Folgen

  • ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/Sum3_u1TICE

    ชีวิตนี้มีใครไหมที่เราเชื่อเขา 100% โดยไม่เคยตั้งคำถาม?

    Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ชวนตั้งคำถามถึงเหล่าคนมีวาทศิลป์คมคาย หรือมีภาพลักษณ์น่าเชื่อถือ จนบางทีเราอาจเผลอเชื่อเขาจากสิ่งเหล่านี้มากกว่าเนื้อหาแท้จริงที่เขาพูด

    หรืออีกแบบคือเชื่อเขาเพราะสิ่งที่เขาพูดนั้นตรงใจเรา มากกว่าจะเชื่อเพราะมันเป็นความจริงหรือสมเหตุสมผล

    เพราะจะรู้หรือไม่ว่าเขาหลอก แต่เราอาจเต็มใจให้เขาหลอกก็เป็นได้

    อะไรทำให้เราหลงกลคนมีวาทศิลป์ เราควรรับมือกับคนเหล่านี้อย่างไร วาทศิลป์ที่ดีควรเป็นแบบไหน? หลัก 3 ข้อของ ‘อริสโตเติล’ อาจมีคำตอบให้คุณ

    ชวนคิด ชวนถาม กับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา

  • ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/0LLLJpItAig

    ถามไปแล้วจะดูโง่หรือเปล่า?

    คำถามที่อาจติดอยู่ในใจใครหลายคนมาตั้งแต่สมัยเรียน เมื่อเรายังมีคำถามค้างคาอยากถามต่อ แต่เอ๊ะ ทำไมเพื่อนๆ ไม่มีใครถามกันเลย หรือเป็นเราเองที่ยังไม่เข้าใจอยู่คนเดียว?

    Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จักกับ ‘โสกราตีส’ นักปรัชญาแห่งเอเธนส์ นักถามในตำนานที่ถามแบบไม่กลัวโง่ ถามจนเทพยกย่องให้เขาเป็นผู้ที่ฉลาดที่สุดในเอเธนส์

    โสกราตีสถามอะไร ถามอย่างไร แล้วนักถามอย่างเขาจะอยู่ได้ไหม? เมื่อการถามของเขาในหลายครั้งหมายถึงการสร้างความสั่นคลอนต่อผู้มีอำนาจ

    ชวนคิด ชวนถาม กับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา

  • Fehlende Folgen?

    Hier klicken, um den Feed zu aktualisieren.

  • ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/_tuL38fhS9Q

    ย้อนกลับไปยุคล่าอาณานิคม หนึ่งในเหตุผลที่หลายประเทศในยุโรปใช้อ้างคือ การเข้าไป ‘ศิวิไลซ์’ ผู้คนในท้องถิ่นนั้นๆ

    และหากมีใครพูดว่า ทำไมคนเราไม่ควรเท่าเทียมกัน เหตุผลที่เราเคยได้ยินอาจเป็น ‘ขนาดนิ้วมือของคนเรายังไม่เท่ากัน แล้วคนจะเท่าเทียมกันได้ไง’

    การให้เหตุผลเหล่านี้อาจเคย ‘ใช่’ ในช่วงหนึ่ง แต่ปัจจุบันล่ะ? มีเหตุผลไหนบ้างที่มนุษย์เคยเชื่อว่าถูกต้อง แต่วันนี้กลับไม่สมเหตุสมผลอีกต่อไปแล้ว

    Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ชวนตั้งคำถามเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเหตุผล เมื่อเหตุผลสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามบริบทและความรู้ที่พัฒนาของมนุษย์ แล้วเหตุผลแบบไหนบ้างที่เราคิดว่า ‘ไม่ใช่’ แล้วสำหรับเรา ขณะเดียวกันเหตุผลที่ดูเหมือนก้าวหน้าจะเป็นเหตุผลที่ถูกต้องเสมอไปหรือไม่?

    ชวนคิด ชวนถาม กับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา



  • ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด youtu.be/1Lal2ymDfbg

    ‘ตรรกะบ้ง’ หรือ ‘ตรรกะวิบัติ’ คำที่เราอาจเคยเห็นผ่านตา ได้ยินผ่านหู

    เมื่อใครสักคนแสดงความเห็น โต้แย้ง หรือวิจารณ์สิ่งหนึ่งสิ่งใด แล้วเหตุกับผลไม่สัมพันธ์กัน หลุดไปไกลจากประเด็นตั้งต้น ก็เป็นที่เข้าใจกันว่านั่นคือ ‘ตรรกะบ้ง’

    เพื่อทำความเข้าใจ ‘ตรรกะบ้ง’ ให้ลงลึกขึ้น เอพิโสดนี้จึงอยากพาไปทำความรู้จักกับตรรกะบ้งรูปแบบต่างๆ พร้อมตัวอย่างใกล้ตัวที่เราอาจไม่ทันสังเกตว่า เอ๊ะ เราก็บ้งได้เหมือนกัน และความบ้งบางแบบเราก็อาจยอมรับได้ (รึเปล่านะ?)

    แม้ความบ้งหลายอย่างอาจไม่ส่งผลกระทบกับใคร แต่ก็มีความบ้งอีกจำนวนหนึ่งที่น่าหยิบมาถกเถียงต่อ รวมถึงคำถามสำคัญที่ว่า อะไรทำให้ความบ้งยังคงอยู่?
    ชวนถามชวนคิดในรายการ Shortcut ปรัชญา กับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา

  • ปรัชญาคืออะไร ยังจำเป็นอยู่ไหมในยุคนี้?

    บางคนอาจส่ายหัว แต่เชื่อไหมว่า ต่อให้เราไม่เคยสนใจปรัชญา ชีวิตก็อาจทำให้เราเป็นนักปรัชญาเข้าสักวัน!

    คำถามพื้นๆ ที่หลายคนอาจเคยถาม อย่างเช่น เราทำงานไปเพื่ออะไร? หรือเราเสียภาษีไปทำไม? ก็อาจกลายเป็นคำถามสุดจะปรัชญาได้เหมือนกัน

    เอ๊ะ ตกลงแล้วปรัชญาคืออะไรกันแน่? ความเอ๊ะแบบนี้ก็ถือเป็นปรัชญาด้วยไหม แล้วเราจะกลายเป็นนักปรัชญาเข้าสักวันจริงหรือเปล่า ชวนหาคำตอบในรายการ Shortcut ปรัชญา กับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา