ง ทำให้ชาติอาเซียนเกิดปฏิกริยาหลากหลาย โดยมีกลุ่มหนึ่ง ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไน ที่แสดงตัวยืนเคียงข้างปาเลสไตน์อย่างชัดเจน
    .

    ไม่ใช่แค่ในเหตุการณ์นี้เท่านั้น แต่ชาติอาเซียนเหล่านี้ยืนฝั่งตรงข้ามอิสราเอลมาโดยตลอด ไม่ว่าจะในระดับรัฐหรือระดับประชาชน และสำหรับประชาชนจำนวนไม่น้อย การต่อต้านอิสราเอลนี้ยังพัฒนาไปเป็นกระแสต่อต้านคนยิว
    .

    อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกต่อต้านคนยิวในกลุ่มชาติเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากประเด็นความขัดแย้งในอิสราเอลเท่านั้น แต่ยังมีรากความเป็นมาจากประวัติศาสตร์ยุคอาณานิคม ที่ค่อยๆ บ่มเพาะความเกลียดชังยิว จนลุกลามไปสู่ความเกลียดชังคนจีน ผู้ถูกเรียกว่า ‘ยิวแห่งบูรพาทิศ’ อีกด้วย
    .

    ASEAN บ่มีไกด์ ตอนนี้ ชวยคุยถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของกระแสต่อต้านยิวและยิวแห่งบูรพาทิศในชาติอาเซียน นับตั้งแต่ยุคอาณานิคม จนถึงยุคแห่งความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ในปัจจุบัน
    .

    ดำเนินรายการโดย เบน – วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

  • ตามแนวชายแดนไทยมีสวรรค์สำหรับนักเสี่ยงโชคอย่าง ‘คาสิโน’ ตั้งอยู่แทบตลอดทาง ไม่ว่าจะที่ปอยเปต ประเทศกัมพูชา, เมียวดี และท่าขี้เหล็ก ในประเทศพม่า, สะหวันนะเขต สปป.ลาว หรือโซนสามเหลี่ยมทองคำ และอีกมากมายหลายแห่ง
    .
    คาสิโนเหล่านี้เติบโตขึ้นมาได้อย่างไร มีพัฒนาการอย่างไร นักพนันเป็นคนกลุ่มไหน และข้างในนั้นมีอะไรบ้าง ASEAN บ่มีไกด์ตอนนี้ชวน ณัฐกร วิทิตานนท์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เคยไปเยี่ยมเยือนและศึกษาคาสิโนชายแดนมาแล้วหลายแห่ง มาเล่าเรื่องราวให้ฟัง
    .
    ดำเนินรายการโดย เบน-วงศ์พันธ์ อมรินทร์เท

  • เมื่อวานนี้ (22 ส.ค. 2023) ขณะที่ไทยได้นายกฯ คนใหม่ ที่กัมพูชาก็มีการส่งผ่านเก้าอี้ผู้นำจาก ฮุน เซน สู่ลูกชายคนโต ฮุน มาเนต อย่างสมบูรณ์ ปิดฉากการครองตำแหน่งผู้นำของฮุน เซน ที่ต่อเนื่องยาวนานถึง 38 ปี
    .
    การที่ฮุน เซนอยู่ในอำนาจได้ยาวนานขนาดนี้ หลายคนอาจมองว่าเป็นเพราะเขาคือเผด็จการที่ทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาอำนาจ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าอีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะคนกัมพูชาที่รักและเทิดทูนเขามีอยู่มากมาย
    .
    ตลอดเวลาเกือบ 4 ทศวรรษที่ผ่านมา ฮุน เซน ถูกมองแบบไหนกันแน่ในสายตาคนกัมพูชา คนที่รักเขา รักเพราะอะไร และคนที่เกลียดเขา เกลียดเพราะอะไร ASEAN บ่มีไกด์ ตอนนี้ชวนไปรู้จักชายที่ชื่อฮุน เซน และมรดกที่เขาทิ้งไว้ให้กับกัมพูชา
    .
    ดำเนินรายการโดย เบน – วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

    #ฮุนเซน #ฮุนมาเนต #การเมืองกัมพูชา

  • หลายปีมานี้ กระแสของภาพยนตร์และละครไทยจัดว่ามาแรงในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน แต่เมื่อไล่ดูแต่ละประเทศ แนวของหนังและละครที่ผู้คนชอบก็มีความแตกต่างกันออกไป ด้วยเหตุผลทางค่านิยมและโครงสร้างของสังคมที่แตกต่างกัน
    .
    แต่ละประเทศอาเซียนชื่นชอบหนังและละครไทยแนวไหนกันบ้าง? มาหาคำตอบกับแขกรับเชิญพิเศษ เจษฎา ศาลาทอง อาจารย์ประจำภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ
    .
    ดำเนินรายการโดย เบน-วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

  • สิบประเทศอาเซียนล้วนมีมุมมองต่อกลุ่มคนผู้มีความหลากหลายทางเพศหรือ LGBTQ+ ที่แตกต่างกัน บ้างปิดกั้น บ้างเริ่มยอมรับ บ้างก็ยังคลุมเครือ แต่ถามว่าแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าประเทศไหนคิดอย่างไรต่อความหลากหลายทางเพศ สิ่งหนึ่งที่จะบ่งบอกได้อย่างดีก็คือหลักสูตรการศึกษาของแต่ละประเทศพูดถึงเรื่องนี้กันแบบไหน?
    .

    ในเดือนแห่งการเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศ (Pride Month) ASEAN บ่มีไกด์ ชวนสำรวจว่าหลักสูตรการศึกษาในแต่ละประเทศอาเซียนมองความหลากหลายทางเพศกันอย่างไร
    .

    ดำเนินรายการโดย เบน – วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

  • การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่อินโดนีเซียเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ต้อนรับผู้นำจาก ‘ติมอร์ตะวันออก’ หรือ ‘ติมอร์เลสเต’ ที่มาร่วมประชุมในฐานะผู้สังเกตการณ์เป็นครั้งแรก หลังจากที่ประเทศกลุ่มอาเซียนลงมติอนุมัติในหลักการ รับติมอร์ตะวันออกเป็นสมาชิกใหม่ เมื่อปลายปีที่แล้ว
    .

    ถ้าไม่มีอะไรติดขัด ติมอร์ตะวันออกจะกลายเป็นสมาชิกน้องใหม่ของอาเซียนอย่างเต็มตัวในอนาคตอันใกล้ ASEAN บ่มีไกด์ตอนนี้เลยเปิดคลาส ‘ติมอร์ตะวันออก 101’ ชวนทำความรู้จักว่าที่ประเทศสมาชิกลำดับที่ 11 ของอาเซียน ว่ามีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างไร มีอะไรน่าสนใจ มีตรงไหนน่าเที่ยว และอีกนานแค่ไหนกว่าจะได้เป็นสมาชิกเต็มตัว กับแขกรับเชิญพิเศษ กฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ์
    .

    ดำเนินรายการโดย เบน-วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

  • 'โกลเดนไมล์คอมเพล็กซ์ ' (Golden Mile Complex) หากเป็นคนไทยที่ใช้ชีวิตในสิงคโปร์ คงมีน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักสถานที่แห่งนี้ที่บอกได้ว่าเป็นทุกอย่างให้คนไทย ทั้งเป็นแหล่งจับจ่ายซื้อสินค้าไทยตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบ แหล่งรวมร้านอาหารไทยที่มียันอาหารพื้นถิ่น และยังเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ของพี่น้องแรงงานไทยหลังเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน จนใครๆ ก็ให้ชื่อเล่นที่นี่ว่า 'ลิตเติลไทยแลนด์'

    แต่เดือนพฤษภาคมนี้ ลิตเติลไทยแลนด์ที่เป็นเหมือนบ้านหลังที่สองของคนไทยในสิงคโปร์มายาวนานเกือบ 50 ปี กำลังจะกลายเป็นอดีต เมื่ออาคารถูกปิดดีลขายต่อให้เจ้าของรายใหม่ บีบให้ร้านค้าต้องปิดตัวแยกย้ายกันออกไปในที่สุด

    ASEAN บ่มีไกด์ ตอนนี้ ชวนสำรวจอาคารโกลเด้นไมล์คอมเพล็กซ์ พาย้อนตำนานตั้งแต่เริ่มต้น พัฒนาขึ้นเป็นลิตเติลไทยแลนด์ ไปถึงจนถึงวาระสุดท้ายก่อนหมดลมหายใจ พร้อมชวนคุยถึงอนาคตชุมชนคนไทยในสิงคโปร์หลังต้องลาจากพื้นที่อันเป็นศูนย์รวมใจนี้

    ร่วมพูดคุยกับแขกรับเชิญคนแรกของรายการ สุเจน กรรพฤทธิ์ และยังพบกันเช่นเคยกับ เบน-วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

  • “เธอคือความภาคภูมิใจของชาวมาเลเซีย” คือประโยคที่คนมาเลเซียพากันยกย่อง มิเชล โหย่ว (Michelle Yeoh) หลังปรากฏชื่อเธอเป็นชาวมาเลเซียคนแรกในประวัติศาสตร์ที่เข้าชิงรางวัลออสการ์สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากเรื่อง Everything Everywhere All at Once ที่จะประกาศผล 12 มีนาคมนี้
    .

    ก่อนจะเข้าชิงออสการ์ มิเชล โหย่ว ยังกวาดรางวัลใหญ่มาแล้วหลายเวที จนเป็นที่ปรื้มปริ่มของชาวมาเลเซีย เช่นเดียวกับผู้นำ ประมุข และบรรดาหน่วยงานรัฐ ที่ต่างก็ส่งข้อความแสดงความยินดี พร้อมยกย่องเธอว่าคือผู้นำพามาเลเซียไปเฉิดฉายบนเวทีโลก
    .

    แต่ท่ามกลางเสียงยินดี คำถามก็ดังขึ้นมาจากคนมาเลเซียบางส่วนว่า ความสำเร็จของเธอใช่ความสำเร็จของมาเลเซียหรือไม่ รัฐบาลมาเลเซียเอาเธอมาเคลมได้หรือ ในเมื่อเธอเติบโตจากวงการหนังฮ่องกงและฮอลลีวูดล้วนๆ โดยไม่เคยผ่านมือแวดวงหนังมาเลเซียเลย
    .

    ASEAN บ่มีไกด์ ตอนนี้ ชวนคุยกันว่า คนมาเลเซีย โดยเฉพาะคนในแวดวงหนัง คิดเรื่องนี้ยังไง แล้วทำไมวงการภาพยนตร์มาเลเซียเองถึงแทบปั้นคนให้ไปไกลระดับโลกด้วยตัวเองไม่ได้
    .

    ดำเนินรายการโดย เบน – วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา
    .

    (ภาพประกอบ: Frederic J. Brown / AFP)


  • “บอลไทยจะไปบอลโลก” เราคนไทยได้ยินประโยคนี้กันมานาน แต่ปีแล้วปีเล่า ประโยคนี้ก็ยังไม่เคยเป็นจริง
    .
    ไม่ต่างจากชาติอื่นๆ ในอาเซียน ที่คำถามดังขึ้นมาเสมอว่าเมื่อไหร่เราจะได้ใส่เสื้อทีมชาติ นั่งเชียร์ทีมฟุตบอลชาติตัวเอง บนสนามแข่งขันฟุตบอลโลกสักที
    .
    หลังจากที่ดัตช์อีสต์อินดีส (Dutch East Indies, อินโดนีเซียในปัจจุบัน) เคยไปถึงฟุตบอลโลกได้ในปี 1938 แต่ทำไมถึงไม่เคยมีชาติอาเซียนไหนเข้าสู่รอบสุดท้ายฟุตบอลโลกได้อีกเลย? แล้วชาติอาเซียนจะยังพอมีหวังหรือเปล่า? ASEAN บ่มีไกด์ชวนมาคุยกันในเรื่องนี้
    .
    ดำเนินรายการโดย วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา


  • อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อ ‘คนรุ่นใหม่’ พลิกขึ้นมาเป็นเสียงส่วนใหญ่ในการเลือกตั้ง?
    .
    เหตุการณ์นี้กำลังจะเกิดขึ้นที่มาเลเซีย ที่กำลังจะมีการเลือกตั้งใหญ่ในวันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายนนี้ โดยจะมีสัดส่วนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นคนรุ่นใหม่ถึง 55% พุ่งขึ้นจากการเลือกตั้งครั้งก่อนหน้าในปี 2018 ที่มีสัดส่วน 41% ด้วยผลพวงจากการแก้กฎหมายลดอายุผู้มีสิทธิเลือกตั้งจาก 21 ปี เหลือ 18 ปี เมื่อปลายปี 2021
    .
    เมื่ออนาคตการเมืองของประเทศตกอยู่ในปลายปากกาของคนรุ่นใหม่ ผู้คนจึงต่างเฝ้าจับตาว่าคนกลุ่มนี้จะเลือกใคร และอยากจะพาประเทศมาเลเซียไปทางไหน
    .
    แต่หนุ่มสาวมาเลเซียรุ่นใหม่จะเป็นผู้คุมเกมการเลือกตั้งครั้งนี้จริงหรือไม่ เมื่อพบว่าหลายคนไม่ได้สนใจ-ไม่เข้าใจการเมือง และอาจไม่ได้ตื่นตัวที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากอย่างที่คิด
    .
    ASEAN บ่มีไกด์ พาไปดูความคิดคนรุ่นใหม่มาเลเซียก่อนถึงการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้
    .
    ดำเนินรายการโดย เบน-วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา


  • หลังจากที่หลายประเทศเริ่มทยอยกลับมาเปิดพรมแดน ‘ลาว’ ก็กลายเป็นจุดหมายปลายทางยอดฮิตสำหรับบรรดานักท่องเที่ยว ด้วยจุดขายใหม่คือ ‘รถไฟหัวกระสุน’ ที่ดึงดูดให้ใครหลายคนอยากไปลองเปิดประสบการณ์รูปแบบใหม่ในการเที่ยวลาว
    .
    การเดินทางบนรถไฟลาวเป็นอย่างไร สะดวกสบายไหม รวดเร็วขนาดไหน เจอปัญหาอะไรบ้าง ASEAN บ่มีไกด์ตอนนี้ขอรีวิวประสบการณ์นั่งรถไฟลาวครั้งแรกแบบจัดหนักจัดเต็ม พร้อมพาไปคุยกับคนลาวว่าพวกเขามีชีวิตความเป็นอยู่และปากท้องอย่างไรในภาวะที่เงินเฟ้อพุ่งสูง 20-30 เปอร์เซ็นต์
    .
    ดำเนินรายการโดย เบน-วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา


  • "รัฐบาลจะยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา 377A ซึ่งจะทำให้การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชาย-ชาย ไม่เป็นอาชญากรรมอีกต่อไป..."
    .
    ทันทีที่สิ้นสุดประโยคในการแถลงของนายกฯ ลี เซียนลุง เสียงไชโยโห่ร้องของกลุ่มคนรักร่วมเพศก็ดังสนั่นทั่วทั้งเกาะสิงคโปร์ หลังจากที่พวกเขาร่วมกันต่อสู้มานานเพื่อให้กฎหมายข้อนี้ที่มีมากว่า 80 ปี ถูกยกเลิก
    .
    ASEAN บ่มีไกด์ตอนนี้ พาไปดูเส้นทางการต่อสู้ของกลุ่มคนรักร่วมเพศในสิงคโปร์เพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายมาตรา 377A จนมาถึงวันที่รัฐบาลสิงคโปร์ประกาศให้คำมั่นสัญญาจะยกเลิก และไปดูกันว่าอนาคตของสิทธิคนรักร่วมเพศของสิงคโปร์หลังจากนี้จะเป็นอย่างไร สดใสหรือท้าทายกว่าเดิม?
    .
    ดำเนินรายการโดย เบน-วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา