Folgen
-
มีรายงานว่า วัยรุ่น Gen Z นั้นมีแนวโน้มที่จะลาออกจากงานประจำ เนื่องจากไม่ต้องการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานหรือแม้แต่หัวหน้า ไม่ชอบการบังคับ และต้องการอิสระในการทำงาน และอาจมุ่งสู่อาชีพอิสระ เพราะต้องการ "ความเป็นอิสระในการทำงาน" ที่มากกว่าแต่ไม่สนใจ "ความมั่นคง" ในการทำงาน? เราจึงมาทบทวนว่า ในรอบวัฏจักรของการปฏิวัติอุตสาหกรรม [และเทคโนโลยี] ในรอบนี้ ทำให้การรับรู้และการใช้ชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ประกอบกับการลดลงของประชากร เนื่องจากวัยรุ่น Gen Z นั้นมีแนวโน้มที่จะสืบพันธุ์ลดลง ทำให้เกิดปัญหาประชากรในอนาคต มนุษย์จะรับมือกับปัญหานี้อย่างไร ประกอบกับหากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ จนต้องการมนุษย์น้อยลง จะทำให้มนุษย์ดำรงอยู่ในโลกนี้ได้อย่างไร หรือเฟสต่อไปของการปฏิวัติอุตสาหกรรม จะไม่มีมนุษย์อยู่ในสมการ?
-
ในชั้นของกรรมาธิการ สว. (กมธ.) วิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่..) พ.ศ… ไม่เห็นด้วยกับร่างของ สส. ที่ต้องการให้เปลี่ยนกติกาการลงประชามติจากเสียงข้างมากสองชั้น (Double Majority) ไปเป็นเสียงข้างมากธรรมดา ทั้งที่มีการลงคะแนนให้แล้วในวาระ 1-2 ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า เหตุใด การแก้ไข พรบ.ประชามติ ถึงมาล่มเอาตอนนี้ เนื่องจากมีการวาง timeline มาเป็นช่วงเวลาหนึ่งแล้ว และหากล่าช้า ก็จะทำให้กระบวนการแก้รัฐธรรมนูญ ตามที่ได้มีการสัญญาเอาไว้ล่าช้าลงไปอีก ซึ่งการกระทำดังกล่าว ถือเป็นการใช้ความไม่เป็นการเมือง (ซึ่งไม่แน่ใจว่าการพยายามไม่ให้ สว. มาจากกลุ่มทางการเมืองนั้นเป็นการไม่ต้องการให้ สว. เป็นนักการเมืองหรือไม่) เล่นการเมือง ทำให้ฝ่ายการเมืองนั้นไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ ซ้ำการพยายามปิดไม่ให้เกิดการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงกฎหมายสำคัญที่มีผลให้ความเป็นไปทางการเมืองเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นสัญญาณปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงต่อไปในอนาคตหรือไม่
-
Fehlende Folgen?
-
ช่วงนี้เงินบาทแข็งค่ามาก ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเพราะผลกระทบจากสถานการณ์โลกหรืออย่างไร แต่แน่นอนว่ามีคนได้รับผลกระทบทั้งทางบวกและลบ ฟากฝั่งรัฐบาลเห็นว่าควรลดค่าเงินบาท ให้การส่งออกดีขึ้น ส่วนธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่าคงไว้ได้ จึงเกิดเป็นวาทะที่ต่างวาระกันผ่านสื่อของทั่งสองฝั่ง ทำให้เกิดการถกเถียงว่า การเพิ่มหรือลดค่าเงินบาทนั้นดีกว่ากัน มากไปกว่านั้น นี่ไม่ใช่ครั้งแรก ที่องค์กรในลักษณะที่เป็น “อิสระ” มีอำนาจมากในการคานกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง นี่จะเป็นข้อดีหรือข้อเสียกันแน่ เพราะผลประโยชน์ของประชาชนนั้นเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในลักษณะนี้ไม่มากก็น้อย ขณะเดียวกัน เกมการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรคเพื่อไทยเลือกที่จะถอยในเรื่องการแก้ไขในจริยธรรมเนื่องจากพรรคร่วมไม่เห็นด้วย และให้เหตุผลว่า ไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์กับพี่น้องประชาชน ซึ่งเราได้อภิปรายถึงเรื่องการชั่งน้ำหนักของการนำเรื่องจริยธรรมมาเป็นกฎหมาย แล้วสุดท้ายเกิดความสะดุดลงโดยการหลุดจากตำแหน่ง ก็จะทำให้ประชาชนเสียประโยชน์ได้ด้วยเช่นกัน
-
จากการที่มีการโปรดเกล้าฯ ครม. ของนายกฯแพทองธาร แล้ว ซึ่งเป็นการตั้ง ครม. ตามเอกสิทธิ์ของนายกฯ ที่ต้องระมัดระวังในการตั้งคนที่มีคุณสมบัติไม่ครบ จึงต้องเปลี่ยนมาตั้งบุคคลอื่น แต่บุคคลอื่นเหล่านั้น ดันมีนามสกุลที่คล้ายกับนักการเมืองรุ่นก่อน จนเกิดกระแสที่กล่าวว่า เป็น ครม. สืบสันดาน แต่แล้ว ครม.สืบสันดานนั้น จะเป็นวาทะ คล้ายกับ "สภาผัวเมีย" หรือ "เผด็จการรัฐสภา" ในอดีตหรือไม่ จนเป็นวาทะเด็ดในการโค่นล้มและลดความชอบธรรมให้กับระบอบประชาธิปไตยตัวแทน จนเรียกร้องระบอบรัฐธรรมนูญ เหมือนที่เคยผ่านมาในอดีตในปี 2549 และ 2557 หรือไม่?
-
ผ่านไปแล้วกับการเลือกนายกรัฐมนตรี ที่ได้นายกฯอุ๊งอิ๊ง เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ของประเทศไทย ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ และการถูกโจมตีจากสินค้าราคาถูกจากจีน นายกฯมีแผนจะแก้ปัญหาอย่างไร
มากไปกว่านั้น ครม. ใหม่ ที่ดูจะเป็นประเด็นทางการเมืองอย่างร้อนแรง กระแสการเทียบเชิญ-ขับออก จากพรรคร่วมฯ จะสั่นสะเทือนเพียงใด จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้หรือไม่ หรือเป็นเพียงการล้างแค้นทางการเมือง
สุดท้าย นโยบายการสร้าง Entertainment Complex ที่ดูจะเป็นการดึงดูดการท่องเที่ยวและการลงทุนในไทย จะพาไทยไปถึงฝั่งฝันได้หรือไม่ ท่ามกลางเสียงคัดค้านของนักวิชาการต่าง ๆ ประกอบกับการพัฒนาประเทศตามวิสัยทัศน์ของอดีตนายกฯ จะทำให้ไทยรอดพ้นวิกฤตข้างต้น ได้อย่างไร
-
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า นายกรัฐมนตรีสามารถพ้นจากตำแหน่งได้ด้วยกรณีจริยธรรมในการแต่งตั้งรัฐมนตรีที่ขาดคุณสมบัติ คำถามต่อมาคือ นายกรัฐมนตรี ที่อย่างน้อย มีเสียงสนับสนุนจากประชาชนนับล้านเสียง สามารถพ้นจากตำแหน่งได้ง่าย ๆ เพียงเท่านี้เลยหรือ? คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญย้อนหลัง ในการพ้นตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี ก็เป็นที่ประจักษ์ ว่าไม่ใช่เรื่องยาก ไม่ต่างจากการยุบพรรคการเมือง เหตุการณ์ดังกล่าว จึงควรต้องกลับมาพิจารณา ถึงบทบาทและอำนาจขององค์กรอิสระ ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ว่าควรจะมีเพียงใด เพื่อให้สมดุลกับการปกครองที่ควรจะได้ชื่อว่า เป็นประชาธิปไตย
-
เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคก้าวไกล ทำให้นอกจากที่นั่ง สส. ในรัฐสภาเปลี่ยนแปลงแล้ว ยังมีผลพวงที่ตามมาหลายอย่างมาก เช่น ความเป็นไปได้ของ สส. ในการย้ายพรรค แนวทางการดำเนินงานภายใต้งานที่ รองประธานฯ ที่สิ้นสุดสมาชิกภาพต่อ หรือจะเป็นการโหวตเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญในอนาคต รวมไปถึง พรบ.ประชามติ และการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ ยังมีกรณ๊ของนายกรัฐมนตรี ที่จะมีการตัดสินในวันที่ 14 สค. นี้ ว่าจะพ้นจากตำแหน่งหรือไม่ การเมืองไทย จะเข้าสู่จุดเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหลังจากสัปดาห์หน้า หรือไม่...
-
ที่ผ่านมาเพิ่งมีการเลือกตั้งของสหราชอาณาจักรไป ซึ่งเป็นชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ของพรรคแรงงาน นับเป็นการได้รับชัยชนะแบบ landslide ในรอบหลายปี.เป็นที่น่าสนใจว่า การเปลี่ยนขั้วครั้งนี้ เป็นเรื่องของอุดมการณ์หรือแค่เบื่อจึงเปลี่ยนพรรคการเมือง ประกอบกับการใช้เวลาอันสั้น เพียงหลังจากการเลือกตั้งเพียงไม่กี่วันและได้รัฐบาลใหม่ การเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา ที่แข่งขันกันอย่างดุเดือด และมีการลอบยิงกัน และการเลือกตั้งในฝรั่งเศสที่ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ เนื่องจากไม่มีฝ่ายใดได้รับคะแนนสูงสุด จากนั้นจึงมองย้อนกลับมาที่ประเทศไทย ว่าทำไมการเลือกตั้งของเราจึงออกมาหน้าตาแบบนี้
-
การเลือก สว. ของไทยเป็นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญได้สิ้นสุดลงแล้ว หน้าตาของว่าที่ สว. ชุดใหม่ทั้ง 200 ท่าน ก็ได้ผ่านหน้าสื่อกันไปแล้ว ทว่า มีถึง 12 จังหวัด ที่ไม่มี สว. เลย แต่มีบางจังหวัด ที่มีจำนวน สว. มากถึง 14 ท่าน! ระบบการเลือกในลักษณะนี้ มีการออกแบบอย่างทั่วถึงตั้งแต่ระดับอำเภอ แต่เปิดโอกาสให้ท้ายที่สุดไม่จำเป็นต้องครอบคลุมพื้นที่ก็ได้? จึงเกิดคำถามตามมาว่า กติกาการเลือกแบบนี้ ทำให้ สว. เป็นตัวแทนใคร? รวมถึงเอกสารปกขาว ที่ทางสถาบันพระปกเกล้าได้รวบรวมจากการลงพื้นที่รับฟังเสียงประชาชนร่วมกับ TPBS ว่าประชาชนต้องการและอยากฝากให้ สว. ทำหน้าที่อย่างไร ซึ่งจะเปิดตัวในวันปฐมนิเทศ สว. ที่จะถึงนี้เช่นกัน
-
ช่วงนี้เป็นช่วงที่เกิดสถานการณ์ทางการเมืองที่สำคัญขึ้นหลายอย่าง ตั้งแต่การมีร่าง แก้ไข พรบ.ประชามติเข้าสภา แนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรบ.งบประมาณรายจ่าย คดีสำคัญของนักการเมือง และคดียุบพรรคก้าวไกล และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย ได้จัดงานสัมมนา “ ทางออกประชามติ ปูทางสู่รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย ” ที่มีการปภิปรายถึงแนวทางและเนื้อหาของ พรบ. ประชามติที่ควรจะเป็น เพื่อจะเป็นประตูเปิดไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญในอนาคตอันใกล้ รวมถึงให้ฉากทัศน์ที่ดีที่สุด หรือ "as good as it gets" ของการเมืองไทยในอีก 3-4 ปีข้างหน้า เราจึงมาพูดคุยถึงจุดนี้กัน
-
สมาชิกวุฒิสภาชุดแรกของรัฐธรรมนูญฯ 60 ได้หมดวาระไปเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้ต้องเกิดการ "เลือก" สว. ชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่ แต่ทว่า การเลือกนั้น มีความซับซ้อนพอสมควร และเป็นการออกแบบมาเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกับการเลือกตั้ง สส. และให้มีการเลือกกันเองจาก 20 กลุ่มทางสังคม จากทุกอำเภอ นอกจากนี้ ยังมีการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคม เพื่อให้ สว. ที่ได้มานั้น ทำตามเจตจำนงของประชาชน เพื่อให้การทำงานของรัฐสภามีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด เนื่องจาก สว. นั้นมีอำนาจในการลงมติรับรององค์กรอิสระ ที่มีอำนาจในการตรวจสอบรัฐบาลนั่นเอง เราจึงจะมาวิเคราะห์และพูดคุยกันในเรื่อง สว. ใหม่ ภายใต้รัฐธรรมนูญกัน
-
หลังสงกรานต์เราได้ ครม. ใหม่ แต่แล้วก็เกิดแผ่นดินไหว เมื่อมีรัฐมนตรีบางท่านยื่นจดหมายลาออกฟ้าผ่า ทำให้เราลองไปดูงานที่ผ่านมาของกระทรวงการต่างประเทศ ประกอบกับ วิกฤตการรบในเขตชายแดนพม่าในฝั่งตะวันตก ที่เป็นเขตที่มีทุนสีเทาเข้าไปปฏิบัติการ และเป็นที่มาของธุรกิจสีเทา นำมาซึ่งการค้ามนุษย์ แรงงานเถื่อน แรงงานทาส และแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และเมื่อย้อนกลับมาดูที่ประเทศเรา ที่การส่งออกมีปัญหา เสียดุลการค้าให้ประเทศอื่น ๆ การลงทุนและการผลิตในประเทศหดหาย ทำให้เงินทุนในประเทศน้อยลง และอาจเป็นที่มาให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศแย่ลง เช่น เกิดการลดสวัสดิการ เงินเดือน/ค่าจ้าง ต่ำลง เพราะเศรษฐกิจของประเทศอยู่ได้ด้วยแค่เงินทุนสีเทาที่คนนอกเอามาฟอก นี่จึงเป็นโจทย์ใหญ่ของ ครม ชุดใหม่ และรัฐบาล ว่าไม่เพียงแต่จะแก้ปัญหา แต่จะ "สร้าง" ประเทศไทยให้เข้มแข็งขึ้นได้อย่างไร
-
เรื่องจริยธรรมของนักการเมือง การเปรียบเทียบและแชร์ประสบการณ์การใช้กฎหมายและข้อบังคับในการควบคุมสมาชิกรัฐสภา โดยใช้กลไกในสภาเอง เพื่อป้องกันการแทรกแทรงจากหน่วยงานภายนอก แต่กลับกัน การใช้กลไกเหล่านี้ในรัฐสภาไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้ประมวลจริยธรรมฯ นั้น อาจเป็นที่มาของการใช้กลไกนี้ในการลงโทษทางการเมืองต่อฝ่ายตรงข้าม นอกจากนี้ ยังได้พูดคุยถึงสัญญะของการแต่งกายของนักการเมืองและสมาชิก ว่ามีผลต่อภาพลักษณ์ภายนอก และคะแนนนิยมหรือไม่อย่างไร
-
นายกรัฐมนตรีเดินกลางกรุงปารีส พันผ้าพันคอจากผ้าขาวม้า เดินหน้าลุยนำผลิตภัณฑ์จากไทยไปขายต่างประเทศ ถือเป็นการผลักดันสินค้าจาก soft power ไทย สู่สายตาชาวโลก นับเป็นเรื่องที่ดี ที่ไม่แม้เผยแพร่ "สไตล์" ผ้าแบบไทย แต่ยังส่งเสริมการส่งออกจากไทยอีกด้วย เราจึงลองไปสำรวจอุตสาหกรรมแฟชั่นทั่วโลก ว่ามีความเป็นมาอย่างไร และสามารถสร้างกำไรมหาศาลได้อย่างไร และการผลิตของประเทศไทยสามารถอยู่ตรงไหนในเศรษฐกิจโลกได้บ้าง เพราะหากเน้นแต่ "สไตล์" แต่ขาดการมองเรื่อง "ฐานการผลิต" และ "รายได้ของประเทศ" ก็หวั่นอาจซ้ำรอย กางเกงช้าง ที่ถูกนำไปผลิตในจีนเป็นจำนวนมาก ทำให้ไทยไม่เหลือรายได้เข้าประเทศ เป็นเพียงทางผ่านทางวัฒนธรรมเท่านั้น
-
วันนี้เราได้มีแขกรับเชิญที่เพิ่งได้ไปท่องเที่ยวผจญภัยในอินเดียถึง 5 เมือง ซึ่งมีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ทั้งการเดินทาง การกิน การเที่ยว ไปจนถึงการเผาศพ จากการที่เห็น เราจึงเห็นได้ว่ายังมีอีกมุมหนึ่งของโลกที่มีความแตกต่างกับเรา และเรายังสามารถเห็นได้ว่าความแตกต่างนั้น เกิดจากปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจหรืออื่น ๆ อย่างไร
-
นายกรัฐมนตรีได้แสดงวิสัยทัศน์พัฒนายกระดับประเทศ IGNITE THAILAND เมื่อสัปดาห์ก่อน และยังจะได้มีการนำเสนอเป็นซีรี่ย์ในแต่ละประเด็นต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ประเทศไทยเป็น tourism hub, wellness hub, aviation hub หรือ financial centre ซึ่งเราจะเห็นว่าวิสัยทัศน์ของรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยนั้นเป็นเสรีนิยมใหม่ในแนวทางการรวมศูนย์ คือเป็นการใช้การแทรกแซงโดยรัฐมากำหนดการพัฒนาระบบต่าง ๆ ของประเทศออกจากศูนย์กลาง แต่ขณะเดียวกัน เมื่อสำรวจจากข้อวิจารณ์ของฝ่ายค้านโดยเฉพาะพรรคก้าวไกล จะเห็นได้ว่าเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยจากฐานราก จากการกระจายอำนาจและเป็นการส่งเสริมทุนย่อยให้สู้กับทุนใหญ่ได้ ความแตกต่างระหว่างสองสิ่งนี้อย่างไรก็ดียังวางอยู่บนฐานคิดแบบเสรีนิยมใหม่ ซึ่งแบบไหนจะเป็นผลดีต่อประเทศโดยรวมต้องลองไปดู
-
ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็น "ผลข้างเคียง" ของรัฐธรรมนูญ 40 เป็นต้นมา กระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมนั้น เกิดผลข้างเคียงในลักษณะ "human error" หรือไม่ หรือเป็นการใช้ช่องทางกฎหมายในการเล่นงานคู่ต่อสู้ทางการเมือง ประเด็นที่ชัดเจนที่สุดคือการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถยื่นคำร้องเองต่อองค์กรอิสระได้ และคำร้องนั้นสามารถนำมาซึ่งการยุบพรรค หรือปลดนายกรัฐมนตรีได้ในเวลาต่อมา ทำให้เกิดอาชีพ "นักร้อง" ขึ้น หรือเป็นเพราะต้นกำเนิดของรัฐธรรมนูญ 40 ต้องการให้เกิดการตรวจสอบจากภายนอก จึงต้องมีหน่วยงานที่ไม่ใช่รัฐ ตามสมัยนิยมของอุดมการณ์แบบเสรีนิยมใหม่ ที่ต้องการให้ลดขนาดของรัฐ แต่องค์กรดังกล่าวนั้น มีความสัมพันธ์กับรัฐมากแค่ไหน และสรุปแล้ว เสียงของประชาชนที่เลือกพรรคการเมือง กับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง กับองค์กรอิสระที่ตรวจสอบ อำนาจเป็นของใคร?
-
จากประสบการณ์ที่ไปอบรมที่สิงคโปร์มา 1 สัปดาห์ จึงถือโอกาสเล่าพัฒนาการของสิงคโปร์จากที่เป็นประเทศที่ถูกแยกตัวออกจากมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่จนและด้อยพัฒนา ว่ากลายมาเป็นประเทศที่เจริญขึ้นในเวลาเพียงไม่ถึงครึ่งศตวรรษได้อย่างไร สิงคโปร์นั้นเริ่มจากเป็นประเทศที่ใช้แรงงานมนุษย์เป็นหลัก จากนั้นเติบโตขึ้นจากการสร้างความเชื่อมั่นและการลงทุนจากต่างชาติ จนพัฒนาอุตสาหกรรม 4 ระดับ การรักษาความสมดุลระหว่างสหรัฐฯและจีน ขณะเดียวกันก็รักษาผลประโยชน์ของประเทศตัวเองไว้ได้ จึงเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่า นอกจากลักษณะเฉพาะทางภูมิศาสตร์และประชากรแล้ว สิงคโปร์ยังมีคติอย่างหนึ่งคือการหาวิธีการ “เอาตัวรอด” จากวิกฤติ มาเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนา จึงนำมาเล่าสู่กันฟังถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม การบริหาร ว่าทำให้สิงคโปร์มาถึงจุดนี้ได้เร็วขนาดนี้ได้อย่างไร
-
สำนักนวัตกรรมกำลังจะทำแพลตฟอร์มรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการร่าง/ตรากฎหมายออนไลน์ ทำให้เราได้หยิบยกกฎหมายนิรโทษกรรมที่กำลังจะถูกเสนอเข้าสภามาพูดคุยกัน ว่าความเป็นมาและหลักการของการนิรโทษกรรมในประเทศไทยนั้นเป็นอย่างไร มีความน่าสนใจและจะนำประเทศไทยไปสู่จุดไหน ประกอบกับกิจกรรมทางการเมืองที่ผ่านมาและอาจเกิดขึ้นในอนาคต
- Mehr anzeigen